วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 10:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=25



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 09:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




pic2.jpg
pic2.jpg [ 43.38 KiB | เปิดดู 2008 ครั้ง ]
พระราชนิพนธ์
ว่าด้วยลักษณะการเคารพพระรัตนไตรย
พุทฺธํ ธมฺมญฺจ สฆญฺจ อจฺ เจตํ
รตนตฺตยํ
...........................
ปุญญญฺ จ อภิวฑฺเฒยฺย ทิฏฐ ธมฺ เม จ
มงฺคลํ ฯ
ข้าพระพุทธเจ้าสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ
พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม
เปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ที่สี่ในพระราชวงศ์
ซึ่งตั้งกรุงเทพ ฯ
ขอถวายอภิวันท์นอบน้อมนมัสการ
ด้วยไตรทวาร นบนอบเคารพ
แด่พระรัตนไตรยประชุมสิ่งประเสริฐสามประการนี้
คือพระพุทธผู้ตรัสรู้ หนึ่ง พระธรรม หนึ่ง
พระสงฆ์หมู่เนื่องกัน หนึ่ง พระรัตนไตรย
ทั้งสามนี้แม้นต่าง ๆ
โดยวัตถุก็ย่อมเปนอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเนื้อ
ความ..... จึงจะขอกล่าววิธีต่าง ๆ โดยสมควร
ในกิจการนมัสการ แด่พระ
ผู้มีพระภาคย์พุทธเจ้านั้น ในที่ระฦก
ถึงพระองค์นั้น มีพระเจดีย์เปนต้น ด้วย
ภาสาสยามพากยภาสา เปนแต่ว่า
จะแสดงวิธีในคำสำหรับเปนที่ตั้งความทำ
ในใจระฦก แลสวด สาธยาย
แลประกาศอุทิศส่วนกุศลแก่เทวดาเปนต้น
ด้วยมาคธิตาภาสาที่เรียกกันโดยมากว่า
ภาสาบาฬี เพราะว่าภาสา
นั้นเปนประมาณ คือ ภาสากลาง
ในพระพุทธศาสนธรรม เพื่อจะ
ให้เปนแบบแผนตำราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินฤา
ผู้รับสั่งพระเจ้าแผ่นดิน.....
ในภาคย์เบื้องต้นนี้
จะขอกล่าวลักษณะเคารพ นมัสการ
กราบไห้ว คำนับน้อม
แลลักษณะทำสักการะบูชา นับถือ
ในพระรัตนไตรยนั้น ให้เข้าใจถนัดก่อน
อันการอ่อนน้อมคำนับในโลกย์นี้
มีกิริยาทำต่าง ๆ กัน ในประเทศต่าง ๆ
อย่างนั้น ๆ ไม่ต้องกัน ไม่เหมือนกัน จน
ถึงขัดขวางกัน ดังหนึ่งข้างจีน ถือว่า เมื่อ
จะคำนับไห้วพระไห้วเจ้า แลจะ
เข้าไปหานายต้องสอดสวมเครื่องแต่งตัว
หมวก เสื้อ รองเท้า เข้าให้ครบ จึง
จะไห้วเจ้าไห้วนายได้ ถ้า
ไม่มีเครื่องแต่งตัวเต็ม
ไม่สวมหมวกสอดรองเท้าแล้วก็ว่าไม่เคารพ
ฝ่ายข้างชาวยุโรป แลอเมริกา ถือว่า
ถ้าสวมหมวกอยู่ เป็นไม่คำนับ
ต้องถอดออกถือออกโบก
แต่งเครื่องแต่งตัวคือเสื้อชั้นนอก ที่ไม่ได้สวมอยู่
โดยปรกติ แลรองเท้าแลเครื่องอื่น ๆ ตามยศ
จนถึงกระบี่ซึ่งเปนเครื่องติดอยู่
กับเครื่องคาดเอว ต้องแต่งเข้าพร้อม
จึงเปนอันเคารพ ฯ ฝ่ายลัทธิ
ในการเคารพของพวกชาวบ้านเมืองถือพระพุทธสาสนา
แลถือข้างพราหมณ์ มักถือว่าไม่สวมหมวก
ไม่โพกผ้าเปนเคารพ
รองเท้าแลอาวุธห้ามเปนอันขาด ไม่
ให้สอดสวม ไม่ให้คาดแต่ไกลที่เดียว
จึงเปนเคารพ ฝ่ายผ้าห่มนั้นต้องให้มี
จึงเปนเคารพ ถึงกระนั้นในที่เคารพ ก็บังคับ
ให้ลดเปิดบ่าข้างขวาออก แลใน ชาวสยาม
ผู้ชายเมื่อเคารพผู้มีบันดาศักดิ์
ต้องเอาผ้าห่มลงเกี้ยวพุงไว้ การเปนต่าง ๆ
ขัดกันไม่ต้องกันดังนี้แล อนึ่ง
ในกิริยาอิริยาบท ก็ถือไม่ต้องกัน ในเมืองอื่น
ๆ ถือว่าผู้ซึ่งยืนเปนอันคำนับผู้ซึ่งนั่ง ถ้า
ผู้มีบันดาศักดิ์นั่งอยู่ ผู้มีบันดาศักดิ์น้อย
ต้องยืนอยู่ ต่อผู้มีบันดาศักดิ์ใหญ่ บังคับยอม
ให้นั่ง จึงนั่งลงได้ ถ้าผู้มีบันดาศักดิ์ยืนขึ้น
แล้ว ผู้มีบันดาศักดิ์น้อยนั่งอยู่ไม่ได้เลย
ต้องยืนขึ้นไม่ต้องบังคับว่าให้ยืนเลย
ถึงในพระวินัยบัญญัติในพระพุทธศาสนา
ก็มีบังคับว่า เมื่อผู้จะสำแดงธรรม
จะยืนสำแดงธรรมให้คนที่นั่งอยู่มิได้ป่วยไข้ไม่
ได้ ต้องให้คนฟังยืนขึ้นฟังธรรม แต่ ในเมืองไทย
เมืองเขมร เมืองลาว เหล่านี้
ถือกิริยาต่ำแก่ผู้มีบันดาศักดิ์สูง
คนต่ำบันดาศักดิ์ต้องไว้กิริยาต่ำแก่
ผู้มีบันดาศักดิ์สูง ถ้าผู้บันดาศักดิ์ยืนก็ต้องนั่ง
ถ้านั่งก็ต้องหมอบคลาน การอย่างนี้
ได้ยินว่าในลังกาเก่า แลเมืองทมิลก็ถือ
เมื่อเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปที่ใด ๆ
นอกเมืองนอกวัง ราษฎรที่พบเสด็จ
ต้องพังพาบก้มศีศะราบกับแผ่นดิน
เงยหน้าขึ้นไม่ได้ เปนแต่พนมมือยกขึ้น
ไว้บนศีศะ กว่าเจ้าแผ่นดินจะเสด็จล่วงไป
ถ้าจะว่าถึงกิริยาต่าง ๆ
ในการคำนับที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ คือ
กราบพั้งพาบทั้งตัวดังว่านั้นเรียกว่า
กราบสุงสุมารนิบาต แปลว่าล้มลงเปนจรเข้
แล เบญจางคประดิษฐ์
กราบวางองค์ห้าลงดินทั้งมือสอง เท้าสอง
ศีศะหนึ่ง แลกราบสามลา
แลกุยอย่างญวนแลจีนคุกเข่าคำนับอย่างชาวยุโรป
แลอื่น ๆ แล้ว ก็มากมายหลายอย่าง
ที่นี้จะว่าการตามที่ว่าไว้
ในหนังสือที่มีในพระพุทธศาสนา ในพระบาฬี
มีอยู่สี่อย่างตามชื่อ คือ อภิวาท ๑
วันทนาการ ๑ นิปัจจนาการ ๑
อัญชลีกรรม ๑
เปนสำแดงกิริยาคำนับต่อหน้า
ผู้มีตัวประจักษ์เฉพาะ ยังอิกสองอย่างคือ
นมการ ๑ นมัศการ ๑ สองอย่างนี้ว่า
ด้วยการนับถือเปนพระที่ยิ่ง แลแสดง
ความน้อมไปแด่พระนั้นด้วยไตรยทวาร คือ
กาย วาจาจิตร
จะหาที่ชี้อุทาหรณ์เยี่ยงอย่างของคำที่สำแดงชื่อ
๖ อย่าง คือ อภิวาท วันทนาการ
นิปัจจนาการ อัญชลีกรรม แลนมการ
นมัศการนั้นก็ได้เห็นอยู่ชุกชุม คือ "ภควนฺ ตํ
อภิวาทเทตนา" ในที่นั้น ๆ แล "
อภิวาททนสีลิสฺส" ที่เปนคาถาแลอื่น ๆ
เปนอุทาหรณ์ของอภิวาท "ภควุโต ปาเท
สิรสา วนฺทหิ" ฤา "วนฺทติ"
ในพระวินัยเรียกชื่อ "อวนฺทิโย ปุคฺคโล วนฺทิโย
ปุคฺคโล" แลอื่น ๆ
เปนอุทาหรณ์ของวันทนาการ
ในพระบาฬีว่า "ภควโต ปาเทสุ สิรสา
นิปติตฺวา" แล "นิปฺปการํ กโรมิ"
เปนอุทาหรณ์ของนิปัจจนาการ "เยน
ภควา เตนญฺ ชลิมฺปณา เมตฺวา" ฤา "
อญฺชลิปคยฺห" ฤา อญฺชลิโก "อฏาฐาสิ"
แลในบทสวดมนต์ว่า "อญฺชลี กรณีโย"
เหล่านี้เปน อุทาหรณ์ของอัญชลีกรรม "นโม
ตสฺส ภควโต นมตฺถุ นโม เต ปุริสาชญฺญ"
แลอื่น ๆ เปนอุทาหรณ์ของนมการ "นมสฺสนฺติ
โคตมํ นมสฺสมาโน สมฺ พุทธํ แลอื่น ๆ
เปนอุทาหรณ์ของนมัศการ ก็ในชื่ออาการ
๖ อย่างที่มาในบาฬีนี้ คนทำอย่างไร
จะเรียกว่าชื่อไรก็ไม่ได้ความชัด อภิวาท
นั้นเห็นที่มาเปนกิริยาที่เขาใช้ต่อหน้า
แลทำกับผู้สูงศักดิ์
คือพระพุทธเจ้าแลพระสาวกผู้ใหญ่
แลพระเจ้าแผ่นดิน แลมหาพราหมณ์
มีคำอรรถกถาบางอันแก้ว่า "อภิวาเทตวา
สุขี โหถีติ วทาเปตฺวา" ก็มีบ้าง
แต่ที่แก้ว่า อภิวาทนั้นก็คือ วันทนกิริยา
นั้นเองโดยมาก ถึงกระนั้น เห็นที่มา
ในบาฬีอภิวาทดูดี
เปนการอย่างสูงแลการต่อหน้า
วันนาการเปนการต่ำลงมา แลมักมี
ในคำสั่งฝากไว้คำนับไปอภิวาท
แลสงฆ์แลคณะก็ไม่ไคร่จะมี มีแต่วันทนาการ
แลอัญชลีกรรม จะชักอุทาหรณ์มาว่าให้เห็น
ได้ แต่จะเพ้อมากนักไป ฯ อัญชลีนั้น
อรรถกถาแก้ว่า "ทสนขสโมธานํ" ฯ
หมดฉบับเพียงเท่านี้
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร