วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2013, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อโต
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดเสาธงทอง
พระอารามหลวง ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี


:b47: :b46: :b47:

วัดเสาธงทอง พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ติดถนนฝรั่งเศส (Rule de France) ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตรงข้ามตลาดสดเทศบาลเมืองลพบุรี ด้านหลังใกล้กับท่าขุนนางริมแม่น้ำลพบุรี ทิศเหนือใกล้กับบ้านหลวงรับราชทูต ทิศใต้ใกล้กับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ ส่วนวัดเสาธงทองมีวิหารสมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกันและให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งโบราณซึ่ง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระวิหารหลวงและพระประธานเป็นฝีมือช่างแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างน้อยคงสร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดเสาธงทองตั้งอยู่บนเนินดินที่สูงกว่าที่อื่นๆ และตั้งอยู่ใจกลางเมืองลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 1 งาน โดยรอบวัดมีถนนเข้าวัดทั้งสี่ด้าน

:b51: พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง วัดเสาธงทอง แต่เดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น เพราะจากแผนที่ของช่างชาวฝรั่งเศสทำไว้ ระบุว่า พื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักอาศัยของราชทูตชาวเปอร์เซีย และอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซียก็เป็นได้ พระวิหารหลวงหลังนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระวิหารที่มีขนาดใหญ่ศิลปะอยุธยา เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนต้น มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 วา สูง 4 วา 2 ศอก ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาช้านาน บริเวณผนังของพระวิหารหลวงเจาะเป็นช่องซุ้มโค้ง เพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธรูปลักษณะต่างๆ

:b51: พระเจดีย์

พระเจดีย์ ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับศาลาการเปรียญ มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เป็นพระเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐาน 8 เหลี่ยม กว้าง 9 วา สูง 17 วา ตรงกลางเหนือฐานขึ้นไปมีซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ซุ้มละองค์ รวมทั้งหมด 8 ซุ้ม เหนือขึ้นไปเป็นทรงลังกา

:b51: พระอุโบสถ

พระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น เป็นหินทรายสลักลวดลายแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2470 เพระถูกไฟไหม้ โดยได้เทคอนกรีตเสริมเหล็กบนทั้งหลัง พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทร เนื้อในองค์พระเป็นศิลาทราย มีรูปปั้นหุ้มไว้ เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา

:b51: หอระฆัง

หอระฆัง ก่ออิฐถือปูน มีฐานกว้าง 2 วา สูง 5 วา (แต่เดิมมี 3 หอลักษณะเหมือนกัน แต่ถูกรื้อไป 2 หอ คือ หอทิศเหนือพระวิหารหลวง และหอกลางวัด สำหรับระฆังได้นำไปแขวนที่หอระฆังใหม่ อยู่หน้าศาลาการเปรียญ 2 ใบ) ปัจจุบันคงเหลือหอระฆังอยู่เพียงหอเดียว เข้าใจว่าสร้างขึ้นรุ่นเดียวกันกับพระวิหารหลวง

:b51: ตึกปิจู และตึกโคโรซาน (ตึกคชสาร)

ตึกปิจู และตึกโคโรซาน (ตึกคชสาร) เป็นตึกเก่าแก่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักอาศัยของแขกเมืองและราชทูตต่างประเทศชาวเปอร์เซีย โดยชื่อ ตึกปิจู มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า เล็ก สันนิษฐานว่าอาจเป็นตึกที่พำนักอาศัยของชาวฝรั่งเศสที่มารับราชการ สำหรับชื่อ ตึกโคโรซาน (ตึกคชสาร) นั้น เป็นชื่อเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย สันนิษฐานว่าอาจเป็นตึกที่ใช้รับรองชาวเปอร์เซียที่มาพำนักอาศัย ปัจจุบัน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนตึกเก่าแก่ทั้งสองเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479

:b51: สิ่งของพระราชทาน

1. ตู้พระไตรปิฎก และพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทาน
2. ธรรมาสน์ชั้นตรี รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานในงานพิธีถวายพระเพลิงรัชกาลที่ 5
3. พระบรมรูปหล่อยืนในรัชกาลที่ 5 ทรงเครื่องจอมพลทหารบก

:b51: ลำดับเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสวัดเสาธงทองทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่มีหลักฐานปรากฏแต่อย่างใด สำหรับเจ้าอาวาสตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

1. ท่านเจ้าอยู่
2. พระครูสังฆภารวาหะ (ชื่น)
3. พระครูสังฆภารวาหะ (เล็ก)
4. พระสังฆภารวาหมุนี (เนียม ภุมมสโร) อดีตผู้กำกับการคณะสงฆ์จังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2457-2478)
5. พระธรรมารามมุนี (ขุน ขตฺตปญฺโญ) ป.ธ.6 อดีตเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2478-2506)
6. พระราชวรรณเวที (คล้อย สิริวฑฺโฒ) ป.ธ.6 อดีตเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2506-2513)
7. พระธรรมมหาวีรานุวัตร (สงวน โฆสโก) ป.ธ.7 อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2513-2554)
8. พระวิมลปัญญาภรณ์ (สมพร คนฺธาโร) ป.ธ.7 รองเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน)

รูปภาพ

รูปภาพ

“หลวงพ่อโต” พระประธานในพระวิหารหลวง

รูปภาพ

พระวิหารหลวง วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

พระอุโบสถ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

พระประธานในพระอุโบสถ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศาลาการเปรียญ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

รูปภาพ

ศาลาลาย วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

หอสมุดพิพิธภัณฑ์ราชวรรณเวที วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

ศาลาพ่อพิน วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

ตึกปิจู วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

ตึกโคโรซาน (ตึกคชสาร) วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

รูปภาพ

ป้ายชื่อหน้าวัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี


:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูลและรูปภาพ ::
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7% ... 3%E0%B8%B5)
facebook หลวงพ่อโต วัดเสาธงทอง ลพบุรี

https://www.facebook.com/profile.php?id=100005933162354

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2015, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร