วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 01:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปแอบชอบ เด็กสาวรุ่นน้องในที่ทำงาน ^ ^ แต่สาวเจ้ากลับมีแฟนแล้ว
ไอ้ผมมันก็ไม่ใช่คนดีนัก แต่ว่าดันเป็นผู้รักใคร่ศึกษาธรรมอยู่เหมือนกัน(ผมโสด)
เลยปวดสมองครับ ก็เห็นรูปกายเธออยู่เกือบทุกวัน ห้ามกายวาจาไม่่ให้ไปในทางผิดพอจะได้ไม่ยากนัก
แต่ห้ามใจไม่ให้คิดน่ะมันยากมากจริงๆ บางทีก็ทำใจได้ บางทีก็ปลื้มจนอยากจะเข้าไปสานสัมพันธ์ด้วย
มันก็เลยเป็นทุกข์ตามธรรมดา แต่มันแก้ไม่ตกสักที

คือน้องเค้าก็ยังวัยรุ่นนะ บางทีผมก็คิดเข้าข้างตัวเองว่าเรามีโอกาศแล้วก็ไม่เคยเห็นแฟนเค้าเลย แต่เราพอรู้อย่างแน่ชัดว่าเค้าก็มีคนที่คบที่คุยกันอยู่ หนุ่มสาวเราสมัยนี้(คิดว่าตัวเองยังหนุ่มน่ะครับ) บางทีชอบคิดว่ายังไม่แต่งงานไม่ผิด แต่ว่า!! กามคือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ถ้าพลาดพลั้งไปเสพเข้า ในของที่เค้ามีผู้ถือครองอยู่ หรือเรามีผู้ถือครองอยู่ก็ดี ย่อมละเมิด กฎข้อที่ ๓ แน่นอน ผมว่า แม้จะยังไม่ถึงขึ้นมีอะไรกัน แต่การได้สัมผัส ละเมิดในของทั้งห้าอย่าง ที่ว่ามาในลักษณะจงใจและรู้ว่าเค้ามีเจ้าของ พูดง่ายๆคือ แค่กอดกัน หรือจับมือกันผมว่าเข้าข่ายผิดศีลข้อ3 แล้วนะ อย่างผมน่ะแค่คิดนี่ยังไม่ ถึงกับผิดศิล แต่ก็ทำให้รบกวนจิตใจให้เร่าร้อนเป็นอกุศลในระดับหนึ่งแล้ว อันนี้ถูกผิดประการใด ??? ช่วยชี้แนะแลกเปลี่ยนด้วยครับ

ทีนี้สิ่งที่ผมอยากทราบก็คือ ถ้าแก้ด้วยเมตตาจะได้ผลไหมครับ จากหัวข้อที่ผมตั้งไว้ ผมก็ทำนะครับ แต่ว่าการเจริญเจาะจงไปในผู้ที่เรารักจะทำให้ ความรักใคร่เข้ามาครอบงำแทนไม่ได้ประโยชน์จากการเจริญเมตตาอย่างแท้จริง ถ้าจะเจริญได้ สำหรับผมต้องทำตอนอยู่คนเดียวน่ะครับ ไม่ถึงขั้นเป็นสมาธิ แต่พอจะทำให้รู้สึกดี มีความสุขจิตใจเย็นสบายขึ้นมาบ้าง แต่ต้องไม่นึกถึงเธอผู้ที่เรารักใคร่ชอบพอ ทีนี้เวลาที่ต้องเจอะเจอกัน เราก็พยายามเจริญเมตตาไปในตัวเธอ แต่ผมว่ามันยิ่งทำให้เรารักใคร่หรือชอบใจมากไปกว่าเดิมอีก เลยสงสัย ตามหัวข้อที่ตั่งไว้นั่นแหละครับ??? .. หรือว่าที่จริงแล้วต้องใช้ กายคตาสติ แบบว่าเอาให้เลิกชอบใจ เลิกหลงไหล ไปเลยครับ เคยพยามเหมือนกัน แต่เวลาเจอกัน ไม่ไหวครับ เอาไม่อยู่จริงๆ .. ปล. ผมไม่ใช้คนที่ปฏิบัติกรรมฐานกองใดจนเป็นสมาธิได้เลยนะครับ แต่ท่านใด .. มีวิธีทีแก้ปัญหาได้ตรงจุด ใช้ได้ผล ได้โปรดแนะนำผมด้วย ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


Dawning G. เขียน:
อย่างผมน่ะแค่คิดนี่ยังไม่ ถึงกับผิดศิล แต่ก็ทำให้รบกวนจิตใจให้เร่าร้อนเป็นอกุศลในระดับหนึ่งแล้ว อันนี้ถูกผิดประการใด ??? ช่วยชี้แนะแลกเปลี่ยนด้วยครับ

เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ คือเกิดมิจฉาสังกัปปะ จิตน้อมไปในเรื่องกามวิตก
ตามที่โยมเข้าใจ เพียงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ไหลไป
เข้าทางของ กามคุณ ภาวตัณหา เรียกง่ายๆ ว่าจิตมันมีแต่จะดึงเข้าๆ

โยมคิดโยมนึก ในทางชอบพอ ก็แค่ทิฏฐิวิบัติ มิิจฉาสังกัปปะ ไม่เดือด
ร้อนวุ่นวาย ไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่ได้ล่วงเกินทำผิดต่อใคร

ต่อเมื่อ คุณโยมเริ่มพูดจา ต่อเธอให้เกิดความเข้าใจไปในทาง มีใจ
หรือแสดงออกทางกาย ยิ่งๆ ขึ้นไป หากอยู่ในขอบเขตของ เพื่อนที่
ร่วมงานกัน ความเป็นพี่เป็นน้องกัน ก็ไม่มีอะไรเสียหาย ยังคงรักษา
ความเป็นสุภาพบุรุษเอาไว้ได้ ต่อเมื่อ มีการกระทำ คำพูด เชิงชู้สาว
สัมผัสแตะต้อง ทำให้ต่างฝ่ายต่างเกิดความรู้สึก ไปในทาง กามวิตก
เมื่อนั้น การกระทำ คำพูดของเราเอง ที่มันบั่นป่วนในเฉพาะจิตใจเรา
มันได้ถ่ายเท พลังงาน(ภาวตัณหา)ออกไป เกิดการกระทำ คำพูด
อย่างนั้นเมื่อไหร่ ในระดับสังคมปกติ ที่เกี้ยวพาราสีกัน ในระดับคนที่
ไม่ศึกษาธรรม ไม่ระวังเรื่องศีลข้อ ๓ ถือกันว่าปกติเป็นเรื่องธรรมดา
ในระดับคนที่ศึกษาธรรมะแล้ว สิ่งที่เราทำออกมาทางกาย วาจานั้น
เรียกว่า ศีลวิบัติแล้ว เหตุเพราะ ปล่อยให้กามวิตกที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น
ให้มันเจริญ ให้มันงอกงาม

ดังนั้น ที่โยมเข้าใจว่าเป็นอกุศลระดับหนึ่งนั้น นั่นคือ กามวิตก เป็นมิจฉา
สังกัปปะ ดำริ คิดนึกเรื่องกาม หากเป็นสัมมาสังกัปปา ก็พึ่งเว้น การตรึก
นึกคิด ดำริไปในเรื่องกาม เพื่อไม่ให้ เกินเลย ออกไปทางกาย ทางวาจา
จนเกิดเหตุให้ ศีลวิับัติ คือยังคงรักษาความเป็นสุภาพบุรุษไว้ได้ แค่คิด
ทำให้ตนเองปั่นปวน อำนาจของภาวตัณหา กำลังเล่นงานเราอยู่ ยังไม่ได้
ผิดศีล เป็นเพียง ทิฏฐิวิบัติ เกิดความยึดถือหลงเข้าใจ ในสิ่งที่เห็น มหาภูต-
รูป ๔ ยึดถือสภาพ ชายหญิง ผิดไปจากความเป็นจริง ในระดับปัญญา ^^

อ้างคำพูด:
ทีนี้สิ่งที่ผมอยากทราบก็คือ ถ้าแก้ด้วยเมตตาจะได้ผลไหมครับ จากหัวข้อที่ผมตั้งไว้ ผมก็ทำนะครับ แต่ว่าการเจริญเจาะจงไปในผู้ที่เรารักจะทำให้ ความรักใคร่เข้ามาครอบงำแทนไม่ได้ประโยชน์จากการเจริญเมตตาอย่างแท้จริง ถ้าจะเจริญได้ สำหรับผมต้องทำตอนอยู่คนเดียวน่ะครับ ไม่ถึงขั้นเป็นสมาธิ แต่พอจะทำให้รู้สึกดี มีความสุขจิตใจเย็นสบายขึ้นมาบ้าง แต่ต้องไม่นึกถึงเธอผู้ที่เรารักใคร่ชอบพอ ทีนี้เวลาที่ต้องเจอะเจอกัน เราก็พยายามเจริญเมตตาไปในตัวเธอ แต่ผมว่ามันยิ่งทำให้เรารักใคร่หรือชอบใจมากไปกว่าเดิมอีก เลยสงสัย ตามหัวข้อที่ตั่งไว้นั่นแหละครับ??? ..

ข้างต้นเรียกว่า เอียงไปข้างหนึ่งแล้วนะครับ คือจิตมันดึงเ้ข้าหากันและกัน
อันนี้อำนาจของ ภาวตัณหา ความมี เมตตาที่ยังเจือยังปนด้วยตัณหาราคะ
ในการเจริญเมตตา ที่สัมฤทธิ์ผล จะเกิดความปรารถนาให้เธอได้ รับกามคุณ ๕
รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส ตลอดจนคุณสมบัติ ทรัพย์สัมบัติ รูปสัมบัติ ที่น่าใคร่
น่าพอใจ พูดสั้นๆ ว่าอยากปรารถนาให้เธอมีความสุข พึงสังเกตุว่า คุณของ
เมตตา ถ้ามีความเป็นกลาง บริุสุทธิ์ มีความตั้งมั่นของจิต จริง! จะระงับความ
ขัดข้องแค้นเคืองต่อบุคคล ต่อสัตว์ทั้งหลาย

ส่วนวิบัติของเมตตา คือลักษณะตรงข้ามและทำลาย และมีผลตรงกันข้าม
นั่นก็คือ ความเสน่หา รักใคร่ชอบพอขึ้นมา ลองสำรวจดูดีๆ ว่า เมตตาที่เรา
คิดว่ามีและเป็นเมตตา กำลังเป็น คุณหรือวิบัติ ^^

สติสัมปชัญญะ ปัญญา ความเป็นกลาง ความรู้แจ้งนะครับ จะทำให้ ไม่หลง
จะทำให้เท่าทันในเวลา ที่จิตไหลออกไปในทาง เสน่หา ใจไปก่อน ตาไปที่หลัง
ความรัก เมตตาเจือตัณหา ค่อยๆ ครุกรุ่นขึ้นปั่นป่วนในอก หายใจไม่เป็นระบบ
ระเีบียบ มันจึงมักชอบถ่ายเท พลังงาน แสดงการกระทำหรือคำพูด ที่เรียกว่า
มีเมตตา แต่ดูให้ดี มันเป็นคุณ(สลายความขัดแย้งขัดข้องสงบระงับ)หรือว่า
มันเป็นวิบัติ(เสน่หา ปรารถนาครอบครอง เร้าร้อน โหยหา ขาดไม่ได้)

ดังนั้นหากขาดสติสัมปะชัญญะ ต่อให้ นึกว่าตนเองเจริญเมตตา ถ้ามันไม่เกิด
เมตตาคุณ ก็เมตตาวิบัติ มีแค่สองอย่าง ไม่พอดี ก็เกิน ^^

อ้างคำพูด:
หรือว่าที่จริงแล้วต้องใช้ กายคตาสติ แบบว่าเอาให้เลิกชอบใจ เลิกหลงไหล ไปเลยครับ เคยพยามเหมือนกัน แต่เวลาเจอกัน ไม่ไหวครับ เอาไม่อยู่จริงๆ .. ปล. ผมไม่ใช้คนที่ปฏิบัติกรรมฐานกองใดจนเป็นสมาธิได้เลยนะครับ แต่ท่านใด .. มีวิธีทีแก้ปัญหาได้ตรงจุด ใช้ได้ผล ได้โปรดแนะนำผมด้วย ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

กายคตาสติ มีเอาไว้ ให้จิตเกิดสมาธิ ไม่ใช่ให้ ตัวตนบุคคลเราเกิดสมาธิ
และเหนือกว่าขึ้นไปอีก คือทำให้จิตมีปัญญา รู้แจ้งสภาพธรรม สัตว์บุคคล
ชายหญิงเราเขา ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ทำให้ตัวตนบุคคลเราเกิดปัญญา

เพราะหากไม่เจริญ จิตที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี้ ก็จะติดส่วนสุดสอง
อย่าง ลำเอียง เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เหมือนข้างต้น โดยไม่รู้ไม่เท่าทันตาม
ความเป็นจริง เบื้องต้น จิตก็ไหลก็ดึงๆ ดึงเข้าสู่ มิจฉาสังกัปปะ เกิดกามวิตก
เกิดความปรารถนา รักใคร่ชอบพอ แล้วเดี๋ยวๆ ก็มาพลัก มาละ มาเลิก แต่
ก็ยังหนีความ วิปลาส หนีความหลงผิด ที่เกาะกุมหนาแน่นอยู่อย่างนั้นไป
ไม่ได้ ก็มาติดอีกส่วน เอียงมาอีกข้าง ไม่เกิดมัชฌิมาปฏิปทาอย่างแท้จริง

ตอนมี ภาวตัณหา ก็ไม่รู้ จิตมีราคะก็ไม่รู้ว่าจิตมีราคะ ไม่รู้ว่าสภาพจิตนี้ไม่
ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ไม่ใช่เราของๆ เรา ตอนมี วิภาวตัณหา ไม่อยากมี
ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ก็ไม่รู้ แม้จิตมีราคะครั้งทีี่ ๒ (มีตัณหาอีกชนิด)
เช่นวิภาวตัณหา ก็พลักไส ดิ้นรน ไปโดยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้ว่าจิตมี
ราคะ อย่างไม่เท่าทัน ตามความเป็นจริง^^

ที่เอาไม่อยู่ ผลมันก็ปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ว่าเจริญ เมตตาคุณ หรือว่า เมตตาวิบัติ
ทำอะไรไม่รู้ไม่เท่าทัน ตัณหา บุคคลโดยมากจึงติด ส่วนสุดทั้งสองข้าง
ปล่อยจิตให้เพลิดเพลิน ไม่ก็ทำตน ทรมานจิตตนให้ลำบากอย่างนี้

ลืมไปได้เลยครับ เรื่องสมาธิเรื่องความตั้งมั่นของจิต แล้วจะเป็นบาทฐาน
ของปัญญาต่อไป ข้อนี้เว้นเอาไว้ก่อนได้เลย นักปฏิบัติ ^^

ลองสำรวจปรับความรู้ความเข้าใจ ศึกษาสภาพธรรมใหม่ มองดูิจิตใจ
สังเกตุ พิจารณาจิตใจมันเสียใหม่ อนุโมทนาครับ กายคตาสติ ถูกโรค
กับตัณหาราคะ อย่างยิ่งแล้ว เพียงแต่ อย่าเอาไปอบรม ตาม วิภาวตัณหา
ตามอำนาจ กิเลสอีกอย่าง ปล่อยอีกอย่าง มาจับอีกอย่าง เอียงไปเอียงมา
ก็ไม่เกิด ความเป็นกลาง ความพอดีอย่างแท้จริง

ศีลไม่วิบัติ นั้นก็อนุโมทนาแล้ว ทิฏฐิยังวิบัติ ก็ต้องอาศัย สมาธิและปัญญา
อาศัยการภาวนาช่วย หากพิจารณาตนตัวบุคคล ก็ต้องสมาธิ ข่มกามวิตกไว้
ชั่วคราว มันระงับไปถึง กายวาจา ศีลก็ไม่วิบัติได้ แต่แก้ทิฏฐิวิบัติยังไม่ได้
นั่นเพราะมัน หลงสภาพสัตว์บุคคลตัวตนชายหญิง เราเขามาก กายคตาสติ
แก้วิปลาสได้ ต่อเมื่อมันไม่ถูก นำ ถูกทำไปด้วย วิภาวตัณหา มีจิตตั่งมั่น
เป็นกลาง บริสุทธิ์ รู้อยู่ในการอบรม ไม่สุดโต่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
ถ้ามันไม่เป็นกลาง จิตมันไม่เป็นกลาง แม้เมตตา ก็ยังเอียง นับประสาอะไร
กับสมาธิและปัญญาที่จะไม่เอนเอียง ไปเข้าทาง จอมมาร จอมตัณหา!

อย่าหลอกตัวเองเรื่องภาวนา เรื่องปฏิบัติ ชอบก็ชอบ หลงก็คือหลง บอก
ให้ชัดเจนแน่นอนให้ถูกต้อง คบกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากคิดเิกินเลย ก็ต้อง
ทบทวน ศึกษาตนเองอย่างจริงจัง "คู่ควงข้างกาย คู่คิดข้างใจ"

อยากให้เธอหรือเขาเป็น แค่คู่ควงข้างกาย เป็นคนที่กิเลสตัณหารักและหลง
หรือปรารถนาให้เธอหรือเขามาเป็นคู่ชีวิตคู่คิดข้างใจ ก็ต้องคิดไกลๆ
อีกนิดนึง^^ วางใจเป็นกลางลองพิจารณาและรับฟังความเห็นท่านอื่นๆ
เพิ่มเติมดูนะครับโยมโชคดีนะเจริญพร^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 17:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอธิบายได้ลึกซึ้งตรงประเด็นทุกข้อไม่ขาดตกเลยครับ ทำให้โยมได้ทราบในสิ่งที่ไม่เคยทราบและไม่เคยพิจารณามาก่อนเลย โยมดีใจมากๆครับ (ผมเพิ่งเป็นสมาชิคของบอร์ด ตอนแรกไม่คิดว่าพระภิกษุจะมาโปรด) กราบขอบพระคุณครับ โยมจะเพียรพิจารณาทางมัชฌิมาตามที่พระคุณเจ้าชี้ทาง สาธุ สาธุ สาธุ กราบนมัสการ.

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจริญพร

อนุโมทนาสาธุๆ และสุขสันต์วันคล้ายวันเกิดคิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนาทุกๆ ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปไม่เจ็บไม่จน อยู่ก็มีชัยไปก็มีแต่โชค หลับเจอเงินหมื่นตื่นเจอเงินแสน ไม่เจอคำว่ายากว่าขาดแคลน มีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติตลอดจนนิพพานสมบัติในปัจจุบันและอนาคต เนื่องในวันมงคลคล้ายวันเกิดปีนี้ และตลอดทุกทิวาราตรีกาลเทอญเจริญพร ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


..กราบนมัสการ และกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้ามากครับ..

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการพระอาจารย์ พุทธฎีกา และสวัสดีท่านทั้งหลาย อีกครั้งครับ พอดีว่าเรื่องเดิม ยังก่อปัญหาต่อเนื่องไม่จบครับ จากเหตุการณ์ ที่เล่าให้ฟังตอนนั้น ผมก็รู้สึกชอบพอ ชอบใจในตัวน้องคนนั้นมาก เราก็ข่มไว้ไม่เคยทำผิดทางกายวาจา แต่ก็ยอมรับครับว่าหลง ใจมันยินดีชื่นอกชื่นใจเวลาได้เห็นหรือได้ทักทาย(นานๆครั้งเพราะไม่สนิทกัน) เพราะช่วงนั้นมีบ้างที่เราได้ข่าวมาว่าเค้าอาจจะเลิกกับแฟนแล้ว มันเลยทำให้มีความหวัง แต่ถึงอย่างไรผมก็ปลงใจที่จะไม่ดำเนินการอะไรต่อไปที่จะทำให้เกิดสิ่งที่ผิดหรืออไปทำลายความรักของใคร พูดง่ายๆคือพยายามทำใจ คราวนี้พอเรารู้ว่าต้องไม่หวัง สงสัยว่าใจมันไม่ได้แล่นไปในในอารมณ์ที่พอใจ พอมันแล่นไปแล้วสะดุด กับความเป็นจริงที่เราไม่มีสิทธิที่จะสมใจ สมรัก มันเลยกลายเป็นความเศร้าครับ ทุกวันนี้กลายเป็นความทรมาน เวลาได้เจอ ได้ยินเสียง คือ ผญ เค้าก็ผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ ในบริเวณที่เป็นโต๊ะทำงานผม อันที่จริงอาจารย์ก็ได้แนะมาแล้วว่าให้ค่อยๆยอมรับความจริง ให้ยอมรับตัวเองไม่ให้ใจตกไปในกามมากไป และอย่าพยายามเอาเครื่องมือที่มีมาหักความรู้สึกจนทรมานตนเกินไปเป็นการสนอง วิภวตัณหา

ที่ผ่านมาตลอดช่วงชีวิต ผมไม่เคยสมหวังเลยครับ ก็เป็นธรรมดาที่เรารักเค้า เค้าไม่รักประมาณนั้น เรื่องราวอาจหนักกว่าวันนี้เพราะเราเอาตัวเข้าไปพยายามให้ได้มาแต่ไม่ได้เป็นทำนองผิดศีล มาคราวนี้หลังจากรู้ตัวแล้วว่าผิดหวัง ความรู้สึกมันเป็นรสชาติเดียวกับครั้งก่อนๆเลยครับเพียงแต่อาจเบากว่า เพราะผมอายุมากขึ้นแล้วก็ยังไม่ได้สนิทสนมหรือทำอะไรไปทางกายวาจาเลย กับเรื่องในอดีตที่ผ่านมาผมไม่เคยทำใจได้เลยต้องอยู่กับความเศร้านานมากจนเวลาผ่านไป หรือเหตุการณ์ทำให้เราไม่ต้องเจอกัน หรือบางทีทนไม่ไหวผมหนีเลยครับย้ายไปอยู่ให้ไกลมันก็คลี่คลายไปได้ ช่วงเวลาที่ปลอดจากเรื่องรักๆเป็นช่วงที่ผมโล่งอกโล่งใจมาก มาครั้งนี้สภาพความรู้สึกมันคล้ายๆที่ผ่านมาเมื่อต้องผิดหวัง แล้วยังต้องประสบพบกับคนที่เราปราถนาแล้วไม่อาจไขว่คว้ามาได้ ทำใจได้บ้างไม่ได้บางไม่มั่นคง รู้สึกจะเป็นทุกข์เสียมาก ขอคำชี้แนะจากพระอาจารย์หรือท่านอื่นๆอีกครั้งครับ กราบนมัสการ

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อุปมากาม ๗ ข้อ


[๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนสุนัข
อันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นาย
โคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้ว
เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้น
แทะร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจดหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลียเพราะความ
หิวได้บ้างหรือ?

รูปภาพ



ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นร่างกระดูกที่เชือดชำแหละ
ออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.


ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา
ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความ
เป็นอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.


[๔๘] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป
แร้งทั้งหลาย นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่รีบ
ปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ?

รูปภาพ


อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา
ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัย
ความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลม
ไป ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้า
อันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้น พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่
แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นจะถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?

รูปภาพ


อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มี-
*พระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
อย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาด
ซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.


[๕๐] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วย
ถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่า
อย่างนี้ๆ บ้างหรือ?

รูปภาพ


ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า เราจักตกลง
ยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มี-
*พระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
อย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาด
ซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์
เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง
หาส่วนเหลือมิได้.


[๕๑] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์
ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา
ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัย
ความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้.

รูปภาพ


[๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ แก้วมณีและกุณฑล
อย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็น
เขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลาย
ผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆ
พึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป?

รูปภาพ


ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเจ้าของย่อมจะนำเอาของ
ของตนคืนไปได้.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
อย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาด
ซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.


[๕๓] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ต้นไม้
ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษ
ผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย
มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้น
สักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง
เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้ ลำดับนั้น บุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ถือขวาน
อันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้ มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น
เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว
และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพก
ไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า หรือ
หักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะ
ต้นไม้นั้นล้มเป็นเหตุ?

รูปภาพ


เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา
ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัย
ความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
-------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๔ โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี



Credit image by:
http://www.dailynews.co.th/
http://www.naronk.org/
http://hilight.kapook.com
http://images.thaiza.com
http://thammadeedee.blogspot.com
http://ai-amazingworld.blogspot.com
http://www.thairath.co.th/

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2012, 19:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบอนุโมทนาพระอาจารย์ครับ

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร