วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2020, 09:06 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หน่ายกาม

ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้แนะนำสอนพระฝรั่งที่ได้มาพบสนทนาภายในโบสถ์วัดเทพศิรินทร์ฯ หลังจากท่านได้ปฏิบัติกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูปัญญาภรณ์โสภณ (พระมหาอำพัน บุญ-หลง อาภรโณ)* จึงเห็นว่ามีความสำคัญมาก ได้ขออนุญาตจากท่านบันทึกไว้พิมพ์แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ เพราะจะได้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน โดยท่านพระมหาอำพันได้พิมพ์ทั้งในด้านภาษาไทย-อังกฤษไว้

ทั้งนี้ท่านทั้งสองเคยสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษ (ท่านเจ้าคุณนรฯ มีความชำนาญในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ขณะที่ท่านพระมหาอำพันเคยสอบชิงทุนไปเรียนเมืองนอก) ท่านพระมหาอำพันจะนำเรื่อง “หน่ายกาม” นี้มาใช้สอนลูกศิษย์ลูกหา ทั้งยังกำชับว่าถ้าทำได้ก็จะได้เป็นพระอนาคามี (ระดับก่อนถึงพระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก) พูดถึงเรื่องพระอนาคามีก็จะมีเรื่องที่ท่านเจ้าคุณนรฯ เคยกล่าวไว้ว่า

“พระอนาคามี ไม่มีสุกกะ (น้ำอสุจิ) เพราะตัดราคะได้สิ้น สุกกะจึงไม่จำเป็น ร่างกายก็ทำลายให้แห้งไป เพราะอนาคามีไม่ต้องการอาหารปากเพื่อไปหล่อเลี้ยงราคะ กระนั้นก็ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติ และเสียงก็ไม่แหบแห้ง เหมือนคนที่เป็นโรคทางกายและใจที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ”


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ท่านล่วงรู้ได้ด้วยจิตของท่านเองซึ่งเป็นการระบุถึงธรรมะอย่างน้อยที่ท่านได้บรรลุเป็นอย่างดี

หน่ายกามที่ท่านได้แนะนำสอนพระฝรั่งดังมีใจความดังนี้

Sensual craving arises through unwise thinking on the agreeable and delightful.
กามฉันท์ หรือกามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิด เห็นอารมณ์ต่างๆ เป็นที่ถูกใจและน่ายินดี

It may be suppressed by the following ๖ methods :-
สามารถข่มไว้ได้ด้วยวิธีทั้ง ๖ ดังต่อไปนี้ :-

๑. Fixing the mind upon an idea that arouses disgust.
เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปฏิกูล น่าเกลียดไม่งามของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความรักใคร่ หายความกำหนัดยินดี

๒. Meditation upon the impurity of the body.
เพ่งพินิจพิจารณาความปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติภาวนา มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอ็น กระดูก เป็นต้น)

๓. Watching over the sin doors of sense.
ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้ง ๖ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ อย่าให้ความรักใคร่ กำหนัด ยินดียินร้าย เกิดขึ้นภายในจิตใจ)

๔. Moderation in eating.
ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกายและลุกลามเข้าไปถึงจิตใจ ให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทะราคะ

๕. Cultivation friendship with the good.
ทำความวิสาสะคบหาสมาคม สนทนาปราศรัย สนิทสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตร เพื่อนผู้ดีงาม ที่จะชักชวนให้สนทนาไปในทางที่จะให้เสื่อมคลายหายความรักใคร่ กำหนัด ยินดี และยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

๖. Right instruction.
ฝึกฝนปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้องตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

(๑) พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ที่ล่วงออกมาทางกายวาจาด้วยศีล

(๒) พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วยสมาธิ (ย่นย่อ นิวรณ์ ๕ ลงเป็น ๓ คือ ๑. ราคะโลภะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ)


...๑. กามฉันท์นิวรณ์ ความพอใจในกาม เป็นฝ่ายราคะโลภะ
...๒. พยาบาทนิวรณ์ ความขึ้งเคียดโกรธเคือง เป็นฝ่ายโทสะ ที่เหลืออีก ๓ คือ
...๓. ถีนะมิทธะ ความหดหู่ง่วงเหงา
...๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ และ
...๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ทั้ง ๓ นี้เป็นฝ่ายโมหะ


(๓) พยายามกำจัดตัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียด ที่เกิดจากทิฐิความเห็นด้วยปัญญา ด้วยการพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งมีลักษณะเกิดขึ้น เสื่อมสิ้น ดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

The sensual craving is forever destroyed upon the entrance into Anagamiship.
กามฉันท์หรือกามตัณหานี้ สลัดกำจัดตัดได้อย่างเด็ดขาด ต่อเมื่อเข้าสู่กระแสพระอนาคามิมรรค บรรลุถึงพระอนาคามิผล

:b45: :b45:

หมายเหตุโดย sirinpho : * ท่านมีสมณศักดิ์ชั้นสุดท้ายเป็นที่ พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์

คัดมาจาก : - หนังสือ ตามรอย ธมฺมวิตกฺโก พระอรหันต์กลางกรุง
- หนังสือที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี หลวงปู่มหาอำพัน ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๔
- หนังสือ รวมพระธรรมเทศนา ๑๐๘ กัณฑ์ เล่ม ๑

ที่ระลึกในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕
จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธศาสตร์ เอสโซ่ :b8: :b8: :b8:


รูปภาพ
>>> จากซ้าย : ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ-หลง อาภรโณ)


:b44: รวมคำสอน “เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=46795

:b44: ประวัติและปฏิปทา “เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=46797


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2021, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 22:42 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 09:21 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2021, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


onion

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron