วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2011, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2011, 17:22
โพสต์: 350

สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธธรรม,คู่มือมนุษย์
อายุ: 0
ที่อยู่: สิริชยรณํคาราเม บ้านงอบ ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: จักกสูตร ว่าด้วยจักร ๔ :b42:
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒-หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖
[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร (คือธรรมดุจล้อรถ) ๔ ประการนี้

เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้วได้จักร (ที่จะหมุนนำไปสู่
ความเจริญ) ๔ ประการ เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้ว ถึง
ความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ทั้งหลายไม่นานเลย จักร ๔ ประการ คืออะไร
คือ ปฏิรูปเทสวาสะ (ความอยู่ในถิ่นที่เหมาะ) ๑ สัปปุริสูปัสสยะ (ความพึ่งพิงสัตบุรุษ) ๑
อัตตสัมมาปณิธิ (ความตั้งตนไว้ชอบ) ๑ ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีความดีอัน
ได้ทำไว้ก่อน) ๑ นี้แลจักร ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบ
พร้อมแล้วได้จักร ๔ ประการ เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ถึงความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ทั้งหลายไม่นานเลย

นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ พึงทำ
อารยชนให้เป็นมิตร ถึงพร้อมด้วยความ
ตั้งตนไว้ชอบ มีความดีอันได้ทำไว้ก่อน
ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ เกียรติ และ
ความสุข ย่อมพรั่งพรูมาสู่นรชนผู้นั้น.

จบจักกสูตรที่ ๑

อรรถกถาจักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺกานิ คือ สมบัติ. บทว่า จตุจกฺกํ วตฺตติ ความว่า จักรคือ
สมบัติ ๔ ย่อมหมุนสืบต่อกันไป. บริษัท ๔ ย่อมปรากฏพร้อมในถิ่นใด ความอยู่ใน
ถิ่นอันสมควรเห็นปานนั้น ชื่อว่า ปฏิรูปเทสวาสะ ความอยู่ในถิ่นที่เหมาะ. ความพึ่ง
พิงคบหาสัตบุรุษมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ชื่อว่า สัปปุริสูปัสสยะ ความพึ่งพิงสัตบุรุษ.
การตั้งตนไว้ชอบ คือ ถ้าเป็นคนประกอบด้วยความไม่มีสัทธาเป็นต้นมาก่อน การละ
ความไม่มีสัทธาเหล่านั้นเสียแล้วตั้งอยู่ในสัทธา เป็นต้น ชื่อว่า อัตตสัมมาปณิธิ ความ
ตั้งตนไว้ชอบ. ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้ในกาลก่อน ชื่อว่า ปุพฺเพ จ กตปฺญฺญตา
ความเป็นผู้ทำบุญมาก่อน. ข้อนี้แหละ ถือเอาเป็นประมาณในจักร ๔ นี้. เพราะว่า
กุศลกรรมเท่านั้น อันคนใดทำด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณอันใด กุศลจิตนั้นแหละ ย่อม
นำคนนั้นเข้าไปอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ให้เขาคบหาสัตบุรุษ. ก็บุคคลนั้น ชื่อว่า ตั้งตนไว้
ชอบ ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ปุญฺญกโต แปลว่า ได้ทำบุญไว้แล้ว. บทว่า
สุขญฺเจตํ อธิวตฺตติ ความว่า และความสุขย่อมพรั่งพรู คือ แผ่ลงมาสู่บุคคลนั้นดังนี้.

จบ อรรถกถาจักรสูตรที่ ๑

.....................................................
ตถาตา มันเป็นเช่นนั้นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร