วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2008, 09:53
โพสต์: 10

ที่อยู่: พิษณุโลก

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b56: :b56: :b8: :b8: อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยกันเสนอแนะ เกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับศีล 5 ในเชิงนามธรรมหน่อยคะ

1. ปาณาติปาตาฯ คือ การที่เราเข้าไปจัดการกับอารมณ์ หรือสภาวะทางใจต่าง ๆ ด้วยจิตที่ไม่เป็นกลาง ทั้งที่สิ่ง ต่าง ๆ เค้าก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นและดับไปด้วยตัวของเค้าเองตามธรรมชาติ

2. อทินนาทานาฯ คือ การที่เราเข้าไปยึดกายกับใจว่าเป็นตัวเรา ของ ๆ เรา ทั้งที่ธรรมชาติเพียงให้เรายืมชั่วคราวเท่านั้น แต่เรากับมีอุปทานยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมปล่อย แม้แต่สภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก็ยังเข้าไปแทรกแซง สร้างภพ สร้างชาติ ว่าเป็นเรา

3. กาเมสุมิจฉาจาราฯ คือ การที่เราส่งจิตออกนอก หลงกับสิ่งภายนอก ออกจากการรู้ที่กายกับใจ เรียกว่านอกใจ นอกใจจากสติปัฏฐาน 4 ที่เป็นคู่แท้ของจิต

4. มุสาวาทาฯ คือ การที่สติไม่มีความตั้งมั่นพอ จนหลงกล่าววาจาที่แสดงถึงมานะ อัตตาของเราออกมา หรือหลงไปกับความคิด (กิเลส) ที่ลากจูงให้เกิดการพูด

5. สุราเมรยฯ คือ การที่จิตหลงเข้าไปเสพอารมณ์ ที่เกิดจากจิตทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แล้วเข้าไปมีอุปทานกับความรู้สึกนั้น ๆ เช่นมีความพอใจในการที่ได้กระทำกรรมดี แล้วรู้ไม่ทัน กับความรู้สึกสุขนั้น จนสร้างภพชาติของเทวดาขึ้น หลุดจากการรู้สึกตัว ที่เป็นหนทางหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร

จิตใดยังทำผิดศีล 5 ข้อนี่ มรรคผลก็มิอาจเกิดขึ้นได้ จนกว่าเราจะเจริญสติจนสามารถรักษาศีลของใจได้บริสุทธิ์ ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ก็จะเกิดขึ้นเอง
:b20: :b20: :b3: :b3: :b3: :b3: :b3:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 23:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2008, 23:08
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


รักษาจิตอย่างเดียวก็เท่ากับการรักษาศีลทั้งหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ผิดศีล 5 ไม่ใช่เกณฑ์ในการตัดสินว่า สิ่งนั้นเป็นความชั่ว

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าทรงให้ละความชั่ว ทำแต่ความดี คนทั่วไปมักคิดว่า ถ้าเราผิดศีล 5 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ คือ เรา
ไปฆ่าเขา ไปลักทรัพย์ ไปโกง ไปฉ้อเขา ไปประพฤติผิดทางเพศ ไปปดหลอกลวงเขา ไปดื่มเหล้า ไปเสพสิ่งเสพ
ติด มีกัญชา ฝิ่น ฯลฯ การกระทำเหล่านี้ถือเป็นบาป

ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะศีล 5 เป็นแค่ข้อปฏิบัติในกรณีส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่ใช้ได้ในทุกกรณี การ
ใช้ศีล 5 เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า สิ่งนั้นเป็นบาปเป็นความชั่ว ในบางกรณีจึงใช้ไม่ได้

ในหลักพระพุทธศาสนา "กรรม" หรือ การกระทำ แบ่งเป็น กุศลกรรม และอกุศลกรรม เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าสิ่งใด
เป็นกรรมดี และสิ่งใดเป็นกรรมชั่ว ตัวที่ตัดสิน คือ ....... เจตนา(ความตั้งใจ) .......

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เจตนาหํ ภิกขฺเว กมฺมํวทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต)กล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม"

ดังนั้น

ถ้าเรามีเจตนา(ตั้งใจ)ทำกรรมใดออกไปด้วย อกุศลจิต กรรมนั้นถือว่าเป็นบาป หรือความชั่ว แต่ถ้าเราเจตนาทำกรรม
ใดออกไปด้วยกุศลจิต กรรมนั้นก็ถือว่าเป็นบุญ

ตัวอย่าง ถ้ามีโจรกำลังจี้ชิงทรัพย์ หรือกำลังข่มขืน คนอื่นอยู่ เราเห็นเข้าเราก็ตะโกนไปว่า "ตำรวจมา" "ตำรวจมา"
เราผิดศีล 5 ข้อหามุสาแน่นอน แต่ทว่าการมุสาครั้งนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นบาป เพราะเราไม่มีเจตนาอกุศล เจตนาคือกรรม
เจตนาหรือความตั้งใจของเรา เพื่อช่วยคนที่กำลังเดือดร้อนจากการถูกเบียดเบียน ..... การมุสาครั้งนี้จึงถือว่าเป็นบุญ

สรุป เกณฑ์ในการตัดสินว่า การกระทำสิ่งไหนเป็นบาปหรือบุญ คือ เจตนาหรือความตั้งใจของเรา ที่กระทำไปเป็น
อกุศลหรือเป็นกุศล

เจตนาที่เป็นรากเหง้าของความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ

นอกเหนือจากเกณฑ์หลักดังกล่าวในข้างต้น เราควรใช้มโนธรรม คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเอง มาร่วมตัดสิน
ด้วยว่า การกระทำสิ่งนั้น ตนเองติเตียนตนเองได้หรือไม่ เสียคุณธรรมในใจหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
ผิดศีล 5 ไม่ใช่เกณฑ์ในการตัดสินว่า สิ่งนั้นเป็นความชั่ว


องคุลีมาล ตัดนิ้วคน ฆ่าคน ด้วยความเชื่อว่าเป็นบุญใหญ่
องคุลีมาลชั่วไหมคับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณา รูป นาม เป็นธรรม ข้อ ผู้ปฎิบัติ...senior แล้ว คือ ไม่ใช่เริ่มต้น..
รูป..ก็ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ ประกอบ เป็น ตัวเรา
นาม ก็ คือ สมมติ ชื่อเรียกว่า คนนี้ นะ ชื่อนัน คนโน้นชื่อ nuch
บ้านเรา หลังนี้ ชื่อบ้านเย็นอากาศ เป็นต้น
...
นามนั้นก็ทำให้เรา ยึดมั่นถือมั่น ว่า นี้ ของเรา
บ้านเย็นอากาศนี้เป็นของเรา
.........
แต่ธรรมชาติ เป็นของไม่ เที่ยง มีเสื่อมและดับ เป็นธรรมดา
เช่น ผ่านไป 30ปี บ้านเย็นอากาศ ของเราถูกขาย ไปเป็นของคนอื่นแล้ว
เจ้าของใหม่ เขา ก็ ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่เข้า แทนที่..
.......
เวลาเราผ่านไปที่บ้านเย็นอากาศ เรายังจำได้ที่ตรงนี้เราเคยวิ่ง เคยปีนต้นมะพร้าว
แต่เดี๋ยวนี้ ไม่มีภาพเก่าอีกแล้ว..
........

นี้แหละคือ นาม เราสมมติเอาเอง ว่า บ้านเย็นอากาศนั้น เป็นของเรา แต่ความเป็นจริง
มันเป็นของเราแค่ ไม่กี่ปี...
......
ร่างกายก็เหมือนกัน เราสมมติ ว่า นี้ นัน..
แต่ อีก 100ปี 200ปี นัน.. อยู่ที่ไหน..
ก็เหมือนบ้านเย็นอากาศ คือ ไม่อยู่ในกายนี้ แล้ว นัน..อาจจะเกิด ใหม่ ไปอยู่ในกายอื่น..
...........
พิจารณา เหล่านี้ คือ
เพื่อประโยชน์ ในการละความยึดมั่นถือมั่น เป็นราก
ถ้าละได้บ้างแล้ว เราก็ จะไม่อยาก พูดเท็จ เลย
ไม่อยากเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้เลย
ไม่อยากล่วงในสามีภรรยาลูก ของเขาเลย
ไม่อยากทำร้ายสัตว์หรือมนุษย์เลย
เพราะ สิ่งเหล่านี้ ก็เหมือนบ้านเย็นอากาศ มันจะแปรปรวนเปลี่ยนไป มีความแตกดับเป็นธรรม

อีกทั้งไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาทเพราะทราบว่าเวลาใน จะเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างรวดเร็ว
จะไม่อยาก ดื่มสุราทำตัวให้อยู่ในความประมาท
ไม่อยากเที่ยวกลางคืน ทำตัวให้เดือนร้อน
ไม่อยากคบคน พาล คนแนะนำ พูด ทำ คิด ไปในทาง ฉิบหาย


..........

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีความแตกดับเป็นธรรมดา

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาจะเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างรวดเร็ว

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:30
โพสต์: 61


 ข้อมูลส่วนตัว


nuch เขียน:
:b56: :b56: :b8: :b8: อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยกันเสนอแนะ เกี่ยวกับความเข้าใจเกี่ยวกับศีล 5 ในเชิงนามธรรมหน่อยคะ

1. ปาณาติปาตาฯ คือ การที่เราเข้าไปจัดการกับอารมณ์ หรือสภาวะทางใจต่าง ๆ ด้วยจิตที่ไม่เป็นกลาง ทั้งที่สิ่ง ต่าง ๆ เค้าก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นและดับไปด้วยตัวของเค้าเองตามธรรมชาติ

2. อทินนาทานาฯ คือ การที่เราเข้าไปยึดกายกับใจว่าเป็นตัวเรา ของ ๆ เรา ทั้งที่ธรรมชาติเพียงให้เรายืมชั่วคราวเท่านั้น แต่เรากับมีอุปทานยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมปล่อย แม้แต่สภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก็ยังเข้าไปแทรกแซง สร้างภพ สร้างชาติ ว่าเป็นเรา

3. กาเมสุมิจฉาจาราฯ คือ การที่เราส่งจิตออกนอก หลงกับสิ่งภายนอก ออกจากการรู้ที่กายกับใจ เรียกว่านอกใจ นอกใจจากสติปัฏฐาน 4 ที่เป็นคู่แท้ของจิต

4. มุสาวาทาฯ คือ การที่สติไม่มีความตั้งมั่นพอ จนหลงกล่าววาจาที่แสดงถึงมานะ อัตตาของเราออกมา หรือหลงไปกับความคิด (กิเลส) ที่ลากจูงให้เกิดการพูด

5. สุราเมรยฯ คือ การที่จิตหลงเข้าไปเสพอารมณ์ ที่เกิดจากจิตทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แล้วเข้าไปมีอุปทานกับความรู้สึกนั้น ๆ เช่นมีความพอใจในการที่ได้กระทำกรรมดี แล้วรู้ไม่ทัน กับความรู้สึกสุขนั้น จนสร้างภพชาติของเทวดาขึ้น หลุดจากการรู้สึกตัว ที่เป็นหนทางหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร

จิตใดยังทำผิดศีล 5 ข้อนี่ มรรคผลก็มิอาจเกิดขึ้นได้ จนกว่าเราจะเจริญสติจนสามารถรักษาศีลของใจได้บริสุทธิ์ ธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ก็จะเกิดขึ้นเอง
:b20: :b20: :b3: :b3: :b3: :b3: :b3:



อธิบายศีล 5 ในเชิงนามธรรม

ต้องถามก่อน ว่า นามธรรม ที่กล่าวมานี้ ท่านหมายถึงอะไร

หมายถึง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือป่าว? นี่คือขันธ์ 4

ส่วน รูปธรรม หมายถึง รูป


หรือ คุณตีความหมาย นามธรรม ว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือป่าว ?
ถ้าหมายถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตน มันกินความหมายได้กว้างมาก

และถ้าจะอธิบายในเชิงนามธรรม เพียงอย่างเดียว จะไม่ถูกต้องนะ มันจะต้องมีรูปธรรม ด้วย แยกกันไม่ได้

เราควรจะต้องพิจารณา เรื่องของ รูป นาม , ทวารทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ , อายตะนะภายใน และ ภายนอก ,ผัสสะ อย่างนี้เป็นต้นด้วย

เรื่องของศีล มันเกี่ยวของกับ การกระทำด้วย

ส่วนคนนั้น จะทำผิดหรือไม่ สติสัมปชัญญะ , อวิชชา ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ฉะนั้น ถ้าจะอธิบายในเชิงนามธรรมแล้ว ต้องคำนึงหลายด้านมาก เพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ขึ้นมา นั้น มันมีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด

เช่น ข้อ 1 การฆ่าสัตว์ คนจะฆ่า ก็ต้องมีสาเหตุ สาเหตุก็มีหลายประการ เป็นต้นว่า มีความโกรธ
มีความโลภ
คนจะโกรธ หรือ โลภ เป็นต้น ก็เกิดมาจากการขาดสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
จึงเป็นเหตุทำให้เกิดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ยึดถือมั่นใน รูป นาม

เมื่อมี อวิชชาแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้กระทำการฆ่าสัตว์ได้ ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆนาๆ


ฉะนั้น สรุปความว่า สติสัมปชัญญะ และ อวิชชา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในการที่จะรักษาศีล 5

ในการที่จะอธิบายเชิง รูปธรรม นามธรรม (ขันธ์5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร