วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=25



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2013, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

มีผู้ถามมามากรายว่า ทำไมประธานศาลฎีกา นายดิเรก อังคนินันท์ จึงไม่ได้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในนามข้าราชการตุลาการ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นี้ ?? แล้วมีการร่ำลือกันไปต่างๆ นานา

เรื่องนี้มีผู้สอบถามไปยัง ดร.ชัชพล ไชยพร รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้าราชบริพารในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ แล้ว ดร.ชัชพล ให้คำตอบว่า ตามโบราณราชประเพณี หากเป็นการเสด็จออกมหาสมาคมในพระที่นั่ง ท้องพระโรง ผู้ถวายพระพรชัยมงคลจะเป็น ผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์, นายกรัฐมนตรี (ในนามข้าราชการและประชาชน) และประธานรัฐสภา (ในนามสมาชิกรัฐสภา) เท่านั้น แต่ถ้าการเป็นการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกลางท้องสนามหลวงหรือสีหบัญชรซึ่งเป็นธรรมเนียมใหม่ จึงมีฝ่ายตุลาการกราบบังคมทูลฯ ด้วย

สำหรับคำชี้แจงของ ดร.ชัชพล มีรายละเอียดดังนี้

“การเสด็จออกมหาสมาคมในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นไปตามโบราณราชประเพณี หมายกำหนดการระบุผู้กราบบังคมทูลเพียงผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี (ในนามข้าราชการและประชาชน) ประธานรัฐสภา (ในนามสมาชิกรัฐสภา) มาแต่ไหนแต่ไร

จะมี ประธานศาลฎีกา (ในนามข้าราชการตุลาการ) เฉพาะการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกลางท้องสนามหลวงหรือสีหบัญชรเท่านั้น ซึ่งเป็นธรรมเนียมใหม่ หากจัดในท้องพระโรงจะยังคงราชประเพณีเดิม เนื่องจากข้าราชการตุลาการในอดีตยังอยู่ในกระทรวงยุติธรรม เป็นส่วนหนึ่งในบังคับบัญชาฝ่ายบริหาร

ถามว่าแล้วก่อนหน้าปฏิรูประบบราชการล่ะ ก็ต้องตอบว่าตระลาการ (ตุลาการ) ทั้งปวงสังกัดกรมต่างๆ เป็นศาลแยกกรม เช่น ศาลกรมวัง ศาลกรมนา ศาลกรมท่า ฯลฯ ตระลาการ (ตุลาการ) จึงอยู่ใต้เสนาบดีหรือเจ้ากรมนั้นๆ เมื่อเฝ้าฯ ในการออกขุนนาง ราชการตุลาการจึงไม่มีออกหน้า เพราะเสนาบดี ปลัดกรมต่างๆ รับผิดชอบ นำมาปรับใหม่ให้มีผู้พิพากษาตุลาการกราบบังคมทูลฯ ในการเฝ้าฯ ในมหาสมาคมเมื่อชั้นหลัง และเฉพาะการมหาสมาคมนอกท้องพระโรงเท่านั้น ฉะนั้น อย่าร่ำลืออะไรผิดๆ เป็นเรื่องหมางหมองในวันมงคลโดยปราศจากความเข้าใจเลย หมายกำหนดการทั้งหมดเป็นไปตาม ‘โบราณราชประเพณี’ ภายใต้การปฏิบัติของ ‘สำนักพระราชวัง’ ที่รับ ‘พระบรมราชโองการ’ เหนือเกล้าฯ ครับ”


:b8: ขอขอบคุณที่มา : http://bit.ly/1hzAoUU

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2013, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วันนี้ (๕ ธันวาคม ๒๕๕๖) เว็บไซต์ของสำนักประธานศาลฎีกา ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ชี้แจงเรื่อง การจัดลำดับตำแหน่งเฝ้าฯ และการกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ความว่า ด้วยสำนักประธานศาลฎีกาเห็นสมควรแจ้งทำความเข้าใจในการจัดลำดับตำแหน่งเฝ้าฯ ของผู้นำฝ่ายต่างๆ ในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และงานสำคัญ และการกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ (จาก http://www.opsc.coj.go.th/news_view.php?id_news=356)

๑. การจัดลำดับตำแหน่งเฝ้าฯ เป็นไปตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๗/ว ๑๙ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ได้จัดเรียงตามลำดับกลุ่มผู้นำฝ่ายต่างๆ ดังนี้

๑.๑ นายกรัฐมนตรี
๑.๒ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
๑.๓ ประธานวุฒิสภา
๑.๔ ประธานศาลฎีกา
๑.๕ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
๑.๖ ประธานศาลปกครองสูงสุด

๒. การกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธีศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประจำปี เป็นไปตามหนังสือ “ข้อพึงปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท” ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี และประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในนามพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ตามลำดับ เว้นแต่ในพระราชพิธีในโอกาสพิเศษ เช่น พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จออก ณ สีหบัญชร จึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานศาลฎีกากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในนามของข้าราชการฝ่ายตุลาการเป็นกรณีพิเศษอีกตำแหน่งหนึ่ง

ส่วนกรณีที่ประธานศาลฎีกาไม่ได้ร่วมถวายพระพรในวันนี้ รายงานข่าวจากศาลฎีกาขอยืนยันว่า ท่านประธานศาลฎีกาได้ไปร่วมงานพระราชพิธีในครั้งนี้ด้วย โดยยืนเดี่ยวๆ ด้านหน้า แต่โทรทัศน์ไม่ได้จับภาพเอง

ทั้งนี้ ได้มีการสอบถามจากสำนักพระราชวังแล้วได้คำตอบว่า ตามโบราณราชประเพณี หากมิใช่โอกาสพิเศษ เช่น ครองราชย์ครบ ๒๕ ปี (รัชดาภิเษก), ๕๐ ปี (กาญจนาภิเษก), ๖๐ ปี (พัชราภิเษก) ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ที่ไม่เกี่ยวกับพระชนมพรรษา ดังนั้น ในโอกาสปกติจะสังเกตได้ว่า ใช้คำว่า เนื่องในโอกาส...ผู้ที่กล่าวถวายพระพร จึงประกอบไปด้วย (๑) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร แทนพระบรมวงศานุวงศ์ (๒) นายกรัฐมนตรี แทนพสกนิกรทุกหมู่เหล่า (๓) ประธานรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร แทนคณะรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. ที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา (๔) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แทนข้าราชการทุกหมู่เหล่า


:b8: ขอขอบคุณที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์

อ่านเพิ่มเติมจากกระทู้ข้างล่างนี้

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46910

การเสด็จออกมหาสมาคมต่างจังหวัดครั้งแรก
และพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46911

เครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=46912

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร