วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=25



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2008, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 244


“คำพ่อสอน” ในดวงใจ

พอเพียงและเรียบง่าย


“การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน
แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
พระราชดำรัสฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา 4 ธันวาคม 2540


รองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์ ภัทราวาท
ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น้อมนำพระราชดำรัสนี้ไปใช้ในงานวิจัยด้านสหกรณ์
จนเกิดประโยชน์ต่อชาวนาในวงกว้าง

“ถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จะทาบสนิทพอดีกับเรื่องสหกรณ์
เมื่อสถาบันวิจัยด้านสหกรณ์ได้รับการสนับสนุน
จากสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เราจึงวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบสหกรณ์ที่มีคุณค่า”
ซึ่งเป็นการวิจัยอย่างต่อเนื่องจนมีชุดความรู้หนึ่ง
ที่เรียกว่า การเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่า

“โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 3 ระดับ
ระดับแรกเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร หรือผู้ใช้แรงงาน
ใช้หลักการพึ่งพาตัวเอง รู้จักคิด รู้เท่าทัน และตัดสินใจอย่างสมเหตุ”

“ระดับที่สองเป็นการแนะนำให้รวมกลุ่ม
เป็นสหกรณ์เพื่อพัฒนาอาชีพร่วมกัน
เช่น ระดมทุน ต่อรองราคา ซื้อปุ๋ย
ซึ่งเราตีโจทย์สหกรณ์ว่าไม่จำเพาะแค่กลุ่ม
ที่จดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์
เพราะมีสหกรณ์แท้อีกเป็นแสนกลุ่มที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับรัฐ
และเราคิดว่านี่คือสหกรณ์แท้ที่เรียกว่า สหกรณ์ของภาคประชาชน”

“ระดับที่สามคือรวมตัวกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา
หรือเอกชน สร้างเป็นเครือข่ายที่จะหยิบยื่นผลิตผลทางเกษตร
สินค้าชุมชน ส่งออกไปยังตลาดอีกระดับหนึ่ง
ที่สหกรณ์ไม่สามารถแสดงพลังได้ตามลำพัง”

นอกจากนี้คุณศุลีพร บุญบงการ
รองผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
ยังนำหลักการเรื่องความเรียบง่าย
ที่เกิดจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้
จนสามารถเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินชีวิตและการงานให้มีความสุขยิ่ง

“เมื่อก่อนไม่เคยเข้าใจเรื่องนี้ เพราะชีวิตค่อนข้างสบาย
เรามีหน้าที่แค่เป็นนักเรียนที่ดีและเป็นลูกที่ดีของคุณพ่อคุณแม่
วันๆก็ไม่ต้องทำอะไร พอเข้ามาทำงานที่มูลนิธิชัยพัฒนา
มีการปรับตัวอย่างมาก ครั้งแรกรับเงินเดือนแค่ 7,000 กว่าบาท
ค่อนข้างหนักใจว่าเราจะอยู่ได้อย่างไรด้วยเงินเดือนเท่านี้
แต่เมื่อมองไปรอบตัวเพื่อนร่วมงานบางคนได้เงินเดือนน้อยกว่าเรา
บางคนไม่มีครอบครัวช่วยเหลือเรื่องเงิน
ต้องเจียดเงินส่งให้ทางบ้าน และแบ่งเงินจ่ายค่าที่พัก
ทุกคนกลับมีความสุขบนความเรียบง่ายได้
เพราะทุกคนทำงานด้วยใจ
ไม่ได้ต้องการสิ่งตอบแทนมากมายในเรื่องเงิน
แต่สิ่งที่ได้รับจากการทำงานคือความสุขความอิ่มเอมใจ
และบนฐานความเรียบง่ายนี้
เราสามารถประสบความสำเร็จด้วยการทำงานเต็มศักยภาพ”

“แนวคิดนี้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้คนมีความสุข
รู้ความพอดี เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตบนพื้นฐานของธรรมชาติ
ไม่มากไปหรือน้อยไป เรียกว่า ความสุขบนความเรียบง่าย
ซึ่งหาได้จากรอบตัวเรา เพียงแต่เรามองและทำหรือเปล่า”

รู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง

‘คำนึงถึงการมีชีวิตอย่างกว้างขวางมากกว่าการมีชีวิตที่ยืนยาว’
‘จริงจังและเคี่ยวเข็ญต่อตัวเอง และผ่อนปรนต่อผู้อื่น’
‘ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยมาตรฐานของคนอื่น’
‘ใช้เวลาน้อยในการที่คิดว่าใครคือคนถูก
แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก’

พระราชดำรัสฯจากริชแบนด์ที่ออกจำหน่ายในปี 2549


ข้อความดังกล่าวคือ
หนึ่งในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่นายแพทย์สุธี สุดดี แพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี 2551
นำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนตัวเอง
จากที่เคยมีความคิดว่าแพทย์เป็นศูนย์กลางในการรักษา
จึงเปลี่ยนเป็นการรักษาตามปริบทของคนไข้
ทำให้การทำงานในฐานะแพทย์ชนบทสัมฤทธิ์ผลและมีความสุข

“ต้องยอมรับว่าเราอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ
แต่ถ้าค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
มีชีวิตอยู่อย่างลงตัว สนุก ไม่รู้สึกอึดอัด และไม่ทะเลาะกับใคร
ที่สำคัญบุคลิกเราจะเปลี่ยนไป รู้จักการทำงานเป็นทีม
พระราชดำรัสของในหลวงจึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้เลยทันที”



พัฒนายั่งยืนในงานศิลป์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง
ศิลปิน และอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย
คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้นำพระราชดำรัสเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
มาใช้ในการพัฒนางานศิลปะไทยจนมีคุณค่าในระดับสากล

“พระองค์ตรัสถามว่า
“การพัฒนาที่ยั่งยืนมีความหมายอย่างไรและประกอบด้วยอะไรบ้าง”
และพระราชทานพระราชดำรัสเป็นแนวทางว่า
“การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอเพียง
แล้วจึงจะทำให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืน
การนำศิลปะหรือการดำเนินชีวิต หรือทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานตรงนี้”


“สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมคือตาสว่างเห็นประจักษ์ตรงนั้น จึงเกิดความมั่นใจ
เพราะโดยส่วนตัวที่ผมทำงานก็ค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีแสงเงา
เอาเรื่องศิลปวัฒนธรรมไทยมาสร้างเป็นศิลปะสมัยใหม่อยู่แล้ว
แต่ยังขาดความมั่นใจในตัวเอง
เมื่อได้เข้าถวายงาน จึงเกิดความมั่นใจมากขึ้น
ในการพัฒนางานอนุรักษ์สืบสานงานศิลปะไทยให้เดินไป
สู่ศิลปะสมัยใหม่โดยมีฐานรากความเป็นชาติ
จึงเป็นการพัฒนางานศิลปะสมัยใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน”


เปิดกว้างทางดนตรี

“ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า
จะเป็นแจ๊สหรือไม่ใช่แจ๊สก็ตาม
ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุกคน เป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา
สำหรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม
และทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท
เพราะดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสม
ตามแต่โอกาสและอารมณ์ที่ต่างๆ กันไป”

บันทึกการพระราชทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนอเมริกัน
ในรายการวิทยุ “เสียงอเมริกา”
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พุทธศักราช 2503


อาจารย์ทัศนา นาควัชระ
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
น้อมนำพระราชดำรัสนี้มาใช้การสอนดนตรี
“ในฐานะที่ผมเป็นครูสอนดนตรี
ก็จะพยายามสอนให้นักศึกษาเปิดกว้างในเรื่องของรสนิยมเรื่องดนตรี
แม้ว่าจะเรียนดนตรีคลาสสิก
เราก็ไม่ได้ปิดกั้นว่าจะไม่ให้ฟังป๊อบ เพลงแจ๊ส หรือเพลงพื้นบ้าน
เพราะการศึกษาดนตรีที่ดีต้องใจกว้าง
เหมือนอย่างที่พระองค์มีพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรเป็นร้อยเป็นพัน
แต่ยังปลีกเวลาทรงดนตรีแต่งเพลงให้พวกเราได้ฟัง
และเพลงพระราชนิพนธ์ทุกเพลงทุกคนยังติดหูร้องได้ทุกกลุ่มชน
ต่อให้ไม่เคยเข้าเฝ้าพระองค์สักครั้งเดียว
ก็ยังสัมผัสน้ำพระราชหฤทัยผ่านดนตรีได้”

ออกกำลังกายแต่พอดี

“การออกกำลังกายนั้น ถ้าทำน้อยไป ร่างกายและจิตใจก็จะเฉา
ถ้าทำมากไปร่างกายและจิตใจก็จะช้ำ”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร
หลังการออกกำลังพระวรกายประจำวัน
เพื่อฟื้นฟูพระวรกายจากพระประชวร เมื่อปี 2525


อาจารย์ศักดรินทร์ ธรรมวงศ์
สถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
นำพระราชดำรัสนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันคือออกกำลังกายอย่างพอดี
และสม่ำเสมอจนทำให้ร่างกายแข็งแรง
“พระราชดำรัสนี้คือหัวใจของวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยแท้
ผมยึดถือปฏิบัติมานานหลายปี แม้ว่าจะเป็นครูสอนพละศึกษา
เราก็ไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพ
กลับยิ่งต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
ทุกวันนี้ผมจึงออกกำลังกายเป็นประจำ
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเทนนิส แบทมินตัน หรือ จ็อกกิ้ง
และทำแต่พอดี ไม่มากไปไม่น้อยไปตามพระราชดำรัสของพระองค์
แล้วยังเผยแพร่ถึงคนใกล้ชิดด้วย”


รู้รักชาติ รักษ์โบราณสถาน

“การสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็น เกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว
แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ
อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้
ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย”

พระราชดำรัสฯในหนังสือที่ระลึกพระราชวังสนามจันทร์
ในการเปิดเรือนทับเจริญ ปี 2533


รองศาสตราจารย์กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
น้อมนำพระราชดำรัสนี้มาใช้ในการดูแลพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
กระทั่งปัจจุบันมีอายุมากกว่า 100 ปี ยังคงงดงาม
และทรงคุณค่าไม่เปลี่ยนแปลง

“พระราชดำรัสนี้ก็จึงเป็นเครื่องเตือนใจเป็นกำลังใจ
ให้เราสามารถพูดปรามไม่ให้ทำการอันไม่สมควร
แม้ว่าปัจจุบันเราอาจไม่ได้นำใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันก็ตาม
แต่แท้จริงแล้วโบราณสถานก็มีความหมายทางใจ
และมีความหมายที่รวมไปถึงความเป็นชาติบ้านเมืองด้วย
ปัจจุบันนี้ยังยึดถืออยู่เพราะเป็นคนที่รักของเก่าและโบราณสถาน
จึงรู้สึกซาบซึ้งในพระราชดำรัสที่มีความลึกซึ้งคมคาย
กระทัดรัดแต่กินความหมายกว้าง
คำว่า “โบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ”
หมายรวมถึง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของชาติ
ทำให้เราภูมิใจในความเป็นชาติที่เจริญ และมีอารยธรรมตกทอดมา
ฉะนั้นเมื่อเห็นโบราณสถานใด
ก็ไม่ควรกระทำการอันไม่สมควรไม่ว่าจะทางใดก็ตาม”


เป็นคนดี และส่งเสริมคนดี

“ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคน ไม่ดี
ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปกติ สุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากอยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนมี่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่ง ชาติ ครั้งที่ 6
ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2512


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิน สุขคง
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ได้นำพระบรมราโชวาทนี้มาใช้ในชีวิต
และการทำงานจนเกิดประโยชน์และความภาคภูมิใจ

“พระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านเกี่ยวข้องกับ
“ความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละเพื่อส่วนรวม”
คนดีก็คือ คนที่ซื่อสัตย์สุจริต
ในแง่การดำเนินชีวิตได้ยึดถือมาปฏิบัติ
โดยพยายามส่งเสริมเพื่อนร่วมงานในมหาวิทยาลัยที่เป็นคนดี
ให้ได้มีบทบาทในการพัฒนามหาวิทยาลัย
ส่วนในแง่การทำงานเป็นครู
จะประยุกต์ใช้โดยยกพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่าน
มาสอนลูกศิษย์ให้ตั้งมั่น อยู่ในความดี
ช่วยกันส่งเสริมคนดีให้มีบทบาทในสังคม
ทำงานในหน้าที่ด้วยความเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
โดยการสอดแทรกในบทเรียนในระหว่างสอนรายวิชาต่างๆ
และพยายามบอกลูกศิษย์ว่า
‘เป็นนักสังคมศาสตร์ต้องไม่สร้างปัญหาต่อสังคม’
ซึ่งลูกศิษย์มีอยู่จำนวนมากทั้งในจังหวัดเลย
หนองบัวลำภู และขอนแก่น ได้นำไปปฏิบัติ”


ร่วมใจสามัคคี

“สามัคคีก็คือ การเห็นแก่บ้านเมืองและช่วยกันทุกวิถีทาง
เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองอยู่ให้
เข้มแข็งด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
และทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ต้องส่งเสริมงานของกันและกัน
และไม่ทำลายงานของกันและกัน
มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน
อย่าเรื่องใครเรื่องมัน
และงานก็ทำงานอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม.........”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๙


ร้อยโทชายชาญ ช่างสุวรรณ
กองวิชาภาษาไทย ส่วนการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหาร
นำพระราชดำรัสเรื่องความสามัคคี
มาใช้ในชีวิตการเป็นทหารและการเป็นครูสอนทหารตำรวจ

“ผมสอนนักเรียนทั้งหมด 4 เหล่าคือ ทหารบก ทหารเรือ
ทหารอากาศ และตำรวจ
ความสามัคคีเป็นหัวใจที่คนรับใช้ชาติต้องเรียน
เวลาที่ออกไปทำงานจะได้ร่วมมือกันทั้ง 4 เหล่า”

“แม้ว่าเราจะเป็นครู แต่วันใดวันหนึ่งเราอาจกลายเป็นลูกน้อง
เราก็ต้องทำงานร่วมกับเขา ก็ต้องใช้หัวใจของความสามัคคี
คือต้องคิดว่า เราเป็นทหารทำงานร่วมกันเพื่อชาติ
จะมานึกว่าเป็นครูเป็นศิษย์กันก็จะไม่ได้
เหมือนอย่างสถานการณ์ตอนนี้
ถ้าทุกคนนึกถึงในหลวงและพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน
ก็จะลดทิฐิลงแล้วกลับมาสามัคคี”

“พระราชดำรัสกับพระบรมราโชวาทต่างๆ
ไม่ใช่แค่ที่สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้แล้วทำได้จริงเท่านั้น
สิ่งที่สำคัญคือทุกถ้อยคำที่ตรัสพระองค์ทำให้เราเห็นด้วย
และเราสามารถดึงมาใช้ได้
พระองค์จึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่เราควรรำลึกอยู่เหนือเกล้าเสมอ”

คัดลอกจาก...
http://www.cheewajit.com/articleView.as ... cleId=1656

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร