วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ดับร้อน :b44:

โดย อ.ประณีต ก้องสมุทร

ในท่ามกลางฤดูร้อน ท้องฟ้าโปร่งปราศจากเมฆหมอก แสงแดดแผดกล้า ความร้อนกระจายไปทั่ว ต้นไม้ใบหญ้าเหี่ยวเฉา ผู้คนพากันหลบร้อนอยู่ภายใต้ชายคาของอาคาร หรือร่มไม้ใบหนา แม้จะมีลมพัดมาเป็นครั้งคราว ลมนั้นก็พาเอาความร้อนมาด้วย ตามถนนหนทางหลายสาย และตามขุนเขาลำเนาไพร งดงามไปด้วยดอกไม้ป่าหลายสีต่างพรรณ ที่บานสะพรั่งเต็มไปทั้งต้น อาทิเช่น สีม่วงของอินทนิลและเสลา สีเหลืองของราชพฤกษ์และประดู่ สีชมพูอมขาวของชัยพฤกษ์สีแดงแสดของนกยูง แต่ความสวยสดใสของดอกไม้เหล่านั้น ก็หาช่วยให้ความร้อนคลายไปได้ไม่

นั่นเป็นเพียงความร้อนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งไม่นานก็จะแปรเป็นความเย็นชุ่มฉ่ำ เมื่อฤดูฝนเยื้องกรายมาแทนที่ และพระพิรุณโปรยปรายลงมา ให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้และแผ่นดิน

ก็ความร้อนที่เกิดจากลมฟ้าอากาศนั้น อย่างมากก็เพียงทำให้ร้อนกาย ซึ่งยังจะมีทางบรรเทาได้ด้วยน้ำ หรือด้วยอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นหลายชนิด หรือแม้เพียงด้วยพัดใบลานเล่มเดียว

แต่ความร้อนใจเมื่อเกิดขึ้น เราไม่อาจดับได้ด้วยน้ำ หรือด้วยอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะความร้อนใจนั้น ถึงจะมีสาเหตุมาจากสิ่งอื่น บุคคลอื่นภายนอก หรือแม้จากภายในใจของเราเอง สาเหตุเหล่านั้นก็เป็นเพียงสาเหตุที่เรายกมาอ้างกันเท่านั้น มิใช่สาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่แท้จริงของความร้อนใจนั้นคือกิเลส ที่หมักดองสะสมอยู่ในใจของเรามาช้านานต่างหาก ก็เราไม่มีกิเลสแล้วความร้อนใจเพราะเหตุต่างๆ เหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

ต้นเหตุของความร้อนใจจึงอยู่ที่กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ

พระพุทธองค์ตรัสว่า ๑ สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะ ร้อนเพราะไฟคือโทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ

๑ จากอาทิตตปริยายสูตร วินัยปิฎก มหาวรรค ข้อ ๕๕


ร้อนเพราะไฟคือราคะอย่างไร ดูได้จากชาดกเรื่องนี้ ๒

๒ ภัลลาติยชาดก ขุททกนิกาย วีสตินิบาตชาดก ข้อ ๒๑๕๓-๒๑๖๓

พระพุทธเจ้าของเรา ครั้งยังทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ ได้ทรงพบมา แล้วตรัสเล่าเรื่องนี้ ไว้เป็นเครื่องเตือนสติสาวกทั้งหลายไม่ให้มัวเมาประมาท

พระเจ้าภัลลาติยะเสด็จประพาสป่าล่าเนื้อโดยลำพังพระองค์กับฝูงสุนัขไล่เนื้อ ได้เสด็จไปถึงภูเขาคันธมาทน์ซึ่งอุดมไปด้วยไม้ดอก และไม้ใบนานาพรรณ พระองค์ทรงพบสัตว์ ที่มีเพศพรรณคล้ายมนุษย์สองสามีภรรยา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเหมวดี สัตว์ทั้งสองนั้นสวมกอดกันร้องไห้บ้าง หัวเราะบ้างมิรู้หยุดหย่อน

พระราชาภัลลาติยะทรงแปลกพระทัย จึงทรงให้สัญญาณแก่ฝูงสุนัขให้หมอบคอยอยู่ แล้วเสด็จไปตรัสถามว่า

“เจ้าทั้งสองเป็นใคร จึงมีเพศพรรณคล้ายมนุษย์ ชาวโลกเรียกเจ้าว่าอะไร”

ได้รับคำตอบว่า “เราเป็นมฤค มีเพศพรรณคล้ายมนุษย์ ชาวโลกเรียกเราว่า กินนร”

พระราชาตรัสถามว่า “เจ้าทั้งสองมีทุกข์ร้อนมากนักหรือ จึงร้องไห้คร่ำครวญมิรู้สร่างซา”

กินนรทูลว่า “เราทั้งสองคิดถึงวันที่ต้องพรากจากกันไปหนึ่งราตรี จึงร้องไห้คร่ำครวญ ไม่ปรารถนาจะพบวันเช่นนั้นอีก”

พระราชาตรัสถามถึง เหตุที่สามีภรรยาต้องพรากจากกัน

นางกินนรีเล่าว่า “ในฤดูฝนวันหนึ่ง เราเที่ยวไปตามโขดหินน้อยใหญ่ริมแม่น้ำ ที่อุดมด้วยพรรณไม้ดอกส่งกลิ่นหอมรวยริน สามีของเราข้ามฝั่งแม่น้ำไปแล้ว ด้วยคิดว่าเราจะข้ามตามไป แต่เรามัวเพลินเลือกเก็บดอกไม้มาร้อยกรองเป็นมาลัยอยู่ หวังจะให้สามีที่รักได้ทัดทรงดอกไม้ แล้วเราก็จะสอดแซมดอกไม้เข้าไปนอนแนบสามี

ก็เพราะเรามัวเก็บดอกไม้อยู่นั่นแหละ น้ำได้ขึ้นมาเต็มฝั่ง พัดเอาดอกไม้ลอยตามน้ำไปหมด เราข้ามไปหาสามีไม่ได้ แม้สามีก็ข้ามมาหาเราไม่ได้ ได้แต่เฝ้ามองกันอยู่คนละฝั่ง เวลาฟ้าแลบครั้งหนึ่ง ก็ได้เห็นหน้ากันทีหนึ่ง เมื่อเห็นหน้ากัน ก็ดีใจหัวเราะขึ้น ครั้นฟ้าไม่แลบ เดือนมืดมองไม่เห็นกัน ก็ร้องไห้คิดถึงกัน เราเฝ้าแต่เวียนหัวเราะและร้องไห้อยู่อย่างนี้ทั้งคืน

ครั้นรุ่งเช้าน้ำลด จึงได้ท่องน้ำมาหากัน ต่างดีใจสวมกอดกันด้วยความรัก เมื่อเราทั้งสองคิดถึงคืนที่ต้องจากกันครั้งไร ก็ร้องไห้และหัวเราะอีก เป็นเช่นนี้มานานถึง ๖๙๗ ปีแล้ว

ส่วนท่านพรานเป็นมนุษย์ มีอายุน้อยเพียง ๑๐๐ ปี เหตุใดจึงทิ้งภรรยาที่รักมาเที่ยวป่า ไกลถึงเพียงนี้”

พระราชาตรัสถามว่า “กินนรมีอายุยืนนานเท่าไร”

ได้รับคำตอบว่า มีกำหนดอายุ ๑,๐๐๐ ปี ไม่ถึงกำหนดก็ไม่ตาย และรักใคร่กันอยู่อย่างนี้ไม่มีจืดจาง

พระราชาทรงสดับแล้วสลดพระทัย ทรงดำริว่า “ชีวิตของเราสั้นกว่าพวกกินนรมากนัก ไม่ควรทิ้งพระเทวีและราชสมบัติมาเที่ยวป่า ควรกลับไปบำเพ็ญกุศล”

ครั้นทรงดำริแล้ว ก็เสด็จกลับเข้าเมือง ตรัสเล่าเรื่องที่ทรงพบมาให้พระอัครมเหสีและข้าราชบริพารฟัง จากนั้น พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญกุศลอยู่จนตลอดพระชนมายุ โดยไม่ประมาท ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จอุบัติในเทวโลก

ไม่น่าเชื่อว่าเพียงชาติเดียว ไฟคือราคะ ได้เผาไหม้กินนรสองสามีภรรยามานานถึง ๖๙๗ ปี และจะเผาไหม้ต่อไปอีกกี่ชาติ นานเท่าใด หาทราบไม่

ความยึดถือผูกพันกันด้วยราคะ คือความกำหนัดยินดี จึงเป็นภัยอย่างนี้ ผู้ไม่เห็นโทษของราคะตัณหา ย่อมตกอยู่ในอำนาจของมาร ต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ย่อมตกไปตามกระแสของราคะ ติดอยู่ในกระแสของราคะ เหมือนปลาติดข่าย เพราะเหตุที่ไฟราคะเผาไหม้จิตใจของผู้มีราคะ ให้เร่าร้อน เป็นทุกข์ ถ้าราคะมีกำลัง ก็ถึงกับกระทำอกุศลทุจริต ๑๐ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้นได้

เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ราคะนั้นเกิดขึ้นเพราะได้อารมณ์ที่ชอบใจ ก็อารมณ์ที่ชอบใจนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เพราะฉะนั้นราคะความยินดีจึงเกิดขึ้นได้แทบทุกเวลานาที หากขาดสติ

ราคะนั้นมิได้หมายเฉพาะ ความยินดีในเรื่องเพศเท่านั้น แต่รวมไปถึงความยินดีทุกชนิด ไม่ว่าจะยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่า กามราคะ ยินดีในรูปฌาน ที่เรียกว่า รูปราคะ หรือยินดีในอรูปฌานที่เรียกว่า อรูปราคะ ยินดีในญาณของวิปัสสนา ที่เรียกว่า ธรรมราคะ ก็ชื่อว่า ราคะ ความยินดีทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไฟคือราคะ หรือโลภะนั้นมีโทษน้อย แต่คลายช้า ที่ตรัสเช่นนั้น ทรงหมายเอาความยินดีธรรมดา เช่น ความรักลูกเมีย การหาสามีภรรยาให้ลูกเป็นต้น อันไม่เป็นเหตุให้ไปอบาย แต่ก็คลายได้ช้า เพราะยึดมั่นผูกพันกันทั้งในชาตินี้และชาติต่อไปนับไม่ถ้วน แม้โลภะที่ต้องการเกิดในที่ดีมีสวรรค์เป็นต้น แล้วบำเพ็ญกุศลเพื่อให้เกิดในที่ดีเหล่านั้น ก็มีโทษน้อย แต่ถ้าเป็นโลภะที่ถึงขั้นทำอกุศลทุจริต มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็มีโทษมากเพราะนำเกิดในอบายได้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เราจะดับไฟ ๓ กองนั้นได้อย่างไร พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ดังนี้

คนที่มีราคะตัณหา ยินดีพอใจในสิ่งต่างๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอยู่เสมอ ดิ้นรนที่จะแสวงหาสิ่งเหล่านั้นมาบำรุงบำเรอตนมิรู้หยุดหย่อน ต้องใช้ธรรมะคือ สันโดษ ความยินดีในของที่ตนมีอยู่ ไม่ต้องการของที่ตนไม่มี เช่น คนที่มีสามีภรรยาแล้ว ก็ยินดีในเฉพาะภรรยาสามีของตนเท่านั้น ไม่ยินดีพอใจในชายหญิงที่มิใช่ภรรยาของตน เพียงทุกคนประพฤติตนอยู่ในสันโดษ ไม่ล่วงศีลข้อกาเมเพียงข้อเดียว ปัญหาเรื่องการคบชู้ หรือผิดลูก เมีย สามีผู้อื่น ตลอดจนการฉุดคร่า ข่มขืน ก็คงไม่มี

คนที่อยากได้โน่นได้นี่ไม่รู้จบสิ้น หรือไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนได้มา ถ้าใช้ธรรมะข้อนี้ ก็คงเหลือกินเหลือใช้ ไม่ต้องเป็นหนี้สิน หรือไม่ต้องลักขโมย ฉ้อโกง เบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่น นั่นคือ ความพอใจเท่าที่ตนมี เท่าที่ตนหามาได้โดยชอบธรรม หรือพอใจเท่าที่ฐานะของตนจะอำนวยให้ ไม่พอใจเกินกว่านั้น เรียกว่า ไม่อยากได้ให้เกินกำลัง เกินฐานะของตน

คนที่ขาดสันโดษจึงเป็นทุกข์เดือดร้อน เพราะต้องเที่ยวเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆ มาบำรุงบำเรอความอยากของตน เมื่อได้มาแล้วก็อยากได้ต่อไปอีก ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ

โดยปกตินั้น น้ำในแม่น้ำยังมีเวลาพร่อง หรือเต็มฝั่ง แต่ตัณหาความอยากความต้องการนั้น มีแต่พร่องอย่างเดียวไม่มีเวลาเต็มเลย เพราะได้เท่าไรก็ไม่พอ ได้ภูเขาทองมาลูกหนึ่งแล้ว ก็ยังอยากได้ลูกที่สองอีก ที่สามอีก

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นตฺถิ ตณฺหาสมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี

ก็ราคะและตัณหานั้น เป็นเพียงชื่อหนึ่งของโลภะ นั่นเอง

สันโดษจึงมีคุณมาก เพราะระงับความอยากเสียได้

อนึ่ง สันโดษ มิได้หมายถึง การงอมืองอเท้า ไม่ทำการงาน รอคอยความช่วยเหลือของผู้อื่น นั่นเป็นลักษณะของ โกสัชชะ ความเกียจคร้าน อันเป็นอกุศล หากแต่ว่า สันโดษ หมายถึงความยินดีพอใจเฉพาะของที่ตนมี ตนได้ ไม่ยินดีพอใจในสิ่งที่ตนไม่มีและไม่ได้ คนมีสันโดษเป็นคนรู้จักอิ่ม รู้จักพอ ไม่มักมาก

สันโดษจึงเป็นกุศล ที่ทุกคนควรเจริญให้มีขึ้นเป็นธรรม ที่ช่วยบรรเทาราคะตัณหาให้เบาบางลง เป็นมงคลข้อหนึ่งใน มงคล ๓๘

นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที

ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี

จาก ขุ. คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ ข้อ ๒๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 07:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุการนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 13:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2013, 15:12
โพสต์: 152

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากคนในโลกปฏิบัติได้ ทุกครอบครัว ทุกข์บ้านคงพบแต่ความสุข ชีวิค คน คนความหายคือหมุนวน ไม่รู้จักจบจักสิ้นกับกิเลสและตัณหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ :b8:

เราเวียนว่ายตายเกิดกันมานานค่ะ เวรกรรมก็ทำไว้ไม่น้อยแล้วก็สารพัดจะทำมาแล้วทั้งนั้น ทีนี้วันนี้
เวรกรรมอะไรมันได้โอกาสส่งผลให้เราทุกข์ได้ มันก็มาตามเหตุปัจจัยของมัน พอมันส่งผลหมดมันก็ต้อง
จบ ทีนี้อะไรจะมาส่งผลต่ออีก ก็รอดูกันไปค่ะ แต่ถ้าอยากให้บุญที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผล ก็ต้องทำกรรมดี
ในปัจจุบันขณะนี้ไว้ไม่ให้ขาดสายค่ะ เดี๋ยวพวกเดียวกันคือบุญที่เคยทำไว้ในอดีต เจอเหตุปัจจัยที่ดีใน
ปัจจุบันเข้า มันจะจูนกันเข้ามาเองค่ะ เหมือนเราสร้างเหตุปัจจุบันไว้ให้เหตุทีเคยสร้างไว้ในอดีตที่เป็นพวก
เดียวกันส่งผลเป็นความสุขเข้ามาหาเราค่ะ สร้างกุศลก็จะดึงกุศลด้วยกันมา สร้างอกุศลก็จะดึงอกุศลด้วย
กันมาค่ะ และถ้าทำกรรมดีไว้ขณะปัจจุบัน ถึงกรรมชั่วที่แรงหนักๆ ในอดีตส่งผลล่ะก็ ก็จะลดความแรงลงค่ะ

พูดถึงผู้ชายที่ดีจริงๆ นั้นก็ยังมีอยู่นะคะ ไม่ใช่จะเหมารวมหมด เพราะที่เห็นว่าเป็นสามีที่ดีนั้นเค้าดีจริงๆ
ไม่มีกิ๊ก ไม่ข้องแวะแทะเล็มผู้หญิงที่ไหน สุภาพเรียบร้อยดูแลครอบครัว ดิฉันเห็นแล้ว พูดได้คำเดียวว่า
คนที่เป็นเมียผู้ชายแบบนี้ไม่ต่างจากคนที่ถูกล๊อกเตอรี่รางวัลที่1 ค่ะ แล้วเมียเค้ามีความสุขจริงๆ นะคะ
สามีเค้ารักจริงๆ ค่ะ เคยเห็นหลายคู่เหมือนกันที่เป็นแบบนี้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b41: นิทานชาดกอ่านแล้ว ก็ต้องย้อนเข้าดัวเอง
จริงอย่างนั้น อายุเกิน ๑๐๐ ก็มีไม่มาก ไฉนพวกเรายังท่องเที่ยวไปในความ โลภ โกรธ หลง
แล้วมันจะมีเวลาที่จะทำกุศลอยู่สักเท่าไหร่เชียว คิดแล้วมันก็เศร้าอย่างที่พระราชาได้สำนึกนั่นแหละ
ขอบคุณ คุณโสมอุษา นำมาฝากเป็นธรรมทานครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2019, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2019, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 09:02 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร