วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 21:46
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งเริ่มศึกษาธรรมะคะ มีคนบอกว่าารถือศีล 5 โดยไม่ได้อาราธนา ผลบุญจะน้อยกว่า
อยากทราบว่า จริงเท็จประการใด รบกวนท่านผู้รู้ตอบด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคำถามแล้วเหนื่อยเลย

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้ไม่แน่ใจเหมือนกัน การอาราธนาศีลเท่ากับเป็นการเตือนตนเองว่าเราจะตั้งใจรักษาศีลแล้วนะ ถ้าเรารักษาศีล 5 แบบตั้งใจว่าจะงดเว้น พฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อมีเหตุให้ต้องละเมิดศีล

แล้วนึกถึงข้อที่ได้ถือไว้ แล้วไม่ละเมิด เท่ากับเรารักษาศีลไว้ได้ กับอีกคนหนึ่ง ไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันๆไม่ผิดศีล แต่ที่ไม่ผิดเพราะไม่มีเหตุให้ต้องผิด จึงได้อานิสงส์น้อยกว่าเพราะกระทำโดยไม่ตั้งใจ การรักษาศีลเราขอครั้งเดียวแต่รักษาไปตลอด เมื่อละเมิดค่อยขอใหม่ อีกอย่างมีความเชื่อที่ไม่รู้อันไหนถูกว่า ถ้าสวดแบบนึง ผิดข้อเดียวเท่ากับผิดหมดทุกข้อ แต่ถ้าสวดอีกแบบนึง ผิดข้อไหนเท่ากับผิดแค่ข้อนั้น การรัษาศีลจะให้มั่นคงต้องมีธรรมเข้ามากำกับ อย่างเช่นข้อ 1 เนี่ย ถ้าเราฝึกความเมตตากรุณาไว้ ข้อ 1 นี่ทำได้โดยอัติโนมัติเลย เหมือนกับไม่จำเป็นต้องรักษา การรักษาศึล 5 นั้น สำคัญที่สุดคือข้อ 5 การงดเว้นดื่มของมึนเมา ถ้าผิดข้อนี้ข้ออื่นหลุดหมดแน่ๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ให้สันโดษในกุศลธรรมและความเพียร เมื่อเรารักษาศีล 5 ได้เป็นปกติแล้ว ก็ควรที่จะหัดรักษาศีล 8 ด้วย ซึ่งมีอานิสงส์มาก กล่าวกันว่า ในยุคที่คนกิเลสน้อยๆ เนี่ย พระพุทธเจ้าท่านให้พระรักษาแค่ ศีล 8 เท่านั้น ศีล 8 คือ ศีล อรหันต์นะ ไม่ธรรมดาเลย

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


jimzilla เขียน:
เพิ่งเริ่มศึกษาธรรมะคะ มีคนบอกว่าารถือศีล 5 โดยไม่ได้อาราธนา ผลบุญจะน้อยกว่า
อยากทราบว่า จริงเท็จประการใด รบกวนท่านผู้รู้ตอบด้วย


ตอบ....
ท่านทั้งหลายคำถามของเจ้าของกระทู้นี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ในข้อเท็จจริงของคนรุ่นใหม่อันเกี่ยวกับศาสนา เพราะได้รับการขัดเกลาอบรมมาไม่ค่อยชัดแจ้งนัก จนไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อันไหนควร อันไหนไม่ควร
ท่านเจ้าของกระทู้ คงไม่รู้หรือไม่ได้เล่าเรียนมา จึงไม่สามารถทำความเข้าใจ ในการปฏิบัติธรรม และคงไม่เข้าใจใน พิธีกรรมทางศาสนา
การอาราธนาศีล อาราธนาธรรม นั้น เขาจัดไว้ใน พิธีกรรม ต่างๆ เพื่อให้พระสงฆ์ ได้สอน ได้แนะนำ ตามคำสอนของ พระพุทธองค์ ไม่ว่าจะเป็น มงคลพิธี หรือเป็น อวมงคลพิธี ล้วนย่อมมี พิธีกรรมทางศาสนา ตามจารีต วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา จึงเกิดมีการ อาราธนาศึล และ อาราธนาธรรม ,อาราธนาพระปริตฯ
ส่วนการนำเอาข้อศีล ข้อธรรม ไปปฏิบัตินั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า จะมีการอารธนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง หรือขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่ถือศีล ว่า จะเข้าใจ จะรู้ในข้อศีล จนสามารถประพฤติปฏิบัติ ได้มากน้อยเพียงใด
เข้าใจมาก ระลึก ดำริ ถึงข้อศีลอยู่เสมอ ก็ได้ผลบุญ มาก
เข้าใจน้อย ระลึก ดำริ ถึงข้อศีลได้น้อย ก็ได้ผลบุญ น้อย

คำว่า ได้ผลบุญมาก ผลบุญน้อย หมายถึง ถ้าถือศีล ประพฤติ ปฏิบัติ ได้มาก ก็ย่อมมีความดีเกิดขึ้นในจิตใจ หลุดพ้นจากอาสวะได้มากกว่า ถือศีล และประพฤติ ปฏิบัติได้น้อย
ต้องแยกให้ออกว่า อย่างไหนเป็นอย่างไหนขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 21:46
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยให้ความรู้คะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2008, 20:12
โพสต์: 83

ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในความเข้าใจของดิฉัน การอาราธนาศีลนั้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะรักษากายวาจาใจให้เป็นปกติ

การอาราธนาเป็นการเตือนตนเองให้สำรวมระวัง มีอินทรียสังวร ผู้ที่อาราธนาศีลจะต้องมีสติในการ

รักษากายและจิตตนเองอยู่ตลอด ควรจะนับได้ว่าเป็นอธิษฐานบารมี, สัจจบารมี

เป็นการฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ก้าวขั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นศีลอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยระวังรักษา

การที่คนเราบังเอิญไม่ได้ทำผิดศีลเองโดยไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล อาจเป็นเพราะไม่มีผัสสะ

หรือสิ่งเร้าใดมากระทบให้ทำผิด แต่ถ้ามี การรักษาศีลที่อาราธนาไว้จะต้องใช้กำลังใจ กำลังสติ

ใช้ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะอย่างหนึ่งเหมือนกัน ควรที่จะได้บุญ(ซึ่งแปลว่าเครื่องชำระสันดาน คุณงามความดี)

มากกว่าที่จะไม่ได้อาราธนาศีล

.....................................................
พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2008, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ratchadapa เขียน:
ในความเข้าใจของดิฉัน การอาราธนาศีลนั้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะรักษากายวาจาใจให้เป็นปกติ

การอาราธนาเป็นการเตือนตนเองให้สำรวมระวัง มีอินทรียสังวร ผู้ที่อาราธนาศีลจะต้องมีสติในการ

รักษากายและจิตตนเองอยู่ตลอด ควรจะนับได้ว่าเป็นอธิษฐานบารมี, สัจจบารมี

เป็นการฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ก้าวขั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นศีลอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยระวังรักษา

การที่คนเราบังเอิญไม่ได้ทำผิดศีลเองโดยไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล อาจเป็นเพราะไม่มีผัสสะ

หรือสิ่งเร้าใดมากระทบให้ทำผิด แต่ถ้ามี การรักษาศีลที่อาราธนาไว้จะต้องใช้กำลังใจ กำลังสติ

ใช้ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะอย่างหนึ่งเหมือนกัน ควรที่จะได้บุญ(ซึ่งแปลว่าเครื่องชำระสันดาน คุณงามความดี)

มากกว่าที่จะไม่ได้อาราธนาศีล

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามนี้ผมเองก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกัน :b9:
สุดท้ายมาหาความเข้าใจที่เราเองดีกว่า เลยได้ข้อยุติของผมเองนะครับ
จะเอาไปทำให้สบายใจแบบผมก็ได้
ผมตกลงใจเองเลยว่า ต้องสมาทานศีลให้บ่อยตามสมควร
ผมเองจะประมาณ 1-2 ครั้งต่อช่วงวันพระ เพราะได้รับปรโยชน์
คือ การสมาทานคือการตั้งใจถือเอาข้อวัตร เมื่อผมได้สมาทานแล้ว
หากเกิดการทำผิดศีล ผมก็จะสมาทานใหม่ ตั้งใจใหม่ ผมเอาระยะ
ของการสมาทานมาตรวจสอบตัวเอง เช่น วันนี้วันที่ 15 ผมสมาทานไปแล้ว
ผ่านไป 3 วัน ผิดศีลเลย ผมต้องสมาทานใหม่ ผมกำหนดได้เลยว่า ศีล 5
ของผมรอดมาได้ 3 วัน เอาใหม่ต้องระวังให้มากกว่านี้สำรวมมากกว่านี้
ผมเข้าใจว่า หากผมไม่สมาทานให้เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว
ผมกำหนดไม่ได้ว่าข้อนั้นๆหรือศีล 5 ของผมเริ่มเมื่อใด รักษาเป็นแบบใด สัจจะผมเริ่มเมื่อไร
อีกประการหนึ่ง การที่เราเองสมาทานนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างออกไปจาก
คนทั่วไปในแง่ของความรู้สึกคือ เราเองมีสิ่งที่ต้องรักษานะ ในข้อนี้ผมเรียกว่าตระหนักในศีล
หากผิดศีลหรือศีลขาดไม่มีการสมาทานหรือรับใหม่
ก็กำหนดได้ยากถึงประสิทธิผล ไม่มีขอบเขตของระยะเวลาคล้ายกับอยู่ไปเรื่อยๆ
โดยไม่ต้องกังวลถึงหลักเกณฑ์อะไร ขาดความตระหนัก อีกประการหนึ่ง การรับศีลสมาทานศีล
ไม่ได้ยาก ไม่ได้ผิดอะไร ลูกหลานรอบข้างเห็น ก็เป็นธรรมเนียมแบบอย่างที่ดี
เรื่องจะบุญมากบุญน้อยอย่าได้กังวล ใครก็บอกยากว่าได้ประมาณมากน้อยเท่าไร
เพราะที่เราทำ เกิดกับเราเอง เราจะรู้เองเข้าใจเองใครกินคนนั้นก็อิ่มยากที่ใครจะมา
บอกว่าเรากินอิ่มไปมากน้อยเท่าไร
ศีลทำให้ไปสู่สุคติ ศีลทำให้เจริญโภคทรัพย์ ศีลทำให้ไปนิพพาน
อนุโมทนาในปุญญปารภของทุกท่านครับ
ด้วยจิตคารวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


การอาราธนา เป็นการบอกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และตัวเรารับรู้ว่าต้องการจะรักษาศีลให้ได้หรือสัญญาว่าจะทำใ ห้ไ ด้ บุญเกิดขึ้นได้ก็เมื่อเราได้รักษาศีลห้าข้อนั้นได้ หากอาราธนาแต่รักษาไม่ได้จะเกิดบุญได้ยังไง ดังนั้นหากรักษาห้าข้อนี้ได้ถึงจะไม่อาราธนาก็ย่้อมได้รับผลบุญเหมือนกัน :b43:

บุญขึ้นอยู่กับที่การรักษา ่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบอกกล่าว :b39:

ศีลทั้งห้าข้อเรียงลำดับความยากง่ายในการรักษา1-5 เรียงจากข้อ1 เป็นข้อที่รักษาได้ง่ายสุด
ส่่วนข้อ5 เป็นข้อที่รักษาได้ยากที่สุดและสำคัญที่สุด
:b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:42
โพสต์: 25


 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: ต้องอาราธนาสิคะ ถ้าไม่รับมา จะมีศีลได้อย่างไร นึกเอาเองไม่ได้หลอกค่ะ ต้องรับมาก่อน ถึงจะเป็นผู้ที่มีศีลได้ค่ะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:42
โพสต์: 25


 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: บุญของการรักษาศีล
บุญของการรักษาศีลในชาตินี้ คือ ทำให้ผู้รักษาศีลมีความโชคดี ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จได้เร็ว หน้าที่การงานจะได้เลื่อนขั้นเร็ว เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ผู้พบเห็น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคน้อย หากผู้มีศีลนั้นได้ทำทานอย่างสม่ำเสมอก็จะได้รับผลบุญของทานเร็วกว่าปรกติ เช่น ปรกติเมื่อเราได้ทำทานแล้ว ผลของทานบางส่วนก็จะกลับมาในชาตินี้ โดยใช้เวลาประมาณสิบกว่าปี แต่ถ้ารักษาศีลด้วยแล้วจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้น คือ อาจแค่เพียง 5-6 ปี ก็เป็นได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดชาติหน้าก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และมีรูปร่างผิวพรรณดีเหมือนอย่างดาราที่มีรูปเป็นทรัพย์นั่นเอง

:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาศีล ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ คือ

- สมาทานวิรัติ ๑
- เจตนาวิรัติ ๑
- สัมปัตตวิรัติ ๑
- สมุทเฉจวิรัติ ๑


สมาทานวิรัติ หมายถึง การตั้งสัจจะต่อหน้าพระสงฆ์ กรณีขอศีลจากพระสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้น
ในศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ เหมาะสำหรับท่านที่ ศรัทธาอ่อน ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นพยาน

เจตนาวิรัติ คือ ตั้งสัจจะกับตัวเองว่า จะรักษาศีลให้ครบถ้วน ให้บริบูรณ์
อย่างนี้สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีศรัทธาแก่กล้ามากขึ้น

สัมปัตตวิรัติ หมายถึง ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม คือเป็นครั้งเป็นคราว ไม่สม่ำเสมอติดต่อกัน
เช่น คนที่เคยยิงนก ตกปลา พอเห็นนกเห็นปลาติดอวนติดแห ก็เกิดความสงสาร
จึงปล่อยนกปล่อยปลานั้นไป อย่างนี้เรียกว่า ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม

สมุทเฉจวิรัติ คือศีลของบรรดาท่านพระอริยะเจ้า เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ได้สมาทาน
ไม่ต้องกำหนด เป็นไปโดยธรรมและสม่ำเสมอ ตลอดชีวิต

อนิสงค์ของศีล ที่ว่า สีเลน สุคติงฺยันฺติ สีเลนโภคสัมปทา....
นั้นเกิดจากการรักษาศีล ไม่ได้เกิดจากการสมาทานศีล


เพราะเหตุนั้นจะสมาทานหรือไม่สมาทาน หากท่านงดเว้น
ตามข้อห้ามของศีล ก็เรียกว่าท่านได้บุญ ได้อานิสงส์เสมอกัน


เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 13:42
โพสต์: 25


 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: คำสมาทานศีล ๕
ศีล ๕ ต้องกล่าวอธิษฐานรับมา ( นั่งคุกเข่า )
ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ (เบญจางค-
ประดิษฐ์)
ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา : พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์,
บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้า-
หมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว.
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม : พระธรรมคือศาสนา, อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า, แสดงไว้ดีแล้ว.
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, พระธรรมเจ้านั้น, ด้วย เครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ : หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว.
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, หมู่พระสงฆเจ้านั้น, ด้วย
เครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )
ขั้นตอนที่ ๓ อาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
( กรณีว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ )
ขั้นตอนที่ ๔ นมัสการพระพุทธเจ้า ( นั่งพับเพียบ )
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขั้นตอนที่ ๕ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ขั้นตอนที่ ๖ สมาทานศีล ๕
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีล ๕
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะรักษาศีล ๕
ให้บริสุทธิ์ดังเดิม
ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีล ๕
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
ขั้นตอนที่ ๙ กราบลาพระ
กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์

การวิรัติศีล ๕ หรือการต่อศีล ๕
จะต้องสำรวจศีลก่อนเข้านอนทุกครั้ง
กรณีถ้าศีลไม่ขาด จะสวดมนต์ หรือกราบพระแล้วเข้านอน
กรณีถ้าศีลขาดให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์
ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย
ขั้นตอนที่ ๔ นมัสการพระพุทธเจ้า ( นั่งพับเพียบ )
ขั้นตอนที่ ๖ สำรวจศีล ข้อใดด่างพล้อยหรือขาดก็ให้ต่อศีล
( ข้าพเจ้าได้ทำศีลข้อ.........ด่างพล้อยหรือขาดลง )
ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีล ๕
ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีล ๕
ขั้นตอนที่ ๙ กราบลาพระ
กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 18:08
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: การสมาทานหรือ อาราธนาศีลนั้น มีผลทางด้านกรรมฐาน คือ เกิด ศีลลานุสสติกรรมฐาน คือเราระลึกถึงศีล นั่นได้บุญแน่ๆ ครับ และทำให้เราระลึกได้ว่าตอนนี้น่ะ เราถือศีลน่ะ ระลึกบ่อยๆ น่ะครับบุญน่ะได้อยู่แล้ว เราถือศีลเราก็ได้บุญแล้วครับ ศีลถือเป็นฐานของการทำสมาธิศีลขาดหรือไม่ครบ เราก็ทำสมาธิไม่ได้ เพราะจิตจะไปคิดเรื่่องที่ผิดศีลนั้นทำให้จิตไม่ทรงตัวและฟุ้งในที่สุด

โดยสรุปแล้ว เราควรสมาทานศีลบ่อยๆ ครับ จะได้ผลดี :b4:

.....................................................
จะไม่พูดว่าตนดี เมื่อไรที่ว่าตนดีแปลว่า เราเองนั้นเลวสุดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2009, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ๕ ประเภท
๑.ปกติศีล หมายถึงการรักษาศีลตามปรกติ เป็นปกติ ไม่ได้สมาทานเป็นพิธีกรรม เมื่อผิดก็พิจารณาแล้วตั้งใจ
รักษาระวังในคราวต่อไป
๒.สมาทานศีล หมายถึงศีลที่รับสมาทานมาจากพระภิกษุเป็นต้น หรือจะต่อหน้าพระพุทธรูปก็ได้
๓.จิตตปสาทศีล หมายถึงรักษาเพราะความเลื่อมใส เช่นเห็นคนมีศีลแล้วดูดี มีผลดี ก็เกิดความเลื่อมใส รักษาศีลข้อนั้นๆตามโดยไม่ได้สมาทานและไม่ได้ทำเป็นปกติแบบปกติศีล
๔.สมถะศีล ศีลที่เกิดจากสมถะ ในเวลาที่ทำสมถะนั้นเมื่อเข้าสู่อารมณ์ของฌานแล้ว ศีลบริบูรณืเองได้โดยไม่ต้อง
สมาทาน ไม่ต้องรักษาแบบปกติ และไม่ต้องศรัทธาใครๆ
๕.วิปัสสนาศีล ศีลที่เกิดจากวิปัสสนา ก็เช่นเดียวกัน
นอกนั้นศีลก็มีตามนิยามต่างๆกันไปตมคัมภีร์
(ที่มีของศีล ๕ ประเภท คัมภีร์เนตติปกรณ์ พึงค้นหาตามนี้เถิด)
ส่วนบุญจะมากจะน้อย หยั่งยากนักครับที่จะรู้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร