วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2013, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นชีรติสูตร

สรุปเนื้อหาจากบทความ
เรื่อง “อะไรไม่แก่” โดย “อาคาริยมุนี
นิตยสารศุภมิตร ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ ๕๖๒
มีนาคม-เมษายน ๒๕๕๐ หน้า ๑๕-๓๕


:b39: :b39:

[๒๐๙] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอย่อมทรุดโทรม อะไรไม่ทรุดโทรม
อะไรหนอท่านเรียกว่าทางผิด อะไรหนอเป็นอันตรายแห่งธรรม
อะไรหนอสิ้นไปตามคืนและวัน
อะไรหนอเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อะไรไม่ใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องกี่ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้

ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ไฉนข้าพระองค์จะรู้ความข้อนั้นได้ ฯ


[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม
นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด
ความโลภเป็นอันตรายของธรรม
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้นมิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้
คือ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑
พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1309&Z=1326

:b41: :b39: :b41:

:b50: เมื่อรู้ว่าต้องแก่และต้องตายแน่นอน
ก็ควรทำชีวิตให้มีประโยชน์เพื่อไม่ให้แก่เปล่า
คนแก่ที่มีคุณธรรม มีคุณประโยชน์ย่อมเป็นที่เคารพนับถือ
เป็นที่พึ่งพิงของลูกหลานและบริวารชน

:b50: สำหรับชายที่ประพฤติพรหมจรรย์นั้น ขอให้สำเหนียกไว้เถิดว่า
สตรีนั้นมีกำลังมากนัก บุรุษซึ่งมีกำลังกาย แม้ขังไว้ล่ามไว้ก็ไม่ได้
ก็ยังอาจถูกผูกได้แม้เพียงด้วยเกศาของสตรีที่เขาหลงรัก


:b46: :b46:

อธิบายโดยย่อได้ดังนี้

๑.) รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมแก่

คือ เสื่อมไปหรือเริ่มทรุดโทรมไปตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิทีเดียว
ค่อยๆ แก่ขึ้น เราจึงเรียกว่า ครรภ์แก่
พอคลอดก็บ่ายหน้าไปสู่ความแก่ไม่หยุดเลย
แก่ทุกลมหายใจเข้าออก
การแก่ขึ้นนั้นเมื่อยังไม่เห็นความแก่ชัด เรียกว่า ความแก่ที่ยังปกปิด (ปฏิจฉันนชรา)
ตอนแก่ลง ชราลักษณะเห็นชัด เช่น ฟันหัก โยกคลอน ผมหงอก หน้าเหี่ยว
อย่างนี้เรียกว่า ความแก่ที่เปิดเผย (อัปปฏิจฉันนชรา)


๒.) นามและโคตรไม่แก่

นาม คือ ชื่อ โคตร คือ สกุลวงศ์ เทือกเถาเหล่ากอ
เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรม จึงไม่แก่ไปตามรูป
สมมติคนชื่อ แดง ได้ยินชื่อแดง ไม่บอกอายุ เราก็ไ่ม่รู้ว่าเขาแก่หรือหนุ่มหรือเด็ก

สกุลวงศ์ที่เป็นสกุลเก่าแก่ ก็เพราะอยู่มานาน
ไม่ใช่แก่เพราะความทรุดโทรม


๓.) ราคะท่านกล่าวว่า “นอกทาง” (หรือทางผิด)

นอกทาง น่าจะหมายถึง นอกทางพระนิพพาน
หรือ นอกทางแห่งความสงบ
เมื่อมีราคะอยู่ก็ไม่สงบเต็มที่

พระอริยบุคคลขั้นต้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี
ยังละราคะไม่ได้ แม้จะถึงพระนิพพานในระดับหนึ่งก็ยังไม่สงบเต็มที่

ในขั้นธรรมดา ราคะเกิดขึ้นทำให้จิตใจกระวนกระวายไม่สงบ
ยิ่งมากก็ยิ่งกระวนกระวายมาก
ทั้งแสวงหาบ้าง ทั้งหวงห้ามกีดกันบ้าง
ทุกข์โทมนัสเพราะต้องพลัดพรากบ้าง
ล้วนวนเวียนอยู่ในกามราคะทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ทรงปรารภเมื่อทรงตรัสรู้ธรรมใหม่ๆ ว่า

“บัดนี้ เราไม่ควรจะประกาศธรรม ที่เราตรัสรู้แล้วโดยยาก
ธรรมนี้ เหล่าสัตว์ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำแล้ว จะตรัสรู้
ไม่ได้ง่าย เหล่าสัตว์ผู้ยินดีแล้วด้วยความกำหนัด ถูกกองแห่ง
ความมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันทวนกระแส ละเอียด
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ฯ”


เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระหฤทัยก็ทรงน้อมไปเพื่อ
ความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม ฯ

(พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ อายาจนสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ๕๕๕)
http://palipage.com/45/content/T15B.html

อนึ่ง สิ่งเหล่านี้ คือ วัตถุกาม และ กิเลสกาม
(จากเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ข้อ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_page/?book=29)

เช่น ทรัพย์สิน และสิ่งน่าใคร่ต่างๆ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเมีความสิ้น ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
เป็นที่ตั้งแห่งความหวงแหนยึดถือ มีอันตรายซ่อนเร้นมากมาย
บางคนต้องเสียชีวิตลงเพื่อรักษา
บางคนต้องตายเพราะอยากได้
ขณะที่บางคนตายระหว่างที่แสวงหา

ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า

“เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว
ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้น ย่อมกระสับกระส่าย
เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว”.


(เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ข้อ ๖
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_page/?book=29)

บางคนยกจิตพ้นจากกามราคะแล้ว แต่ไปติดในรูปราคะและอรูปราคะอีก
นั่นตือ ติดสุขในฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
เมื่อติดสุขเช่นนี้จึงไม่อาจบรรลุนิพพานได้


รูปภาพ

๔.) ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรม (คุณงามความดี)

ขอแบ่งความโลภเป็น ๒ ระดับ
๑. ระดับหยาบ - อยากได้สมบัติของผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรม
๒. ระดับละเอียด - อยากได้มากเกินจำเป็น อยากได้ไม่สิ้นสุด

ความโลภนั้นทำให้คนเรายอมทิ้งธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ
โดยที่ทรัพย์ต่างๆหรือสิ่งที่ตนอยากได้นั้น ก็สามารถครอบครองได้เพียงชั่วคราว
แต่คนเมื่อโลภก็ไม่ได้คำนึงถึงสัจธรรมเหล่านี้


๕.) วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

“อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยหรือระยะแห่งวัยย่อมละไปโดยลำดับ
ผู้เห็นสิ่งนี้ว่าเป็นภัยเพราะจะต้องตาย
มุ่งความสงบ ควรละโลกามิสเสีย”


(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ ข้อ ๓๐๐)

โลกามิส คือ เหยื่อของโลก เครื่องล่อของโลก
ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง ฯลฯ ลาภ ยศ ฯลฯ
เป็นสิ่งชวนหลงใหล เมามัว ลุ่มหลง
ใครหวังความสุขก็ทำบุญ มีความสุขไปด้วย วุ่นวายไปด้วย (วุ่นแบบคนมีบุญ)
ดังนั้น ใครหวังความสงบ ให้ละโลกามิส
จึงจะอยู่อย่างสงบได้ ไม่ต้องวุ่นวาย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราเพลิดเพลินหลงใหลจนลืมวัย
ลืมว่า เวลาผ่านไปล่วงไป เราแก่ไปทุกทีๆ

ชีวิตหรือวัยนั้นไม่เที่ยง
ส่วนความตายนั้นแน่นอน


๖.) หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ของชาย
และชายเป็นมลทินของพรหมจรรย์ของหญิง


โดยปกติรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสของสตรี
ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดของบุรุษ
และเช่นกัน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสของบุรุษ
ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดของสตรี

ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์ทรงให้ห่างกัน
เพราะจิตเป็นสิ่งแปรปรวนรวดเร็วแล้วก็รั้งไว้ไม่อยู่ ห้ามยาก รักษายาก

อาการแห่งเมถุน มี ๗ ประการ ได้แก่

๑. ยินดีการลูบไล้ การประคบ การให้อาบน้ำ
การนวดแห่งมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น.

๒. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม
ปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น.

๓. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เพ่งดูจ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน
ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น.

๔. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ฟังเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี
ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องให้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น.

๕. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ตามนึกถึงการเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดเล่นกับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ.

๖. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี
ผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ.

๗. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วปลื้มใจ.

องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕๖

พรหมจรรย์ของผู้นั้น ชื่อว่าขาด ชื่อว่าทะลุ ชื่อว่าด่าง ชื่อว่าพร้อย.
ผู้นั้นประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์
ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้.


พระพุทธองค์ทรงประทานพระพุทธภาษิตแก่พระอานนท์
ในเรื่องการปฏิบัติตนต่อมาตุคามไว้ ความว่า

๑. ไม่แลดูหญิงเสียได้เป็นการดี
๒. ถ้าจำเป็นต้องแลดูก็อย่าพูดด้วย
๓. ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยก็ให้มีสติไว้ ควบคุมใจไว้ให้ดี
อย่าให้เผลอสติไปในความกำหนัดได้


รูปภาพ

๗.) ตบะและพรหมจรรย์มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องสรงสนานได้

ตบะ คือ คุณธรรมสำหรับเผาบาปหรือเผาความชั่ว

ในตบกถาแห่งคัมภีร์มังคลัตถทีปนี (แสดงเนื้อความแห่งมงคล)
ท่านยกหัวข้อธรรม ๗ ประการเป็นตบะ คือ

๑. ขันติ (ความอดทน)
๒. สีล (ศีล ๕)
๓. อุโบสถกรรม (ศีล ๘)
๔. การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์
๕. ธุดงคคุณ (การสมาทานวัตรเพื่อขัดเกลากิเลส)
๖. การสำรวมอินทรีย์ ๖
๗. ความเพียร


๑. ขันติ (ความอดทน)
เพราะความไ่ม่อดทนย่อมทำให้ตกเป๋นทาสของอารมณ์
ที่ยั่วยวนให้โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

๒. สีล (ศีล ๕)
ย่อมเผาบาป เพราะศีลป้องกันไม่ให้เราล่วงทำผิดด้วยกาย วาจา

๓. อุโบสถกรรม (ศีล ๘)
ย่อมเผาความมักมากติดสุข การตามใจตัวเองในการประดับตัว
และเพลิดเพลินในการร้องรำทำเพลง

๔. การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์
ทำให้จิตผ่องใส ทำลายความฟุ้งซ่าน เกิดปัญญาเผากองโมหะ
ได้แนวทางปฏฺบัติตนอันถูกต้อง

๕. ธุดงคคุณ (การสมาทานวัตรเพื่อขัดเกลากิเลส)
ธุดงควัตรเผาบาปกิเลสนานัปการ
โดยปกติพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เพื่อพระสงฆ์
แต่ฆราวาสจะนำมาใช้เป็นแนวทางบ้างโดยอนุโลมก็ใช้ได้เพื่อขัดเกลาตนเอง
เช่น เรื่องเครื่องแต่งกายไม่มัวเมาหลงใหลฟุ้งเฟ้อ ใช้แต่น้อย
หรือในเรื่องการกิน กินเพื่อยังชีพ ไม่กินด้วยความมัวเมา เป็นต้น

๖. การสำรวมอินทรีย์ ๖
ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อกระทบรูป เสียง ฯลฯ
ไม่ให้ยินดียินร้าย เพื่อเผาบาปอันจะไหลเข้ามาทางอายตนะทั้งหลายได้่

๗. ความเพียร
เผาเสียซึ่งความเกียจคร้าน
ความเกียจคร้านเป็นภัยใหญ่ของชีวิต ทำให้บุคคลรักแต่ความสบาย
ไม่คิดทำอะไรเป็นประโยชน์แก่ตัวและผู้อื่น
ซึ่งสุดท้ายก็จะพบแต่ความเสื่อมแน่นอน

ส่วนพรหมจรรย์ คือ การครองชีวิตอันประเสริฐ
ตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา
ละเว้นสิ่งเป็นอกุศล เจริญกุศล


๘.) สิ่งควรเว้น ๖ ประการ
ได้แก่ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑


พิจารณาจะเห็นว่า ทั้ง ๖ ประการนี้
เป็นจำพวกความเกียจคร้านเสีย ๔ อย่าง
เห็นได้ว่า ความเกียจคร้านนั้นเป็นภัยใหญ่ของชีวิตอย่างไร
การอ้างเลศไม่ทำงาน ก็ทำให้เป็นคนมายาสาไถย ไม่มีสัจจะ
อีกทั้งคนเกียจคร้านก็ย่อมไม่อดทนต่อการงานทั้งหลาย
ย่อมไม่มีการเผาบาป ไม่ได้ละอกุศล
โทษของอกุศลย่อมเกิดขึ้นตามมา



:b44: :b44: :b41: :b41:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร