วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 23:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2011, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b44: เกี่ยวกับตัวผู้เรียน

๑. รู้ คำนึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล...

๒. ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคล อาจใช้ต่างวิธี

๓. นอกจากคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว
ผู้สอนยังจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ หรือญาณ
ที่บาลี เรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละบุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย

๔. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจน แม่นยำและได้ผลจริง

เช่น ทรงสอนพระจูฬปันถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นำผ้าขาวไปลูบคลำ...

๕. การสอนดำเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียน กับผู้สอน
มีบทบาทร่วมกัน ในการแสวงความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบเสรี

หลักนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการแห่งปัญญา
ซึ่งต้องการอิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง
ผู้เรียนก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง และมีความชัดเจนมั่นใจ

หลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นประจำ และมักมาในรูปการถามตอบ

๖. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไปตามควรแก่กาละเทศะ และเหตุการณ์...

๗. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา...

(มีต่อ : เกี่ยวกับตัวการสอน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2011, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b44: เกี่ยวกับตัวการสอน

๑. ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่ง
การเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมาก

อย่างน้อย ก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนำเข้าสู่เนื้อหาได้

พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก
โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหาธรรมที่เดียว
แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบ
หรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่อที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่...


๒. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึงเครียด
ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามีความภูมิใจในตัว

๓. สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ
ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกตน ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ...

๔. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ทำจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่มีค่า
มองเห็นความสำคัญของผู้เรียน และงาสั่งสอนนั้น ไม่ใช้สักว่าทำ
หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นชั้นต่ำๆ

๕. ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย เข้าใจง่าย
ขอนำพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่ตรัสสอนภิกษุผู้แสดงธรรมเรียกกันว่า
องค์แห่งพระธรรมกถึก มาแสดงไว้ดังนี้

"อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย
ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ อย่างไว้ในใจ คือ

๑. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
๒. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
๓. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
๔. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
๕. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น"


(มีต่อ : ลีลาการสอน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2011, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: วิธีสอนแบบต่างๆ :b42:

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง
ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้

๑. สนทนา (แบบสากัจฉา)
๒. แบบบรรยาย
๓. แบบตอบปัญหา


ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น ๔ อย่างคือ

๓.๑ ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว...(เอกังสพยากรณียปัญหา)

๓.๒ ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้...(ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา)

๓.๓ ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ...(วิภัชชพยากรณียปัญหา)

๓.๔ ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย...(ฐปนียปัญหา)

ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์
อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย
แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป

๔. แบบวางกฎข้อบังคับ

เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก

(มีต่อ : กลวิธี และอุบายประกอบการสอน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับคุณกุหลาบสีชาด้วยนะครับที่นำภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ
เรื่องราวมาถ่ายทอดให้ได้อ่านครับ ภาพก็สวย เรื่องราวก็ดีมากครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2011, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
๑.) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
๒.) คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
๓.) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
๔.) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
๕.) คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส


เป็นข้อที่ควรจดจำ..และปฏิบัติให้ได้มากหรือใกล้เคียงที่สุด
ในยุคปัจจุบันนี้...ง่ายๆ...แต่ปฏิบัติไม่ค่อยได้...
เพราะความถือดีมักทำให้ใจลำเอียง :b20:

อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:


อ้างคำพูด:
๑. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
๒. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
๓. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
๔. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
๕. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น


สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2011, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


พ่อแม่มีมหากรุณาธิคุณทางโลก

พระพุทธเจ้ามีมหากรุณาธิคุณทางธรรม เราทุกคนนอบน้อมแทบฝ่าบาท ขอยึดหลักคำสอนของท่าน
นำมาปฎิบัติ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ชาตินี้ตายไปหากมีบุญเกิดเป็นคนอีกครั้งขอเกิดใต้ร่มไทรพุทธศาสนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2011, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ชอบฟัง 45 พรรษาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ฟังแล้ว ซาบซึ้งใน "พระมหากรุณาธิคุณ"
ของพระองค์ท่าน อย่างมากมาย

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

:b41: :b41: :b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2011, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: กลวิธี และอุบายประกอบการสอน :b42:

๑. การยกอุทาหรณ์ และการเล่านิทานประกอบ

การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย และการเล่านิทานประกอบการสอน
ช่วยให้เข้าใจความได้ง่าย และชัดเจน
ช่วยให้จำแม่นยำ เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน
ทำให้การเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น...

๒. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา

คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก
ปรากฏความหมายเด่นชัดออกมา และเข้าใจง่ายขึ้น
โดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม
หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้า...

การใช้อุปมานี้ น่าจะเป็นกลวิธีประกอบการสอน
ที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด มากกว่ากลวิธีอื่นใด


๓. การใช้อุปกรณ์การสอน


ในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิดต่างๆ
ที่จัดทำขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะ เหมือนสมัยปัจจุบัน
เพราะยังไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมากอย่างกว้างขวาง

หากจะใช้อุปกรณ์บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ
หรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้คนใช้กันอยู่

๔. การทำเป็นตัวอย่าง

วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในทางจริยธรรม
คือการทำเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นทำนองการสาธิตให้ดู

แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำนั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นำที่ดี
การสอนโดยทำเป็นตัวอย่าง ก็คือ พระจริยวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกตินั้นเอง
แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราวเฉพาะก็มี...

๕. การเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่

การเล่นภาษาและการเล่นคำ
เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ
ข้อนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุก ด้าน...

แม้ในการสอนหลักธรรมทั่วไป
พระองค์ก็ทรงรับเอาคำศัพท์ที่มีอยู่แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้
แต่ทรงกำหนดความหมายใหม่
ซึงเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ฟังผู้เรียนหันมาสนใจ
และกำหนดคำสอนได้ง่าย
เพียงแต่มาทำความเข้าใจเสียใหม่เท่านั้น

และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่า
อย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร

จึงเห็นได้ว่า

คำว่า พรหม พราหมณ์ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ
ซึ่งคำในลัทธิศาสนาเดิม ก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น
แต่มีความหมายต่างออกไปเป็นอย่างใหม่

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล

การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา
ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า

เริ่มแต่ระยะแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนา
จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธ กิจด้วยพระพุทโธบายอย่างทีเรียกว่า
การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง
ทรงพิจารณาว่าเมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนา
ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใคร ก่อน

๗. การรู้จักจังหวะ และโอกาส

ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะ และโอกาสให้เป็นประโยชน์

๘. ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ

ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัดตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด
ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ
สุดแต่จะใช้กลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีที่สุด ก็จะทำในทางนั้น
ไม่กลัวว่าจะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้

๙. การลงโทษ และให้รางวัล การใช้อำนาจลงโทษ

ไม่ใช้การฝึกคนของพระพุทธเจ้า
แม้ในการแสดงธรรมตามปกติพระองค์
ก็แสดงไปตามเนื้อหาธรรมไม่กระทบกระทั้งใคร...

การสอนไม่ต้องลงโทษ เป็นการแสดงความสามารถของผู้สอนด้วย

ในระดับสามัญ สำหรับผู้สอนทั่วไป
อาจต้องคิดคำนึงว่าการลงโทษ ควรมีหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร

แต่ผู้ที่สอนคนได้สำเร็จผลโดยไม่ต้องใช้อาญาโทษเลย
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถในการสอนมากที่สุด


๑๐. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้ง ต่างคราว
ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ
คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธีต่างๆ
มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฏก หมวดพุทธศาสตร์
ผู้แต่ง พระธรรมปิฏก
, สำนักพิมพ์ธรรมสภา พ.ศ. ๒๕๔๒)

หมายเหตุ : พระธรรมปิฏก ปัจจุบันคือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


:b44: พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31725

:b44: รวมคำสอน “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48552


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2015, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบสาธุๆๆ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: พระพุทธเจ้าทรงเป็นทั้งมรรควิถี สัจธรรมความจริง และชีวิต :b42:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2017, 13:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร