วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระศากยมุนีพระพุทธเจ้า คือ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถของวัดโพธิ์เย็น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ หรือสิทธารถะ พระองค์ทรงประสูติในสกุลกษัตริย์ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางศิริมหามายา เป็นพระราชบิดาและพระราชมารดา ทรงประสูติที่สวนลุมพินี ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ (ปฏิทินจีน) ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็สิ้นพระชนม์ ผู้ที่รับหน้าที่อภิบาลดูแลพระองค์มาแต่เยาว์วัย คือ พระเจ้าน้านางประชาบดีโคตมี พระองค์ทรงศึกษาทั้งศิลปะและวิทยาการหลายแขนงจนเจนจบ เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษาได้อภิเษกกับพระนางพิมพายโสธรา มีพระโอรสหนึ่งพระองค์ ชื่อ พระราหุล

ในกาลต่อมาพระองค์ทรงพิจารณาเห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตว่า เมื่อทุกสิ่งแปรเปลี่ยนไปทั้งความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ที่มิมีผู้ใดสามารถหนีพ้นได้เลย เมื่อนั้นก็จะถูกความทุกข์เข้ารุมเร้าอย่างแสนสาหัส ด้วยพระทัยที่ตั้งมั่นจะค้นหาสัจธรรมแห่งชีวิต เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ให้ยืนอยู่เหนือความทุกข์นั้นได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยเด็ดเดี่ยวออกผนวชในขณะพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ (ปฏิทินจีน) ทรงพากเพียรบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างหนัก ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันใด จวบจนพระองค์ได้ประจักษ์ถึงแนวทางการบรรลุธรรมด้วย ญทุกกรกิริยาอย่างหนัก ก็ยังข์นั้นได้ จึงตัดสินพระทัยเด็ดเดี่ยว “มัชฌิมาปฏิปทา” ซึ่งเป็นทางสายกลางที่มิได้สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง จึงสำเร็จผลได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นที่สุด ทรงรู้แจ้งถึงหลักธรรมแห่ง “อริยสัจ ๔” ซึ่งเป็นเหตุและผลของพระสัทธรรมอย่างตลอดสาย ทรงชี้ให้เห็นถึงตัวทุกข์ เหตุแห่งการเกิดทุกข์ ความดับไปของทุกข์ และหนทางปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์นั้น

ทรงเล็งเห็นเวไนยสัตว์ทั้งหลายแหวกว่ายทุรนทุรายอยู่ในทะเลทุกข์ และวนเวียนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่มากมายสุดคณานับ ทำให้พระองค์เกิดสลดพระทัย จึงมุ่งเสด็จออกจาริกเผยแผ่พระธรรมไปทั่วทุกโลกธาตุ ทรงเป็นครูผู้ประเสริฐสุดของเหล่าเทวดา มนุษย์ และเวไนยสัตว์ทั้งหลาย หลักธรรมสำคัญที่ทรงมอบให้สาธุชนได้ถือปฏิบัติ คือ การละจากบาปทั้งปวง กระทำกุศลให้ถึงพร้อม และชำระจิตแห่งตนให้ผ่องใส (ไม่ขุ่นมัวด้วยอกุศล) พระองค์ทรงพระปรีชาญาณในการสั่งสอนโปรดสัตว์ ทรงสอนถึงหลักธรรมเบื้องต้นแห่งโลกียธรรม ไปจนถึงโลกุตตรธรรมเบื้องสูงให้กับเหล่าเวไนยสัตว์ได้อย่างแยบยลและชาญฉลาด พุทธโอวาทของพระองค์จะงดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย เหมาะแก่กาลสมัยทุกเมื่อ จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วทุกโลกธาตุ

การน้อมนำคำสอนของพระองค์มาเป็นแนวทางปฏิบัติ ได้ประพฤติตนตามธรรมก็จะถึงซึ่งความสุข สงบ ร่มเย็นในชีวิต พระองค์ทรงสรรเสริญผู้ปฏิบัติบูชาว่าประเสริฐสุดกว่าการบูชาด้วยอามิสใดๆ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจเผยแผ่พระสัทธรรมจนล่วงถึงปัจฉิมวัย และเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ (ปฏิทินจีน) จึงเป็นความโทรมมนัสของพุทธสาวกและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์ทรงมอบพุทธโอวาทประโยคสำคัญก่อนจะปรินิพพานไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ให้สาธุชนได้รำลึกถึงพระองค์

นับเป็นเวลายาวนานตลอดพระชนม์ชีพ ที่ทรงตรากตรำพระวรกายโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย ทรงฉุดช่วยเวไนยสัตว์มากมายให้ได้พบกับแสงพระธรรมอันสว่างไสว เป็นแสงนำพาชีวิตแห่งตนมิให้เดินหลงทางตกจมและมืดมน มีพระธรรมคำสอนเป็นเข็มทิศนำทางให้ก้าวไปสู่ความเจริญทั้งโลกนี้และโลกหน้า อย่างมิต้องเคลือบแคลงสงสัยใดๆ อีกแล้วในทุกๆ ประการ

จากน้ำพระทัยที่เต็มเปี่ยมด้วยมหาเมตตา-มหากรุณาอย่างสูงสุด แห่งพระองค์ได้หลั่งไหลลงสู่เวไนยสัตว์อย่างหาที่เปรียบมิได้ ยากที่จะกล่าวถึงได้หมดสิ้น จึงนับว่าเป็นบุญอย่างอเนกอนันต์แล้วที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้เกิดมาภายใต้พระบรมโพธิแห่งพระพุทธองค์

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระศากยมุนีพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ด้วย วิสุทธิจิต ของเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย


สาธุ สาธุ สาธุ


ข้อมูล: http://www.watpoyen.com/prasak.html

.....................................................
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร