วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2018, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรานโสณุดรเดินทางรอนแรมมายังไม่ถึง ๗ วัน ก็ถึงพระนครพาราณสี นำงาทั้งคู่อันงดงามเข้าไปถวายพระนางสุภัททาทันที พร้อมกับกราบทูลว่า “พญาช้างถูกยิงตายแล้ว เชิญทอดพระเนตรงาทั้งคู่ของพญาช้างนั้น
พระนางสุภัททา จึงนำวลัยแก้วมณีรับคู่งาของฉัททันต์ วางประดับแทบพระอุระ ทอดพระเนตรดูคู่งาอันงดงามของสามีในภพก่อน พลางทรงอนุสรณ์ว่า “พรานโสณุดรฆ่าพญาช้างผู้มีส่วนแห่งความงามเห็นปานนี้แล้ว นำงาทั้งคู่มาให้เรา” ระลึกต่อไปถึงพญาฉัททันต์ผู้เคยเป็นสามีพระนางในภพนั้น ก็ทรงมีความโศกเศร้า ไม่สามารถที่จะอดกลั้นได้ ทันใดนั้น พระหทัยของพระนางก็แตกสลายสิ้นพระชนม์ในวันนั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2018, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงนำเรื่องปางอดีต ของพระภิกษุณีซึ่งมานั่งฟังพระธรรมเทศนาอยู่ในวิหาร แล้วมีพระดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพบเห็นภิกษุณีสาวประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสนาของตถาคต ภิกษุณีนั้น คือ พระนางสุภัททาในครั้งนั้น เธอเป็นผู้ใช้พรานโสณุดรไปฆ่าพญาฉัททันต์ เรื่องราวปรากฏเช่นนี้แล
พระภิกษุณีนั้น ภายหลังได้เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2018, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายเหตุ ฉัททันตปริตนี้ ไม่มีบทขัดตำนาน ท่านรวมไว้กับบทขัดขันธปริต เข้าใจว่าพระโบราณาจารย์เห็นว่า เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิงห์สาราสัตว์ และเป็นประเภทสัตว์ร้ายด้วยกันกระมัง ประกอบกับพระปริตบทนี้มีข้อความสั้น จะสวดแต่ลำพังบทเดียวจะห้วนเกินไป ดังนั้น ถึงคราวสวดท่านจึงนิยมสวดต่อขันธปริตทีเดียว ไม่ต้องขัดตำนานใหม่

คาถาในฉัททันตปริตที่ว่า “วิธิสฺสเมนนฺติ ปรามสนฺโต ฯลฯ นั้น เป็นถ้อยคำของพรานโสณุดร ใช้บริกรรมภาวนาคุ้มกันตน ในตอนที่ได้งาพญาฉัททันต์แล้วเดินทางกลับบ้านเมือง ทำให้เขาปลอดภัยจากสัตว์ร้ายนานาในแดนไพร
ต่อมาถือกันว่าเป็นพระปริตสำคัญคุ้มกันสัตว์ร้ายในป่าได้ ผู้ที่เดินทางเข้าป่าดงจึงนิยมใช้บริกรรมกัน ทำให้ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายทั้งหลายนานาชนิดแล.

ข้อที่เป็นคติในทางปริตบทนี้ก็คือ “ไม่พึงประทุษร้าย ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2018, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สรณคมน์ การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึงที่ระลึก, หมายถึง การถึงรัตนะทั้งสาม (พระรัตนตรัย) คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึงที่ระลึก, เรียกว่า สรณาคมน์ บ้างก็มี (ในภาษาไทย บางทีพูดว่า "ไตรสรณคมน์" หรือ แม้แต่ "ไตรสรณาคมน์" ก็มี แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย ใช้เพียงว่า สรณคมน์)

คำถึงสรณะ ว่าดังนี้ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ) ธมฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ) สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ)

ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๒) ทุติยมฺปิ ธมฺมํ ....ทุติยมฺปี สงฺฆํ .... ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓) ตติยมฺปิ ธมฺมํ....ตติยมฺปิ สงฺฆํ....(ตามลำดับ)

การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทำให้เรามีเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ มีแหล่งที่สาดส่องให้แสงสว่างแห่งปัญญา ทำให้เกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ ปลอดภัย หายหวาดกลัว หายขุ่นมัวเศร้าหมอง มีจิตใจเบิกบานผ่องใส เกิดความเข้มแข็งที่จะทำความดีงามทำประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นการได้กัลยาณมิตรสูงสุด ที่จะชี้นำให้หยุดยั้งถอนตนจากบาป ให้ก้าวไปในกุศล พ้นจากอบาย บรรลุภูมิที่สูงขึ้นไปจนถึงความสุขแท้ที่เป็นอิสระไร้ทุกข์ทั้งปวง
ทั้งนี้ จะต้องมีศรัทธาถูกต้อง ที่ประกอบด้วยปัญญา นับถือโดยมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนและมั่นใจ มิให้สรณคมน์นั้นเศร้าหมองด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจผิดเพี้ยนหลงงมงาย หรือไม่ใส่ใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตำนานรัตนสูตร

ในอรรถกถารัตนสูตรกล่าวว่า แต่เดิมมากรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชี เป็นเมืองมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาธัญญาหาร เนืองแน่นไปด้วยอาณาประชาราษฎรร่มเย็นเป็นสุข ไม่เคยประสบความยากแค้นใดๆ
อยู่มาคราวหนึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นเอง พระนครนั้นเกิดฝนแล้งขาดแคลนอาหารถึงขนาด คนยากจนอดตายก่อนเพื่อน ซากศพถูกทิ้งเกลื่อน
พวกอมุษย์ได้กลิ่นซากศพ พากกันเข้าไปในพระนคร ซ้ำเติมทำอันตรายแก่มนุษย์ ก็ยิ่งทำให้คนตายมากขึ้น ในที่สุดเมื่อปฏิกูลมากเข้า อหิวาตกโรคก็เกิดระบาดไป ทำให้คนตายเหลือที่จะนับ นครเวสาลีได้ประสบภัย ๓ ประการพร้อมๆกัน ด้วยประการฉะนี้ คือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง) ๑ อมนุสภัย (ภัยจากอมนุษย์) ๑ โรคภัย (เกิดอหิวาตกโรค)

ชาวเมืองชวนกันเข้าไปร้องทุกข์ต่อพระราชาว่า ภัยร้ายแรง ๓ ประการนี้ ไม่เคยมีเลยในเมืองนี้นับได้ ๗ ชั่วคนแล้ว ชะรอยท่านผู้ครองรัฐจะประพฤติไม่ชอบด้วยทำนองคลองธรรมหรือไฉน จึงเกิดยุคเข็ญเช่นนี้
พระราชาพระทัยเด็ด โปรดให้ชาวเมืองประชุมกันที่ศาลากลางเมือง วิจัยความผิดของพระองค์ ก็ไม่เห็นความผิดของพระราชาสักน้อยหนึ่ง เป็นอันว่าภัยทั้งนี้มิใช่เกิดเพราะความอธรรมของผู้ครองรัฐแต่ประการใด จึงปรึกษากันต่อไปว่า ทำอย่างไรภัยร้ายแรงทั้ง ๓ นี้จึงจะสงบ
ผลการปรึกษาขั้นสุดท้ายตกลงให้เชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโปรด ด้วยเชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ทรงพระมหากรุณาและมีมหิทธานุภาพ เมื่อพระองค์เสด็จมา ภัยจะระงับกลับเกิดความสวัสดีโดยฉับพลัน

เวลานั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤค์แคว้นมคธ ในรัชสมัยพระเจ้าพิมพิสาร ชาววัชชีเกรงพระเดชานุภาพของพระองค์มาก และเกรงภัยการเมืองจะซ้ำเติมเอาเป็น ๔ ภัย จึงแต่งให้เจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นราชทูตคุมเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระองค์มาก ทูลความให้ทรงทราบแล้วขอพระราชทานวโรกาส กราบทูลเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปโปรดชาววัชชี ก็ได้รับราชานุเคราะห์เป็นอันดี ทูตชาววัชชีได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลเล่าความทุกข์ยาก แล้ววิงวอนเชิญเสด็จไปโปรดชาวกรุงเวสาลีให้พ้นภัย

พระบรมศาสดาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงคำนึงเห็นว่า หากพระองค์เสด็จไปกรุงเวสาลีในครั้งนี้ จะได้ประโยชน์ถึง ๒ อย่าง คือ ภัยจะสงบไปอย่างหนึ่ง ชาววัชชีได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว จะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก นั้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแผ่พระศาสนา จึงรับนิมนต์

พระเจ้าพิมพิสารทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์ ก็โปรดให้รีบแต่งทางเสด็จพระพุทธดำเนิน ระยะทางจากกรุงราชคฤค์ถึงแม่น้ำคงคาอันเป็นพรมแดนแห่งแคว้นทั้งสองนั้น ๕ โยชน์ รับสั่งให้ปราบพื่นถมดินทำทางให้เรียบ ให้ปลูกที่ประทับแรมทุกโยชน์ เตรียมให้เสด็จพระพุทธดำเนินแต่วันละโยชน์แล้วทูลเชิญเสด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุเป็นพุทธบริวาร ๕๐๐ รูป การส่งเสด็จคราวนั้น ทำอย่าง่เอิกเกริกมโหฬาร จัดคนกั้นร่มถวายภิกษุทุกรูป จัดอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงคนทุกที่พักแรม เสด็จถึงแม่น้ำคงคาเป็นเวลา ๕ วันพอดี

เรือที่จะใช้เป็นเรือส่งเสด็จข้ามฝากนั้น พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้แต่งเป็นเรือขนาน (คือเรือ ๒ ลำ ตรึงติดกัน) ทำมณฑปเป็นที่ลาดพุทธอาสน์ และจัดที่ให้พระภิกษุทั้งปวงนั่งเป็นระเบียบ ตัวเรือนั้นก็ตกแต่งงดงามยิ่งนัก

ข้างฝ่ายกรุงเวสาลีนั้น มีความยินดีหาที่เปรียบมิได้ เตรียมการรับเสด็จเป็นการใหญ่ แต่งทางตั้งแต่แม่น้ำคงคาจนถึงกรุงเวสาลี ซึ่งเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ อย่างเดียวกับที่ฝ่ายกรุงราชคฤค์ทำ แต่เพิ่มความมโหฬารขึ้นเป็น ๒ เท่า คอยรับเสด็จอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาในแดนของตน

เมื่อเรือส่งเสด็จใกล้ฝั่งวัชชีเข้าไป บัดดลก็มีเมฆฝนตั้งขึ้นมืดมาทั้ง ๔ ทิศ ฟ้าแลบแปลบปลาบ พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทแรกเหยียบดินที่ฝั่งแม่คงคาแดนวัชชี ฝนโบกขรพรรษก็ตกพรูลงมา

ฝนชนิดนี้ท่านกล่าวว่า ใครอยากให้เปียกก็เปียก ใครไม่อยากให้เปียกก็ไม่เปียก และที่เรียกว่า “โบกขรพรรษ” นั้น ก็อธิบายว่า ฝนเหมือนน้ำตกในใบบัว

ฝนตกมากและนาน น้ำไหลนองพัดพาสิ่งโสโครกต่างๆลงแม่น้ำลำคลองไปสิ้น พื้นดินซึ่งแห้งผากแลโสโครก ก็ชุ่มเย็นและสะอาดทั่วไปในแคว้นวัชชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณกรุงเวสาลีอันเป็นแดนภัย การนำเสด็จจากฝั่งแม่คงคาถึงกรุงเวสาลี เป็นเวลา ๓ วันพอดี

ครั้นพระผู้มีพระภาคถึงเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากก็มา ณ ที่นั้น เทวดาซึ่งเป็นใหญ่กว่ามากันมาก พวกอมนุษย์ก็ต้องถอยร่นหลบหลีกหนีไปเป็นอันมาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยืนที่ประตูพระนครเวสาลี รับสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร แล้วให้เข้าไปทำปริตรในภายในกำแพงสามชั้นแห่งกรุงเวสาลี พร้อมด้วยเจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อมไปด้วย
พระอานนท์เรียนจำรัตนสูตรซึ่งพระผู้มีพระภาคประทับยืน ตรัสบอกที่ประตูเมืองนั้นเองได้แล้ว ก็ขอพระพุทธานุญาตใช้บาตรของพระองค์ใส่น้ำเดินสวดรัตนสูตร พลางซัดน้ำในบาตรไปจนทั่วพระนคร

พอพระเถรเจ้าสวดขึ้นบท ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ พวกอมนุษย์หัวดื้อที่ไม่ยอมหนีไปแต่แรก (เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึง และเทวดาพวกพระอินทร์มา) แอบอยู่ตามที่ต่างๆ ก็ทนอยู่ไม่ไหวอีกต่อไป ชิงกันหนีออกทางประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู แน่นอัดยัดเยียด บางพวกทนรอออกทางประตูไม่ไหว ช่วยกันพังกำแพงหนีกระเจิงไปหมดสิ้น พอพวกอมนุษย์ออกไป โรคในตัวมนุษย์ก็หาย ผู้ที่หายโรคลุกได้ ก็ออกมาบูชาพระเถรเจ้าด้วยเครื่องบูชาต่างๆ

ในการรับเสด็จในเมืองเขาจัดแต่งศาลากลางเมืองเป็นที่ประทับ เมื่อเชิญเสด็จพระพุทธองค์ไปประทับแล้ว ภิกษุสงฆ์ คณะลิจฉวี ราษฎรก็เข้าไปเฝ้าที่นั่น แม้สักกเทวราชก็พาเทวดาทั้งปวงมาเฝ้าที่นั่นด้วย

ฝ่ายพระอานนท์เถรเจ้าเที่ยวทำการรักษาทั่วกรุงเวสาลีแล้ว ก็มาเฝ้าที่นั่น มีชาวพระนครเวสาลีติดตามมาเฝ้าด้วยเป็นอันมากรวมเข้าด้วยกัน ทุกพวกทุกเหล่าเป็นมหาสมาคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรัตนสูตรซ้ำอีกในมหาสมาคมนั้น เมื่อจบเทศนาลง ทุกสิ่งทุกอย่างดีหมด สรรพอุปัทวันตรายภัยพิบัติสงบหาย ความสวัสดีสุขใจสุขกายเกิดปกแผ่ทั่วไป พุทธเวไนยได้ศรัทธาปสาทะและเกิดความรู้ธรรมเป็นอันมาก ฯลฯ แต่นั้น ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารกลับอุดมเหมือนดังเดิม

ภัยร้ายแรง ๓ ประการในกรุงเวสาลี ถึงซึ่งความรำงับดับหายไปโดยเร็ว ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธปริตรคือรัตนสูตร ดังพรรณนามาฉะนี้


หมายเหตุ การสวดรัตนสูตรนี้ โดยทั่วไปมักสวดแบบย่อขึ้น ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ ไปถึงบท เย สุปฺปยุตฺตา แล้ว ก็ตัดข้ามไปสวดบท ขีณํ ปุราณํ เพียงนี้เท่านั้น ส่วนยานีอีก ๓ บทข้างท้ายนั้น เรียกว่า ยานีน้อย มักตัดออกไปเลยไม่สวด

รัตนสูตรเป็นบททำน้ำมนต์ พระที่เป็นหัวหน้าจะเริ่มหยดเทียนลงในที่น้ำมนต์ ตั้งแต่ เย สุปฺปยุตฺตา หรือ ขีณํ ปุราณํ เป็นอย่างช้า พอถึง นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ดับเทียน โดยจุ่มลงไปในน้ำมนต์ เป็นอันเสร็จการทำน้ำมนต์เพียงเท่านี้
ที่ดับเทียนเมื่อสวดถึงตรงนี้ก็โดยเคล็ดแห่งคำบาลีนั้น ซึ่งมีความว่า กิเลสและความทุกข์ของพระอริยเจ้าดับ เหมือนประทีปดวงนี้ดับไปฉะนั้น ส่วนเหตุผลที่ว่า ทำไมใช้บทนี้เป็นบททำน้ำมนต์ ตำนานบ่งชัดอยู่แล้ว


ถ้าเราเชื่อตำนาน ไม่เชื่อก็แล้วไป ที่ว่าพระอานนท์เดินสวดพระปริตรพร้อมซัดน้ำในบาตรไปนี่ ปัจจุบันเรียกน้ำมนต์ไหม หรือเรียกน้ำพระพุทธมนต์ เพราะเวลาทำบุญงานมงคลก็มีบาตรน้ำมนต์ สุดท้ายก็มีพรมน้ำมนต์ มันผิดไหม เห็นที่เขาวิจารณ์กัน

https://scontent.fbkk5-3.fna.fbcdn.net/ ... e=5BEB2FAD

https://www.facebook.com/84437797908482 ... =3&theater

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องราง ของที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยทำให้รอดปลอดภัย เช่น พระเครื่อง ตะกรุด ผ้ายันต์ มักเชื่อกันในทางรุนแรง เช่นว่า ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เป็นต้น

นิยมพูดรวมกับคำ “ของขลัง” (ของที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจบันดาลให้สำเร็จผลดังประสงค์ เช่นนำโชคลาภมาให้) ควบคู่กันว่า เครื่องรางของขลัง

เมื่อประมาณ ๒๐-๓๐ ปี หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีผู้คิดคำใหม่ขึ้นมาใช้ว่า วัตถุมงคล และนิยมใช้ตามกันทั่วไป จนบัดนี้ เหมือนว่าได้แทนที่ คำว่า เครื่องรางของขลัง แม้ว่าคำ “วัตถุมงคล” จะแปลความหมายได้กว้างกว่า ว่า สิ่งที่เป็นสิริมงคล หรือสิ่งที่นำสิริมงคลคือความดีงามความสุข ความเจริญมาให้ แต่คนทั่วไปมักเห็นความหมายอย่างเครื่องรางของขลังเท่าเดิม

สำหรับพุทธศาสนิกชน การนับถือพระเครื่อง คือเป็นหลักยึดเหนี่ยว ที่สื่อใจโยงให้สนิทแน่วในพระพุทธคุณ มาจนถึงคุณมารดาบิดาอุปัชฌาย์อาจารย์ และปลุกใจให้ปสาทะ เกิดความชื่นบาน มั่นแน่ว เข้มแข็ง มีกำลัง ทำให้จิตมีสติ และสมาธิที่จะทำการนั้นๆ อย่างได้ผลดีเต็มที่และใจสว่าง ใช้ปัญญาคิดการได้โปร่งโล่ง ทำการได้ลุรอด และลุล่วงสำเร็จถึงจุดหมาย

ถ้าใช้ถูกต้องอย่างนี้ ก็จะไม่ผิดหลักกรรม ไม่ขัดต่อศรัทธาในกรรม คือ เชื่อการกระทำ ว่าจะต้องทำเหตุปัจจัยให้เกิดผลที่ต้องการด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตน และจะเกิดผลดีทั้งระยะสั้นและระยะยาว

แต่ถ้าไม่รู้จักใช้ คือใช้ผิดหลักกรรม ขัดต่อศรัทธาในกรรม ก็จะเกิดความเสื่อมทั้งแก่ชีวิตและสังคม (ดู ปริตร)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 08:26 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร