วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20110127155448.jpg
20110127155448.jpg [ 72.12 KiB | เปิดดู 2257 ครั้ง ]
ในจูฬมาลุงกยสูตร (ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิปัณณาสก์ ๑๓/๑๒๒/๙๗)
เล่าเรื่องภิกษุชื่อมาลุงกยบุตร ทูลถามปัญหาอภิปรัชญา
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าจำนวน ๑๐ ข้อ เรียกด้วยศัพท์ของพระคัมภีร์พุทธว่า
"อัพยากตปัญหา" ปัญหาที่ทรงไม่พยากรณ์คือไม่ตอบนั่นเอง
ปัญหาดังกล่าวมีอย่างไรทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ตอบ ปัญหาดังกล่าวมีดังนี้

อัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ คือ :-

๑) โลกเที่ยง หรือ (สส.สโต โลโก)
๒) โลกไม่เที่ยง หรือ (อสส.สโต โลโก)
๓) โลกมีที่สุด หรือ (อนฺตวา โลโก)
๔) โลกไม่มีที่สุดหรือ (อนนฺตวา โลโก)
๕) ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือ (ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ)
๖) ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันหรือ (อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรํ)
๗) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ (โหติ ตถาคโต ปรมํมรณา)
๘) หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ (น โหติ ตถาคโต ปรมํมรณา)
๙) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ (โหติ จ น จ โหติ ตถาคโต ปรมํมรณา)
๑๐) หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ
(เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรม.มรณา)

ทำไมพระพุทธองค์จึงไม่พยากรณ์ปัญหานี้ คงตอบได้ทั้งอาศัยข้อความในพระสูตร
ดังกล่าวว่า มันเป็นเรื่องของทิฎฐิ จะตอบหรือไม่ตอบ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็มีอยู่แล้ว
จะตอบหรือไม่ ก็มิใช่จะเป็นเหตุแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ มามัวเสียเวลาอยู่ก็จะตายเปล่า
ดังกรณีทีี่บุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ แล้วไม่ยอมให้ถอนลูกศรออก จนกว่าจะทราบว่า
รายละเอียดเกี่ยวกับคนยิง คันธนู สายธนู ลูกศร ฯ จนหมดเสียก่อน

ถ้าจะสันนิษฐานต่อ ก็อาจให้เหตุผลเพิ่มเติม ในการไม่ตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าได้ดังนี้
๑. เพราะมาลุงกยบุตรตั้งปัญหาลักษณะบีบบังคับ ต้อนให้ตอบยืนยันด้านใดด้านหนึ่ง
คือ ให้ตอบรับ หรือปฏิเสธ พระองค์คงทรงพิจารณาเห็นว่าการตอบรับเป็นอันตรายทั้งสองด้าน
ถ้าตอบรับก็เป็นการยืนยันลัทธิ "สัสสตทิฎฐิ" ที่ยึดถือว่ามีสิ่งเที่ยงแท้แน่นอนอยู่
แม้ร่างกายตายแล้วก็มีอาตมันยืนยงคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าตอบปฏิเสธ ก็เข้าฝักฝ่ายกับพวก
ถ่ือ "อุจเฉททิฎฐิ" คือเห็นว่าสรรพสิ่งขาดสูญ ไม่มีอะไรเหลืออยู่หลังจากร่างกายแตกสลายไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้เป็นเรื่องทิฎฐิ ความคิดเห็น ต่างคนต่างความคิดเห็น
หรือเป็นเรื่องสองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม
เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย ความคิดความเห็น นำไปสู่ลัทธิเชื่อถือ เมื่อมีการยึดมาก
ก็จะเป็นการยึดแบบฝังหัว (นิยตมิจฉาทิฎฐิ) ยืนยันอยู่อย่างนั้นจนเป็นตอวัฏฏะ

พระพุทธองค์ทรงทราบอัธยาศัยของมาลุงกยบุตรว่า
มีความโน้มเอียงไปทางนั้น ถ้าพูดอธิบายมากไปก็อาจจะยิ่งเป็นการต่อความยาว
สาวความยืดเหน็ดเหนื่อย เสียทั้งเวลา พลังงาน และความฟุ้งซ่านเปล่าๆ
ไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรแล้ว

แม้เรื่องโลกมีที่สุด หรือไม่มีที่สุดนี้ ก็เป็นข้อหนึ่งในอจิณไตย ๔ คือ
๑. โลกวิสัย ๒. กรรมวิสัย ๓. ฌานวิสัย ๔. พุทธวิสัย
ที่ไม่ควรครุ่นคิด ก็มิได้หมายความว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงทราบ ไม่รู้ ตอบไม่ได้
เพราะพุทธเจ้ามีพระสัพพัญญุตญาน ที่มีขอบเขตแห่งความรู้กว้างไกล
สิ่งที่พระพุทธองค์รู้ ทราบ เปรียบเหมือนไม้ในป่า แต่ที่เอามาสอนเรา เหมือนใบไม้ในกำมือ
จำกัดขอบเขตอยู่ในเรื่องของอริยสัจ ๔ หรือเรื่องทุกข์ ความดับทุกข์เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 10:03 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาสาธุค่ะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร