วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 17:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=25



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2013, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์

เครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
คือ เครื่องทรงของพระมหากษัตริย์สยาม ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี
หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์


ไทยรับประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์มาจากขอม
ซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์
ที่มีพราหมณ์ (พระมหาราชครู) เป็นผู้กล่าวคำถวาย
ตามคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ
เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพทั้งสิ้น

ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย
มีปรากฏมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย และในสมัยอยุธยาก็ยึดถือพระราชประเพณีนี้
สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอุดลยเดชฯ ทรงเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์

กกุธภัณฑ์ หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ (อังกฤษ : Crown jewels)


ตามรูปศัพท์ แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์
กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา
+ ภณฺฑ แปลว่า ของใช้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงหมายถึง อุปกรณ์, เครื่องทรง
และ/หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่างๆ
ที่มอบให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อไป
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมอบสิทธิในการครองราชบัลลังก์


เครื่องราชกกุธภัณฑ์อาจจะประกอบด้วย มงกุฎคทา,
ลูกโลกประดับกางเขน, ดาบ, แหวน และสิ่งอื่นๆ ที่ถือว่า
เป็นสิ่งประกอบเกียรติยศของประมุขของประเทศ

กกุธภัณฑ์ ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า
พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร

กกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี
จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย

พระมหาเศวตฉัตร หรือพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระมหาพิชัยมงกุฎ
พระแสงขรรค์ชัยศรี
ธารพระกรชัยพฤกษ์
พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี
ฉลองพระบาทเชิงงอน


ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒
มีทั้งฉัตร ธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ
วาลวิชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2013, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์นี้ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ
เก็บรักษาไว้ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
ในหมู่พระมหามนเทียร ภายในพระบรมมหาราชวัง

เดิมเจ้าพนักงานที่รักษาเครื่องราชูปโภค
ได้จัดพิธีสมโภชเครื่องราชูปโภคและเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นประจำทุกปี
โดยเลือกทำในเดือน ๖ เพราะมีพระราชพิธีน้อย

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำริว่าวันพระบรมราชาภิเษก เป็นวันมงคล
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศล
สมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ พระราชทานชื่อว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศล
ถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เปลี่ยนเรียกชื่อพระราชพิธีว่า
พระราชกุศลทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล สืบมาจนปัจจุบันนี้


:b50: :b50:

รูปภาพ

พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร

นพ=เก้า, ปฎล=ชั้น, เศวต=สีขาว

เป็นฉัตร ๙ ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์
ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้ว
ฉัตรแบบนี้เรียกโดยย่อว่า "พระมหาเศวตฉัตร"

"พระมหาเศวตฉัตร" เป็นฉัตรผ้าขาว ๙ ชั้น
มีระบาย ๓ ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด
และมียอดเป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์

ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์
กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทมปักพระยานมาศ
และแขวนกางกั้น พระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น


:b44: :b44:

รูปภาพ

พระมหาพิชัยมงกุฎ

เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องประดับพระเศียรองค์แรก
สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕

ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชรเฉพาะองค์พระมหามงกุฎ
ไม่รวมพระกรรเจียกจอน

สูง ๕๑ เซนติเมตร ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง ๖๖ เซนติเมตร
มีน้ำหนัก ๗.๓ กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่
ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้หามาจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ
พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"


:b44: :b44:

รูปภาพ

พระแสงขรรค์ชัยศรี

เป็นพระแสงศาสตราวุธประจำองค์พระมหากษัตริย์
และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์

พระขรรค์ หมายถึง พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง

พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ เดิมตกจมอยู่ในทะเลสาบเขมร
(Tonle sap) ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ประเทศกัมพูชา
วันหนึ่งในปีพุทธศักราช ๒๓๒๗ ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นพระขรรค์องค์นี้
ชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวาย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เจ้าเมืองเสียมราฐ
และเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึงกรุงเทพมหานคร
ได้เกิดฟ้าผ่าในพระนครถึง ๗ แห่ง
เช่นที่ประตูวิเศษไชยศรีในพระราชฐานชั้นนอก
ประตูพิมานไชยศรี ในพระราชฐานชั้นกลาง
ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญ พระแสงองค์นี้ผ่านไปเพื่อเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง

พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุด
ในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ทั้งด้ามและฝักมีความยาว ๑๑๕ เซนติเมตร ฝักกว้าง ๕.๕ เซนติเมตร
ใบพระขรรค์ ทำด้วยเหล็กมีคมทั้งสองด้าน
ส่วนด้ามทำด้วยแก้วผลึกรูป ๘ เหลี่ยม มีทองคาดตามแนว
ปลายด้ามทำเป็นหัวเม็ดรูป ๖ เหลี่ยมประดับพลอย
ตัวฝักทำด้วยทองคำประดับด้วยลายรักร้อย
ขอบฝักทำเป็นลายกระหนก ประดับอัญมณีสีต่างๆ


:b44: :b44:

รูปภาพ

ธารพระกร

อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
หรือเป็นไม้เท้าของพระมหากษัตริย์นั้น
เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์
เนื่องจากทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทอง
หัวและส้นเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ใช้ในพระราชพิธีฉัตรมงคล


:b44: :b44:

รูปภาพ

พัดวาลวิชนี และพระแส้หางจามรี

เป็นเครื่องใช้ประจำองค์พระมหากษัตริย์
และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์

พระแส้หางจามรี มีที่มาจากคำว่า "จามรี"
ซึ่งเป็นแส้ ทำด้วยขนหางจามรี

ส่วน วาลวิชนี เดิมนั้นคือ พัดใบตาล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า
ชื่อ วาลวิชนี นั้น คำว่า "วาล" เป็นขนโคชนิดหนึ่ง
ที่เรียกว่า "จามรี" จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น มีด้ามเป็นแก้ว
ต่อมา ได้เปลี่ยนขนจามรีเป็นขนหางช้างเผือกแทน
และใช้คู่กันกับพัดวาลวิชนี ซึ่งประดิษฐ์จากใบตาล
ด้ามและลวดลายประกอบทำด้วยทองลงยา


:b44: :b44:

รูปภาพ

ฉลองพระบาทเชิงงอน

เป็นสิ่งประจำองค์พระมหากษัตริย์
และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์
หรือรองเท้าของพระมหากษัตริย์ที่ทำมาจากเกือกแก้ว
ซึ่งหมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับของเขาพระสุเมรุ
และเป็นที่อยู่อาศัยของ อาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแว่นแคว้น

ฉลองพระบาทเชิงงอนนี้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามแบบประเพณีอินเดียโบราณ


:b44: :b44:

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ
http://www2.crma.ac.th/arm/CrownJewels.asp
http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/cu ... gnien.html
http://library.stou.ac.th/ODI/Thai%20co ... lia-1.html

อ่านเพิ่มเติมจากกระทู้ข้างล่างนี้

การเสด็จออกมหาสมาคมต่างจังหวัดครั้งแรก
และพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46911

พระราชดำรัสของในหลวง ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46910

ทำไมประธานศาลฎีกา ไม่ได้ถวายพระพรชัยมงคลฯ
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46914

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร