วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 20:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธประวัติ

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์



การบำเพ็ญของพระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภท เป็นเวลาที่ยาวนานมาก และได้พบกับพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมาก ดังบทสวด สัมพุทเธ ็น็้็



รยยว ที่พระสงฆ์ใช้สวดในงานพิธีมงคล อันมีความหมายนอบน้อมนมัสการพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท คือ ปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ ตรงกับจำนวนที่พบในหนังสือภาพสีมาของวัดสุทัศน์เทพวรารามดังนี้

พระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะ

สมฺพุทฺเธ อฎฺฐวีสญฺจ ทฺวาทสญฺจ สหสฺสเก

ปญฺจสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ

เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ

นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทเว

อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโตฯ

คำแปล

ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายจำนวน ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้าขอนอบน้อมพระธรรม และพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นโดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลายจงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ



พระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะ

สมฺพุทฺเธ ปญฺจปญฺญาสญฺจ จตุวีสติสหสฺสเก

ทสสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ

เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ

นมการานุภาเวน หนฺตฺวส สพฺเพ อุปทฺทเว

อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโตฯ

คำแปล

ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายจำนวน ๑,๐๒๔,๐๕๕ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า ขอนอบน้อมพระธรรมและพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นโดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งปวง อันตรายทั้งหลายจงพินาศไปโดยไม่มีส่วนเหลือ



พระพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะ

สมฺพุทฺเธ นวุตฺตรสเต อฎฺฐจตฺตาฬสสหสฺสเก

วีสติสตสหสฺสานิ นมามิ สิรสา อหํ

เตสํ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ อาทเรน นมามิหํ

นมการานุภาเวน หนฺตฺวา สพฺเพ อุปทฺทเว

อเนกา อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ อเสสโตฯ

คำแปล

ขอนอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวน ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า ขอนอบน้อมพระธรรมและพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโดยเคารพ ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมขอจงขจัดเสียซึ่งอุปทวะทั้งปวงอันตรายทั้งหลายจงพินาศไปโดยไม่มีเหลือ

สรุปว่า ในอดีตกาลอันยาวนานที่ผ่านมา มีพระปัญญาธิกะพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ พระสัทธาธิกะพุทธเจ้า ๑,๐๒๔,๐๕๕ พระองค์ พระวิริยาธิกะพุทธเจ้า ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์



ธรรมดาของพระมารดาพระโพธิสัตว์

ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร หน้า ๑๒-๑๖

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ปกติเป็นผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป เป็นผู้ทรงศีลสมบูรณ์อยู่ในศีล ๕

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่เกิดมนัสด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย เป็นสตรีที่บุรุษใดๆจะล่วงเกินมิได้

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ได้รับการอรักขาจากท้าวมหาราชทั้ง ๔ นับตั้งแต่พระโพธิสัตว์ทรงปฏิสนธิในพระครรภ์

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ เป็นผู้ปราศจากอาพาธใดๆ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์มีองคาพยพครบถ้วน ประทับนั่งขัดสมาธิภายในพระครรภ์

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงบริบาล (รักษา) พระครรภ์จนถ้วนทศมาส (๑๐เดือน)

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ประทับยืนประสูติ

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงประสูติพระโพธิสัตว์ ขณะมีพระชนมายุระหว่าง ๕๐-๖๐ พรรษา (มชฺฌิมวยสฺส ปน เทว โกฎฐาสา อติกกมฺม ตติเย โกฎฐาเส)

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงสรงสนานด้วยธารน้ำที่หลั่งลงมาจากเวหาสน์

· พระมารดาพระโพธิสัตว์ เสด็จสวรรคตหลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว ๗ วัน



ธรรมดาของพระโพธิสัตว์

· พระโพธิสัตว์ ทรงมีสัมปชัญญะจุติจากเทวโลกชั้นดุสิต ขณะปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา แผ่นดินใหญ่ไหว แสงสว่างอันประมาณมิได้ปรากฏทั่วหมื่นจักรวาล

· พระโพธิสัตว์ ได้รับการอารักขาจากท้าวมหาราชทั้ง ๔ นับแต่ทรงปฏิสนธิ

· พระโพธิสัตว์ ประทับนั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระมารดา

· พระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ในพระครรภ์พระมารดาจนถ้วนทศมาส (๑๐ เดือน)

· พระโพธิสัตว์ ประสูติในอุทยาน (สวนป่า) เท่านั้น

· ขณะที่พระโพธิสัตว์ประสูติ แผ่นดินใหญ่ไหว แสงสว่างอันประมาณมิได้ปรากฏทั่วหมื่นจักรวาล

· พระโพธิสัตว์ ประทับยืนเหยียดพระหัตถ์และพระบาทคลอดจากครรภ์พระมารดา

· พระโพธิสัตว์ประสูติ โดยพระวรกายมิได้เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งปฏิกูลใดๆ

· ท้าวมหาพรหมชั้นสุทธาวาส นำข่ายทองมารองรับพระโพธิสัตว์

· ธารน้ำหลั่งลงมาจากเวหาสน์ เพื่อสรงสนานพระโพธิสัตว์

· พระโพธิสัตว์ ย่างพระบาทไปทางทิศเหนือ ๗ ก้าว หยุดประทับยืนเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก ภพนี้จักเป็นภพสุดท้าย

· พระโพธิสัตว์ ทรงเห็นนิมติ ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต

· พระโพธิสัตว์ ทรงออกมหาภิเนษกรมณ์ ในวันที่พระโอรสของพระองค์สมภพ

· พระโพธิสัตว์ ทรงผนวช ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียร

· พระโพธิสัตว์ ทรงมีมหาสุบิน ๕ ประการ ในคืนก่อนวันตรัสรู้

· พระโพธิสัตว์ เสวยข้าวมธุปายาส เป็นพระกระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนตรัสรู้

· พระโพธิสัตว์ ประทับนั่งบนบัลลังก์หญ้า ภายใต้ร่มโพธิพฤกษ์ ทรงบำเพ็ญสมาธิ

· พระโพธิสัตว์ ทรงบริกรรมอานาปานสติกัมมัฏฐาน

· พระโพธิสัตว์ ทรงกำจัดเหล่ามาร



ธรรมดาของพระพุทธเจ้า

ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มธุรัตถวิลาสินี หน้า ๗๔๘-๗๔๙ และ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร หน้า ๒๗๓

· ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ในเวลารุ่งอรุณ ขณะนั้นแผ่นดินใหญ่ไหว ๑๒ ครั้ง

· ประทับอยู่ ณ บริเวณโพธิมณฑล ๗ สัปดาห์

· ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

· พญามารทูลขอให้เสด็จปรินิพพาน

· ทรงแสดงพระธรรมกัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ในวันอาสาฬหบุรณมี

· ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ในวันจาตุรงคสันนิบาต มาฆบุรณมี

· ตรัสพุทธวงศ์ ในสมาคมพระประยูรญาติ

· ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ณ ชานกรุงสาวัตถี

· ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ ดาวดึงส์พิภพ

· เสด็จลงจากเทวโลก ณ ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา

· ทรงบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น

· ตรัสชาดก อันเป็นต้นเหตุแห่งเรื่องที่เกิด

· ทรงกระทำปฏิสันถารต่อภิกษุอาคันตุกะ

· ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ ๒ วาระ

· ทรงปฏิบัติพระพุทธกิจ ๕ ประการเป็นวัตร

· ทรงแจ้งให้คณะสงฆ์ทราบทุกครั้ง หากต้องเสด็จจาริกในระหว่างพรรษา

· ประทับ ณ พระเชตะวันวิหารเป็นส่วนใหญ่

· ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน (ตั้งแต่ทรงประชวรที่เวฬุวคาม)

· เสวยสูกรมัททวะในวันเสด็จปรินิพพาน

· ทรงเข้าสมาบัติโดยอนุโลมและปฏิโลม แล้วเสด็จปรินิพพาน



* พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง คือ

สถานที่ประทับตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์ ควงไม้อัสสัตถะ อุรุเวลาเสนานิคม

สถานที่แสดงปฐมเทศนา ณ อิสิปตนมฤคทายวัน

สถานที่เสด็จลงจากเทวโลก ณ ประตูเมืองสังกัสสะ

สถานที่ตั้งพระแท่นบรรทม ณ พระคันธกุฎีพระเชตวันวิหาร



* ไม่มีสิ่งใดสามารถทำอันตราย ๔ ประการ แก่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ คือ

อันตรายแก่ ปัจจัย ๔ อันเป็นส่วนเฉพาะของพระพุทธเจ้า

อันตรายแก่ พระชนมชีพของพระพุทธเจ้า

อันตรายแก่ พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และพระอนุพยัญชนะ ๘๐

อันตรายแก่ พระพุทธรังสีของพระพุทธเจ้า

ที่มา ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ หน้า ๑๐๕-๑๔๙

ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ อรรถกถา มธุรัตวิลาสินี หน้า ๗๕๐

พจนานุกรมศัพท์เฉพาะภาษาบาลี เล่ม ๒ หน้า ๒๙๗,๓๒๕-๓๒๖

ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ เวรัญชกัณฑ์วรรณนาหน้า ๓๒๙-๓๓๐ กล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถทำอันตราย ๔ ประการ แก่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ คือ

อันตรายแก่ ปัจจัย ๔ อันเป็นส่วนเฉพาะของพระพุทธเจ้า

อันตรายแก่ พระชนมชีพของพระพุทธเจ้า

อันตรายแก่ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระพุทธรังสีของพระพุทธเจ้า

อันตรายแก่ พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า



พระพุทธกิจ ๕ ประการ

พระพุทธกิจ คือกิจที่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นวัตรปฏิบัติหลังจากตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธจริยา อันเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก ทรงโปรดเวไนยสัตว์ ด้วยพระอัธยาศัยอันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณา ทรงอนุเคราะห์เกื้อกูลมวลสัตว์โลกให้เป็นสุข พ้นจากทุกข์ ตั้งอยู่ในสรณะ และได้บรรลุอมตธรรม ไม่ว่าพระพุทธองค์จะประทับอยู่ ณ สถานที่ใด พระองค์ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ ประการ คือ กิจในปุเรภัต กิจในปัจฉาภัต กิจในปฐมยาม กิจในมัชฌิมยาม และกิจในปัจฉิมยาม ดังโบราณาจารย์ประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ

เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว

แปลว่า เวลาเช้า เสด็จบิณฑบาต เวลาเย็น ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน เวลาค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ เวลาเที่ยงคืน ทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดา เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกทั้งที่สามารถและยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรเสด็จไปโปรด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญกิจ ๕ ประการ ดังนี้



กิจในปุเรภัต

เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ หลังจากปฏิบัติพระสรีระแล้ว ประทับบนพุทธอาสน์ เพื่อรอเวลาภิกขาจาร ครั้นได้เวลา ทรงครองจีวร ถือบาตร เสด็จดำเนินไปบิณฑบาตยังคามนิคม บางครั้งเสด็จไปเพียงพระองค์เดียว บางครั้งมีสงฆ์สาวกตามเสด็จ ชนทั้งหลายพากันบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้และของหอม เป็นต้น แล้วกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้างเพื่อรับอาหารบิณฑบาตยังเรือนของพวกข้าพระองค์ แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมถวายอาหารบิณฑบาตโดยเคารพ

เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสร็จสิ้นภัตกิจแล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชนเหล่านั้นบางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อานาคมิผล ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังนี้แล้ว เสด็จกลับไปยังวิหาร รอภิกษุที่กลับจากบิณฑบาต ครั้นภิกษุทั้งหลายเสร็จภัตกิจแล้ว ภิกษุผู้อุปัฏฐากจึงกราบทูลให้ทรงทราบ

พระพุทธองค์เสด็จมาประทับนั่ง ณ ธรรมสภา ทรงประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด แล้วตรัสเตือนด้วยพระคาถาว่า

การได้เกิดเป็นมนุษย์ หาได้ยาก

การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก

พระสัทธรรม หาได้ยากยิ่ง

การถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก

การบวช หาได้ยาก

การได้ฟังพระสัทธรรม หาได้ยากยิ่ง

ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกทูลถามกัมมัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุเหล่านั้น

จากนั้น บรรดาภิกษุถวายบังคมลา แล้วไปสู่ที่พักกลางวันของตนๆ บางพวกไปป่า บางพวกไปสู่โคนไม้ บางพวกไปยังภูเขา และถ้ำ เป็นต้น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จเข้าพระคันธกุฎี หากมีพุทธประสงค์ก็จะทรงสำเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง ครั้นพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งตรวจดูสัตว์โลก ณ คามหรือนิคมที่พระองค์ประทับอยู่ในเวลานั้น



กจิในปัจฉาภัต

เวลาเย็น ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน

ในช่วงเย็น ครั้นได้เวลาอันสมควร มหาชนพากันถือดอกไม้และของหอม เป็นต้น เข้าไปประชุมกันในพระวิหาร เมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ บวรพุทธอาสน์ ทรงแสดงธรรมอันควรแก่กาลสมัย และจริตของมหาชนเหล่านั้น จากนั้นทรงส่งบริษัทกลับ มหาชนต่างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพากันหลีกไป





กิจในปฐมยาม

เวลาค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ

หลังจากเสร็จกิจในปัจฉาภัตแล้ว หากมีพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็จะเสด็จเข้าซุ้มอันเป็นที่สรงสนาน เสร็จแล้วทรงครองจีวรเฉวียงบ่า เสด็จไปประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษุอุปัฏฐากเตรียมไว้ ประทับอยู่ครู่หนึ่งแต่ลำพังพระองค์เดียว

เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันมาเฝ้า บางพวกทูลถามปัญหา บางพวกทูลขอกัมมัฏฐาน บางพวกทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุเหล่านั้น ทรงแก้ปัญหา ทรงแสดงธรรม แล้วประทานโอวาท พระพุทธองค์ประทับอยู่ตลอดยามต้นด้วยกิจเหล่านี้ ครั้นได้เวลาอันควรภิกษุทั้งหลายถวายบังคมลาแล้วหลีกไป



กิจในมัชฌิมยาม

เวลาเที่ยงคืน ทรงวิสัชนาปัญหาเทวดา

เมื่อพระพุทธองค์สิ้นสุดกิจในปฐมยามแล้ว เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ได้โอกาสก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาที่เตรียมมา โดยที่สุดแม้ปัญหานั้นจะมีอักขระเพียง ๔ ตัว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดาเหล่านั้น ทรงยังให้มัชฌิมยามผ่านไปด้วยการอนุเคราะห์เทวดาทั้งหลาย



กิจในปัจฉิมยาม

เวลาใกล้รุ่ง ทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลก

กิจในปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะแรก เสด็จจงกรม เพื่อทรงเปลื้องความล้าแห่งพระพุทธสรีระ

ระยะที่สอง ทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา

ระยะทีสาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลก

ในระยะที่สามนี้ พระบรมศาสดาจะทรงพิจารณาบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้ด้วยอำนาจทานและศีล มาตั้งแต่สมัยของพระพุทธเจ้าในอดีต เพื่อเสด็จไปโปรดชนเหล่านั้นให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติ ตามบุญบารมีของแต่ละคน โดยมิทรงคำนึงถึงสถานที่และระยะทางว่าจะไกลหรือใกล้เพียงใด

ในการพิจารณาสัตว์โลก อรรถกถาพรหมชาลสูตรกล่าวว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์จะทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาสัตว์โลกวันละ ๒ ครั้ง คือในเวลาใกล้รุ่ง และในเวลาบ่าย

อรรถกถา พรหมชาลสูตร กล่าวต่อไปว่า ครั้งพุทธกาล ในสถานที่มีภิกษุพำนักอยู่แม้เพียงรูปเดียว ท่านก็จะเตรียมจัดพุทธอาสน์ไว้ พร้อมที่จะรับเสด็จพระพุทธองค์

ด้วยเหตุว่า เมื่อพระบรมศาสดาทรงมนสิการถึงเหล่าภิกษุผู้รับกัมมัฏฐานจากพระองค์ไปแล้ว ก็จักตรวจดูว่าภิกษุนั้น สามารถยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ ครั้นทรงทราบว่าภิกษุใดละจากกัมมัฏฐาน ตรึกถึงอกุศลวิตกอยู่ ก็จะเสด็จไปปรากฏพระองค์ ณ ที่นั้น ด้วยพระพุทธานุภาพประทับบนพุทธอาสน์ที่ภิกษุจัดเตรียมไว้ ประทานโอวาทเพื่ออนุเคราะห์ภิกษุนั้นให้สำเร็จประโยชน์แล้วจึงเสด็จกลับ

พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระพุทธกิจ ๕ ประการนี้ ด้วยพระพุทธจริยา คือ ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ และทรงบำเพ็ญประโยชน์ทุกประการในฐานะของพระพุทธเจ้า ด้วยพระมหากรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ ทั้งในพรรษากาล และนอกพรรษากาลนับแต่ตรัสรู้ ตราบจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นเวลาถึง ๔๕ พรรษา



พระมหาปุริสสลักษณะ ๓๒ ประการ

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ ข้อ ๑๓๐-๑๗๑ แสดงพระมหาปุริสลักษณะของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ๓๒ ประการ ดังนี้

๑. สุปติฎฺฐตปาโท ฝ่าพระบาทราบเสมอกัน (ฝ่าพระบาทเต็ม)

๒. เหฏฺฐาปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ พื้นพระบาทประดับด้วยรูปจักรประดิษฐานอยู่พร้อมด้วยกง และดุม

๓. อายตปณฺหิ ส้นพระบาทยาว

๔. ทีฆงฺคุลิ นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวเรียง

๕. มุทุตลนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

๖. ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย

๗. อุสฺสงฺขปาโท หลังพระบาทดุจสังข์คว่ำ

๘. เอณิชงฺโฆ พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย

๙. ฐิตโก ว อโนนมนฺโต อุโภหิ ปาณิตเลหิ ชณฺณุกานิ ปรามสติ เมื่อประทับยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุได้

๑๐. โกโสหิตวตฺถคุยฺโห พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก

๑๑. สุวณฺณวณฺโณ พระฉวีดุจสีทอง

๑๒. สุขุมจฺฉวิ พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระวรกาย

๑๓. เอเกกโลโม พระโลมามีขุมละเส้น

๑๔. อุทฺธคฺคโลโม พระโลมาดำสนิท ปลายงอนขึ้นเบื้องบน เวียนเป็นทักษิณาวัฎ

๑๕. พฺรหฺมุชุคตฺโต พระวรกายตรงดุจกายท้าวมหาพรหม

๑๖. สตฺตุสฺสโท พระมังสะอูมในที่ ๗ แห่งคือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสาทั้งสอง และพระศอ

๑๗. สีหปุพฺพฑฺฒกาโย พระวรกายดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์

๑๘. ปีตนฺตรํโส พระปฤษฎางส์ราบเสมอกัน

๑๙. นิโคฺรธปริมณฺฑโล พระวรกายดุจปริมณฑลของไม้นิโครธ

๒๐. สมวฏฺฏกฺขนฺโธ ลำพระศอกลมเสมอกัน

๒๑. รสคฺคสคฺคี ประสาทรับรสพระกระยาหารเป็นเลิศ

๒๒. สีหหนุ พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์

๒๓. จตฺตาฬสทนฺโต พระทนต์ทั้งหมดมี ๔๐ ซี่

๒๔. สมทนฺโต พระทนต์เรียบเสมอกัน

๒๕. อวิวรทนฺโต พระทนต์เรียงชิดกันสนิท

๒๖. สุสุกฺกทาโฐ พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ ขาวงาม

๒๗. ปหูตชิวฺโห พระชิวหา (ลิ้น) อ่อนและยาว

๒๘. พฺรหฺมสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงดุจเสียงพรหม สำเนียงดุจนกการเวก

๒๙. อภินีลเนตฺโต พระเนตรดำ มีสีดุจสีนิล

๓๐. โคปขุโม ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจนัยต์ตาลูกโค

๓๑. อุณณา ภมุกนฺตเร ชาตา มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง

๓๒. อุณฺหิสสีโส พระเศียรงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

พระมหาบุรุษผู้เพียบพร้องด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น คือ หากครองเพศฆราวาส จักได้เป็นจักรพรรดิราชาผู้ทรงธรรม ทรงชนะข้าศึกโดยมิต้องใช้อาญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองอาณาจักรอันมั่นคงโดยมีมหาสมุทรา ๔ เป็นขอบเขต ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว หากครองเพศบรรพชิตจักได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ ลักขณสูตร หน้า ๒-๔

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ พรหมายุสูตร หน้า ๒๓๔-๒๓๖



กุศลกรรมที่ทำให้ได้พระมหาปุริสสลักษณะ

สมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระจาริกไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวกรุงสาวัตถี ได้สดับการสนทนาของชาวบ้าน ที่นั่งประชุมสนทนากันว่า พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระรัศมีแผ่ออกจากพระวรกายวาหนึ่ง เมื่อเปล่งพระรัศมีมีสี ๖ ประการ ช่างงดงามสุดพรรณนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกรรมอันใดไว้หนอ จึงได้พระลักษณะอันเป็นมงคลเช่นนี้

หลังภัตกิจ และกระทำวัตรปฏิบัติถวายพระศาสดาแล้ว พระอานนท์กราบทูลความที่ชาวบ้านสนทนาให้ทรงทราบ พระพุทธองค์สดับคำของพระอานนท์ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วทรงชี้แจงถึงกุศลกรรมที่ทำให้พระองค์ได้มหาปุริสลักษณะ ตรัสว่า

ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้ยึดมั่นในกุศลธรรมทั้งหลายประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บำเพ็ญทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ปฏิบัติดีในบิดามารดา และสมณพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เคารพกุศลอันยิ่งใหญ่อื่นๆ เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตจึงได้มหาปุริสลักษณะคือ มีฝ่าพระบาทเต็มราบเสมอกัน (ลักษณะที่๑)

ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่มหาชนบรรเทาภัยและคุ้มครองชนทั้งหลายโดยธรรม ถวายทานพร้อมด้วยวัตถุบริวารเป็นอันมาก เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์ มาอุบัติเป็นมนุษย์ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ คือ พื้นฝ่าพระบาททั้งสองประดับด้วยลายจักร พร้อมด้วยกง และดุม (ลักษณะที่ ๒)

ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญาวางศัสตรา มีความละอาย มีความกรุณา เกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทั้งปวง เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ จุติจากโลกสวรรค์ มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ คือส้นพระบาทยาว นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวยาว พระวรกายตรงดุจกายพรหม (ลักษณะที่ ๓,๔,๑๕)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้สงเคราะห์ชนhงหลายด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ ด้วยทานคือการให้ ด้วยการกล่าววาจาอันไพเพราะ ด้วยการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และด้วยการวางตนสม่ำเสมอ เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย (ลักษณะที่ ๕,๖)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้กล่าววาจาที่ประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม มีเหตุมีผล แนะนำประโยชน์และความสุข ให้ชนทั้งหลายตั้งตนอยู่ในธรรม เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ประการคือ พระบาทดุจสังข์คว่ำ พระโลมาดำสนิทปลายงอนขึ้นเบื้องบนเวียนเป็นทักษิณาวัฎ (ลักษณะที่ ๗,๑๔)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน ได้เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปะวิชา และข้อประพฤติ ตั้งใจให้ชนทั้งหลายเข้าใจง่าย รู้เร็ว ปฏิบัติได้รวดเร็วไม่พึงลำบากนาน เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย (ลักษณะที่ ๘)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อนภพก่อน สังเกตดูเหล่าชนที่ควรสงเคราะห์ หยั่งทราบว่าบุคคลใดควรแก่สงเคราะห์สิ่งใด แล้วทำประโยชน์ให้แก่บุคคลเหล่านั้นตามเหตุอันควร เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการคือ มีพระวรกายดุจปริมณฑลของไม้นิโครธ เมื่อประทับยืนตรงพระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุได้ (ลักษณะที่ ๙,๑๙)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้นำญาติมิตรที่สูญหายพลัดพรากจากกันไปนานให้กลับมาพบกัน นำบิดามารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดามารดา นำญาติทั้งหลายให้พบกัน เป็นต้น ทำให้ชนเหล่านั้นพร้อมเพรียงกัน แล้วมีความชื่นชมยินดี เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (ลักษณะที่ ๑๐)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้ไม่มีความโกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองผลาญ ได้ถวายทานเครื่องลาดมีเนื้อละเอียดอ่อน ให้ผ้าโขมพัสตร์ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด สำหรับลาดและนุ่งห่ม เมื่อสิ้นชีพลงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ จุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ พระฉวีวรรณดั่งสีทอง (ลักษณะที่ ๑๑)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เข้าไปไต่ถามบัณฑิตถึงกรรมที่เป็นกุศลอกุศล กรรมส่วนที่มีโทษไม่มีโทษ กรรมที่ควรเสพไม่ควรเสพ กรรมใดที่ทำไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข และกรรมใดที่ทำไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เพื่อความทุกข์ เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ พระฉวีละเอียดธุลีละอองมิติดพระวรกายได้ (ลักษณะที่ ๑๒)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริงดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ไม่พูดลวงโลก เมื่อสิ้นชีพลง ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ประการ คือ มีพระโลมาขุมละเส้น มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง (ลักษณะที่ ๑๓,๓๑)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน บริจาคของควรบริโภคอันประณีตมีรสเลิศเมื่อสิ้นชีพได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์ ลงมาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ มีมังสะอูมในที่ ๗ แห่ง คือที่หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (ไหล่) ทั้งสอง และลำพระศอ (ลักษณะที่ ๑๖)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล ด้วยปรารถนาว่าทำไฉนจักให้ชนทั้งหลายเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคุ ปัญญา เจริญด้วยทรัพย์บุตรภรรยา ญาติมิตร บริวาร และเจริญด้วยพละ วรรณะ สุขะเป็นต้น เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์ลงมาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการคือ พระวรกายดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์ พระปฤษฏางค์ราบเสมอกัน ลำพระศอกลมเสมอกัน (ลักษณะที่ ๑๗,๑๘,๒๐)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติครั้นจุติจากโลกสวรรค์ลงมาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ ประสาทรับรสพระกระยาหารเป็นเลิศ (ลักษณะที่ ๒๑)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงที่มีหลักฐาน พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย มีที่อ้างอิง ประกอบด้วยประโยชน์ในกาลอันควรเมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพย์สมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ พระหนุดุจคางราชสีห์ (ลักษณะที่ ๒๒)

ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน ละจากคำส่อเสียด ฟังความจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น ฟังความข้างโน้นแล้วมาบอกคนข้างนี้ทำให้คนแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ประการคือ พระทนต์ทั้งหมดมี ๔๐ ซี่ พระทนต์เรียงชิดกันสนิท (ลักษณะที่ ๒๓,๒๕)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน ละจากมิจฉาอาชีวะ ละจากการโกงด้วยตาชั่งของปลอม รับสินบน การปล้นและการกรรโชกเป็นต้น เมื่อสิ้นชีพลง ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ พระทนต์เรียบเสมอ มีพระทาฐะ (พระเขี้ยว) ขาวงาม (ลักษณะที่ ๒๔,๒๖)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน ละจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษคำที่เพราะหูชวนให้รักจับใจ เป็นที่พอใจชอบใจของเหล่าชนเป็นอันมาก เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการคือ พระชิวหาอ่อนและยาว พระสุรเสียงดุจเสียงพรหม (ลักษณะที่ ๒๗,๒๘)

ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่ชำเลืองดูมองดูตรงๆ ด้วยความแช่มชื่น แลดูผู้อื่นด้วยสายตาอันแสดงความรัก เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ พระเนตรดำสนิท ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจนัยน์ตาลูกโค (ลักษณะที่ ๒๙,๓๐)



ตถาคตเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน เป็นผู้นำชนทั้งหลายในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ในการปฏิบัติดีต่อมารดาบิดา สมณะพราหมณ์ เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และกุศลอื่น ๆ เมื่อสิ้นชีพลงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์มาอุบัติเป็นมนุษย์ ตถาคตได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ พระเศียรงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (ลักษณะที่ ๓๒)

ทีฆนิกาย ปาฏิกรวรรค ลักขณสูตร เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้า ๕-๔๓)



อนุพยัญชนะ ๘๐

๑. จิตงฺคุลิตา นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทแนบชิด

๒. อนุปุพฺพงฺคุลิตา นิ้วพระหัต์และนิ้วพระบาทอ่อน เรียวงามจากโคนถึงปลาย

๓. วฏฺฏงฺคุลิตา นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทกลม

๔. ตมฺพขนตา พระนขาทั้ง ๒๐มี สีแดง

๕. ตุงฺคนขตา พระนขาทั้ง ๒๐ งอนงามช้อยขึ้นบน

๖. สินิทฺธนขตา พระนขาทั้ง ๒๐ เกลี้ยงเกลา ไม่มีริ้วรอย

๗. นิคูฬหโคปฺผกตา ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ ไม่ปรากฏออกมาภายนอก

๘. สมปาทตา ปลายนิ้วพระบาททั้งสองเสมอกัน

๙. คชสมานกฺกมตา ทรงพระราชดำเนินสง่า ดุจพญาช้างฉัททันต์

๑๐. สีหสมานกฺกมตา ทรงพระราชดำเนินเกรียงไกร ดุจพญาสีหราช

๑๑. หํสสมานกฺกมตา เสด็จด้วยลีลางดงาม ดุจพญาหงส์

๑๒. อุสภสมานกฺกมตา เสด็จดำเนินองอาจ ดุจโคอุสุภราชก้าวเดิน

๑๓. ทกฺขิณาวฏฺฏคติตา เสด็จพระราชดำเนินเวียนไปทางเบื้องขาว

๑๔. สมนฺตโต จารุชณฺณุมณฺฑลตา พระชานุมณฑลโดยรอบเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์

๑๕. ปริปุณฺณปุริสพฺยญฺชนตา บริบูรณ์พร้อมด้วยบุคลิกลักษณะของบุรุษเพศ

๑๖. อจฺฉิทฺทนาภิตา พระนาภีมีรอยเส้นเวียนขวาที่ไม่ขาดพร่อง

๑๗. คมฺภีรนาภิตา พระนาภีมีสัณฐานลึก

๑๘. ทกฺขิณาวตฺตนาภิตา พระนาภีมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ

๑๙. ทฺวิรทกรสทิสอูรุภุชตา พระอุระและพระพาหากลมงาม

๒๐. สุวิภตฺตคตฺตตา พระวรกายมีองคาพยพจำแนกเป็นอันดี

๒๑. อนุปุพฺพคตฺตตา พระวรกายงามพร้อมได้ส่วนสัดบริบูรณ์

๒๒. มฏฺฐคตฺตตา พระสรีระเกลี้ยงเกลา

๒๓. อนุสฺสนฺนานนุสฺสนฺนสพฺพคตฺตตา พระวรกายส่วนพระมังสะอิ่มเอิบทุกส่วน

๒๔. อลีนคตฺตตา พระสรีระไม่เหี่ยวย่น

๒๕. ติลกาทิวิรหิตคตฺตตา พระสรีระกายปราศจากราคีทั้งปวง

๒๖. อนุปุพฺพรุจิรคตตฺตตา พระวรกายรุ่งเรืองด้วยสิริ

๒๗. สุวิสุทฺธคตฺตตา พระกายงามบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งปวง

๒๘. โกฏิสหสฺสหตฺถิพลธารณตา ทรงไว้ซึ่งพละกำลัง

๒๙. ตุงฺคนาสตา พระนาสิกสูงโด่งดั่งพระแสงขอ

๓๐. สุรตฺตทฺวิชมํสตา ไรพระทนต์แดงสวยทั้งบนและล่าง

๓๑. สุทฺธทนฺตตา พระทนต์สะอาดปราศจากมูลมลทิน

๓๒. สินิทฺธทนฺตตา พระทนต์เกลี้ยงสนิท ไม่มีตำหนิ

๓๓. วิสุทฺธินฺทฺริยตา พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น งามบริสุทธิ์

๓๔. วฏฺฏทาฐตา พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมงาม

๓๕. รตฺโตฏฺฐตา พระโอษฐ์แดงงาม

๓๖. อายตวทนตา พระวทนะ (ปาก) ยาวเรียวงาม

๓๗. คมฺภีรปาณิเลขตา ลายเส้นพระหัตถ์ลึก

๓๘. อายตเลขตา ลายเส้นพระหัตถ์ยาว

๓๙. อุชุกเลขตา ลายเส้นพระหัตถ์ตรง

๔๐. สุรุจิรสณฺฐานเลขตา ลายเส้นพระหัตถ์มีสัณฐานงาม

๔๑. ปริมณฺฑลกายปฺปภาวนฺตตา รัศมีพระกายแผ่ซ่านเป็นปริมณฑล

๔๒. ปริปุณฺณกโปลตา พระกำโบล (กระพุ้งแก้ม) เต็มบริบูรณ์

๔๓. อายตวิสลเนตฺตตา เบ้าพระเนตรยาวและกว้าง

๔๔. ปญฺจปฺปสาทวนฺตเนตฺตตา ดวงพระเนตรใสสะอาด บริสุทธิ์ด้วยสีทั้งห้า

๔๕. อากุญฺจิคตฺคปมุขตา ขนพระเนตรมีปลายงอนช้อนขึ้น

๔๖. มุทุตนุกรตฺตชิวฺหตา พระชิวหาอ่อน บาง สีแดง

๔๗. อายตรุจิรกณฺณตา พระกรรณทั้งสองยาวงาม

๔๘. นิคฺคณฺฐิสริตา พระนหารุ (เอ็น) ไม่ปูดโปน ไม่ขอด

๔๙. นิคฺคุฬฺหสริตา พระนหารุ ราบเรียบเสมอดี

๕๐. วฏฺฏฉตฺตนิภจารุสีสตา พระเศียรมีสัณฐานกลมงาม

๕๑. อายตปุถุนลาฎโสภตา พระนาลาฏกว้างสมส่วน

๕๒. สุสณฺฐานภมุกตา พระขนง (คิ้ว) มีสัณฐานงาม

๕๓. สณฺหภมุกตา ขนพระขนงละเอียดอ่อน

๕๔. อนุโลมภมุกตา พระขนงโก่งเรียว

๕๕. มหนฺตภมุกตา พระขนงหนาใหญ่

๕๖. อายตภมุกตา เส้นพระขนงยาวเรียวงอน

๕๗. สุขมาลคตฺตตา พระวรกายสมกับเป็นสุขุมาลชาติ

๕๘. อติวิยโสมฺมคตฺตตา มีพระวรกายเย็น

๕๙. อติวิยอุชฺชลิตคตฺตตา พระวรกายเปล่งปลั่ง

๖๐. วิมลคตฺตตา พระวรกายไร้มลทิน

๖๑. โกมลคตฺตตา พระวรกายอ่อนนุ่ม

๖๒. สินิทฺธคตฺตตา ผิวพระวรกายเนียนละเอียด

๖๓. สุคนฺธตนุตา กลิ่นอายพระวรกายหอมจรุง

๖๔. สมโลมตา พระโลมามีเส้นเสมอกัน

๖๕. โกมลโลมตา พระโลมาอ่อนนุ่ม

๖๖. ทกฺขิณาวตฺตโลมตา พระโลมาเวียนทักษิณาวรรตทุกเส้น

๖๗. ภินฺนญฺชนสทิลนีลโลมตา พระโลมามีสีเข้ม

๖๘. วฏฺฏโลมตา พระโลมาเป็นเส้นกลม

๖๙. สีนิทฺธโลมตา เส้นพระโลมาละเอียด

๗๐. อติสุขุมอสฺสาสปสฺสาสธารณตา พระอัสสาสะและปัสสาสะละเอียด

๗๑. สุคนฺธมุขตา พระมุขะ (ปาก) มีกลิ่นหอม

๗๒. สุคนฺธมุทฺธนตา พระมุทธา (พระเศียร) มีกลิ่นหอม

๗๓. สุนีลเกสตา พระเกศาดำสนิท

๗๔. ทกฺขิณาวตฺตเกสตา เส้นพระเกศาเวียนทักษิณาวรรต

๗๕. สุสณฺฐานเกสตา พระเกศามีสัณฐานดี

๗๖. สินิทฺธเกสตา,สณฺหเกสตา พระเกศาละเอียดอ่อน, พระเกศาเกลี้ยงเกลา

๗๗. อสุฬิตเกสตา เส้นพระเกศาไม่ยุ่งเหยิง

๗๘. สมเกสตา พระเกศาเสมอกันทุกเส้น

๗๙. โกมลเกสตา พระเกศามีเส้นอ่อนนุ่ม

๘๐. เกตุมาลารตนวิจิตฺตตา พระรัศมีเหนือพระเศียรงามวิจิตร

จากหนังสือ อาสีติกปูชา อนุสรณ์ ๘๐ ปี พระภัททันตธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิตเจ้าสำนักเรียนบาลีใหญ่ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ๘ มกราคม ๒๕๔๓ รวบรวมโดยพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร คณะ ๒๕ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กทม.



ความแตกต่างกันของพระพุทธเจ้า

มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาขุททนิกาย พุทธวงศ์ หน้า ๗๔๑-๗๔๖ กล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ มีความแตกต่างกัน ๘ ประการ คือ อายุ ปมาณ ตระกูล ปธาน รัศมี ยาน โพธิพฤกษ์ และ บัลลังก์



๑. ความแตกต่างกันแห่งพระชนมายุ

พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุสั้น

พระพุทธเจ้า ๙ พระองค์ คือ พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี พระสิทธัตถะ

พระติสสะ มีพระชนมายุ แสนปี

พระพุทธเจ้า ๘ พระองค์คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระโสภิตะ พระนารทะ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระปุสสะ มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระเรวตะ พระเวสสภู มีพระชนมายุหกหมื่นปี

พระพุทธเจ้าวิปัสสี มีพระชนมายุแปดหมื่นปี

พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระสิขี พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ มีพระชนมายุเจ็ดหมื่นปี สี่หมื่นปี สามหมื่นปี สองหมื่นปีตามลำดับ

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ มีพระชนมายุแปดสิบปี



๒. ความแตกต่างกันแห่งปมาณ

พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์ต่ำ

พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี พระวิปัลสี มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก

พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ พระสุเมธะ มีพระสรีระสูง ๘๘ ศอก

พระสุมนพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๙๐ ศอก

พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระปุสสะ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก

พระสุชาตพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก

พระสิทธัตถะ พระติสสะ พระเวสสภู มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก

พระสิขีพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๗๐ ศอก

พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ มีพระสรีระสูง ๔๐,๓๐,๒๐ ศอก

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ มีพระสรีระสูง ๑๘ ศอก



๓. ความแตกต่างกันแห่งตระกูล

พระพุทธเจ้าบางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์

พระกกุสันธนะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์

พระพุทธเจ้า ๒๒ พระองค์ที่เหลือมีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น มีพระโคตมพุทธเจ้า เป็นที่สุด เกิดในตระกูลกษัตริย์



๔. ความแตกต่างกันแห่งปธาน

พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี พระสุชาตะ พระสิทธัตถะ พระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน

พระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะ และพระสิขี ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

พระเรวตะพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ เดือน

พระโสภิตพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียร ๔ เดือน

พระปทุมะ พระอัตถทัสสี และ พระวิปัสสี ทรงบำเพ็ญเพียรครึ่งเดือน

พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสี พระกัสสปะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน

พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู พระโกนาคมนะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี



๕. ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี

พระมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ

พระปทุมุตตระพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๑๒ โยชน์

พระวิปัสสีพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๗ โยชน์

พระสิขีพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๓ โยชน์

พระกกุสันธพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๑๐ โยชน์

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ มีพระรัศมี แผ่ไปประมาณ ๑ วาโดยรอบ พระพุทธเจ้านอกนั้นไม่แน่นอน



๖. ความแตกต่างกันแห่งยาน

พระพุทธเจ้าบางพระองค์ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือม้า ด้วยรถ ดำเนินด้วยพระบาท ด้วยปราสาท หรือด้วยวอ อย่างใดอย่างหนึ่ง

พระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ พระปุสสะ พระสิขี และพระโกนาคมนะออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง

พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสี และ พระกกุสันธะ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ รถ

พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือม้า

พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ วอ

พระนารทะ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ดำเนินด้วยพระบาท

พระโสภิตะ พระปทุมุตระ พระธัมมทัสสี และพระกัสสปะ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย ปราสาท

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ออกมหาภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือม้า



๗. ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์

โพธิพฤกษ์ หมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาในวันตรัสรู้ มีดังนี้

พระทีปังกร โพธิพฤกษ์ชื่อ กปิตนะ (มะขวิด)

พระโกณฑัญญะ โพธิพฤกษ์ชื่อ สาลกัลยาณี (ขานาง)

พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตพุทธเจ้า มีโพธิพฤกษ์ชื่อ นาคะ (กากะทิง)

พระอโนมทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ อัชชุนะ (ต้นกุ่ม)

พระปทุมะ พระนารทะ โพธิพฤกษ์ชื่อ มหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่)

พระปทุมุตตระ โพธิพฤกษ์ชื่อ สลละ (ต้นช้างน้าว)

พระสุเมธะ โพธิพฤกษ์ชื่อ นีปะ (ต้นกะทุ่ม)

พระสุชาตะ โพธิพฤกษ์ชื่อ เวฬุ (ต้นไผ่)

พระปิยทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ กกุธะ (ต้นกุ่ม)

พระอัตถทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ จัมปกะ (ต้นจำปา)

พระธัมมทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ รัตตกุรวกะ (ต้นซ้องแมวแดง)

พระสิทธัตถะ โพธิพฤกษ์ชื่อ กณิการะ (กรรณิการ์)

พระติสสะ โพธิพฤกษ์ชื่อ อสนะ (ต้นประดู่)

พระปุสสะ โพธิพฤกษ์ชื่อ อามลกะ (มะขามป้อม)

พระวิปัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ปาฏลี (แคฝอย)

พระสิขี โพธิพฤกษ์ชื่อ ปุณฑรีกะ (มะม่วงป่า)

พระเวสสภู โพธิพฤกษ์ชื่อ สาละ (สาละ)

พระกกุสันธะ โพธิพฤกษ์ชื่อ สรีสะ (ต้นซึก)

พระโกนาคมนะ โพธิพฤกษ์ชื่อ อุทุมพร (มะเดื่อ)

พระกัสสป โพธิพฤกษ์ชื่อ นิโครธ (ต้นไทร)

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ โพธิพฤกษ์ชื่อ อัสสัตถ (ต้นโพธิใบ)



๘. ความแตกต่างกันแห่งบัลลังก์

ความแตกต่างกันแห่งบัลลังก์ หมายถึงบัลลังก์ที่ประทับในวันตรัสรู้

พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี และพระวิปัสสี บัลลังก์ ๕๓ ศอก

พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ และพระสุเมธะ บัลลังก์ ๕๗ ศอก

พระสุมนะ บัลลังก์ ๖๐ ศอก

พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระปุสสะ บัลลังก์ ๓๘ ศอก

พระสุชาตะ และพระสิขี บัลลังก์ ๓๒ ศอก

พระสิทธัตถะ พระติสสะ และพระเวสสภู บัลลังก์ ๔๐ ศอก

พระกกุสันธะ บัลลังก์ ๒๖ ศอก

พระโกนาคมนะ บัลลังก์ ๒๐ ศอก

พระกัสสปะ บัลลังก์ ๑๕ ศอก

*พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ บัลลังก์ ๑๔ ศอก



เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อรรถกถา สัมปสาทนียสูตร หน้า ๒๕๑ กล่าวถึงเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติพร้อมกันไว้ดังนี้

· ธรรมดาบุคคลผู้เป็นเอก (หนึ่ง) เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์

หากพระพุทธเจ้าหลายพระองค์เสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มิใช่บุคคลที่น่าอัศจรรย์

· พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่แตกต่างกันพระพุทธเจ้า

ทุกพระองค์ซึ่งทรงอุบัติขึ้น ก็จักทรงแสดงเช่นเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เดียวแสดงธรรม พระธรรมเทศนาก็ย่อมเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์

· เพราะจะไม่เกิดการวิวาทกันระหว่างสาวกว่า พระพุทธเจ้าของเราน่าเลื่อมใสกว่ามีพระสุ

รเสียงไพเราะกว่า เป็นต้น เหมือนบรรดาศิษย์ต่างสำนัก ย่อมยกย่องอาจารย์ของตนว่าอาจารย์ของตนแตกฉานในศิลปวิทยามากกว่าอาจารย์ของสำนักอื่น เป็นต้น

ในมิลินทปัญหา พระยามิลินท์ตรัสถามปัญหานี้กับท่านพระนาคเสนว่า

พระยามิลินท์ ท่านนาคเสน พระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า การที่พระอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ โยมสงสัยว่าก็พระตถาคตทุกพระองค์เมื่อจะทรงแสดงธรรม ย่อมทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เมื่อจะตรัสก็ย่อมตรัสอริยสัจธรรม ๔ เมื่อจะทรงให้ศึกษาย่อมทรงให้ศึกษาในไตรสิกขา เมื่อจะทรงพร่ำสอนก็ทรงพร่ำสอนข้อปฏิบัติ คือความไม่ประมาท ถ้าพระตถาคตทุกพระองค์มีอุเทศอย่างเดียวกัน มีกถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มีอนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะเหตุไรพระตถาคต ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่สองพึงมีขึ้น ในโลกนี้จักมีแสงสว่างขึ้นมามีประมาณยิ่ง ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พระตถาคตทั้งสองพระองค์ เมื่อจะทรงโอวาทก็พึงโอวาทอย่างสบาย เมื่อจะทรงพร่ำสอนก็พึงพร่ำสอนอย่างสบาย ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงเหตุให้โยมคลายสงสัยด้วยเถิด

พระนาคเสน มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ รองรับไว้ได้ซึ่งพระคุณของพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว หากพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นพร้อมกันหลายพระองค์ หมื่นโลกธาตุนี้ไม่สามารถที่จะรองรับซึ่งพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้ อุปมาเหมือนเรือที่สามารถรับน้ำหนักของมนุษย์ไว้ได้เพียงคนเดียว หากมีคนหนึ่งลงไปในเรือนั้น แล้วยังมีอีกคนหนึ่งลงตามไป มหาบพิตรคิดว่าเรือลำนั้นจักรับน้ำหนักของคนทั้งสองไว้ได้หรือไม่

พระยามิลินท์ เรือนั้นย่อมรับน้ำหนักสองคนไว้ไม่ได้ จักจมลงไปในน้ำแน่แท้

พระนาคเสน มหาบพิตร ข้อที่พระองค์ทรงแคลงพระทัย ก็มีอุปไมยเช่นกัน

พระยามิลินท์ตรัสถามต่อไปอีกว่า คำว่า แผ่นดินย่อมไหวด้วยธรรมอันหนักยิ่งนั้นคืออย่างไร

พระนาคเสนทูลว่า มหาบพิตร ความข้อนี้อุปมาเหมือนเกวียนสองเล่ม ที่บรรจุรัตนะจนเต็ม หากนำเอารัตนะของเกวียนเล่มแรก ไปเพิ่มให้แก่เล่มที่สอง มหาบพิตรคิดว่า เกวียนเล่มที่สองนั้นจะพึงรองรับน้ำหนักของรัตนะที่นำมาเพิ่มไว้ได้หรือไม่

พระยามิลินท์ตรัสว่า เกวียนเล่มที่สองนั้นย่อมรองรับน้ำหนักไม่ได้เป็นแน่แท้ ดุมของเกวียนนั้นจะพึงลั่นไหว กำของเกวียนนั้นพึงหักไป เพลาของเกวียนนั้นพึงคดงอไปบ้าง

พระนาคเสน มหาบพิตร ข้อนี้ก็มีอุปไมยเช่นนั้น แผ่นดินไหวด้วยธรรมอันหนักยิ่ง

อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร ข้อที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ย่อมทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะคุณของพระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลายมีเหตุใหญ่

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่มีพระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์เสด็จขึ้นในที่ใด ที่นั้นก็ไม่มีโอกาสแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์อื่นอีก ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน



บุพกรรมของพระพุทธเจ้า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ นับแต่ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นพระองค์แรก ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ในอีก ๔ อสงไขยแสนกัปเบื้องหน้า พระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมีเรื่อยมา โดยผ่านการพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า ต่อจากพระทีปังกรพุทธเจ้าอีก ๒๓ พระองค์

ในพระชาติสุดท้าย อุบัติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ออกมหาภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญเพียรอยู่ถึง ๖ ปี จึงได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ทรงรอบรู้ธรรมทั้งปวง ทรงพระคุณใหญ่หาผู้เสมอเหมือนมิได้

ถึงกระนั้น ในอดีตอันยาวนานที่ผ่านมา พระองค์ก็ทรงได้กระทำทั้งกรรมดีและกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้พระองค์ได้รับผลของกรรมเหล่านั้น ในชาติต่างๆ ที่แม้ในชาติสุดท้าย จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีอานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นทั้งครูของเทวดาและมนุษย์ไม่มีใครเทียบได้ก็ตามพระองค์ก็ยังมิอาจหลีกเลี่ยงจากการที่จะต้องรับผลกรรม ที่พระองค์ทรงกระทำไว้ได้เลย

ในขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปทาน ปุพกัมมปิโลติ ข้อ ๓๙๒ หน้า ๑๙๕-๒๓๖ กล่าวถึงบุพกรรมของพระพุทธเจ้า ครั้งยังดำรงอยู่ในอัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ได้ทรงกระทำทั้งในฝ่ายกุศลและอกุศล ไว้ดังนี้



บุพกรรมฝ่ายกุศล

ในอดีตชาติ พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า ติโลกวิชัย ได้บำเพ็ญโพธิสมภาร (บารมีของพระมหากษัตริย์) ด้วยประสงค์ในพระสัมมาสัมโพธิญาณ (ตรัสรู้เองโดยชอบ) และพระสัพพัญญูตญาณ (หยั่งรู้ในสิ่งทั้งปวง) โปรดให้สร้างปราสาทล้วนแล้วด้วยรัตนะ สำหรับเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และบรรดาสงฆ์สาวกทั้งปวง

ครั้งนั้น ต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้น ๔ มุมเมือง พระโพธิสัตว์นำผ้าที่ได้จากต้นกัลปพฤกษ์มาทำเป็นไตรจีวรถวายพระพุทธเจ้า และสงฆ์สาวก พร้อมทั้งถวายภัตตาหารอันมีรสเลิศ แล้วตั้งความปรารถนา ขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ด้วยกุศลกรรมที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมาแต่อดีต ทั้งกาย วาจา และใจ พระองค์จึงได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุดบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในปัจจุบันชาติ

(บุพกรรมฝ่ายกุศล มีที่มาจากชินกาลมาลีปกรณ์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นในอารัมภกถา)



บุพกรรมฝ่ายอกุศล

กรรมที่ต้องกระทำทุกรกิริยา

ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ทราบว่าพระกัสสปะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลือยู่ แม้ในภพสุดท้ายก่อนจะได้ตรัสรู้ พระองค์ยังต้องหลงเดินทางผิด บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระองค์เองด้วยวิธีการต่างๆ อันเป็นวัตรของเดียรถีย์ มีการอดอาหาร เป็นต้น จนสรีระผอมเหลือแต่กระดูก ได้รับทุกขเวทนากล้าอันเกิดจากความเพียรเป็นเวลานานถึง ๖ ปี กว่าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ



กรรมที่ทำให้ถูกกล่าวตู่

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนักเลงสุราชื่อ มุนาลิ ได้กล่าวตู่ พระนันทะ สาวกของพระสัพพาภิภู ปัจเจกพุทธเจ้า ว่าเป็นสมณะทุศีล

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระพุทธเจ้าจึงต้องถูกกล่าวตู่โดยนาง จิญจมาณวิกา

เรื่องมีว่าเหล่าเดียรถีย์เกิดความริษยา ที่เห็นพระพุทธเจ้ามีบุคคลเลื่อมใสศรัทธาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ลาภสักการะของพวกตนน้อยลง จึงหาทางทำลายพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยการใช้นางจิญจมาณวิกา สาวิกาของพวกตน เป็นผู้ดำเนินการตามอุบาย กล่าวคือในตอนเย็น ขณะที่เหล่าชนกำลังเดินทางกลับเข้าเมือง ก็ให้นางเดินสวนทางออกไป ตอนเช้าขณะเหล่าชนเดินทางออกจากเมือง ก็ให้นางเดินสวนทางกลับเข้ามา ทำเช่นนี้เป็นประจำ จนชาวเมืองเกิดความสงสัย ถามว่านางออกไปนอกเมืองทุกเวลาเย็นด้วยเหตุใด นางตอบว่า เราออกไปตามความประสงค์ของพระสมณะโคดมผู้เป็นศาสดาของพวกท่าน และพำนักอยู่ในพระคันธกุฎีในพระเชตวัน

เวลาล่วงมาหลายเดือน นางจิญจมาณวิกา จึงนำท่อนไม้มาผูกติดกับเอว สวมเสื้อคลุมทับไว้ ทำประหนึ่งว่าตนกำลังมีครรภ์ เดินเข้าไปหาพระพุทธเจ้าในพระเชตะวันวิหาร ท่ามกลางบริษัทที่กำลังฟังพระธรรมเทศนา กล่าววาจาตู่พระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้ที่ทำให้นางตั้งครรภ์ พระพุทธเจ้ามิได้โต้ตอบแต่ประการใด ทำให้ชนบางกลุ่มในที่นั้นเกิดความสงสัย คิดว่าหากไม่เป็นความจริง นางคงมิกล้ากล่าววาจาเช่นนี้ต่อหน้าชนเป็นอันมากแน่นอน

ท้าวสักกะทราบความ จึงบันดาลให้เชือกที่นางผูกเอวไว้ขาดออก ท่อนไม้หลุดลงมาทับเท้าของนางจนหลังเท้าแตก เหล่าชนในพระเชตะวันวิหารเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น พากันขับไล่นางออกไปเมื่อพ้นประตูวิหาร นางก็ถูกเปลวเพลิงนรกฉุดลงไปสู่อเวจี



กรรมที่ทำให้ถูกกล่าวหา

ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ชื่อ สุตวา บวชเป็นดาบสสั่งสอนศิษย์อยู่ในป่าหิมพานต์ ต่อมามีดาบสผู้สำเร็จอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ มายังสำนักของตน ด้วยความริษยาที่เห็นว่ามีวิชาความรู้มากกว่าตน จึงกล่าวหาดาบสนั้นว่า ดาบสนี้หลอกลวง ดาบสนี้เป็นผู้บริโภคกาม และยังแนะให้ศิษย์ของตนกระทำตาม

ด้วยวิบากแห่งกรรมที่กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง พระโพธิสัตว์และเหล่าศิษย์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวก จึงถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่านางสุนทรี

เรื่องมีว่า เหล่าเดียรถีย์ยังคิดการที่จะทำลายพระเกียรติคุณ ของพระพุทธเจ้าต่อไปจึงใช้ให้นาง สุนทรี สาวิกาของพวกตนอีกคนหนึ่งไปดำเนินการ ตามวิธีเช่นเดียวกับนางจิญจมาณวิกาจากนั้นได้ไปว่าจ้างเหล่าโจรให้ฆ่านาง นำศพไปหมกไว้ใกล้พระเชตวันวิหาร แล้วส่งคนของตนเข้าไปร้องเรียนต่อพระราชาว่า สาวิกาผู้หนึ่งของพวกตนหายไป พระราชามีรับสั่งให้ค้นหา พบศพหมกอยู่ใกล้พระเชตวันวิหาร เหล่าเดียรถีย์จึงนำศพวางบนแคร่หาม ออกเดินประกาศไปทั่วพระนครว่า เหล่าศากยสมณะร่วมกันฆ่านาง พระอานนท์ทูลความให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า อีก ๗ วัน เรื่องนี้จะปรากฏความจริง

ฝ่ายพระราชา แม้จะมีหลักฐานปรากฏเช่นนั้นก็ยังไม่แน่พระทัย รับสั่งให้เจ้าพนักงานออกทำการสืบสวนหาความจริง เจ้าพนักงานไปพบกับเหล่าโจรซึ่งกำลังเมามาย ต่างก็อวดตัวว่าเป็นคนฆ่านางสุนทรี จึงคุมตัวไปเฝ้าพระราชา ทรงสอบถามจนได้ความจริงว่า เหล่าเดียรถีย์เป็นผู้ว่าจ้างพวกตน พระราชามีรับสั่งให้จับเดียรถีย์คุมตัวเดินประจานไปทั่วพระนคร พร้อมทั้งให้ร้องประกาศว่า พวกตนเป็นผู้สั่งให้ฆ่านาง มิใช่เป็นการกระทำของศากยสมณะ จากนั้นจึงนำตัวไปลงโทษสถานหนักทั้งหมด



กรรมที่ต้องเสวยข้าวแดง

ในสมัยพระปุสสะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดในครอบครัวของคนยากจน ต้องอาศัยข้าวแดงแต่เพียงอย่างเดียวเป็นอาหารสำหรับยังชี พ วันหนึ่งเห็นบรรดาสาวกของพระปุสสะพุทธเจ้าฉันภัตตาหารอันมีรสเลิศ จึงกล่าวว่า สมณะโล้นพวกท่านจงกินแต่ข้าวแดงเถิด

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลือยู่ ในชาตินี้ พระพุทธองค์จึงต้องเสวยแต่ข้าวแดงอย่างเดียวตลอดพรรษา

สมัยหนึ่งพระองค์พร้อมสงฆ์สาวกเสด็จเที่ยวไปโปรดเวไนยสัตว์ยัง คามนิคมต่างๆ ใกล้เวลาเข้าพรรษา เสด็จถึงเมืองเวรัญชา พักอยู่โคนไม้สะเดา เวรัญชพราหมณ์เข้าไปกราบทูลนิมนต์ให้จำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณี

มารผู้มีบาปได้ทำการดลใจชาวบ้านทั้งสิ้น มิให้ถวายภิกษาแม้แต่ทัพพีหนึ่งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและสงฆ์ทั้งปวง จึงต้องเสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่า อาศัยพ่อค้าม้าที่พักแรมอยู่บริเวณนั้น แบ่งข้าวแดงซึ่งเป็นอาหารของม้ามาให้ เหล่าสงฆ์ต้องนำมาบดแล้วเอาไปแช่น้ำให้อ่อน จากนั้นจึงนำมาฉัน ทั้งที่ยังมิได้หุงต้มให้สุก



กรรมที่ทำให้ต้องถูกลอบปลงพระชนม์

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะยังเป็นเด็กกำลังเล่นอยู่ข้างทางสัญจร เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เดินมาทางที่ตนเล่นอยู่ เกิดความไม่พอใจด้วยคิดว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าจะมาเหยียบย่ำของเล่นของตน จึงก่อไฟดักไว้ทั่วทาง ประสงค์จะเผาพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระพุทธเจ้าจึงถูกพระเทวทัตขอกำลังพลแม่นธนูจากพระเจ้าอชาตศัตรู ให้มาลอบปลงพระชนม์



กรรมที่ทำให้ห้อพระโลหิต

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ และพระเทวทัตเกิดเป็นพี่น้องร่วมบิดา แต่ต่างมารดากันครั้นบิดาล่วงลับไปแล้ว เกิดทะเลาะด้วยเหตุแห่งทรัพย์ พระโพธิสัตว์มีกำลังมากกว่า จึงกดน้องชายนอนลงกับพื้นดิน แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ทับไว้ ประสงค์จะให้ตาย

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันด้วยเศษกรรมที่เหลืออยู่ พระพุทธเจ้าจึงต้องถูกสะเก็ดศิลา ที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาหมายจะให้ทับพระองค์ กระเด็นมากระทบนิ้วพระบาทจนห้อพระโลหิต ขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินขึ้นบนเขาคิชฌกูฏ



กรรมที่ต้องถูกผ่าตัด

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรของนักเลงผู้หนึ่ง เมื่อเจริญวัยจึงประพฤติตนเป็นผู้ชอบก่อการทะเลาะวิวาท หาเรื่องฆ่าฟันกันด้วยความเคยชิน ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์ถือดาบเดินเข้าไปในเมือง ไล่ฆ่าฟันชาวเมืองผู้ไม่มีความผิด จนถึงแก่ความตายเป็นจำนวนมาก

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบัน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระพุทธเจ้าจึงต้องให้หมอชีวกโกมารภัจทำการผ่าตัดเอาโลหิตร้ายออกจากนิ้วพระบาทที่ห้อพระโลหิต เนื่องจากถูกสะเก็ดศิลา ที่พระเทวทัตกลิ้งลงมากระเด็นมากระทบโดยแรง



กรรมที่ถูกช้างนาฬาคิรีไล่

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นควาญช้าง วันหนึ่งขณะที่ไปตามหนทาง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกำลังเสด็จสวนทางมา เกิดโทสะด้วยคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ขวางทางเดินของตน จึงไสช้างเข้าไปไล่ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาต

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบัน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้พระองค์ต้องถูกช้างนาฬาคิรีไล่ ขณะเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ (ความละเอียดเรื่องช้างนาฬาคิรีอยู่ในหน้า ๑๕๔ ของหนังสือเล่มนี้)



กรรมที่ทำให้ปวดพระเศียร

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในหมู่บ้านชาวประมงในเกวัฏฏคาม วันหนึ่งพระโพธิสัตว์กับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่เขาฆ่าปลาเพื่อนำไปจำหน่าย เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาด้วยการทุบหัวเกิดความโสมนัสยินดีในอกุศลกรรมนั้น

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบัน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ พระองค์บังเกิดในตระกูลศากยราช แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บปวดที่พระเศียรอย่างรุนแรง ทันที่ที่ทราบข่าวว่าพระเจ้าวิฑูฑภะทำลายล้างเหล่าศากยะถึงความพินาศไปด้วยกันเกือบทั้งหมด



กรรมที่ทำให้ปวดพระปฤษฎางค์

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดี เป็นผู้มีรูปร่างเตี้ย แต่มีพละกำลังแข็งแรง ครั้งนั้นมีนักมวยปล้ำผู้หนึ่งเที่ยวท้าทายเหล่าชนในเมือง ให้มาประลองกำลังกับตนปรากฏว่าไม่มีผู้ใดสามารถเอาชนะได้ พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงเข้าไปประลองฝึกมือ อาศัยความประมาท นักมวยปล้ำผู้นั้น ถูกพระโพธิสัตว์จับตัวยกขึ้นหมุนไปโดยรอบ แล้วปล่อยทิ้งลงมา นักมวยปล้ำได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ในชาตินี้ทำให้พระองค์บังเกิดทุกขเวทนาด้วยการปวดพระปฤษฏางค์ ขณะที่ประทับนั่งเป็นเวลานาน โดยมิได้เคลื่อนไหวอิริยาบถ ในกาลบางคราวพระองค์จึงตรัสกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ให้แสดงธรรมต่อจากพระองค์



กรรมที่ทำให้ลงพระโลหิต

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นแพทย์ หาเลี้ยงชีพด้วยการรับรักษาโรคทั่วไปบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งป่วยด้วยโรคเรื้อรังมาช้านาน ไม่มีผู้ใดรักษาให้หายได้ เศรษฐีผู้บิดาจึงมาข้อร้องให้พระโพธิสัตว์ทำการรักษา พระองค์ประกอบยาขนานหนึ่งให้ผู้ป่วยดื่ม ครั้นอาการทุเลาลง พระโพธิสัตว์เรียกร้องค่าดูแลรักษา เศรษฐีตอบแทนด้วยกหาปณะเล็กน้อย พระโพธิสัตว์ไม่พอใจจึงประกอบยาให้อีกขนานหนึ่ง เมื่อบุตรเศรษฐีบริโภคแล้วเกิดอาการถ่ายเป็นโลหิตจนถึงแก่ความตาย

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ในชาตินี้ทำให้พระองค์เกิดอาการลงพระโลหิต หลังจากเสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะถวาย จนต้องปรินิพพาน

ชื่อว่า กรรม แม้จะเล็กน้อยหรือยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม เมื่อถึงวาระที่กรรมนั้นจะให้ผลแม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดในไตรภพ ก็ยังมิอาจหลีกเลี่ยงให้พ้นไปได้ด้วยประการฉะนั้น

ขุททกนิกาย อปทานเล่ม ๘ ภาค ๑ อรรถกถาพุทธวรรค พุทธาปทาน , ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓

พจานานุกรมศัพท์เฉพาะภาษาบาลี เล่ม ๑ และ เล่ม ๒



วัน สถานที่ และบุคคลสำคัญ

ใน

ครั้งพุทธกาล

วันสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

ประสูติ วันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขมาส ณ ลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์-กรุงเทวทหะ

ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขมาส ณ อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ

ปฐมเทศนา วันเพ็ญเดือน ๘ อาสาฬหมาส ณ อิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

ปรินิพพาน วันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขมาส ณ สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา

มาฆมาส (วันเพ็ญเดือน ๓) จาตุรงคสันนิบาต ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ปลงอายุสังขาร

วิสาขมาส (วันเพ็ญเดือน ๖) ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

อาสาฬหมาส (วันเพ็ญเดือน๘) ก้าวลงสู่พระครรภ์ ออกมาหภิเนษกรมณ์ ทรงแสดงธรรมจักร

อัสสยุชมาส (วันเพ็ญเดือน๑๑) วันมหาปวารณา เสด็จลงจากเทวโลก



สถานที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า (สังเวชนียสถาน ๔)

ลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์-กรุงเทวทหะ สถานที่ประสูติ

อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันเรียกพุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้

อิลิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี แคว้นกาสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ สถานที่ปรินิพพาน



บุคคลสำคัญในครั้งพุทธกาล

ภิกษุ หมายถึง อสีติมหาสาวกชั้นผู้ใหญ่

ภิกษุณี หมายถึง สาวิกาชั้นผู้ใหญ่

อุบาสก หมายถึง คฤหัสถ์ชาย ที่แสดงตนเป็นพุทธมามกะ

อุบาสิกา หมายถึง คฤหัสถ์หญิง ที่แสดงตนเป็นพุทธมามกะ



อสีติมหาสาวก

พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ มีนามตามลำดับอักษรดังนี้

อักษร

เอตทัคคะ (เลิศในทาง)

ก.



กังขาเรวตะ
บุตรคหบดีกรุงสาวัตถี
ยินดีในฌาน

กัปปะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


กาฬุทายี
อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ
ทำตระกูลให้เลื่อมใส

กิมพิละ
ศากยวงศ์กบิลพัสดุ์


กุมารกัสสปะ
บุตรของธิดาคหบดีกรุงราชคฤห์
แสดงธรรมได้วิจิตร

กุณฑธานะ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี
ถือสลากภัตเป็นปฐม





ค.



คยากัสสปะ
ประธานเหล่าชฏิล


ควัมปติ
บุตรคบดีกรุงพาราณสี






จ.



จุนทะ (จุนทกะ)
น้องชายพระสารีบุตร


จูฬปันถกะ
หลานคหบดีกรุงราชคฤห์
หลุดพ้นด้วยสมาธิ





ช.



ชตฺกัณณิ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






ต.



ติสสเมตเตยยะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


โตเทยยะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






ท.



ทัพพมัลลบุตร
โอรสเจ้ามัลละกุสินารา
จัดที่พักและอาหารแก่สงฆ์





ธ.



โธตกะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






น.



นทีกัสสปะ
ประธานเหล่าชฏิล


นันทะ
โอรสพระนางปชาบดีโคตมี
สำรวมอินทรีย์

นันทะ (มานวะ)
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


นันทกะ
บุตรคหบดีกรุงสาวัตถี
ให้โอวาทแก่ภิกษุณี

นาคิตะ
ภิกษุอุปัฏฐากตามวาระ


นาลกะ
หลานกาฬเทวิลดาบส






ป.



ปิงคิยะ
หลานพรมหมณ์พาวรี


ปิณโฑลภารทวาชะ
บุตรปุโรหิตพระเจ้าอุเทน
บันลือสีหนาท

ปิลินทวัจฉะ
พราหมณ์กรุงสาวัตถี
เป็นที่รักของเทวดา

ปุณณกะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


ปุณณชิ
บุตรคหบดีกรุงพาราณสี


ปุณณมันตานีบุตร
หลานพระอัญญาโกณฑัญญะ
แสดงธรรม

ปุณณสุนาปรันตะ
คหบดีชาวสุนาปรันตะ


โปสาละ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






พ.



พากุละ (พักกุละ)
ชาวกรุงโกสัมพี
สุขภาพดี

พาหิยทารุจีริยะ
คหบดีชาวพาหิยะ
ตรัสรู้เร็ว





ภ.



ภคุ (ภัคคุ)
ศากยวงศ์


ภัททิยะ (ศากยะ)
โอรสพระนางกาฬิโคธา
มาจากตระกูลสูง

ภัททิยะ
หนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์


ภัทราวุธ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






ม.



มหากัจจายนะ
บุตรปุโรหิตพระเจ้าจันฑปัชโชติ
ขยายความย่อให้พิสดาร

มหากัปปินะ
พระราชากรุงกุกกุฏวดี
ให้โอวาทแก่ภิกษุ

มหากัสสปะ
บุตรพราหมณ์แคว้นมคธ
ถือธุดงค์เป็นวัตร

มหาโกฏฐิตะ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี
แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔

มหานามะ
หนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์


มหาปันถกะ
หลานคหบดีกรุงราชคฤห์
หลุดพ้นด้วยปัญญา

มหาโมคคัลลานะ
อัครสาวกเบื้องซ้าย
มีฤทธิ์มาก

เมฆิยะ
ศากยวงศ์กบิลพัสดุ์


เมตตคู
ศิษย์พราหมณ์พาวรี
ทรงจีวรเศร้าหมอง

โมฆราช
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






ย.



ยสะ
บุตรคหบดีกรุงพาราณสี


ยโสชะ
บุตรชาวประมงกรุงสาวัตถี






ร.



รัฏฐปาละ
บุตรหัวหน้านิคมแคว้นกุรุ
บวชด้วยความศรัทธา

ราธะ
พราหมณ์กรุงราชคฤห์
ก่อให้เกิดปฏิภาณ

ราหุล
โอรสพระนางยโสธรา
ใคร่ต่อการศึกษา

เรวตะขทิรวนิยะ
น้องชายพระสารีบุตร
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร





ล.



ลกุณฎกภัททิยะ
บุตรคหบดีกรุงสาวัตถี
มีเสียงไพเราะ





ว.



วักกลิ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี
หลุดพ้นด้วยศรัทธา

วังคีสะ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี
มีปฏิภาณ

วัปปะ
หนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์


วิมละ
บุตรคหบดีกรุงพาราณสี






ส.



สภิยะ
ปริพาชก


สาคตะ
บุตรพราหมณ์กรงุสาวัตถี
เจริญธาตุไฟ

สารีบุตร
อัครสาวกเบื้องขวา
มีปัญญามาก

สีวลี
โอรสพระนางสุปปวาสา
มีลาภมาก

สุพาหุ
บุตรคหบดีกรุงพาราณสี


สุภูติ
น้องชายอนาถบิณฑิกะ
เจริญเมตตาฌาน

เสละ
พราหมณ์อังคุตตราปะ


โสณกุฏิกัณณะ
บุตรนางกาฬี
กล่าวกัลยาณพจน์

โสณโกฬิวิสะ
บุตรนายพาณิชแคว้นอังคะ
ปรารภความเพียร

โสภิตะ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี
ระลึกชาติ





ห.



เหมกะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี






อ.



องคุลิมาล
บุตรปุโรหิตแคว้นโกศล


อชิตะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


อนุรุทธะ
โอรสพระเจ้าอมิโตธนะ
ทิพยจักษุ

อัญญาโกณฑัญญะ
ปฐมสาวก
รัตตัญญู (รู้แจ้งธรรมก่อนผู้อื่น)

อัสสชิ
หนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์


อานนท์
โอรสพระเจ้าสุกโกธนะ
พุทธอุปัฏฐาก

อุทยะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


อุทายี
บุตรพราหมณ์กรุงกบิลพัสดุ์


อุบาลี
กัลบกของเจ้าศากยะ
รอบรู้พระวินัย

อุปวาณะ
บุตรพราหมณ์กรุงสาวัตถี


อุปสีวะ
ศิษย์พราหมณ์พาวรี


อุปเสนวังคันตบุตร
น้องชายพระสารีบุตร
ปวงชนเลื่อมใส

อุรุเวลกัสสปะ
ประธานเหล่าชฏิล
มีบริวารมาก


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

พจนานุกรมศัพท์เฉพาะภาษาบาลี เล่ม ๑ และเล่ม ๒



ภิกษุณี

สาวิกาชั้นผู้ใหญ่

สาวิกาชั้นผู้ใหญ่ มีนามตามลำดับอักษร ดังนี้

อักษร

เอตทัคคะ (เลิศในทาง)

กีสาโคตมี
ธิดาคนยากจนชาวกรุงสาวัตถี
ทรงจีวรเศร้าหมอง

เขมา
ธิดาพระเจ้าสาคละ
มีปัญญามาก

ธรรมทินนา
ธิดาชาวนครราชคฤห์
แสดงธรรม

นันทา
ธิดาพระเจ้าสุทโธทนะ
ยินดีในฌาน

ปฏาจารา
ธิดาเศรษฐีกรุงสาวัตถี
รอบรู้พระวินัย

ภัททกาปิลานี
ธิดาพราหมณ์สาคละ
ระลึกชาติ

ภัททากัจจานา
มารดาพระราหุล
บรรลุอภิญญาใหญ่

ภัททากุณฑลเกสา
ธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์
ตรัสรู้เร็ว

มหาปชาบดีโคตมี
ธิดาพระเจ้าอัญชนะ
รัตตัญญู (รู้ธรรมก่อนภิกษุณีอื่น)

สกุลา
ธิดาชาวกรุงสาวัตถี
ทิพยจักษุ

สิงคาลมาตา
ธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์
บวชด้วยความศรัทธา

โสณา
ธิดาชาวกรุงสาวัตถี
ปรารภความเพียร

อุบลวรรณา
ธิดาเศรษฐีกรุงสาวัตถี
มีฤทธิ์มาก


ที่มา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ อรรถกกาวรรคที่ ๕ หน้า ๓-๕๔

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)





อุบาสก

คฤหัสถ์ชายผู้มีตำแหน่งเป็นเลิศ มีนามตามลำดับ ดังนี้

อักษร

เอตทัคคะ(เลิศในทาง)

ตปุสสะ และภัลลิกะ
พ่อค้าชาวเมืองอุกกละ
อุบาสกคู่แรกที่ถึงพระพุทธ พระธรรมเป็นสรณะ (เพราะยังไม่มีสงฆ์)

จิตตคฤหบดี
บุตรเศรษฐีกรุงมัจฉิกสัณฑะ
แสดงธรรม

ชีวกโกมารภัจ
บุตรนางสาลวดี
เลื่อมใสในบุคคล(พระพุทธเจ้า)

นกุลปิตา
ชาวเมืองสุงสุมารคีรี
สนิทสนมคุ้นเคย

มหานามะ
โอรสพระเจ้าอมิโตทนะ
ถวายของอันประณีต

สุทัตตะ(อนาถบิณฑิกะ)
เศรษฐีชาวกรุงสาวัตถี
ถวายทาน

สูรอัมพัฏฐะ
บุตรเศรษฐี
ไม่หวั่นไหว

หัตถกอาฬวกะ
ชาวเมืองอาฬวี
ปฏิบัติสังคหวัตถุ ๔

อุคคคฤหบดี
ชาวเมืองเวสาลี
ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ

อุคคตคฤหบดี
ชาวบ้านหัตถีคาม
อุปัฏฐากสงฆ์


ที่มา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ อรรถกถาวรรคที่ ๖ หน้า ๕๗-๗๙)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)



อุบสิกา

คฤหัสถ์หญิงผู้มีตำแหน่งเป็นเลิศ มีนามตามลำดับอักษร ดังนี้

อักษร

เอตทัคคะ (เลิศในทาง)

กาติยานี
ธิดาชาวเมืองกุรรฆระ
เลื่อมใสแน่นแฟ้น

กาฬี
ธิดาชาวเมืองกุรรฆระ
เลื่อมใสด้วยการรับฟัง

ขุชชุตตรา
ธิดาชาวกรุงโกสัมพี
เป็นพหูสูต

นกุลมาตา
ชาวเมืองสุงสุมารคีรี
สนิทสนมคุ้นเคย

วิสาขา
ธิดาธนญชัยเศรษฐี
ถวายทาน

สามาวดี
ธิดาเศรษฐีกรุงภัททวดี
อยู่ด้วยเมตตา

สุชาดา
ธิดาเศรษฐีเสนานิ
ถึงสรณะก่อนผู้อื่น

สุปปวาสา
ธิดากษัตริย์โกลิยะ
ถวายโภชนะรสประณีต

สุปปิยา
ธิดาชาวกรุงพาราณสี
อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ

อุตตรา
ธิดาปุณณเศรษฐี
ยินดีในฌาน


ที่มา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ อรรถกถาวรรคที่ ๗ หน้า ๘๓-๑๔๔ )

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)



เอกสารอ้างอิง

๑. พระไตรปิฎก และอรรถกถา ชุดมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธศักราช ๒๕๒๕

๒. อัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณี ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัดสระเกศ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ในสมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า องค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ วันที่ ๕ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๐๖

๓. ชินมหานิทาน ประวัติของพระพุทธเจ้า หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ๕ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๓๐

๔. ชินกาลมาลีปกรณ์ ท่านรตนปัญญาเถระ นักปราชญ์บาลีแห่งล้านนาไทย รจนาคัมภีร์นี้ไว้ เป็นภาษาบาลีสมัยของพระเจ้าติลกนัดดาธิราช รัชกาลที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์มังรายประมาณ พระพุทธศักราช ๒๐๖๐

ชินกาลมาลีปกรณ์ เล่มที่ได้นำมารวบรวมนี้ ได้จากอนุสรณ์ในงานพระราช

ทานเพลิงศพนายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ท.ม.,ต.ช. เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๕๑๘ ณ เมรุวัดธาตุทอง คุณธนิตอยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร ให้ศาสตราจารย์ร.ต.ท. แสง มนวิทูรฺ แปลเป็นภาษาไทย

๕. อาสีติปูชา พระภัททันตธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง คณะศิษยานุศิษย์จัดพิมพ์ในโอกาสฉลองมงคล ชนมายุครบ ๘๐ พรรษา วันที่ ๘ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๕๔๓

๖. พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ฉบับ พิมพ์ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๘

๗. พจนานุกรมศัพท์เฉพาะภาษาบาลี (dictionary of pali proper names) โดย จี.พี. มาลลเซเกรา ดุษฎีบัณฑิต

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร