วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
:b50: :b49: :b50:
พระประธานในพระอุโบสถ
วัดแก้วโกรวาราม (พระอารามหลวง)
ถนนอิศรา ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่

:b47: :b50: :b47:

วัดแก้วโกรวาราม (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมือง เลขที่ 82 ถ.อิศรา ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ เป็นทั้งศูนย์กลางพุทธศาสนาและศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455 จนถึงปัจจุบัน เดิมนั้นนักศึกษาธรรมะไปเรียนและสอบธรรมะที่วัดแก้วโกรวารามเพียงแห่งเดียว จนถึงปี พ.ศ. 2500 จึงเริ่มขยายสนามสอบไปที่อำเภอต่างๆ เช่น อ.อ่าวลึก ฯลฯ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 วัดแก้วโกรวารามได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนม์มายุครบ 6 รอบ ปัจจุบันนี้ที่วัดมีเนื้อที่ประมาณ 202 ไร่ 4 ตารางวา

:b44: ประวัติความเป็นมาวัดแก้วโกรวาราม

เดิมทีเมื่อมีการย้ายเมืองกระบี่มาจากเมืองเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2415 ย้ายเมืองกระบี่มาตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ เกิดชุมชนขึ้นที่บ้านปากน้ำ ชาวพุทธส่วนใหญ่เลยร่วมกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาตรงบริเวณที่ตั้งวัด เรียกว่า วัดปากน้ำ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2450 ทางรายการได้ย้ายพระแก้วโกลก ชื่มเดิมท่านมี ณ ถลาง ซึ่งต่อมาท่านก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอกพระยาอิสราพิชัย ท่านก็เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดปากน้ำ และขอชื่อไปใหม่ไปยังเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต พร้อมด้วยขอพระมาเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัด ทางเจ้าคณะมณฑลภูเก็ตร่วมกับพระยารัษฎานุประดิษฐ์จัดส่งพระครูธรรมมาวุฒิวิสิทธิ์ หลวงปู่กิม ชื่อกิม แสงแก้ว จากภูเก็ตมาอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 และท่านเริ่มบูรณะพัฒนาวัด และท่านได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดกระบี่รูปแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 แล้วทางการก็ประทานนามใหม่มาให้ว่าวั ดแก้วโกรวาราม ใช้ชื่อพระแก้วโกลก แผลงทอเป็นวอ เป็นแก้วโกลก จากนั้นก็การพัฒนาบูรณะเรื่อยมา

เนื่องจากพระครูธรรมาวุฒิท่านเข้มแข็งมาก เอาใจใส่มาก ท่านเลยจัดให้มีการศึกษาขึ้น มีการศึกษาธรรมบาลี แล้วทางราชการเข้ามาขอตั้งโรงเรียนมัธยมแห่งแรกในวัด ในบริเวณวัดเป็นโรงเรียนมัธยมโดยพระแก้วโกลกเป็นผู้จัดหาครู จัดหางบประมาณต่างๆ มาโรงเรียนประจำจังหวัด พระครูธรรมาวุฒิสนับสนุนและยังอนุญาตให้พระเณรเข้าเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัดด้วยโรงเรียนมัธยมสอนแค่ ม.3 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2475 หลวงปู่กินหรือพระครูธรรมาวุฒิท่านได้ลาออกแต่ท่านลาออกแล้วท่านก็ไม่ได้ไปไหนหรอกคงอยู่ช่วยงานไปจนถึงมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2484 ท่านมรณภาพ เจ้าอาวาสองค์ถัดมาคือ พระราชสุตกวี (หลวงปู่สิงห์) เป็นศิษย์ของหลวงปู่กิมนั่นแหละ ท่านเป็นชาวกระบี่เหมือนกัน หลวงปู่กิมส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ จนได้เปรียญ 6 ประโยค กลับมาเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดกระบี่รูปสืบต่อพระราชสุตกวี (หลวงปู่สิงห์) อยู่เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. 2527 และท่านก็มรณภาพด้วยอายุ 93 ปี แล้วต่อจากนั้นอาตมาก็รับหน้าที่ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากอาตมามีปัญหาสุขภาพเรื่องตา สายตาก็เลยลาออก ซึ่งบอกเนี่ยความเป็นมาเบื้องต้นของวัดแก้วโกรวาราม เป็นอย่างนี้นั้นเนื่องจากความเข้มแข็ง ความขยันของหลวงปู่กิมหรือพระครูธรรมาวุฒิเนี่ย ท่านก็เลยบุกเบิกจับจองที่ที่รกร้างว่างเปล่าได้กว่า 300 ไร่ แต่ว่าพอออกโฉนดอะไรๆ ก็ตัดไปบ้างให้ชาวบ้านไปบ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่ 202 ไร่ แล้วก็ป่าไม้นี่ที่เห็นอยู่นี่เป็นป่าไม้ของวัด เป็นป่าไม้ธรรมชาติที่ทางเทศบาล คนในเทศบาลเขาขอร้องไว้ว่าให้ไว้ อนุรักษ์ไว้เป็นปอดของคนเมืองกระบี่เพราะมัรนอยู่กลางเมืองรอบๆ วัดเอง บ้าน ตลาด

ปัจจุบันปีปัจจุบันเราจะเอาเกี่ยวกับโบราณสถาน พระอุโบสถหลังเก่า แม้ว่าจะเป็นพระอุโบสถไม้แต่ก็สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เ สด็จมาบำเพ็ญกุศลวิสาขบูชาเมื่อปี พ.ศ. 2513 และก็ปลายปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ก็เสด็จมาประชุม พอ.สว. ด้วยที่โบสถ์เก่านี่ และปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แล้วมีทางราชการได้สร้างหอแสดงภาพหรือโบราณวัตถุต่างๆ อยู่ใกล้เคียงกัน อันนั้นเป็นเกี่ยวกับเรื่องโบราณวัตถุสถานต่างๆ ในวัดก็ตั้งแสดงอยู่ที่นั่น เช่น เครื่องใช้ของพระราชสุตกวี หรือของหลวงปู่กิมในอดีต

สืบเนื่องมาจากว่า โบสถ์หลังเก่านี่เป็นอุโบสถไม้ อาตมาเองก็ปรารภกันมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่องค์ก่อนพระราชสุตกวี แต่ก็ตอนนั้นยังไม่มีกำลังเงินพอก็เลยมาถึงยุคอาตมา อาตมาก็ระดมทุนได้บางส่วน แล้วก็ปรึกษากับนายชวน ภูเกล้าล้วน นายชวน ภูกล้าล้วน นี่เป็นประธานกรรมการวัด ให้ท่านเป็นผู้หาแบบ บังเอิญท่านคุณชวนมีความคุ้นเคยวิสาสะกับครอบครัว ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ก็เลยขอให้ช่วยออกแบบให้ ออกแบบแล้วก็ลงมือสร้างเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงขณะนี้ก็เสร็จไปแล้วประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนโบสถ์เก่านั้นก็ไม่ได้รื้อออก คุณชวน ภูเก้าล้วน รับจะไปบูรณปฏิสังขรณ์และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพราะว่ามีของเก่าอยู่ภายในหลายชิ้น

สำหรับโบสถ์ใหม่นี่สร้างขึ้นแล้วชั้นล่างมีพื้นที่การใช้งานประมาณ 1,400 ตารางเมตร จะเป็นที่เป็นห้องประชุมมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเช่น แอร์หรือห้องสุขาซึ่งภายนอกอาคาร ไม่ได้อยู่ในอาคารแต่ว่าอยู่ใกล้มองผิวเผินก็ไม่เห็นจะใช้เป็นห้องประชุมเอนกประสงค์แต่ว่าหลักๆ จริงนั่นเพื่อรองรับโครงการอนาคตของวัด คือต่อไปวัดนี่จะเปิดศูนย์พุทธศาสนาวันอาทิตย์สำหรับผู้ใหญ่ โรงเรียนวัดอาทิตย์สำหรับเด็กเปิดอยู่แล้ว แต่ว่าสำหรับผู้ใหญ่นี่จะให้คนมาฟังเทศก์ฟังธรรมโดยใช้ห้องประชุมชั้นล่างของโบสถ์นี้ แล้วอีกอย่างหนึ่งก็ต้องการจะให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม อย่างปัจจุบันนี่ก็ออกพรรษาแล้วก็ยังมีพระภิกษุอยู่ประจำนะ ก็ประมาณ 30 สามเณรก็ประมาณ 50 หรือ 60 รูปเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่โน่นแหละ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 นั่นแหละ

งบประมาณที่ได้มาอาตมาเริ่มระดมทุนมาตั้งแต่เข้ามาเป็นเจ้าอาวาส สมัยหลวงปู่พระราชสุตกวีท่านก็สะสมไว้บ้าง ก็ได้ไม่กี่แสนประมาณ 5 แสน มายุคอาตมานี่ก็บอกบุญประชาชนช่วยกันก็ได้ร่วมๆ ประมาณ 15 ล้านบาท แล้วก็ต่อมาก็เป็นเงินผลประโยชน์คือค่าเช่าอาคารพาณิชย์ ค่าเช่าอาคารพาณิชย์เพราะตลาดส่วนล่างของวัดในพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ เป็นอาคารพาณิชย์เสียประมาณครึ่งหนึ่งคือ 30 กว่าไร่ รายได้จากอาคารพาณิชย์ประมาณ 500 ห้อง ก็เดือนหนึ่งก็ตกประมาณ 2 แสนกว่าบาท ก็เก็บสะสมเรื่อยมาจนพอมีเงินก้อนพอจะดำเนินการสร้างได้แล้วก็เลยลงมือสร้างจนถึงขณะนี้ใช้เงินไปแล้วไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาท และยังต้องใช้อีกประมาณ 10 ล้านแล้วถึงจะสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ตกแต่งภูมิทัศน์อะไร ภูมิทัศน์ทำสวนหย่อมปลูกต้นไม้เพิ่มเติมยังคงต้องทำอีก

โครงการด้านอื่นก็โรงเรียน โรงเรียนสำหรับเป็นสถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรนี่ต่อไปคิดว่าจะตั้งเป็นโรงเรียน โรงเรียนราษฎร์การกุศล เพราะว่าโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ ในปัจจุบันนี้เรียนได้แต่พระภิกษุกับสามเณร คฤหัสถ์เรียนไม่ได้ สืบเนื่องจากว่ามันเป็นกฎระเบียบของกรมการศาสนาแต่ก่อนเขาไม่ให้ฆราวาสเข้ามาเรียนพ้นแต่คอกเปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์การกุศล ฆราวาสก็เรียนได้พระก็เรียนได้ ที่ต้องเปลี่ยนอย่างนี้สืบเนื่องจากว่าเราลงทุนสร้างอาคารเรียนไปแล้ว สร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ กว่า 30 ล้านที่ลงทุนไปเกี่ยวกับการศึกษา ทีนี้มายกเลิกไปก็จะเป็นการสูญเปล่า

และก็อีกโครงการหนึ่งเนื่องจากว่าตอนนี้เราปล่อยปละละเลยป่าให้เป็นอยู่อย่างธรรมชาติคือไม่ค่อยได้เข้าไปดูแลอะไร สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ก็ถูกชาวบ้านเข้ามารุกราน มายิงอย่างแต่ก่อนนี่อีเห็นนะทางใต้เรียกมุสังเยอะ กระจงนะ กระรอก ตะกวด ตะกวดนี่เยอะนะ แล้วก็งู แล้วสัตว์อื่นๆ เช่น นก แต่ว่าพอมีการพัฒนาเมืองล้อมวัด สัตว์ก็ถูกเบียดเบียนไปทางนี้ทางวัดกำลังคิดอยู่ว่าจะมีแผนทำอย่างไรให้สัตว์นี่ปลอดภัย ทั้งๆ ที่ทำป้ายเขียนไปติดไว้แล้วว่าเขตอภัยทานเขตรอบวัด ห้ามสับ ฟันต้นไม้ ห้าทำร้ายสัตว์แต่ก็ยังไม่ฟัง เพราะว่ากระบี่กำลังพัฒนามีคนงานจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงาน พอว่างๆ เขาก็ชอบเข้ามาจับโดยเฉพาะอย่างยิ่งตะกวดเขาชอบ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระอุโบสถ วัดแก้วโกรวาราม (พระอารามหลวง) จ.กระบี่


เรียบเรียงบทความโดย พระปัญญาวุธธรรมคณี (บริสุทธิ์ ขนฺติโก)
เจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวาราม ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่
และนายชวน ภูเก้าล้วน คหบดีของ จ.กระบี่
(เนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2551) :b8: :b8: :b8:
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/7-54/page4-7-54.html


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร