วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2014, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

:b42: บทความพิเศษ :
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเป็นอัศจรรย์

จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 124 มีนาคม 2554
โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเป็นอัศจรรย์ ซึ่งเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริงเป็นอัศจรรย์ ได้แก่ คำสอนที่จูงใจผู้ฟังให้นิยมคล้อยตามได้โดยสามารถชี้แจงแยกแยะหัวข้อธรรมให้พิสดารด้วยอุปมาอุปมัยที่ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเห็นจริงดุจหงายของคว่ำอยู่ ทำให้ผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วได้แสดงตนเป็นสาวก และรับคำสอน ไปปฏิบัติตามจนได้บรรลุประโยชน์โภคผลตามสมควรแห่งการปฏิบัติของแต่ละบุคคล

หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนามีปรากฏเป็นข้อมูลบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ในคัมภีร์พระบาลีไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกา ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาษาบาลีอันถือว่าเป็นหลักฐานอ้างอิงชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนจนแตกฉาน แล้วทรงจำนำมาประยุกต์ประดิษฐ์ถ้อยคำไทยร่วมสมัยเหมาะกับสถานการณ์เพื่อประกาศเผยแผ่เทศนาอบรมสั่งสอนให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าใจโดยง่าย และพิจารณาเลือกสรรน้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันของตน จึงมีศรัทธาประชาชนได้รวบรวมคำสอนเหล่านั้นไว้นำไปจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสือธรรมะเผยแพร่แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป มีทั้งจัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในโอกาสต่างๆบ้าง จัดพิมพ์เพื่อการพาณิชย์บ้าง

ปัจจุบันเป็นยุคข่าวสารข้อมูล หลักคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้รับการนำไปเผยแผ่อย่างกว้างขวางแพร่หลายในสื่อวัสดุต่างๆ มีทั้งรูแปบบเป็นแถบบันทึก เสียง (เทป/ซีดี.) รูปแบบเป็นภาพประกอบเสียง (วีดีโอ./วีซีดี./ดีวีดี.) รวมถึงการเผยแผ่ทางเครือข่ายเชื่อมโยงที่กว้างไกล (เว็บไซต์ของอินเตอร์เน็ต)

ดังนั้น พุทธศาสนิกชนผู้สนใจที่จะศึกษาหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาว่ามีความอัศจรรย์อย่างไร ก็สามารถศึกษาได้จากแหล่งความรู้อ้างอิงหรือสื่อวัสดุต่างๆ

ในที่นี้ได้นำคุณลักษณะด้านคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาตามนัยที่ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ประมวลไว้ มาเสนอให้เห็นประจักษ์ ดังนี้

๐ พระพุทธศาสนาสอนว่า การอยู่ในอำนาจผู้อื่นเป็นทุกข์ จึงสอนให้มีอิสรภาพทั้งภายนอกและภายในอิสรภาพภายในคือไม่เป็นทาสของกิเลส หรือถ้ายังละกิเลสไม่ได้ ก็อย่าถึงกับปล่อยให้กิเลสบังคับมากเกินไป

๐ พระพุทธศาสนาสอนให้พยายามพึ่งตนเอง ไม่ให้มัวคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น สอนให้มีความอดทนต่อสู้กับความยากลำบากและอุปสรรคทั้งหลาย ไม่เป็นคนอ่อนแอ พอพบอุปสรรคก็วางมือทิ้ง ถือว่าความอดทนจะนำประโยชน์ และความสุขมาให้ สอนให้มีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้าน ยิ่งสำหรับคฤหัสถ์ การตั้งเนื้อตั้งตัวได้ต้องมีความขยั่นหมั่นเพียร

๐ สอนให้ทำความดีเพราะเห็นแก่ความดี ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ คือ อยากได้สิ่งตอบแทน หรือทำด้วยความหลง คือไม่รู้ความจริง บางครั้งก็นึกว่าดีแต่กลายเป็นทำชั่ว

๐ สอนเน้นในเรื่องความเป็นผู้กตัญญูรู้คุณผู้อื่น และกตเวทีตอบแทนพระคุณท่าน และสรรเสริญว่าใครมีคุณข้อนี้ชื่อว่าเป็นคนดีและประพฤติสิ่งเป็นสวัสดิมงคล

๐ สอนให้มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สอนให้เอาชนะความชั่วด้วยความดี ให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร และในขณะเดียวกัน ก็ให้พยายามทำตนอย่าให้มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ให้รู้จักผูกไมตรีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน จึงเท่ากับสอนให้แก้ความชั่วด้วยความดี ให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร ให้ระงับความโกรธด้วยความไม่โกรธ ใหม่ๆ อาจทำได้ยาก แต่ถ้าลองฝึกหัดทำดูบ้าง จะได้รับความเย็นใจ สงบร้อน หมดเวรหมดภัย

๐ สอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นใดก็ได้ผลเช่นนั้น จึงเท่ากับสอนให้หว่านแต่พืชที่ดี คือพยายามทำแต่กรรมดี พยายามละเว้นความชั่วทั้งปวง

๐ สอนให้ประกอบเหตุ คือลงมือทำเพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมาย ไม่ใช่ให้คิดได้ดีอย่างลอยๆ โดยคอยพึ่งโชคชะตาหรืออำนาจลึกลับใดๆ จึงเท่ากับสอนให้ลงมือปฏิบัติ เพื่อจะได้รู้แจ้งผลดีด้วยตนเอง ไม่ต้องเดาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตราบใดที่ยังเดาอยู่ ตราบนั้นยังไม่ชื่อว่ารู้ความจริง

๐ สอนมิให้เชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล ให้ใช้ปัญญากำกับความเชื่ออยู่เสมอ สอนให้รู้จักพิสูจน์ความจริงด้วยการทดลอง การปฏิบัติ และการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

๐ สอนยิ่งกว่าเทศบาลและรัฐบาล คือ เทศบาลปกครองเฉพาะท้องถิ่น ส่วนรัฐบาลก็ปกครองเฉพาะประเทศ แต่พระพุทธศาสนาสอนให้มีโลกบาลธรรม คือธรรมอันปกครองโลก ได้แก่ หิริ ความละอายแก่ใจ ต่อการทำบาป ทำชั่ว ประพฤติทุจริตทุกชนิดทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวหวาดหวั่นต่อผลของบาปทุจริตที่จะกระทำลงไปนั้น

๐ สอนให้มีสติกับปัญญาคู่กัน คือ ให้มีความเฉลียวคู่กับความฉลาด ไม่ใช่เฉลียวอย่างเดียวหรือฉลาดอย่างเดียว จึงสอนให้มีสติกับสัมปชัญญะ อันเป็นตัวปัญญาคู่กันและถือว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

๐ สอนให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เช่น สอนให้เคารพในการศึกษา ให้มีการสดับตรับฟังมาก ให้คบหาผู้รู้หรือคนดีและสนใจฟังคำแนะนำของท่าน โดยเฉพาะได้สอนว่าไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในคุณความดี สรรเสริญแต่ความเจริญก้าวหน้าในคุณความดี

๐ สอนให้รู้จักเสียสละเป็นชั้นๆ ให้สละสุขเล็กน้อยเพื่อสุขอันสมบูรณ์ ให้สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ ให้สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และให้สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม เป็นการสอนให้ยกจิตใจให้สูงขึ้นในที่สุด จึงเท่ากับสอนให้ยอมเสียน้อย เพื่อไม่ให้เสียมาก

เพราะฉะนั้น เมื่อมีเหตุอะไรเกิดขึ้น อันจะต้องเสียสละบ้างก็ควรพิจารณา และสอนให้เอื้อเฟื้อแผื่อแผ่ทั้งทางวัตถุและทางน้ำใจ เพื่อจะได้อยู่อย่างผาสุกร่วมกัน ในสังคม สอนมิให้ปลูกศัตรูหรือมองเห็นใครต่อใครเป็นศัตรู โดยเฉพาะไม่สอนให้เกลียดชังคนที่นับถือศาสนาอื่น จึงนับว่าเป็นศาสนาที่มีใจกว้าง

๐ สอนให้รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้าง ไม่ให้เป็นคนดื้อว่ายากสอนยาก คนที่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นย่อมมีโอกาสแก้ไขความผิดพลาดบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ

๐ สอนมิให้ใช้วิธีอ้อนวอนบวงสรวงเพื่อให้สำเร็จผล แต่สอนให้ลงมือทำเพื่อให้เกิดผลที่มุ่งหมายนั้นให้ถูกทาง

๐ สอนให้รักษากายวาจาให้เรียบร้อยด้วยศีล ให้รักษาจิตให้สงบไม่ฟุ้งซ่านด้วยสมาธิ และให้รักษาทิฏฐิคือความคิดมิให้ผิด แต่ให้ไปตรงทางด้วยปัญญา ฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นข้อปฏิบัติตามลำดับต่ำสูงทางพระพุทธศาสนา จึงเท่ากับสอนว่า เมื่อมีศีล คือรักษากาย วาจาให้เรียบร้อยได้ ย่อมเป็นอุปการะให้สมาธิเกิดได้เร็ว สมาธิคือการที่ใจตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อมีสมาธิก็ช่วยให้เกิดปัญญาได้สะดวกขึ้น

พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรดี เพราะข้อปฏิบัติมากเหลือเกิน ก็สอนให้ปฏิบัติเพียงอย่างเดียว คือให้รักษาคุ้มครองจิตให้เป็นไปถูกทาง เสร็จแล้วจะเป็นอันคุ้มครองกาย วาจา และอื่นๆ ไปในตัว

๐ สอนให้มองโลกโดยรู้เท่าทันความจริงที่ว่า สรรพสิ่งมีความไม่เที่ยงแท้ถาวรคงทนอยู่ไม่ได้ และไม่ใช่ตัวตนที่พึงยึดติดยึดถือ เพื่อจะได้มีความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่ยึดมั่นจนเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้โดยง่าย

๐ สอนให้ถือธรรม คือความถูกความตรงเป็นใหญ่ ไม่ให้ถือตนเป็นใหญ่ หรือถือโลกเป็นใหญ่ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ถือบุคคลเป็นสำคัญ แต่ถือธรรมหรือความถูกตรงเป็น สำคัญ

๐ สอนปรมัตถ์คือประโยชน์อย่างยิ่ง คือให้รู้จักความ จริงที่เป็นแก่น ไม่หลงติดอยู่ในความสมมติต่างๆ เช่น ลาภยศ เป็นต้น แต่ในการเกี่ยวข้องกับสังคม ก็สอนให้รู้จักรับรองสมมติทางกายและวาจาตามสมควร เช่น เมื่อเข้าประชุมชน ก็ให้ทำตนให้เข้าได้กับประชุมชนนั้นๆ ให้ใช้ถ้อยคำให้ถูกตามสมมติบัญญัติ ไม่ใช่เมื่อถือว่าไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแล้ว ก็เลยเข้ากับใครไม่ได้ การที่พระพุทธศาสนายั่งยืนมาได้ ก็เพราะถึงคราวรับรองสมมติบัญญัติ ก็รับรองตามสมควร ถึงคราวสอนใจให้รู้เท่าสมมติบัญญัติ ก็สอนใจมิให้ติดมิให้หลงจนเป็นเหตุมัวเมางมงาย

๐ สอนให้ดับทุกข์ โดยรู้จักว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุ และการดับทุกข์ ได้แก่ ดับเหตุของทุกข์ รวมทั้งให้รู้จักข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับทุกข์ด้วย จึงชื่อว่าสอนเรื่องดับทุกข์ได้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งควรจะได้ศึกษาและปฏิบัติตาม

๐ สอนรวบยอดให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คือ สอนไม่ให้ลืมตนทะนงตน หรือ ขาดความระมัดระวัง ถือว่าความประมาทเป็นทางแห่งความตาย และความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตาย จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

๐ พระพุทธศาสนามิได้สอนให้ย่ำยีหรือซ้ำเติมคนที่ทำอะไรผิดไปแล้ว ควรจะช่วยกันให้กำลังใจในการกลับตัวของเขา ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยาม พระพุทธเจ้าเองก็เคยทรงเล่าเรื่องความผิดของพระองค์ในสมัยยังทรงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ อันแสดงว่าตราบใดยังมีกิเลส ตราบนั้นก็อาจทำชั่วทำผิดได้ แต่ข้อสำคัญ ถ้ารู้ว่าอะไรผิดอะไรชอบแล้วจะต้องพยายามกลับตัวให้ดีขึ้นเสมอ

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่สอนให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สำหรับผู้ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่นจะเพราะชาติสกุล เพราะทรัพย์ หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม ไม่ชื่อว่าปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา

๐ พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลางระหว่างการทรมานตัวเองให้เดือดร้อน กับการปล่อยตัวให้เหลิงเกินไป และสอนทางสายกลางระหว่างความเห็นที่ว่าเที่ยงกับความเห็นที่ว่าขาดสูญ การสอนทางสายกลางนี้ย่อมเป็นประโยชน์ในที่ทุกสถาน อะไรก็ตามมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ย่อมไม่ดี

:b8: :b8: :b8:

(จากส่วนหนึ่งของหนังสือคู่มือพุทธศาสนิกชน)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 16:43 น.

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2015, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 09:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20: :b20: :b20:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2020, 13:04 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: อัศจรรย์แห่งธรรมดีแท้
ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร