วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 04:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2011, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

มหานมัสการ มหาพุทธานุภาพ

นโม ตสส ภควโต อรหโต สมมาสมพุทธัสส

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวพุทธนิยมเจริญพระพุทธคุณด้วยบทว่า “ นโม ตสส ภควโต อรหโต สมมาสมพุทธสส ” ซึ่งโบราณจารย์เรียกว่า มหานมัสการ คือ บทนอบน้อมที่สำคัญยิ่ง ในพระไตรปิฏกมีปรากฏบุคคลผู้สาธยายบทนี้ คือ ท้าวสักกะ พรหมายุพราหมณ์ ชาณุสโสณีพรหมณ์ นางธนัศชานี เป็นต้น ฉะนั้น ชาวพุทธจึงนิยมสวดบทนี้ก่อนที่จะสวดมนต์บทอื่น และนิยมเขียนไว้เป็นเบื้องแรกของคัมภีร์ ด้วยว่า บทมหานมัสการนี้ สามารถรวบยอดพรรณนาความสำคัญ ๓ อย่าง คือ พระมหากรุณาคุณ (ภควโต) พระวิสุทธิคุณ (อรหโต) และพระปัญญาคุณ (สมมาสัมพุทธสส) ของพระพุทธเจ้าตามลำดับอย่างน่าอัศจรรย์

พระพุทธคุณทั้ง ๓ บทนี้ เป็นรากเหง้าเค้ามูลให้บังเกิดพุทธคุณทั้งปวงนับประมาณมิได้ มีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด อย่างประเสริฐยิ่งนัก เพราะทำให้เวไนยสัตว์ตลอดกว่า ๒,๕๐๐ ปี ตราบจนเท่ากาลบัดนี้ การสาธยายบทมหานมัสการนี้ ด้วยความนอบน้อม จึงถือเป็นการเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน จนเกิดปิติปราโมทย์ด้วยความดื่มด่ำในพุทธคุณในทุก ๆ ขณะชวนจิต ๗ ขณะตลอดหลายแสนโกฎิครั้ง กระแสบุญเกิดพลานุภาพมาก มีอานิสงฆ์มาก เพราะเจริญในเนื้อนาบุญสูงสุด คือ พระพุทธเจ้า ย่อมส่งผลให้ผู้นอบน้อมบูชานั้น ได้รับผลบุญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งที่เป็น โลกียะ และโกกุตตระ

ผลที่เป็นโลกียะ ได้แก่ ทำให้แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย ทำให้ขจัดภัยและความหวาดกลัว ความตกใจ ความขนพองสยองเกล้า ประสบความโชคดี ความเจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะ มีสุขภาพอนามัยดี มีอายุยืน สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ ชักนำให้เกิดในสุคติภพ

ผลที่เป็นโกกุตตระ ได้แก่อริยผล ๔ ประการ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหันตผล เพราะผู้ที่ระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยความนอบน้อมอยู่เนือง ๆ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาที่ตั้งมั่นอันเป็นเหตุให้เกิดความปิติปราโมทย์ที่มีกำลังมากในขณะนั้น ครั้นเจริญสติตามรู้ความปิติปราโมทย์นั้นเป็นอารมณ์ก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้โดยพลัน

บทมหานมัสการนี้ ในพระบาลีปรากฎว่าเป็นคำอุทานที่ไม่ใช่พุทธภาษิต คือพระพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสเป็นภาษิตด้วยพระองค์เอง แต่ก็เป็นข้อความและเรื่องราวที่มีปรากฏในพระบาลีหลายแห่ง ทั้งความมุ่งหมายในการกล่าวของผู้กว่างก็ไม่เหมือนกัน คือ บางท่านได้ทราบถึงกิตติศัพย์อันสูงส่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็เปล่งขึ้นด้วยความเคารพเลื่อมใส เช่น พรหมายุพราหมณ์ ชานุสโสณิพรหมณ์ เป็นต้น บางท่านก็เปล่งขึ้นด้วยการพลั้งปาก แต่ทว่าเป็นไปในทางที่ดี เช่น นางธนัญชานี ผู้เป็นโสดาบัน บางท่านก็เปล่งขึ้นด้วยตวามตั้งใจจะเทอดทูนพระพุทธคุณ เพื่อหน่วงเหนี่ยวเอาพระพุทธคุณมาเป็นอารมณ์ในการป้องกันภยันตรายที่จะมาเบียดเบียน เช่น ลูกชายของนายทารุสากฏิกะ ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลาย ได้ยกขึ้นสู้สังคายนาไว้ในพระสูตรต่างๆ และใช้เป็นคำสมัสการขึ้นต้นเป็นแบบอย่างของชาวพุทธสืบมา

บางคณาจารย์มีมติว่า เทะและอสูตร ๕ องค์ คือ สาตาคีรียักษ์ อสุรินทราหู ท้าวจาตุมหาราช ท้าวสักเทวราช และท้าวมหาพรหม พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังพระรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสในพุทธองค์อย่างจับจิตจับใจ แต่ละท่านจึงได้เปล่งวาจาตามลำดับ แต่มตินี้ บรรดาบัณฑิตทั้งหลายไม่นอมรับ เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงไว้ในบาลีและอรรถกถา และมิได้เปล่งมาด้วยความซาบซึ้งในพระพุทธคุณ ดังนี้

สาตาคีรียักษ์ เปล่งวาจาว่า นโม
อสุรินทราหู เปล่งวาจาว่า ตสส
ท้าวจาตุมหาราช เปล่งวาจาว่า ภควโต
ท้าวสักเทวราช เปล่งเปล่งวาจาว่า อรหโต
ท้าวมหาพรหม เปล่งเปล่งวาจาว่า สมมาสมพุทธสส

เหตุที่กล่าวบทมหานมัสการขึ้น ๓ ครั้ง

การกล่าวบทมหานมัสการขึ้น ๓ ครั้ง ในที่นี้เป็นอาเมฑิตะ (การย้ำความ) ซึ่งเป็นประเพณีของชาวอินเดียในสมัยก่อนนั้น เหมือนกับการกล่าวบทไตรสรณคมณ์ (การเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง) ๓ ครั้ง

การประกอบอาเมฑิตะ (การย้ำความ) มีพบในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์อภิธาน คาถา ๑๐๗ บางท่านมีมติว่า การกล่าวบทมหานมัสการ ๓ ครั้งนั้น เพื่อให้บรรลุบริกรรมสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ

แต่ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคแสดงไว้ว่า กรรมฐานไม่อาจก่อให้เกิดอัปปนาสมาธิได้ บางท่านอธิบายว่า การกล่าวนมัสการ ๓ ครั้งนั้น ก็เพื่อจะกระทำนมัสการให้มั่นคงแน่นแฟ้นเหมือนเชือก ๓ เส้น ที่ฝั้นเข้าเป็นเกลียวเดียวกัน ย่อมมั่นคงแข็งแรงกว่าเชือกเส้นเดียวเป็นธรรมดา บางท่านอธิบายว่า จบที่ ๑ เป้นคำกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า จบที่ ๒ เป้นคำกล่าวนมัสการพระธรรม จบที่ ๓ เป็นคำกล่าวนมัสการพระสงฆ์ บางท่านอธิบายว่า จบที่ ๑ เป็นคำกล่าวนมัสการพระมหากรุณาธิคุณ จบที่ ๒ เป็นคำกล่าวนมัสการพระวิสุทธิคุณ จบที่ ๓ เป็นคำกล่าวนมัสการพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อจะนมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภท ๆ ละจบ คือจบที่ ๑ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ (ยิ่งด้วยศรัทธรา) จบที่ ๒ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ (ยิ่งด้วยปัญญา) จบที่ ๓ นมัสการพระพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะ (ยิ่งด้วยความเพียร) ดังนั้นพระโบราณจารย์ทั้งหลาย จึงได้แต่งตั้งนโม ๓ จบ สำหรับจะได้นมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าว

ในหนังสือพระอุโบสถศีลถกา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น. ๖๒ – ๖๓ ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า “ที่ถูกต้อง คงเป็นคำนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะแต่ที่กล่าว ๓ ครั้ง ก็เพื่อย้ำด้วยความเคารพและมั่นใจ”

ผลของมหานมัสการ การแสดงความเคารพนอบน้อมพระพุทธเจ้าด้วยบทบสลีว่า นโม ตสส ภควโต ... อันจัดเป็น พุทธนุสสติ ด้วยจิตที่ประกอบด้วย ศรัทธาเลื่อมใสจนเกิดความปิติปราโมทย์ด้วยความดื่มด่ำในพระพุทธคุณ จัดเป็นกระแสห้วงบุญอันยิ่งใหญ่หลวงที่ยังกิริยาการนอบน้อมให้สำเร็จเป็นไปทุกๆขณะชวนะจิต ๗ ขณะตลอดมาหลายแสนโกฎครั้ง กระแสบุญนั้นแผ่ไพศาลมีอานุภาพมาก เพราะเจริญในนาบุญอันสูงสุดคือพระพุทธเจ้า ย่อมส่งผลให้ผู้นอบน้อมบูชานั้น ได้รับผลทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งที่เป็น โกกิยะและโลกุตตระ สมดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้มนขุททนิกาย ธรรมบทว่า

“แม้มนุษย์ เทวดา พรหม ในโลกนี้ ย่อมไม่อาจนับผลบุญของผู้นอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้สงบระงับปลอดภัยโดยประการทั้งปวง

เธอจงเจริญพุทธานุสสติภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริญพุทธานุสสติภาวนานี้ สมหวังดังมโนรถ”


ในคัมภีร์วิสุทธมรรค พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงผลของการเจริญพุทธานุสติ
(การระลึกถึงพระพุทธคุณ) ไว้ ๙ ประการ คือ


๑) ก่อให้เกิดความยำเกรงในพระพุทธเจ้า
๒) ก่อให้เกิดศรัทธา สติ ปัญญา และกุศลอย่างยิ่ง๓) ก่อให้เกิดปิติปราโมทย์เป็นอันมาก
๔) ทำให้อดทนต่อความกลัว ความตกใจ และทุกข์ได้
๕) ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเหมือนได้อยู่กับพระพุทธเจ้า
๖) กายเป็นเหมือนเรือนเจดีย์ที่ควรบูชา
๗) จิตน้อมไปเป็นพุทธภูมิ
๘) เมื่อพบสิ่งที่ควรละเมิด จะเกิดหิริโอตตัปปะ ดั่งได้เห็นพระพุทะเจ้าอยู่เบื้องหน้า
๙) จะไปเกิดในสุคติภพ ในเมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง

คัดและเรียบเรียงจาก มหานมัสการ มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง โดย มหาวัดแจ้ง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
Credit:"เนาว์สถิตย์" (NAOSATITT)

:b41: :b53: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2011, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2011, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนามิค่ะ

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2012, 11:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุๆๆค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2016, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร