วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

:b45: :b46: :b45:

พระพุทธชินราช
พระประธานในพระวิหารทิศใต้มุขหน้า
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)


“วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณเก่าแก่
ซึ่งราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดโพธารามที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้


พระพุทธชินราช หรือพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร
พระประธานในพระวิหารทิศใต้มุขหน้า
เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสี่ศอกห้านิ้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า ดังปรากฏความใน
“จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑”
ว่า

“...พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้วเชิญมาแต่กรุงเก่า
ปติสังขรณ์เสรจ์แล้วประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศใต้
ถวายพระนามว่าพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร
มีพระปัญจะภักดีทั้งห้านั่งฟังพระธรรมเทศนาด้วย
แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรและเทศนาดาวดึงส์...”


ในจารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑
ภายหลังจากมีการฉลองพระอาราม วัดพระเชตุพนแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โปรดให้อัญเชิญพระประธานพระวิหารทิศใต้และทิศตะวันตก
ไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์)
และโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยมาประดิษฐานไว้แทน
ข้อความในร่างจารึกเดียวกันนี้ ยังกล่าวถึงการเชิญพระบรมธาตุ
เข้าประดิษฐานในพระชินราชด้วย ดังความว่า


“...แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้น
บรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์
กับทั้งเครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช
เชิญขึ้นสถิตเหนือวิจิตรบวรพุทธอาสนในพระวิหารด้านประจิมทิศ
ไว้เป็นที่เจดียถานให้เป็นที่สักการบูชาสนองพระพุทธองค์
ดุจทรงนั่งตรัสพระธรรมเทศนาพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
โปรดปัญจวัคคียภิกษุทั้ง ๕ ในอิสิปัตนมฤคทายวัน
จึงเชิญธาตุอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกศแก้ว ๕ ใบ
ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕...”


นอกจากนั้น “โคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์”
ซึ่งกล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้มีการกล่าวถึง “พระพุทธชินราช” หรือ “พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร”
ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารทิศใต้ ไว้ว่า

ศุโขทัยธรรมราชผู้ นามชิน ราชฤา
สถิตย์วิหารทักษิณ มุขหน้า
ธรรมจักรแจกพรหมินทร์ หมื่นภพ ผองเฮย
เบญจพัคคีย์มีห้า อยู่เฝ้าสดับแสดงฯ


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้ถวายพระนามพระพุทธชินราช ดังปรากฏในจารึกที่ฐานพระพุทธชินราช
ว่า
“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”

ปัจจุบันภายใน พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก
ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินศรี” หรือนามทางการว่า
“พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร”

และภายใน พระวิหารทิศใต้มุขหน้า มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งประดิษฐานอยู่ นามว่า “พระพุทธชินราช” หรือนามทางการว่า
“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”

พระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรีทั้ง ๒ พระองค์นี้ ปรากฏว่าเดิมได้ประดิษฐาน
อยู่ ณ เมืองสุโขทัย แต่ใครจะเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นยากที่จะทราบได้
ถึงในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าขุนรามคำแหง ก็กล่าวไว้แต่เพียงว่า
“กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารส
มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม”
ดังนี้

และในศิลาจารึกครั้งสมัยรัชกาลพระเจ้าลิไทย ต่อนั้นมา ก็กล่าวไว้ว่า
“พระเจ้าลิไทยได้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์และพระศรีอาริย์” ดังนี้เป็นต้น

ในจารึกทั้ง ๒ รัชกาลนี้ หาได้กล่าวถึงพระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรี ทั้ง ๒ พระองค์นี้ไม่
เพราะฉะนั้นจึงน่าจะสันนิษฐานว่าพระยาไสยฤาไทย ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระเจ้าลิไทย
ผู้ครองกรุงสุโขทัยต่อนั้นมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชา ได้สร้างขึ้น
เพื่อเป็นพระพุทธรูปสำคัญในรัชกาลของพระองค์ และคงจะได้ถวายพระนามว่า
พระพุทธชินราชพระองค์หนึ่ง พระพุทธชินศรีพระองค์หนึ่ง มาตั้งแต่แรกสร้างนั้นแล้ว
ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่า
“ครั้นเสร็จการฉลองพระอารามแล้ว ภายหลังทรงพระกรุณาให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒
ซึ่งสถิตย์อยู่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศและประจิมทิศนั้น ขึ้นไปประดิษฐานไว้
ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ให้เชิญพระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์
ซึ่งเชิญมาแต่เมืองสุโขทัย น่าตัก ๕ ศอกคืบกับนิ้วหนึ่งเท่ากัน
พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินราช เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายทักขิณทิศ
พระองค์หนึ่งทรงพระนาม พระพุทธชินศรี เข้าประดิษฐานไว้แทนที่ในพระวิหารฝ่ายประจิมทิศ”
ดังนี้
และพระนามทั้ง ๒ นี้ก็น่าจะเลียนอย่างพระนาม
พระพุทธชินราชและพระพุทธชินศรีเมืองพิษณุโลกนั้นด้วย

รูปภาพ

“พระพุทธชินราช” พระประธานในพระวิหารทิศใต้มุขหน้า

:b45: :b46: :b45:


:b8: คัดลอกเนื้อหาบางตอนมาจาก ::
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19426

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron