วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

รูปภาพ
พระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ

วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
วัดตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)
เลขที่ ๑๐๒ ถนนวังเดิม ๒ หรือถนนอิสรภาพ ๒๘
แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

อยู่ใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
และกองทัพเรือ (พระราชวังธนบุรีเดิม)
ตั้งอยู่บนเนื้อที่ขนาด ๔๖ ไร่ ๑ งาน ๒๓ ตารางวา


เขตวัด

วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศตะวันออก จรด คลองหลังศูนย์สาธารณสุข ๓๓
ทิศตะวันตก จรด คลองเล็กตามแนววัด
ทิศเหนือ จรด สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
ทิศใต้ จรด คลองบางกอกใหญ่

ที่ธรณีสงฆ์

วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มีที่จัดประโยชน์ให้ประชาชนเช่าที่ดิน
ปลูกที่อยู่อาศัยบริเวณติดกับวัด มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่เศษ


:b46:

วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร มีโบราณสถานสำคัญภายในวัดที่น่าสนใจ
อาทิ พระอุโบสถในสมัยอยุธยา ภายในมีเสาอยู่ด้านข้างพระอุโบสถ ๒ ข้างสวยงามมาก
พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยอู่ทอง ปูนปั้นลงรักปิดทอง
ไม่มีพระนาม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยา
พระพุทธรูปหลวงพ่อแสน เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะสวยงามเป็นพิเศษ
ตามประวัติได้มีการอัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑

นอกจากนี้แล้วยังมีสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกท้ายวัด
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หอพระไตรปิฎก
ตู้พระไตรปิฎก กุฏิไม้สักเก่า เป็นต้น นับเป็นวัดที่เก่าแก่
และเป็นที่พำนักจำพรรษาของสมเด็จพระสังฆราชถึง ๒ พระองค์

องค์แรก คือ “สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น)”
เป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยกรุงธนบุรี

องค์ที่สอง คือ “สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เคยพักจำพรรษาเมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี


อ่านเพิ่มเติมเรื่องสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ได้ที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44308

:b48:

วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง
สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคนั้นเป็นวัดราษฎร์
เรียกว่า วัดเจ๊สัวหง หรือ แจ๊สัวหง หรือ เจ้าสัวหง หรือ วัดขรัวหง
เพราะตั้งตามชื่อของเศรษฐีชาวจีนผู้สร้าง คือ นายหง

จากหลักฐานจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔
ได้บันทึกไว้ว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหารนี้
พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี
คำคนแก่เก่าๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง
แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัวมั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน สร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น
จีนที่มั่งมีคนเรียกว่า เจ้าขรัว

ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เรียกชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาศวรวิหาร
สมัยรัชกาลที่ ๒ เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร
สมัยรัชกาลที่ ๓ เรียกชื่อว่า “วัดหงสาราม”
สมัยรัชกาลที่ ๔ เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม
และสมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2014, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปูชนียวัตถุและสถานที่สำคัญในวัด

:b46: พระอุโบสถ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ตัวพระอุโบสถสร้างแบบก่ออิฐถือปูน
ขนาดกว้าง ๑๙.๕๐ เมตร ยาว ๔๒ เมตร
หลังคาเป็นมุขลด ๒ ชั้น ประดับช่อฟ้าใบระกา
หน้าบันทำเป็น ๒ ชั้น ทั้งด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถ


ชั้นบนประดับลายรูปหงส์ ชั้นล่างทำเป็นพื้นเรียบ
เจาะเป็นช่อง ๔ เหลี่ยม ๒ ช่อง
ภายในช่องประดับด้วยลายปูนปั้นปิดทองรูปหงส์หันหน้าเข้าหากัน
ประดับอยู่บนพื้นทานสีแดงชาด

ถัดจากหน้าบันลงมาเป็นมุขยื่นออกมา
ค้ำด้วยเสาระเบียงรายรอบพระอุโบสถ
คันทวยทำเป็นรูปหงส์ซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้น
ด้านหน้ามีประตู ๓ บาน บานตรงกลางเป็นบานใหญ่
บานข้างๆ มีขนาดเล็กกว่า
มีลวดลายปูนปั้นประดับที่ซุ้มประตูด้านหลังมีประตู ๒ บาน
รอบพระอุโบสถมีระเบียงล้อมรอบ

พระอุโบสถ มีลักษณะแบบพระอุโบสถในสมัยกรุงศรีอยุธยา
กล่าวคือ ภายในพระอุโบสถกว้าง มีเสาอยู่ด้านข้างพระอุโบสถทั้ง ๒ ข้าง
เสาประดับด้วยลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งเป็นรูปพันธุ์พฤกษา
ฐานเสาเป็นลายเชิง ผนังพระอุโบสถด้านในเหนือระดับหน้าต่าง
เป็นจิตรกรรมรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งลายดอกไม้ประดับอยู่บนพื้นสีดำ
ภาพเขียนระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “พระทศชาติ”


:b47: :b47:

ภาพภายในพระอุโบสถ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2014, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: พระประธาน

มีพระพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะในสมัยอู่ทอง (เป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง)
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๖๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร
ไม่มีพระนามและไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
จึงสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2014, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: หลวงพ่อแสน หรือพระแสน (เมืองเชียงแตง)

รูปภาพ

รูปภาพ

“หลวงพ่อแสน” ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย
มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒ ศอกเศษ หรือประมาณ ๒๕ นิ้วครึ่ง
เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น ๔ ชนิด ดังนี้


๑.) เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียรและพระพักตร์
มีสีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่

๒.) เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงองค์พระและฐานรอง
มีสีทองสัมฤทธิ์เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียรและพระพักตร์

๓.) เนื้อทองจีวรเป็นอีกสีหนึ่งเข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์
แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์และพระเศียร

๔.) สังฆาฏิเป็นแผ่นเงินชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์
พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์
รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ด
นิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสนและสุโขทัยยุคแรก
พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนขององค์พระจนสังเกตเห็นชัด
พระเนตรฝังแก้วผลึกไม่ส่วนสีขาวและฝังนิลในส่วนสีดำ
ฐานรององค์พระเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงาย


ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าองค์พระประธานออกมา
จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงดงามเป็นพิเศษ
แตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปองค์อื่นๆ
มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาที่อื่นเหมือนพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มี


รูปภาพ

จากหลักฐานการอัญเชิญองค์พระแสน
กล่าวไว้ว่า มาจากเมืองเชียงแตง ประเทศลาว
ก็เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่เป็นมูลเหตุ


ดังพระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ ๔
ในหนังสือชุมนุมพระบรมราชธิบายในพระองค์
เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อแสน
ซึ่งมีพระราชดำรัสเป็นลักษณะทรงโต้ตอบกับ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใจความว่า


“ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อที่คนนับถืออยู่ที่วัดหงส์ฯ
เป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว
พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกองค์หนึ่งงามหนักหนา
ถ้าฉันจะมีตราไปเชิญมาท่านจะให้พระยาราชโยธา
ที่ครั้งนั้นเป็นพระยาสุเรนทร์ ใช้คนให้นำไปชี้องค์พระให้
ฉันเห็นว่าท่านประสงค์ดังนั้น ไม่มีเหตุที่ควรจะขัด ฉันก็ไม่ได้ขัด
ฉันก็ได้ให้มหาดไทยมีตราไปเชิญพระนั้นลงมา
พระยาสุเรนทร์ใช้พระลาวรูปหนึ่งเป็นผู้รับอาสานำไป
ฉันก็ได้ให้ผ้าไตรไปถวายพระสงฆ์ลาวรูปนั้นไตรหนึ่ง แล้วก็ให้นำท้องตราไป
ได้เชิญพระแสนลงมาถึงกรุงเก่าแล้ว ฉันก็ได้บอกถวายวังหน้า
ให้ท่านจัดการไปแห่รับมาไว้ที่วัดหงส์ทีเดียว
แลฐานที่จะตั้งพระนั้น ฉันให้ท่านทำเป็นการช่างในพระบวรราชวัง
ฉันจะเป็นแต่รับปิดทอง ฐานพระนั้นก็ยังทำค้างอยู่ บัดนี้ก็ยังไม่ได้ปิดทอง
ว่ามาทั้งนี้เป็นการเล่าถึงเหตุที่เป็นแลถ้อยคำที่ได้พูดกันแล้วแต่ก่อนนี้ไป ให้ท่านทั้งปวงทราบ”


ดังนี้ และที่มาอีกแห่งหนึ่งคือ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๐๑
ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ.๑๘๕๘ ข้อความว่าดังนี้


“ฉันขึ้นไปกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสนเมืองเชียงแตงแล้ว
รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณหนักหนา
แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสนเมืองมหาชัยแน่แล้ว
ของคนโบราณจะนับถือว่า พระแสนองค์นี้ องค์ใดองค์หนึ่ง
จะเป็นของเทวดาสร้างหรือว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้
แล้วจึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว
แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป
ดูทีเห็นว่า พระแสนเมืองเชียงแตง จะเก่ากว่า
สีทองที่พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนาคเนาวโลหะ
เช่นกับพระอุมาภควดีเก่าในเทวสถาน
ตมูกฤาพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันที่เดียว
ที่พระองค์ พระหัตถ์ พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง
ติดจะเจือทองเหลืองมากไป
ที่ผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทาบทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่

พระแสนองค์นี้ฉันถวายแล้ว โปรดทรงดำริดูเถิด
จะให้ไปเชิญลงมาเมื่อไรอย่างไร ก็ตามแต่จะโปรด”


หากนับจากปี พ.ศ.๒๔๐๑ มาถึงปีปัจจุบัน คือปี พ.ศ.๒๕๕๗
ก็ได้ ๑๕๖ ปีแล้วที่องค์พระแสนประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถแห่งนี้
ปีที่สร้างองค์พระขึ้นมานั้นยังไม่เป็นที่แน่นอน ทราบแต่เป็นองค์เก่าแก่องค์หนึ่ง
และเป็นฝีมือสกุลช่างฝีมือของอาณาจักรลาวในอดีต

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2014, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระพุทธรูปทองคำโบราณ

:b47: ที่มา

พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ เดิมเป็นพระหุ้มปูน
มีพระลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์

ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังพระอุโบสถ
ซึ่งชำรุดทรุดโทรมหักพังใช้การไม่ได้
จนคนทั้งหลายเรียกว่า “วิหารร้าง”
ทั้งนี้เพราะไม่ใช่เพียงแต่ชำรุดทรุดโทรมหักพังเท่านั้น
ยังรกรุงรังด้วยเศษอิฐและไม้กับมีเครือเถาและต้นไม้ขึ้นปกคลุมด้วย

ต่อมาเมื่อพระสุขุมธรรมาจารย์ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้
จึงได้ดำเนินการทำความสะอาดและจัดการให้มีความเรียบร้อย
ตัววิหารนี้จึงมีสภาพพอที่จะเห็นได้ภายในและพอที่จะเข้าออกได้

และในวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
พระพุทธรูปองค์นี้ซึ่งถูกพอกเป็นพระพุทธรูปปูนไว้
ปูนที่พระอุระได้แตกกระเทาะออก
ทำให้เห็นว่า ภายในเนื้อปูนนั้นเป็นองค์พระพุทธรูปทองสีสุก
เนื้อทองโบราณ เห็นว่าสมควรดูแลรักษาให้ดี
จึงได้เริ่มมีการบูรณะกันขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น


รูปภาพ

ภายในพระวิหารที่จัดวางองค์พระในปัจจุบัน

รูปภาพ

รูปภาพ

:b47: พระพุทธลักษณะขององค์พระ

พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างทำตามแบบสุโขทัยยุคกลาง
ซึ่งเป็นฝีมือประติมากรรมที่งดงามอีกสมัยหนึ่ง
คือ

- พระเกตุมาลาลักษณะเปลวเพลิง
- มีอุณาโลมเป็นเกลียวไหวขึ้นสูง
- ด้านข้างมีรัศมีแผ่ทั้งสอง มีรูปเป็นกลีบขึ้นเป็นชั้นๆ
- รูปพระเศียรและวงพระพักตร์เป็นดังรูปไข่
- พระโขนงโก่งดังคันศรและงดงามเป็นสัน
- พระเนตรดังตาเนื้ออยู่ในอาการสำรวม
- พระนลาฏกว้างไม่มีเส้นไรพระศก
และมีเม็ดพระศกย้อยลงมาตรงกลางเบื้องบนพระนลาฏ
- พระนาสิกเป็นรูปของอโง้งงุ้มดุจจะงอยนกแก้ว
- พระโอษฐ์เล็กคล้ายแย้มเผยอตรัส
- พระหนุเสี้ยมดังเมล็ดมะม่วงและมีรอยหยิก
- พระกรรณเหมือนกลีบบัวและยาวซ้อนๆ มีรูเจาะทะลุตอนเบื้องปลาย

- พระปรางเต่งดุจผลมะปรางแต่บางองค์ก็ชะลูดลงบ้าง
- ภาพวงพระพักตร์เพ่งดูแล้วดูดดื่มซึ้งตรึงใจอย่างน่าอัศจรรย์
- พระศอเป็นปล้องคือมีรอยปรากฏอยู่ ๔ เส้นเป็นชั้นๆ
- พระอังสากว้างสมส่วนพระองค์
- พระอุระนูนผึ่งผายดูคล้ายศีรษะช้าง
- หัวพระถันโปนเห็นชัดทั้ง ๒ ถัน
- พระกายกลมกล่อมนุ่มนวลอ่อนละไมและสะโอดสะอง
- พระกฤษฎีคือยั้นพระองค์ (เอว) แคบลง
และค่อยๆ ผายขึ้นไปหาส่วนกว้างที่พระอุระและพระกัจฉะประเทศ
- พระบาทแบราบ ซ้อนเท้าขวาทับเท้าซ้ายและเห็นฝ่าพระบาทอูม
- นิ้วพระบาทก็แสดงศิลปให้ปรากฏชัดเจนเป็นลักษณะนิ้วทุกประการไม่เป็นพืดแผ่น

และฐานรองพระพุทธรูปสุโขทัยปางประทับนั่งมารวิชัยหรือสมาธิ
เป็นฐานเรียบๆ ไม่มีเครื่องตบแต่งเรียกกันว่า ฐานเขียง
ส่วนกลางเว้าลงเล็กน้อยและผายออกทั้งสองข้างเสมอกัน
จนถึงปลายฐานและเป็นฐานเตี้ยมาก
สำหรับรองนี้ที่มีกลีบดอกบัวหงายและคว่ำสลับกัน

(หมายเหตุ - พระเกตุมาลาองค์นี้หาย ทำใหม่โดยฝีมือ น.ต.จุมพล อุทาสิน ร.น.)

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2014, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ศาลพระเจ้าตาก

รูปภาพ

สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์

รูปภาพ

รูปภาพ

สระน้ำมนต์ มีรูปสระเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้างประมาณ ๖ วา ยาวประมาณ ๒๖ วา ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร

ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกส่วนท้ายของวัด
แต่ตามพื้นที่เดิมของวัดทั้งหมดแล้วอยู่ตรงกลางติดไปทางตะวันตก
ในอดีตมีประชาชนจำนวนมากมาอาบเสมอๆ
ผู้คนหนาแน่นยิ่งเสาร์ห้าด้วยแล้วต้องรอกันเป็นชั่วโมงจึงจะได้อาบ
ผู้เฒ่าผู้ใหญ่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

โดยในสมัยก่อนนี้บริเวณสระนี้มีศาลาพักด้านเหนือและใต้
มีที่อาบน้ำทำเป็นที่ตักลงรางไหลลงสู่ที่ขังไหลเป็นก๊อกมายังผู้อาบ
แต่ต้องระวังลื่นตะไคร่จับหนาแน่นเพราะมีคนอาบไม่ขาด
เรียกกันสมัยนั้นว่า “บ่อโพง”
ด้านใต้ทางทิศตะวันตกมีศาลาเป็นเรือนไม้กั้น
ฝาสามด้านตั้งเครื่องสักการะเต็ม
กว้างประมาณ ๓ วา หันหน้าเข้าสู่สระน้ำมนต์


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b48: :b48:

ที่มา : http://www.wathong.com

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 10:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2018, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b20: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร