วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

ธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พุทธวรรคที่ ๑


พุทธาปทานที่ ๑
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า


[๑] พระอานนท์เวเทหมุนี มีอินทรีย์สำรวมแล้วได้ทูลถามพระตถาคตผู้ประทับ
อยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีจริงหรือ
เพราะเหตุไรจึงได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลนั้น
พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ
ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า ชนเหล่าใด
สร้างสมกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ยังไม่ได้โมกขธรรมใน
ศาสนาของพระชินเจ้า ชนเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์โดยมุข คือ การ
ตรัสรู้นั้นแล แม้มีอัธยาศัย มีกำลังมาก มีปัญญาแก่กล้า ย่อมได้บรรลุ
ความเป็นพระสัพพัญญูด้วยเหตุแห่งปัญญา แม้เราเป็นธรรมราชาผู้สมบูรณ์
ด้วยบารมี ๓๐ ทัศ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
นับไม่ถ้วน นมัสการพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยสงฆ์ด้วย
นิ้วทั้ง ๑๐ แล้วกราบไหว้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด
ทั้งหลายด้วยเศียรเกล้า รัตนะทั้งที่มีในอากาศและอยู่ที่พื้นดิน ในพุทธ-
เขต มีประมาณเท่าใด เราจักนำรัตนะทั้งหมดนั้นมาด้วยใจ ณ พื้นที่เป็น
รูปิยะนั้น เราได้นิรมิตปราสาทหลายชั้น อันสำเร็จด้วยรัตนะ สูง
ตระหง่านจรดฟ้า มีเสาอันวิจิตร ได้สัดส่วน จัดไว้ดี ควรค่ามาก มี
คันทวยทำด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร พื้นชั้นแรกเป็น
แก้วไพฑูรย์ งามปราศจากมลทิน ไม่มีฝ้า เกลื่อนกลาดด้วยดอกบัวหลวง
มีพื้นทองคำอย่างดี พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬ เป็นกิ่งน่ารื่นเริง บาง
ชั้นแดงงาม บางชั้นเปล่งรัศมี ดังสีแมลงค่อมทอง บางชั้นสว่างทั่วทิศ
ในปราสาทนั้น มีศาลาสี่หน้ามุข มีประตูหน้าต่างจัดไว้เรียบร้อย มีชุกชี
และหลุมตาข่ายสี่แห่ง มีพวงมาลัยหอมน่ารื่นรมย์ใจห้อยอยู่ ยอด
ปราสาทนั้นประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีสีเขียว เหลือง แดง ขาว
ดำล้วน ประกอบด้วยยอดเรือนชั้นเยี่ยม มีสระประทุมชูดอกบานสะพรั่ง
งามด้วยฝูงเนื้อและนก บางชั้นดาดาษด้วยดาวนักษัตร ประดับด้วยรูป
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ปกคลุมด้วยพวงดอกไม้ทอง ดาดาษด้วยตาข่าย
ทองน่ารื่นรมย์ ห้อยย้อยด้วยกระดิ่งทอง เปล่งเสียงด้วยกำลังลม ปรา-
สาทนั้นวิจิตรด้วยธงสีต่างๆ คือ ธงสีชมพู สีแดง สีเหลือง สีเขียว
และสีทอง ปักไว้เป็นระเบียบ แผ่นกระดานต่างๆ มากหลายร้อย ทำ
ด้วยเงิน ทำด้วยแก้วมณี ทับทิม ทำด้วยแก้วมรกต วิจิตรด้วยที่นอน
ต่างๆ ลาดด้วยผ้าเมืองกาสีละเอียดอ่อน เราปูลาดเครื่องลาดต่างๆ
ด้วยผ้ากัมพล ผ้าทุกุลพัสตร์ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมืองแขก และผ้าห่มเหลือง
ทุกแห่ง ด้วยใจ ที่พื้นนั้นๆ ประดับด้วยยอดแก้ว คนหลายร้อยยืน
ถือประทีปแก้วมณีอันส่งแสงเรืองอยู่ เสาระเนียด เสาซุ้มประตู ทำด้วย
ทองชมพูนุท ไม้แก่นและเงินบ้าง มีที่ต่อหลายแห่ง จัดไว้เรียบดี วิจิตร
ด้วยบานประตูและกลอน ย่อมยังปราสาทให้งาม สองข้างปราสาทนั้น
มีกระถางน้ำเต็มเปี่ยมหลายกระถาง ปลูกบัวหลวงและอุบลไว้เต็ม เรา
นิรมิตพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้เป็นนายกของโลกทุกพระองค์ พร้อมด้วย
พระสงฆ์สาวก ด้วยวรรณและรูปตามปกติ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
พร้อมด้วยพระสาวกเข้าไปทางประตูนั้น หมู่พระอริยเจ้านั่งบนตั่งอันทำ
ด้วยทองคำล้วนๆ พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีอยู่ ณ บัดนี้ก็ดี
เป็นอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ทุกพระองค์ได้ขึ้นปราสาทของเรา พระสยัมภู
ปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อย ผู้ไม่พ่ายแพ้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ขึ้น
ปราสาทของเราทั้งหมด ต้นกัลปพฤกษ์ทั้งเป็นของทิพย์และของมนุษย์
มีมาก เรานำเอาผ้าทุกอย่างจากต้นกัลปพฤกษ์นั้น มาทำไตรจีวรถวายให้
ท่านเหล่านั้นครอง ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้ำและข้าวมีสมบูรณ์
เราใส่อาหารเต็มบาตรงามทำด้วยมณีแล้วถวายพระอริยเจ้าทั้งผองครองผ้า
ทิพย์ ครองจีวรเนื้อเกลี้ยงอิ่มหนำสำราญด้วยน้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อยรสหวานฉ่ำและด้วยข้าวปายาส หมู่อริยเจ้าเหล่านี้เข้าห้องแก้ว
สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอันควรค่ามาก ดังไกรสรีนอนในถ้ำที่อยู่ รู้สึกตัว
ลุกขึ้นนั่งคู้บัลลังก์บนที่นอน เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌานอัน
เป็นโคจรของพุทธเจ้าทุกพระองค์ บางพวกแสดงธรรม บางพวกเข้าฌาน
ด้วยฤทธิ์ บางพวกเข้าอัปปนาฌาน และบางพวกอบรมอภิญญาวสี บาง
พวกแผลงฤทธิ์ คนเดียวเป็นได้หลายร้อยหลายพัน แม้พระพุทธเจ้าก็ถาม
ปัญหาอันเป็นอารมณ์ คือ วิสัยของพระสัพพัญญูกะพระพุทธเจ้า ท่าน
เหล่านั้น ย่อมตรัสรู้เหตุอันละเอียดลึกซึ้งด้วยพระปัญญา พระสาวกทูล
ถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสาวก ท่านเหล่านั้นถามกัน
และกัน และพยากรณ์กันและกัน พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระสาวกต่างเป็นศิษย์ ท่านเหล่านั้นรื่นรมย์อยู่ด้วยความยินดีอย่างนี้
อภิรมย์อยู่ในปราสาทของเรา ฉัตรและฉัตรซ้อน มีรัศมีดังไม้ไผ่แก้วตั้งไว้
ทุกๆ องค์ทรงไว้ซึ่งฉัตรอันห้อยย้อยด้วยตาข่ายทอง ขจิตด้วยตาข่ายเงิน
วงรอบด้วยตาข่ายมุกดา บนเศียรมีเพดานผ้า แวววาวด้วยดาวทอง งดงาม
ดาดาษด้วยพวงมาลัยทุกๆ องค์ ทรงไว้รอบๆ ฉัตรดาดาษด้วยพวงมาลัย
งามด้วยพวงดอกไม้หอม เกลื่อนด้วยพวงผ้า ประดับด้วยพวงแก้ว
เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้ งดงามยิ่งนัก รมด้วยของหอมน่าพอใจ ทำด้วย
ของหอมยาวห้านิ้ว มุงด้วยเครื่องมุงทอง ในสี่ทิศแห่งปราสาท มีสระ
อันดาดาษด้วยปทุมและอุบล หอมตลบด้วยเกสรดอกปทุม ปรากฏ
ดังสีทองคำ โดยรอบปราสาท มีต้นไม้ทุกชนิด ดอกบานสะพรั่ง และ
ดอกไม้หล่นลงเอง เรี่ยรายอยู่ยังปราสาท ใกล้ๆ ปราสาทนั้นมีฝูงนกยูง
รำแพนหาง ฝูงหงส์ทิพย์ส่งเสียง ฝูงนกการวิกขับขาน หมู่นกร้องอยู่
โดยรอบปราสาท เสียงกลองเภรีทุกอย่างจงเป็นไป เสียงพิณทุกชนิดจง
ดีด เสียงสังคีตทุกอย่างจงขับขาน โดยรอบปราสาท ขอบัลลังก์ทองใหญ่
สมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่องประดับด้วยแก้ว จงตั้งอยู่ ในกำหนดพุทธเขต
และในหมื่นจักรวาล ขอต้นไม้ประจำทวีปจงรุ่งเรือง เป็นไม้สว่างไสว
เช่นเดียวกัน สืบต่อกันไปตั้งหมื่นต้น หญิงเต้นรำ หญิงขับร้อง จงเต้นรำ
ขับร้อง หมู่นางอัปสรผู้มีอวัยวะต่างๆ กัน จงปรากฏ (ฟ้อน) อยู่โดย
รอบปราสาท เราให้ชักธงทุกชนิดมีห้าสีงามวิจิตรขึ้นอยู่บนยอดไม้ ยอด
ภูเขา และบนยอดสิเนรุ หมู่ชน ฝูงนาค คนธรรพ์ และเทวดาทุกท่าน
นั้น จงมาประนมหัตถ์นมัสการเรา แวดล้อมปราสาทอยู่ กุศลกรรมอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง เป็นกิริยาที่เราพึงทำด้วยกาย วาจา และใจ กุศลกรรมนั้นเรา
ทำแล้วไปในไตรทศ สัตว์เหล่าใดมีสัญญา และสัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญา
มีอยู่ ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีส่วนแห่งผลบุญ ที่เราทำแล้ว สัตว์
เหล่าใดทราบบุญที่เราทำแล้ว เราให้ผลบุญแก่สัตว์เหล่านั้น บรรดาสัตว์
เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอทวยเทพจงไปบอกแก่สัตว์เหล่านั้น ปวง
สัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเป็นอยู่ทุกจำพวก ขอจงได้อาหารอันพึงใจ ด้วย
ใจของเรา เรามีใจเลื่อมใสในทานที่เราให้แล้วด้วยใจอันผ่องใส เราบูชา
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์แล้ว บูชาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะกุศลกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น และเพราะความปรารถนาแห่งใจ เราละ
กายมนุษย์แล้ว ได้ไปยังดาวดึงส์พิภพ เราย่อมรู้ทั่วความเป็นเทวดาและ
มนุษย์ในสองภพ ย่อมไม่รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งความปรารถนาด้วยใจ
เราเป็นใหญ่กว่าเทวดา เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ
ไม่มีใครเสมอเราด้วยปัญญา โภชนะต่างๆ อย่างประเสริฐ และรัตนะ
มากมาย ผ้าต่างชนิด ย่อมจากฟ้ามาหาเราพลัน เราชี้มือไปในที่ใด คือ
ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า อาหารทิพย์ย่อมมาหาเรา
เอง เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและ
ในป่า รัตนะทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน
ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า ของหอมทุกชนิดย่อมมาหาเราเอง
เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า
ยวดยานทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา
บนอากาศ ในน้ำและในป่า ดอกไม้ทุกชนิดย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปใน
ที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า เครื่องประดับ
ย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ
ในน้ำและในป่า ปวงนางกัญญาย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่
แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน
น้ำและในป่า ของเคี้ยวทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราได้ให้ทานอันประเสริฐ
นั้นในคนไม่มีทรัพย์ คนเดินทางไกล ยาจก และคนเดินทางเปลี่ยว
เพื่อต้องการบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ เรายังภูเขาหินให้บันลืออยู่
ยังเขาอันแน่นหนาให้กระหึ่มอยู่ ยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง
อยู่ จะเป็นพระพุทธเจ้าในโลก ทิศ ๑๐ มีอยู่ในโลก ที่สุดไม่มีแก่บุคคล
ผู้ไปอยู่ ก็ในทิศาภาคนั้น พุทธเขตนับไม่ได้ รัศมีของเราปรากฏเปล่ง
ออกเป็นคู่ๆ ข่าย (หมู่,คู่) รัศมีมีอยู่ในระหว่างนี้ เราเป็นผู้มีแสง
สว่างมาก ปวงชนในโลกธาตุประมาณเท่านี้จงเห็นเรา จงมีใจยินดีทั้ง
หมดเทียว จงประพฤติตามเราทั้งหมด เราตีกลองอมฤต มีเสียงบันลือ
ไพเราะสละสลวย ปวงชนในระหว่างนี้ จงได้ยินเสียงอันไพเราะของเรา
เมื่อฝนคือธรรมเทศนาตกลง ปวงชนจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาชน
เหล่านั้น สัตว์ผู้เกิดสุดท้ายภายหลัง จงเป็นพระโสดาบัน เราให้ทานที่
ควรให้แล้ว บำเพ็ญศีลโดยไม่เหลือ ถึงที่สุดเนกขัมมบารมีแล้ว พึงได้
บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เราเรียนถามบัณฑิตแล้ว ทำความเพียรอย่าง
สูงสุด ถึงที่สุดขันติบารมีแล้ว พึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เรา
กระทำอธิษฐานจิตมั่นคงแล้ว บำเพ็ญสัจจบารมีถึงที่สุด เมตตาบารมีแล้ว
พึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เราเป็นผู้มีใจเสมอในอารมณ์ทั้งปวง
คือ ในลาภ ความเสื่อมลาภ สุข ทุกข์ สรรเสริญ และนินทา พึง
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ท่านทั้งหลายเห็นความเกียจคร้านโดยเป็น
ภัย และเห็นความเพียรโดยความเกษมแล้ว จงปรารภความเพียร นี้เป็น
อนุศาสนีของพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายเห็นความวิวาทโดยเป็นภัย และ
เห็นความไม่วิวาทโดยเกษมแล้ว จงสมัครสมานกัน กล่าววาจาอ่อนหวาน
แก่กัน นี้เป็นอนุศาสนีของพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายเห็นความประมาท
โดยเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทโดยเกษมแล้ว จงอบรมอัฏฐังคิกมรรค
นี้เป็นอนุศาสนีของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
มาประชุมกันอยู่มาก ทุกประการ ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้นมัสการพระ-
สัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ พระพุทธเจ้า
(และ) ธรรมของพระพุทธเจ้า ใครๆ ไม่อาจคิดได้ เมื่อบุคคลเลื่อมใสใน
พระพุทธเจ้าและพระธรรม อันใครๆ ไม่อาจคิดได้ ย่อมมีผลอันใครๆ คิดไม่ได้.

ทราบว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงให้ท่านพระอานนท์รู้พระพุทธจิตของพระองค์
จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อพุทธาปนิยะ ด้วยประการฉะนี้.

พุทธาปทานจบบริบูรณ์.

-----------------------------------------------------

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ข้อมูลจากหนังสือ ธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา
นายพรชัย เจริญดำรงเกียรติ
นายณรงค์ - ดร.ศุลีมาศ สุทธิสัมพัทน์
ในนามคณะผู้จัดทำ


:b42: พุทธาปทาน
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

:b42: พระโพธิสัตว์ปฏิสนธิ
พระโพธิสัตว์ ให้ปฏิญญาแก่เทวดาและพรหมทั้งหลายเหล่านั้น จุติจากดุสิตเทวโลกมาถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของพระนางมหามายาเทวี

เรื่่อง..............................................สถานที่................................วันเดือนปี

พระโพธิสัตว์ประสูติ..........................ลุมพินีวัน............................ขึ้น๑๕ ค่ำเดือน๖

พราหมณ์ทำนายพระโพธิสัตว์...............วังเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์

ทรงกำหนดอานาปานสติ....................กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ............พระชนม์ ๗ วัสสา

ปราสาท ๓ ฤดู..............................วังเจ้าศากยะ..........................พระชนม์ ๑๗ วัสสา

ราหุลกุมารประสูติ.............................วังเจ้าศากยะ.........................พระชนม์ ๒๙ วัสสา

ทรงออกมหาภิเนษกรมณ์....................วังเจ้าศากยะ.........................พระชนม์ ๒๙ วัสสา

เสด็จกรุงราชคฤห์บิณฑบาต.................กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ..............พระชนม์ ๒๙ วัสสา

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา........................เขาดงคสิริ แคว้นมคธ................พระชนม์ ๒๙-๓๕ วัสสา

นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส.............ต้นไทร ริมแม่น้ำเนรัญชรา............ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ประทับ ณ โพธิบัลลังก์.....................ต้นอัสสัตถโพธิพฤกษ์.................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

สัปดาห์แรกแห่งการตรัสรู้...................รัตนบัลลังก์เจดีย์

สัปดาห์ที่ ๒ แห่งการตรัสรู้..................อนิมมิสเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๓ แห่งการตรัสรู้..................รัตนจงกรมเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการตรัสรู้..................รัตนฆรเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๕ แห่งการตรัสรู้..................ต้นอชปาลนิโครธ

สัปดาห์ที่ ๖ แห่งการตรัสรู้..................ต้นมุจจลินท์

สัปดาห์ที่ ๗ แห่งการตรัสรู้..................ต้นราชายตนะ

สัปดาห์ที่ ๘ แห่งการตรัสรู้..................ต้นอชปาลนิโครธ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.......................ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน...............ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๘

อนัตตลักขณสูตร............................ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน...............แรม ๕ ค่ำ เดือน๘

โปรดยสกุลบุตร..............................ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

โปรดสหายภัททวัคคีย์.......................ไร่ฝ้าย................................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง.........................อุรุเวลา...............................แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

อาทิตตปริยายสูตร..........................ตำบลคยาสีสะ

เสด็จพระนครราชคฤห์......................สวนลัฏฐิวัน...........................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒

พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายเวฬุวัน

พระอัสสชิแสดงธรรมแก่พระสารีบุตร.......กรุงราชคฤห์..........................ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓

โมคคัลลานสูตร............................กรุงราชคฤห์...........................ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓

ทีฆนขสูตร..................................ถ้ำสูกรขาตา เขาคิชฌกูฏ............ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

โอวาทปาติโมกข์...........................วัดเวฬุวัน.............................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

ปิปผลิมณพบวช............................เมืองราชคฤห์-นาลันทา

กาฬุทายีทูลเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์........กรุงราชคฤห์..........................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔

เสด็จถึงนิโครธาราม........................กรุงกบิลพัสดุ์.........................ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ.........กรุงกบิลพัสดุ์.........................แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖



:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่่อง..............................................สถานที่................................วันเดือนปี

ทักขิณาวิภังคสูตร..............................กรุงกบิลพัสดุ์...........................พรรษา ๒

เสด็จกรุงไพศาลี..............................กรุงไพศาลี แคว้นวัชชี...................พรรษา ๒

รัตนสูตร...................................... กรุงไพศาลี..............................พรรษา ๒

โคธิกสูตร.....................................เขาอิสิคิลิ................................พรรษา ๓

อาฏานาฏิยสูตร...............................เขาคิชฌกูฏ...............................พรรษา ๓

สักกปัญหสูตร.................................กรุงราชคฤห์...............................พรรษา ๓

พระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพาน..................วังเจ้าศากยะ...............................พรรษา ๔

สากิยวงศ์และโกลิยวงศ์.......................แม่น้ำโรหิณี...............................พรรษา ๔

ภิกษุณีอุปสัมปทา.............................ป่ามหาวัน กรุงไพศาลี....................พรรษา ๕

เสด็จดาวดึงส์................................เนินป่าคัณฑามพพฤกษ์ กรุงสาวัตถึ.......พรรษา ๗

เสด็จลงจากดาวดึงส์..........................เมืองสังกัสสะ.............................พรรษา ๗

เสด็จกรุงโกสัมพี...............................กรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ..................พรรษา ๗

โกสัมพิยสูตร.................................วัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี................พรรษา ๙

ปาลิเลยยกสูตร..............................ปาลิเลยยกสูตร............................พรรษา ๑๐

พระเชตวันมหาวิหาร.........................พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล

เจติยะ ๓.....................................พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถึ.........พรรษา ๑๐

กสิภารทวาชสูตร...........................แคว้นมคธ..................................พรรษา ๑๑

มงคลสูตร..................................พระเชตวันมหาวิหาร.......................พรรษา ๑๒

เมตตสูตร..................................พระนครสาวัตถี............................พรรษา ๑๒

พาหิยสูตร..................................พระนครสาวัตถี............................พรรษา ๑๒

จูฬกัมมวิภังคสูตร.........................พระเชตวันมหาวิหาร.......................พรรษา ๑๔

วักกลิสูตร.................................เขาคิชฌกูฏ................................พรรษา ๑๗

ชาณุสโสณีสูตร

นางวิสาขาถวายบุพพาราม................กรุงสาวัตถี

อังคุลิมาลสูตร............................แคว้นโกศล...............................พรรษา ๑๙

สติปัฏฐานสูตร...........................แคว้นกุรุ

อนาถปิณฑิโกวาทสูตร...................กรุงสาวัตถี.................................พรรษา ๒๔

พระปชาบดีโคตมีเถรีปรินิพพาน..........ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี

พระเจ้าพิมพิสารสวรรคต..................กรุงราชคฤห์

พระเทวทัตถูกธรณีสูบ....................หน้าพระเชตวันมหาวิหาร

นางจิญจมาณวิกาถูกธรณีสูบ..............หน้าพระเชตวันมหาวิหาร

พระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคต..............ประตูเมืองราชคฤห์......................พรรษา ๔๕

เสด็จห้ามวิฑูฑภะ..........................ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์.......................พรรษา ๔๕

พระสารีบุตรปรินิพพาน....................บ้านสารีพราหมณี.......................พรรษา ๔๕

พระโมคคัลลานะปรินิพพาน................เขากาฬศิลา กรุงราชคหฤ์..............พรรษา๔๕

ทรงปลงพระชนมายุสังขาร.................กรุงเวสาลี........................๓ เดือนก่อนปรินิพพาน

สังเวชนียสถาน ๔...........................กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ..................วันปรินิพพาน

มหาสุทัสสนสูตร...........................กรุงกุสินารา...............................วันปรินิพพาน

ปัจฉิมสาวก................................กรุงกุสินารา...............................วันปรินิพพาน

ปรินิพพาน.................................กรุงกุสินารา...............................วันปรินิพพาน

รูปภาพ

ปัจฉิมโอวาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า

สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา
พวกเธอจงยังความไม่ประมาท
ให้ถึงพร้อมเถิด


นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต

:b8: :b8: :b8:

ปรินิพพาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว
เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ
เข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ
(แห่งการพิจารณาองค์จตุตถฌานนั้น)

ทีฆนิกาย มหาวรรค

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b44: :b44: :b44:

เนื่องในสมัยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่
ได้ตรัสกับพระอานนท์ในคราวที่ได้กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการที่พุทธบริษัท
จะได้ที่พึ่งในการสักการบูชาต่อพระองค์ว่า
เจติยะ ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์ (ต้นโพธิ) ธาตุกเจดีย์ (พระบรมสารีริกธาตุ)
และอุทเทสิกเจดีย์ (พระพุทธรูปฯ) ที่เมื่อพุทธบริษัทกระทำการบูชาแล้ว
ได้ชื่อว่า บูชาต่อพระตถาคตเช่นกัน ประการหนึ่ง และพระองค์ตรัสถึงสังเวชนียสถาน ๔
ที่กุลบุตรผู้เกิดมาในภายหลัง ผู้มีศรัทธาปรารถนาจะทำการสักการะต่อพระองค์
ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม และแม้เจติยะที่พระองค์เคยทรงใช้สอยที่นั้นๆ
ซึ่งพระองค์ทรงระบุชื่อของเจติยะนั้นโดยตรง เช่น รัตนบัลลังก์เจดีย์ อนิมมิสเจดีย์
รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ ฯลฯ ปาวาลเจดีย์ เป็นอาทิ ก็ตาม
เจดีย์เหล่านี้ก็เป็นประหนึ่งองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เมื่อพุทธบริษัทภายหลังจะมาเฝ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ณ สถานที่นั้นๆ จะพึงเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในภพหน้า
ตามพระดำรัสของพระบรมศาสดาเช่นกัน

:b42: ข้อความบางส่วนจากคำนำในหนังสือธัมมเจติยะ พระบรมศาสดา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

พรรษา ที่ ๒๑ - ๔๔
ประทับจำพรรษา
ณ พระเชตวันวิหาร
กับ
บุพพารามมิคารมาตุปราสาท
หลังจากออกพรรษาแล้วเสด็จจาริกไปยังคามนิคมต่างๆ
เช่นกรุงโกสัมพี อาตุมา จัมปา เวสาลี นาลันทา ภัททิยะ
และชนบทต่างๆ ณ พระเชตวันวิหาร
และบุพพารามมิคารมาตุปราสาททั้ง ๒ นี้
พระศาสดาตรัสพระพุทธพจน์จำนวนมากที่สุด
แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ปรินิพพาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว
เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ
เข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ
(แห่งการพิจารณาองค์จตุตถฌานนั้น)

ทีฆนิกาย มหาวรรค


ปรินิพพาน ในระหว่าง จตุตถฌาน กับ อากาสานัญจายตนะ
คือ ออกจากจตุตถฌาน แต่ก็ไม่เข้า อากาสานัญจายนะ นั่นเอง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
:b8:
Quote Tipitaka:
ปรินิพพาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน
ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน
ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว
เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ
เข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ
(แห่งการพิจารณาองค์จตุตถฌานนั้น)

ทีฆนิกาย มหาวรรค


ปรินิพพาน ในระหว่าง จตุตถฌาน กับ อากาสานัญจายตนะ
คือ ออกจากจตุตถฌาน แต่ก็ไม่เข้า อากาสานัญจายนะ นั่นเอง

:b8: :b8: :b8:


:b8: สาธุ ขอบคุณค่ะลุง

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

"เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ทำเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จะมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า"

พระดำรัสของพระบรมศาสดา

:b47: :b47: :b47:

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ........แคว้นมัลละ

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ........แคว้นวัชชี

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ........กรุงกบิลพัสดุ์ อินเดีย

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ........กรุงเทวทหะ รามคาม

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำคัญของแผ่นดินอันเป็นที่ตรัสรู้
และพระมหาโพธิเจดีย์

ในอรรถกถาพุทธวงศ์ ระบุไว้ชัดเจนว่าโพธิมณฑลของพระศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นที่ตรัสรู้ของ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในภัทรกัป ที่ผ่านมาพระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคม
พระพุทธเจ้ากัสสปะ และพระพุทธเจ้าโคตมะซึ่งเรานับถือกราบไหว้อยู่ได้มาตรัสรู้ ณ ที่นี้แล้ว
๔ พระองค์ พระศรีอาริยเมตไตรพุทธเจ้าก็จะมาตรัสรู้ที่นี้ในอนาคต

ในชาดกเล่ม ๔ ระบุไว้ว่าพื้นดินตรงนี้เป็นปฐวีนาภิหรือสะดือโลกเพราะเป็นจุดที่พื้นดิน
โผล่ขึ้นพ้นพื้นน้ำเป็นครั้งแรกในภัทรกัปนี้ และจะเป็นจุดสุดท้ายที่จมลงสู่พื้นน้ำเมื่อสิ้นกัป
และในมหาปทานสูตร ได้แสดงไว้ว่า ดอกบัวที่เกิด ณ บริเวณนี้ก้านเดียวจะมีดอกหลายดอก
ซึึ่งจะเป็นการพยากรณ์จำนวนพระพุทธเจ้าในกัปนั้นๆ เหตุที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องตรัสรู้ที่นี้
ก็เพราะไม่มีแผ่นดินผืนใดในโลกจะสามารถรองรับบารมีและน้ำหนักของพระพุทธองค์
ขณะตรัสรู้ นอกจากสะดือโลกแห่งนี้ที่พระศรีมหาโพธิ์ขึ้นอยู่

อนึ่งในพุทธกาลนั้น พระศรีมหาโพธิ์นั้น เกิดขึ้นพร้อมพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ
จึงถือว่าพระศรีมหาโพธิและโพธิมณฑลเป็นเจดีย์ประเภทที่เกี่ยวกับองค์พระพุทธเจ้าโดยตรง
จึงเรียกว่าเป็นบริโภคเจดีย์ ที่ทรงอนุญาตไว้ในมหาปรินิพานสูตร
ให้พุทธบริษัทจาริกมาปลงธรรมสังเวชได้ เหมือนสังเวชนียสถานอีก ๓ แห่ง
คือ ที่ประสูติ (ลุมพินี) ที่แสดงปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา)

ด้วยเหตุนี้ในบรรดาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ สถานที่ตรัสรู้นี้จึงเป็นที่ที่มีพุทธบริษัท
มากระทำการบูชามากที่สุด ตั้งแต่หลังพุทธกาลมากว่า ๒๐๐๐ ปี ปีละหลายล้านคน
และมีผู้พบเห็นปาฏิหาริย์อันเป็นแสงโอภาสรอบพระเจดีย์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ
ดังบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) เมื่อกว่าพันห้าร้อยปีีมาแล้ว

จาก แผ่นพับโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาเป็นพุทธบูชา
โดยประชาชนชาวไทย ณ พระศรีมหาโพธิมณฑล พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
พ.ศ.๒๕๕๖ วัดเมตตาพุทธาราม มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อุบลราชธานี

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ท่านผู้ใดสวดธัมมจักฯ เรื่อยมา
และเมื่อวานนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘

อนัตตลักขณสูตร.......ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.......วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘


หากท่านใดสวดมนต์ในบทที่กล่าวมานี้ ก็ขออนุโมทนาสาธุในส่วนบุญส่วนกุศลของท่านด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2013, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


ปฐมพุทธพจน์


รูปภาพ

:b44: :b44: :b44:

อเนกชาติสํสารํ.......................สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการกํ คเวสนฺโต....................ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ..................ปุน เคหํ นกาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา......คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ............................ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ

"เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร
มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

แนะนายช่างผู้สร้างเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะสร้างเรือนอีกไม่ได้
ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรม
ปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว"

:b8: :b8: :b8:

มัชฌิมพุทธพจน์

รูปภาพ

ได้แก่ พระไตรปิฏก

:b8: :b8: :b8:

ปัจฉิมพุทธพจน์

รูปภาพ

"หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
วะยะธัมมา สังขารา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ"

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ"

:b8: :b8: :b8:
:b44: :b44: :b44:



:b42: สัปดาห์แรก ถึง สัปดาห์ที่ ๘ แห่งการตรัสรู้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44870

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

พุทธวันทนา
การถวายอภิวาทแด่พระพุทธเจ้า


พุทฺโธ โพธาย เทเสติ ทนฺโต โย ถมถาย จ
สมถาย สนฺโต ธมฺมํ ติณฺโณ วา ตรณย จ
นิพฺพุโต นิพฺพานตฺถาย ตํ โลกสรณํ นเม


พระบรมศาสดา ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดแห่งไตรภูมิ
ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อตรัสรู้อริยสัจจ์๔ ด้วยพระองค์เองแล้ว และทรงปรารถนาให้สัตว์อื่น
ที่คู่ควรแก่การตรัสรู้ได้ตรัสรู้ตามพระองค์ เมื่อทรงอบรมพระองค์เองในอินทรีย์๖ แล้ว
และทรงปรารถนาให้สัตว์อื่นที่คู่ควรแก่การอบรมได้อบรมตามพระองค์ เมื่อทรงบรรลุความ
เกษมสันติแล้ว และทรงปรารถนาให้สัตว์อื่นที่ควรค่าบรรลุความเกษมสันติได้ตามพระองค์
เมื่อทรงข้ามฟากฝั่งมหาสมุทรแห่งวัฏฏสงสารแล้วและทรงปรารถนาให้สัตว์อื่นที่ควรค่าข้ามฝั่ง
ได้ตามพระองค์ เมื่อทรงดับไฟกิเลสด้วยพระอริยมรรค ๔ แล้ว และทรงปรารถนาให้สัตว์อื่น
ที่ควรค่าดับไฟกิเลสได้ตามพระองค์

ด้วยพระมหากรุณาไม่มีประมาณ ทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐแก่ พรหมเทพ
และมนุษย์ตลอด ๔๕ พรรษา ข้าพระพุทธเจ้าถวายอภิวาทแด่พระบรมศาสดา พระพุทธเจ้า
พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดแห่งไตรภูมิ ข้าพระพุทธเจ้าถวายอภิวาททั้ง
กาย วาจา และใจ ด้วยความนอบน้อมสูงสุดด้วยอัญชลี
:b8: :b8: :b8:

ขออำนวยพรให้ความปรารถนาอันประเสริฐของสรรพสัตว์ทั้งปวงจงบรรลุ
ขออำนวยพรให้สรรพสัตว์ทั้งปวงจงมีแต่ความสุขกายสุขใจ

เรวตะภิกขุ รจนา


:b8: :b8: :b8:
:b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
คำอำนวยพร

รูปภาพ

หิตฺวา กาเม ปพฺพชึสุ สนฺโต คมฺภิรจินฺตกา
เต ตุเมปุย อนุสิกฺขาโว ปพฺพชิตา สุเปสลา


ผู้ประเสริฐในอดีตสมัย (ทั้งในปัจจุบันกัปป์และอดีต) ผู้มุ่งที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกได้ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต และ
ท่านได้สละสมบัติของท่าน ทุกประการโดยปราศจากความลังเลใจ ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
อันเป็นอารมณ์แห่งกามตัณหาของคนส่วนใหญ่ และเป็นสิ่งที่นำไปสู่ภัยและโทษนานัปการ
การเล็งเห็นโทษที่แอบแฝงอยู่ในสมบัติเหล่านั้น ท่านจึงได้เลือกที่จะปลีกตัวปลีกใจจากกาม
และครองชีวิตพรหมจรรย์ในสถานที่อันสงบวิเวก เพื่อที่จะอบรม และเจริญ ศีลสิขา สมถภาวนา
และวิปัสสนาภาวนา เพียรเผากิเลสและด้วยความไม่ประมาท

ขออำนวยพรให้คนดีในปัจจุบันสมัย ผู้มาสู่ภพนี้ และอบรมจิตด้วยเนกขัมมบารมี ได้ทำตามแบบอย่าง
ผู้ประเสริฐสุดแห่งอดีตสมัย และจงปลีกตัวปลีกใจจากกาม โดยไม่ลังเลด้วยหัวใจที่ตั้งมั่นด้วยความ
บริสุทธิ์แห่งศีล

ขออำนวยพรให้คนดีเหล่านี้ ครองชีวิตพรหมจรรย์ในสถานที่อันสงบวิเวก และสามารถอบรมและ
เจริญศีลสิกขา สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา เพียรเผากิเลสและด้วยความไม่ประมาท

ขออำนวยพรให้ทุกท่านหลุดพ้นจากความทุกข์
ขออำนวยพรให้ทุกท่านได้รู้แจ้งและเห็นแจ้งพระธรรมในปัจจุบันชาตินี้

เรวตะภิกขุ รจนา


จากหนังสือ สัมภารวิบาก ฉบับย่อ
ชื่อรอง (กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า)
ชมรมใฝ่ธรรมวันพุทธ
กรกฎาคม ๒๕๕๕

:b8: :b8: :b8:

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2014, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ
จากบนสุดไล่เรียงลงมานะคะ คือ สังฆสภา
ธรรมสภา
พระคันธกุฎี
อานันทโพธิ์

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2014, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว



.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2014, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า

รูปภาพ
สถานที่สันนิษฐานว่าเป็นที่โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุแก่เจ้าผู้ครองนครทั้ง 8 ในกุสินารานคร

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:


วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)

นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

:b8: :b8: :b8:
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร