วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 17:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โคจร

ในโคจรและอโคจรนั้น โคจร เป็นอย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้ไม่มีหญิงแพศยาเป็นที่โคจร เป็นผู้ไม่มีหญิงหม้าย, สาวเทื้อ, บัณเฑาะก์, ภิกษุณี และร้านสุราเป็นที่โคจร เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับพระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา กับพวกเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร แหละหรือ ย่อมส้องเสพคบหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ซึ่งตระกูลทั้งหลายเห็นปานฉะนี้ คือตระกูลมีศรัทธา ตระกูลเลื่อมใส ตระกูลเตรียมตั้งเครื่องดื่มไว้ ตระกูลรุ่งเรืองไป ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ตระกูลฟุ้งตลบไปด้วยกลิ่นฤาษี ตระกูลใคร่ประโยชน์ตระกูลใคร่ความเกื้อกูล ตระกูลใคร่ความผาสุก ตระกูลใคร่ความเกษมจากโยคธรรม แก่ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า โคจร

ภิกษุเป็นผู้ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อมแล้ว ด้วยอาจารนี้และด้วยโคจรนี้ ด้วยประการดังอรรถาธิบายมา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อาจารโคจรสมปนโน แปลว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจารและโคจร ฉะนี้ อีกประการหนึ่ง ในอธิการแห่ง ปาติโมกขสังวรศีล นี้ นักศึกษาพึงทราบ อาจารและโคจร แม้โดยนัยดังพรรณนาโดยต่อไปนี้ –

...............
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%91_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91_%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%96_-_%E0%B9%93%E0%B9%90

.............................
:b45: :b41:
...........................

อนาจารทางกาย

ก็แหละ อนาจาร มี ๒ ประการ คือ อนาจารทางกาย ๑ อนาจารทางวาจา ๑
ใน ๒ ประการนั้น อนาจารทางกาย เป็นอย่างไร ?
(หน้าที่ 27)

คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ แม้เข้าสู่ที่ประชุมสงฆ์ก็ไม่ทำความเคารพ ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ยืนข้างหน้าบ้าง นั่งข้างหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง กวักมือพูดบ้าง เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินไม่สวมรองเท้า ก็เดินสวมรองเท้า เมื่อภิกษุชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมต่ำ ไพล่ไปเดินที่จงกรมสูง เมื่อภิกษุทั้งหลายชั้นเถระเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไพล่ไปเดินจงกรมเสียบนที่จงกรม ยืนแทรกบ้างนั่งแทรกบ้าง ซึ่งภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ย่อมกีดกันแม้พวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะ แม้อยู่ในเรือนไฟ ไปอาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ก็ใส่ฟืน ปิดประตูแม้ ณ ที่ท่าน้ำ ก็ลงเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ ลงไปข้างหน้าเสียบ้าง สรงเบียดบ้าง สรงอยู่ข้างหน้าบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นไปข้างหน้าบ้าง แม้เมื่อเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินเบียดภิกษุทั้งหลายชั้นเถระบ้าง เดินไปข้างหน้าบ้าง และเดินแซงไปข้างหน้า ๆ ของภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ แม้ ณ ห้องลับและห้องปิดบังสำหรับตระกูลทั้งหลายที่กุลสตรีและกุลกุมารีทั้งหลายพากันนั่งเล่นเช่นนั้น เธอก็จู่โจมเข้าไปลูบศรีษะเด็กบ้าง อันว่าพฤติการเช่นนี้ เรียกว่า อนาจารทางกาย

อนาจารทางวาจา

ในอนาจาร ๒ ประการนั้น อนาจารทางวาจา เป็นอย่างไร ?
คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ แม้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์แล้วก็ไม่ทำความเคารพ ไม่อาปุจฉาภิกษุทั้งหลายชั้นเถระ พูดธรรม วิสัชนาปัญหา แสดงพระปาติโมกข์ ยืนพูดบ้าง กวักมือพูดบ้าง แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว ย่อมพล่ามพูดกับสตรีบ้าง กับกุมารีบ้าง อย่างนี้ว่า “คุณโยมผู้นี้มีชื่ออย่างนี้ มีนามสกุลอย่างนี้ มีอะไรไหม? มีข้าวยาคูไหม? มีข้าวสวยไหม? มีของเคี้ยวไหม? อาตมาจักดื่มอะไร? จักเคี้ยวอะไร? จักฉันอะไร? คุณโยมจักถวายอะไรแก่อาตมาหรือ ?” พฤติการณ์ของภิกษุนั้นเช่นนี้ เรียกว่า อนาจารทางวาจา
ส่วน อาจาร นักศึกษาพึงทราบด้วยสามารถข้อความอันตรงกันข้ามกับ อนาจาร นั้นเถิด
(หน้าที่ 28)

อาจารตามนัยแห่งอรรถกถา

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความคารวะ มีความเคารพ สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ นุ่งสบงห่มจีวรเรียบร้อย มีการเดินหน้าถอยหลัง มีการเหลียวไปแลมา มีการคู้เหยียด อันน่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลงประมาณชั่วเอก มีอิริยาบทเรียบร้อย รักษาทวารในอินทรีย์ ๖ รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ มักน้อย สันโดษ ปรารถความเพียร มีปกติทำความเคารพในอาภิสมาจาริกศีลทั้งหลาย เป็นผู้มากด้วยการทำความเคารพในฐานแห่งความเคารพ
นักศึกษาพึงทราบ อาจาร อันเป็นประการแรก ด้วยประกาศดังพรรณนามานี้
................

สืบเนื่องจาก
...................................
ในกระทู้ แห่งนี้ อาจจะ มี พระสงฆ์ มา เขียนข้อความ
.....................................................
ข้าพเจ้า ขอคุกเข่า หรือ นั่งราบ แสดงความเคารพ ต่อ พระคุณเจ้าไว้ที่นี้ ด้วย
....................................................
หากข้าพเจ้า ไม่ทราบ ได้ postในที่เดียวกัน
กับ พระคุณเจ้า..
ขอให้ถือ ว่า ข้าพเจ้า กำลัง คุกเข่า ประนมมืออยู่ แสดงความเคารพอยู่..

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2008, 22:28
โพสต์: 14

ที่อยู่: สุพรรณบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษนะค่ะ อยากทราบว่า อติธัมมครุ คืออะไรค่ะ? ^^~

.....................................................
... สุ ข อื่ น ยิ่ งก ว่ า "ค ว า ม ส ง บ" ไ ม่ มี ... (^-^*)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2006, 12:38
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ประโยชน์อย่างมากครับ อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากมายค่ะ :b20: :b20:
สำหรับความรู้ดีๆนะค่ะ

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ปฎิบัติ มีธรรมะ มาข่มจิต
ค่อยๆคิด หาทางออก จนเห็นแสง
มันมาจาก ปัญญา อันแข็งแรง
ที่เราแปลง มาได้จาก ปฎิบัติธรรม :b48: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร