วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


วัดอินแปง
นครหลวงเวียงจันทน์
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


รูปภาพ

วัดอินแปง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
ของนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว
เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่มีปูชนียสถานหลายอย่างในบริเวณวัด
ได้แก่ พระพุทธรูปอินแปง, ใบเสมาหินรูปสิงห์, เสาหิน เป็นต้น

เกี่ยวกับประวัติของวัดอินแปงนั้น
ยากจะสรุปว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปีใด พ.ศ.ใดแน่
เนื่องจากมีโบราณวัตถุหลงเหลือให้เห็นหลายอย่าง
เช่น ใบเสมาหิน, เสาหิน ซึ่งแสดงถึงความเก่าแก่

ส่วนในการสร้างหรือบูรณะ
จนกลายเป็นวัดอินแปงดังเช่นปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนั้น
เป็นลักษณะงานศิลปะในสกุลช่าง
ช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ศตวรรษที่ ๑๖
โดยลักษณะสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกันกับ
วัดองค์ตื้อ วัดจัน และวัดสีเมือง
ซึ่งวัดองค์ตื้อกับวัดอินแปงนั้นตั้งอยู่ติดกันเลย


:b45: :b45:

สิมหรือพระอุโบสถ

รูปภาพ

พระอุโบสถ วัดอินแปง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม
คล้ายกันกับวัดองค์ตื้อ วัดจัน และวัดสีเมือง
กล่าวคือ ทางด้านหน้ามีลานเอนกประสงค์กว้างขวาง
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมทางศาสนา
ฐานพระอุโบสถต่ำ มีเพียงชั้นเดียวและใช้เสาแบบกลม
พระอุโบสถลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า พุทธสีมาตัวแม่

อย่างไรก็ตาม วัดอินแปงโบราณเก่าแท้แต่แรกนั้นได้พังไปหมดแล้ว
ก็มีแต่การบูรณะต่อเนื่องมาจนถึงอย่างในปัจจุบัน
โดยเริ่มงานบูรณะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) เรื่อยมา
จนช่วงหลังปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยประมาณก็มีการบูรณะเพิ่มเติมอีก

การบูรณะพระอุโบสถ วัดอินแปง และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
ได้มาแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๘
(ค.ศ. ๑๙๘๐-๑๙๘๕)


รูปภาพ
ลานเอนกประสงค์หน้าพระอุโบสถสำหรับใช้ประกอบศาสนากิจต่างๆ
โดยทางเข้ามีสิงห์คู่ที่เป็นของเก่าแก่อย่างหนึ่งของวัด


รูปภาพ
ลวดลายจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการบูรณะจากประชาชน

รูปภาพ
เราสามารถมองเห็น พระเจ้าใหญ่อินแปง
องค์พระประธานของวัดตรงกับช่องประตูพระอุโบสถ


รูปภาพ
ภายในพระอุโบสถ

รูปภาพ
เสากลมที่ใช้ในโครงสร้างพระอุโบสถ

รูปภาพ
หอไตรประจำวัดอินแปง

รูปภาพ
ลานเอนกประสงค์ของวัดอินแปง

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเจ้าใหญ่อินแปง

รูปภาพ
พระเจ้าใหญ่อินแปง

รูปภาพ
องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง

:b46: :b46:

ความหมายของคำว่า อินแปง
อิน หมายถึง พระอินทร์ ในภาษาไทย
แปง หมายถึง ทำ หรือสร้าง
(อาจจะเคยได้ยินคำว่า สร้างบ้านแปงเมือง)
วัดอินแปง จึงหมายถึง วัดที่พระอินทร์เป็นผู้สร้าง
ตามคำบอกเล่าเชื่อกันว่า
พระพุทธรูปพระองค์นี้เก่าแก่มาก มีอายุหลายร้อยปี

พระประธานของวัดอินแปงองค์นี้
มีขนาดใหญ่แต่ไม่มีการระบุขนาดที่ชัดเจนไว้
เป็น ๑ ใน ๓ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งมีนามเดียวกัน คือ อินแปง
พระพุทธรูปทั้ง ๓ นั้นประดิษฐานในวัดสำคัญ ได้แก่

๑) วัดอินแปง นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว
๒) วัดอินทร์แปลง จังหวัดนครพนม
๓) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19281


วัดอินแปง ในเมืองเวียงจันทน์นี้
เป็นวัดที่สำคัญอันดับต้นๆ สังเกตได้จากในงานบุญสำคัญ
คือ "งานบุญนมัสการพระธาตุหลวง"
ซึ่งจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปีนั้น
จะเริ่มต้นงานบุญด้วยการแห่ปราสาทผึ้งและต้นกัลปพฤกษ์
จากวัดสีเมือง ซึ่งวัดนี้เป็นที่ตั้งของหลักเมืองนครเวียงจันทน์
เพราะชาวลาวก็มีความเชื่อว่า จะทำอะไรก็เริ่มต้นจากการลงหลักเมืองก่อน
จึงได้เริ่มงานบุญด้วยการไปสักการะหลักเมือง
แล้วไปวัดพระธาตุหลวง ต่อมาเป็นวัดไตใหญ่ (หมายถึงหอไตร)
วัดองค์ตื้อ และวัดอินแปง ตามลำดับ

โดยเหตุที่จัดลำดับก่อนหลังของแต่ละวัดนั้น
จัดลำดับตามการสร้างหรือบูรณะก่อนหลัง
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสร้างพระธาตุหลวงก่อน
แล้วพระมเหสีของพระองค์สร้างวัดหอไตร (วัดไตใหญ่ ในปัจจุบัน)
จากนั้นก็วัดองค์ตื้อและวัดอินแปงตามลำดับ


:b46: :b46:

ที่มาของข้อมูล
http://www.sedthakid.la/khao/8657
http://laobuddhism.com/category/uncategorized/
http://maidragon.blogspot.com/2014/01/blog-post_9.html
http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO21.pdf

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร