วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 22:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อปัณณกสูตร (ม.ม.๒๐/๒๒๓)

อปัณณกธรรม

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว
ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย เป็นที่ให้
ท่านทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ มีอยู่หรือ?

พราหมณ์และคฤหบดีกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ หามีไม่.


ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดาที่ชอบใจ พึงสมาทาน
"อปัณณกธรรม" นี้แล้วประพฤติ ด้วยว่าอปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว จักเป็น
ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน


:b42:

คัดลอกข้อความจากพระสูตรฉบับเต็ม
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (อปัณณกสูตร)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1833&Z=2382

:b42: :b42:


:b48: สรุปพระสูตร :b48:


:b41: ๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า แม้จะไม่นับถือใครเป็นศาสดา แต่ก็ควรมีอปัณกธรรม
คือ หลักความเชื่อหรือหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง สำหรับเป็นหลักดำเนินของชีวิต
เพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิตตลอดไป


:b41: ๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ลัทธิหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้น มีดังนี้[/b]

[b]๒.๑) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "นัตถิกทิฏฐิ"

ที่เชื่อว่า ไม่มีอะไร เช่น ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า
ไม่มีบิดา มารดา ไม่มีโอปปาติกสัตว์ ไม่มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ย่อมไม่สนใจที่ประพฤติกุศลธรรม
คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แต่จะประพฤติแต่อกุศลธรรม
คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
เพราะเขาเชื่อว่า ไม่มีความดีความชั่ว

ลัทธิแบบนี้ ย่อมนำไปสู่ความเชื่อที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ความคิดที่ผิด (มิจฉาสังกัปปะ)
การพูดที่ผิด (มิจฉาวาจา) การเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิด
เชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลจากการที่เชื่อลัทธิที่ผิดแบบนี้ คือ

- ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาก็ไปสู่อบาย
- แม้โลกหน้าไม่มีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- แม้โลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ (คือ เสียประโยชน์) ทั้งสองโลก
(คือ ปัจจุบันก็ถูกเขาติเตียนว่าเป็นคนชั่ว เมื่อตายลงก็ไปอบาย)

๒.๒ ) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "อกิริยทิฏฐิ"
ซึ่งเชื่อว่า การกระทำทั้งปวงไม่ว่าจะทำดีหรือทำชั่วไม่มีผลเป็นบุญหรือบาป
กล่าวสั้นๆคือ การกระทำทั้งปวงไม่มีผล จึงมีค่าเท่ากับไม่ได้ทำอะไร (อกิริยะ)

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไม่สนใจที่จะทำความดี (กุศลธรรม)
แต่จะทำสิ่งที่ชั่ว (อกุศลธรรม) เพราะเขาเชื่อว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่มีผลอะไรเหมือนกัน
(คือ มีค่าเท่ากับไม่ได้ทำอะไร)

ความเชื่อหรือลัทธิแบบนี้ก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
การเป็นปฏิปักษ์กับพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิดเชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อถือแบบนี้คือ

- ถ้าการกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผล เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาย่อมไปสู่อบาย
- แม้การกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ทั้งสองโลก (คือ ปัจจุบันก็ถูกติเตียน ตายลงก็ไปอบาย)

๒.๓) ลัทธิหรือความเชื่อประเภท "อเหตุกทิฏฐิ"
ซึ่งเชื่อว่า ดี ชั่ว สุข ทุกข์ ของชีวิตไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เมื่อจะดีก็ดีเอง เมื่อจะชั่วก็ชั่วเอง

คนที่เชื่อลัทธิแบบนี้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไม่สนใจการประพฤติกุศลธรรม
แต่จะประพฤติอกุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ทั้งดีและชั่วไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย

ความเชื่อหรือลัทธิแบบนี้ก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
การเป็นปฏิปักษ์กับพระอริยะ การชักนำคนอื่นให้คิดผิดเชื่อผิด และการยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อถือแบบนี้คือ

- ถ้าความดีความชั่วไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยจริง เขาก็รอดตัวไป
- ถ้าความดีความชั่วมีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว ตายลงเขาย่อมไปสู่อบาย
- แม้ความดีความชั่วไม่มีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่าเป็นคนชั่ว
- ถ้าความดีความชั่วมีเหตุมีปัจจัย เมื่อทำแต่ความชั่ว เขาก็ได้ชื่อว่าแพ้ทั้งสองโลก (คือ ปัจจุบันก็ถูกติเตียน ตายลงก็ไปอบาย)

๒.๔) ลัทธิที่เชื่อว่า "ไม่มีพรหมโลก" ประเภทที่ไม่มีรูป (อรูปพรหม)
๒.๕) ลัทธิที่เชื่อว่า ความดับแห่งภพ (คือ นิพพาน) ไม่มี
ความเชื่อถือแบบนี้มักนำไปสู่ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลิน และความยึดมั่นถือมั่น


:b41: ๓. ทรงแสดงว่า ลัทธิความเชื่อที่ถูกต้องนั้น
คือ ที่ตรงกันข้ามกับลัทธิความเชื่อ ๕ ประเภทดังกล่าวแล้ว
ได้แก่

๓.๑) ความเชื่อประเภท "อัตถิกทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า ความดีความชั่ว (บุญ-บาป) มีจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง
บิดามารดามีจริง โอปปาติกสัตว์มีจริง ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมีจริง เป็นต้น

คนที่มีความเชื่อถือแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และจะประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ความดีความชั่ว (บุญบาป) มีจริง
โลกนี้โลกหน้ามีจริง เป็นต้น

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของความเชื่อประเภทนี้ คือ

- ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าโลกหน้าไม่ีมีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ (คือ ได้รับประโยชน์) ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๒) ความเชื่อประเภท "กิริยทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า การกระทำทั้งปวงมีผล ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว เป็นต้น

คนที่มีความเชื่อแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า การกระทำทุกอย่างมีผล

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อแบบนี้ คือ

- ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าการกระทำทั้งปวงไม่มีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าการกระทำทั้งปวงมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๓) ความเชื่อประเภท "เหตุกทิฏฐิ"
คือ เชื่อว่า ดีชั่ว ทุกข์ของชีวิต มีเหตุ มีปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ

คนที่มีความเชื่อแบบนี้ ย่อมละเว้นจากอกุศลธรรม
และประพฤติแต่กุศลธรรม เพราะเขาเชื่อว่า ดีชั่ว ทุกข์ของชีวิต มีเหตุ มีปัจจัย

ความเชื่อแบบนี้ย่อมก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยะ ชักนำคนอื่นให้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง
และไม่ยกตนข่มผู้อื่น

ผลของการเชื่อแบบนี้ คือ

- ถ้าเหตุปัจจัยมีผลจริง เมื่อทำแต่ความดี ตายลงเขาย่อมไปสู่สุคติ
- ถ้าเหตุปัจจัยไม่มีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า เป็นคนดี
- หรือว่า ถ้าเหตุปัจจัยมีจริง เมื่อทำแต่ความดี เขาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ชนะ ในโลกทั้งสอง (คือ ปัจจุบันก็ได้รับคำสรรเสริญ ตายลงก็ไปสู่สุคติ)

๓.๔) วิญญูชนไม่ควรยืนยันหรือปฏิเสธสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นว่า จริงหรือเท็จ
เช่น เรืองพรหม ถ้าอรูปพรหมไม่มีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในรูปพรหมก็ได้
ถ้าอรูปพรหมมีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในอรูปพรหมก็ได้
แต่เมื่อวิญญูชนพิจารณาด้วยดีแล้วย่อมเห็นว่า
รูปที่มาหรือเป็นเหตุของการแก่งแย่ง ทะเลาะวิวาทและประหัตประหารกัน
ฉะนั้น วิญญูชนย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย คลายกำหนดในรูป

๓.๕) ในเรื่องความดับแห่งภพ (นิพพาน) ก็เช่นกัน วิญญูชนเมื่อไม่รู้ไม่เห็น
ย่อมไม่ยืนยันหรือปฏิเสธว่า จริงหรือเท็จ

ถ้านิพพานไม่มีจริง เราก็อาจจะไปเกิดในพรหมโลก ประเภทไม่มีรูป (อรูปพรหม) ก็ได้
ถ้านิพพานมีจริง เราก็สามารถบรรลุนิพพานได้ในปัจจุบัน
เมื่อวิญญูชนพิจารณาด้วยดีแล้ว ย่อมเห็นว่า
ความเชื่อว่า นิพพานไม่มีจริงนั้นย่อมนำไปสู่ความกำหนัดยินดีและความเพลิดเพลินยึดมั่นถือมั่น

ส่วนความเชื่อว่า นิพพานมีจริงนั้น ย่อมนำไปสู่ความไม่กำหนัดยินดี
ความไม่เพลิดเพลิน และความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ฉะนั้น วิญญูชนย่อมปฏิบัติเพื่อความคลายกำหนัดและเพื่อความดับแห่งภพ (คือ เพื่อนิพพาน)


:b41: ๔. ทรงแสดงว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ ๔ ประเภท คือ

๔.๑) คนที่ทำให้ตนเดือดร้อน
คือ คนที่ประพฤติทุกขกิริยาแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการทรมานตนเองให้เดือดร้อนโดยเปล่าประโยชน์

๔.๒) คนที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
คือ ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นในลักษณธต่างๆ

๔.๓) คนที่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองที่ชอบเบียดเบียนสัตว์และเบียดเบียนประชาชน

๔.๔) คนที่ไม่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
คือ คนที่ดำรงตนอยู่ในหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด คือ บรรลุนิพพาน

และทรงแสดงว่า คนประเภทที่ ๔ ได้ชื่อว่า "เป็นพรหมในปัจจุบัน"

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แก้ไขล่าสุดโดย Hanako เมื่อ 10 ต.ค. 2012, 18:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ประเด็นสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตรนี้ คือ

๑.

พระพุทธพจน์ที่ว่า "แม้จะไม่นับถือใครเป็นศาสดา แต่ก็ควรมีอปัณกธรรมสำหรับเป็นหลักปฏิบัตของชีวิต เพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิต" (ข้อ ๑๐๔) ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่าำคัญของพระพุทธศาสนา ๒ ประการ คือ

๑.๑) หลักการในการสอน

หรือการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ในการสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์มิได้มุ่งที่จะสอนให้ใครมานับถือพระองค์เป็นศาสดา หรือว่าหันมานับถือพระพุทธศาสนา แต่ทรงมุ่งสอนให้เขาได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ และสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับการสอน

โดยทรงนำหลักการที่พวกเขาสามารถนำเอาไปปฏิบัติแล้วเกิดประโยชน์และความสุขแก่ชีวิตของพวกเขาได้จริง เป็นการสอนที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างแท้จริง

หลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ชัดเจนใน พรหมจริยาสูตร (อํ.จตุกฺก.๒๑/๒๕/๓๓) ความว่า

"พรหมจรรย์นี้่ เรามิใช่ประพฤจิเพื่อหลอกลวงคน เพื่อเรียกร้องให้คนมานับถือ เพื่อลาภสักการะหรือคำสรรเสริญ เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อหักล้างลัทธิอื่น เพื่อให้คนเข้าใจว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (คือ เป็นผู้วิเศษ) ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อความสำรวม เพื่อละกิเลส เพื่อคลายความกำหนัดยินดี เพื่อดับทุกข์"

และใน โคตมสูตร (อํ.ติก.๒๐/๕๖๕/๓๖๕) ความว่า

"เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุผลและแสดงธรรมอย่างมีปาฏิหาริย์ คือ สามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง"

๑.๒) ความเป็นสากลของพุทธธรรม

กล่าวคือ คำสอนของพระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะเป็นสากล คือ เป็นหลักการหรือหลักปฏิบัติที่มนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ และเมื่อปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ย่อมได้รับผลจริงเหมือนกันทั้งนั้น

มิใช่เป็นหลักการคำสอนที่ใช้ได้สำหรับชาวพุทธเท่านั้น ทั้งนี้เพราะหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น เป็นหลักความจริงตามธรรมชาติ และก็ให้ผลปฏิบัติตามธรรมชาติหรือตามกระบวนการของมันเอง เรียกว่า มีความเป็น วัตถุวิสัย / ภาววิสัย** ทั้งหลักการและกระบวนการให้ผล


** เพิ่มเติมโดยผู้พิมพ์กระทู้
คำว่า วัตถุวิสัยหรือภาววิสัย หมายถึง objective,วัตถุวิสัย, ภววิสัย, ปรวิสัย คือ ไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางใจของเรา (ไม่ว่าเราจะรู้สึกหรือนึกคิดอย่างไร สิ่งนั้นย่อมเป็นของมันอยู่เช่นนั้น) ตรงข้ามกับ subjective, อัตวิสัย, จิตวิสัย คือ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางใจของเรา

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลักการหรือคำสอนที่มีความเป็นสากลที่นับว่า เป็นหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติทั่วไปที่ทรงแสดงไว้ใน อปัณณกสูตรนี้ก็คือ

ก. หลักความเชื่อที่ถูกต้อง ๓ อย่าง
ได้แก่ อัตถิกทิฏฐิ กิริยทิฏฐิ และ เหตุกทิฏฐิ ซึ่งโดยสาระก็คือ เรื่องกรรมและการตายเกิด

ข. หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ (หลักการฝ่ายดี - กุศลธรรม) และ อกุศลธรรม ๑๐ (หลักการฝ่ายชั่ว - อกุศลธรรม)

ค. หลักไตรสิกขาหรือมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

หลักการหรือคำสอนเหล่านี้ ใครจะนับถือหรือไม่นับถือพระองค์ว่าเป็นศาสดาของตนก็ตาม หากนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ก็ย่อมได้รับผล คือ ประโยชน์สุขเหมือนกัน

ความเป็นสากล หรือความเป็นธรรมชาติของหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจนใน อุปปาทสูตรหรือธรรมนิยามสูตร (อํ.ติก. ๒๐/๕๗๖/๓๖๘) ความว่า

"ตถาคตจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (คือ สิ่งที่มีอยู่) นั้นๆ ก็ได้มีอยู่แล้ว มีอยู่ตามธรรมดาของมัน มีความแน่นอน (หรือ ความเป็นไป) ตามธรรมดาของมัน นั่นคือ สังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่คงที่ ธรรม (คือ สิ่งที่มี) ทั้งปวงมิใช่อัตตา (คือ ไม่มีตัวยืนที่คงที่) ตถาคตเพียงแต่รู้แจ้งเห็นจริงแล้วนำมาบอกให้รู้ แสดงให้เห็น บัญญัติเป็นภาษาถ้อยคำ ตั้งไว้เป็นแบบแผน เปิดเผยให้แจ่มแจ้ง จำแนกให้ชัดเจน และทำให้เข้าใจง่ายเท่านั้น"

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b44: ลัทธิหรือความเชื่อที่ผิด

ลัทธิหรือความเชื่อที่ผิดที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระสูตรอปัณณกสูตรนี้ โดยใจความหรือโดยเนื้อหาแล้วเหมือนกัน คือ ปฏิเสธว่า กรรมดีกรรมชั่วไม่มี ผลดีผลชั่วบุญบาปไม่มี

คำสอนดังกล่าวนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าผิด เพราะผิดจากความเป็นจริง ลัทธิเหล่านี้นอกจากเป็นความเชื่อหรือการสอนที่ผิดไปจากความเป็นจริงแล้ว ยังก่อให้เกิดความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำให้คนอื่นพลอยเชื่อผิดตามไปด้วย ถือว่าเป็น "นิยตมิจฉาทิฏฐิ" คือ ความเห็นผิดชนิดรุนแรง

เพราะคนที่มีความเชื่อถือแบบนี้เป็นคนไม่รู้จักความดีความชั่ว ฉะนั้นจึงไม่เคยมีความคิดจะทำดี เว้นชั่วเลย คนที่มีความคิดเห็นผิดอย่างนี้จึงไม่มีทางเข้าสวรรค์ ไม่มีทางบรรลุนิพพาน เรียกว่า เป็นทิฏฐิที่ปิดทางสวรรค์ ปิดทางนิพพาน

มิจฉาทิฏฐิดังกล่าว หากพิจารณาก็จะพบว่า เป็นทิฏฐิที่ปฏิเสธความจริงที่สำคัญ ๒ ประการ นั้นคือ

๑. ความจริงเรื่องกรรม หรือเรื่อง หลักกรรม
๒. ความจริงเรื่องการเกิด-ตาย หรือเรื่อง สังสารวัฏ


พระพุทธศาสนายืนยันว่า คนที่ไม่เชื่อถือเรื่องกรรม เรื่องการเกิด-ตายนั้นก็จะไม่เชื่อเรื่องศีลธรรม(กุศลธรรม-อกุศลธรรม)ด้วย ฉะนั้นคนที่ปฏิเสธเรื่องเหล่านี้ไม่สนใจที่จะปฏิบัติศีลธรรม

เพราะฉะนั้น การเชื่อเรื่องกรรมจึงเป็นพื้นฐานของศีลธรรม การปฏิเสธหลักกรรมก็คือปฏิเสธหลักธรรมนั่นเอง

:b48: เรื่องที่คนทั่วไปมักคิดผิด เห็นผิด เชื่อผิด

ในพระสูตรอปัณณกสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า เรื่องที่คนทั่วไปมักคิดผิด เห็นผิด เชื่อผิด คือ

- เรื่องกรรมและผลของกรรมหรือเรื่องบุญ-บาป
- เรื่องโลกหน้า หรือเรื่องการตาย-เกิด
- เรื่องโอปปาติกสัตว์หรือเรื่องเทวดา-พรหม


เพราะเรื่องเหล่านี้เป็ส่งละเอียดลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยากสำหรับคนทั่วไป จึงมักคิดเห็นกันไปต่างๆนานาและมักจะคิดเห็นกันไปทางที่ผิดจากความจริง แต่ก็เป็นเรื่องที่คนทั่วไปอยากรู้อยากเห็น เรื่องเหล่านี้จึงเป็นปัญหาอภิปรัชญาของคนทุกวัฒนธรรม

:b43: ทรงใช้เหตุผลเชิงเปรียบเทียบในการสอน

เพื่อให้คนมีความเชื่อและปฏบัติที่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงแนะนำวิธีคิดโดยการใช้เหตุผลเชิงเปรียบเทียบ เช่น เรื่องโลกหน้าหรือการตายเกิด ทรงแนะดังนี้

- ถ้าโลกหน้าไม่มี คนที่ทำชั่ว ตายลงก็เสมอตัว (ไม่ได้ไม่เสีย)
- ถ้าโลกหน้ามีจริง คนที่ทำแต่ความชั่ว ตายไปก้ไปทุคติ (เสีย)
- ถ้าโลกหน้าไม่มี คนที่ทำแต่ความชั่ว ก็ถูกเขาติเตียนในปัจจุบัน (เสีย)
- ถ้าโลกหน้ามีจริง คนที่ทำแต่ความชั่ว ปัจจุบันก็ถูกติเตียน ตายลงก็ไปทุคติ (เสียกับเสีย)


เห็นได้ว่า จากการคิดเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ในเรื่องโลกหน้า-บุญบาปนั้น ไม่เชื่อว่ามีจริงจะมีแต่ผลเสียกับชีวิต ในทางตรงกันข้าม ถ้าเชื่อว่ามีจริงก็จะมีแต่ผลดีกับชีวิต

:b43: ทรงสอนหลักในการปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธเรื่องใดๆ

เรื่องหนึ่งที่ทรงแสดงไว้ คือ หลักเหตุผล ที่ทรงแสดงว่า "เรื่องที่เราไม่รู้ไม่เห็นนั้น ไม่ควรที่เราจะยืนยันหรือปฏเสธว่า จริงหรือเท็จ" เพราะคนจำนวนไม่น้อยมักจะอ้างการไม่รู้ไม่เห็นของตนเองมาเป็นเหตุผลในการปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่า ไม่จริงหรือไม่มี

พระพุทธพจน์ดังกล่าวนี้ให้หลักการแก่เราว่า

- สิ่งที่เราไม่มีประสบการณ์ (คือ ไม่รู้ ไม่เห็น) ก็ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่เราจะปฏิเสธ
- สิ่งที่เราไม่มีประสบการณ์ ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่เราจะยืนยันเช่นกัน


เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะยืนยันหรือปฏิเสธได้นั้น จึงต้องเป็นสิ่งที่เรามีประสบการณ์ คือ รู้เห็นด้วยตนเอง เท่านั้น

ในเรื่องนี้ ได้แสดงหลักการสำคัญอีกอย่างของพระพุทธศาสนานั่นคือ เรื่อง "ความรู้กับความเชื่อ" ซึ่งทรงแสดงไว้ชัดเจนว่า

- ความรู้ ไม่ใช่ความเชื่อ
- ความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้


เพราะฉะนั้น สิ่งใดเรารู้แล้วเราย่อมไม่มีความเชื่อในสิ่งนั้น และตรงกันข้าม เราเชื่อสิ่งใดแสดงว่าเรายังไม่รู้ในสิ่งนั้น

ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงถือว่า ความเชื่อที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความเชื่อที่ถูกย่อมนำไปสู่การกระทำที่ถูกต้อง และการกระทำที่ถูกย่อมนำไปสู่ประสบการณ์หรือความรู้ที่ถูกต้อง ดังนั้น ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ความเชื่อ การกระทำ และความรู้จึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน หรือเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน

:b46: :b46: :b46:


คัดลอกเนื้อหาจาก
เอกสารประกอบการบรรยายวิชา พระไตรปิฏกศึกษา ภาคที่ ๑
สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ หน้า ๓๑-๓๘

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 00:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


.. :b8: :b8: :b8: ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2016, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




พระพุทธเจ้า 8.jpg
พระพุทธเจ้า 8.jpg [ 9.94 KiB | เปิดดู 3460 ครั้ง ]
:b42: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ เดชะพระกุศล จงมาบังเกิด สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ให้เจริญรุ่งเรือง มีทรัพย์สินมหาศาล เป็นทานธาระณะ ทำการงานสำเร็จ มหัศจรรย์เหนือมนุษย์ทั้งปวง b8: :b8: :b8: :b20: (♡✿◕‿◕✿♡)

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร