ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีนครบ 108 รูป
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=29013
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 26 ม.ค. 2010, 23:40 ]
หัวข้อกระทู้:  รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ครบ 108 รู

รูปภาพ

ในปี พ.ศ. 2485 พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการสร้างพระเครื่องชุดนี้ขึ้น โดยยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย

1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพระพุทธชินราชองค์ปัจจุบัน การจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง โดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน 150 บาท ไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น (ต่อ 1 องค์) และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 องค์ทั่วประเทศ

2. พระเครื่อง แบ่งการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ แบบรูปหล่อและเหรียญ พระรูปหล่อมีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์ ประกอบด้วย พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ

3. เหรียญ สร้างด้วยวิธีการปั๊ม มีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สถานที่จัดสร้าง

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการ นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศ เลยทีเดียว

หาอยู่นานแล้ว แต่ละเล่มมักลงถึงรายนามท่านที่ 80 กว่าๆ แล้วหยุดไปเฉยๆ ใครชอบก็ print เก็บไว้นะครับ หรือใครมีรูปพระรุ่นนี้ก็ลงมาแจมได้เลยครับ

พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ทำพิธีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ที่วัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นแม่งาน และมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2. ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5. หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6. หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7. หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9. หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11. หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18. พระพุทธโฆษาจารย์ เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20. หลวงพ่อติสโส อ้วน วัดบรมนิวาส
21. สมเด็จพระสังฆราช ชื่น วัดบวรนิเวศ
22. พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23. หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26. หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28. หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29. หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30. หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31. สมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ
32. หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33. หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34. หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35. หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37. หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39. หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40. หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41. หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43. หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44. หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45. หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46. หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47. หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48. หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49. หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50. หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51. หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55. หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56. หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57. หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58. หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59. หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60. หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61. หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62. หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63. หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64. หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66. หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67. หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69. หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70. หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71. หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72. หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73. หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74. หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75. หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77. หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78. หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79. หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81. หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83. หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84. พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87. หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88. หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89. หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90. หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92. หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93. หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94. หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97. หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99. หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101. หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103. หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105. พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107. หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
(ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลืองทองแดงมาร่วมพิธี)

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ม.ค. 2010, 12:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ครบ 10

พระเกจิอาจารย์ยุคสงครามอินโดจีน
สืบต่อมายังสงครามเกาหลีส่วนใหญ่จะเป็นชุดเดียวกัน

:b42: :b42: :b42:


๒๑ ยอดพระอริยคณาจารย์
พระอริยสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง
ในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามอินโดจีน

ในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ปีขาล

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=25722


:b8: :b8: :b8:


ไฟล์แนป:
21 พระมหาอมตคณาจารย์ .jpg
21 พระมหาอมตคณาจารย์ .jpg [ 83.41 KiB | เปิดดู 36945 ครั้ง ]

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ม.ค. 2010, 12:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ครบ 10

ทหารไทยในยุคสงครามอินโดจีน ได้แสดงให้ทหารฝรั่งเห็นปาฏิหาริย์ในหลายสมรภูมิ

ตัวอย่างหนึ่ง ผมขอคัดบทความจาก
อ.วารุณี พิทักษ์สินากร หนังสือพิมพ์ เสรีชัย L.A. USA มาเล่าสู่กันฟังนะครับ

อยู่ยง..คงกระพัน โดย อ.วารุณี พิทักษ์สินากร

เวทมนตร์..คาถา การปลุกเสก อยู่ยงคงกระพัน เครื่องลางของขลัง มีมานานพร้อมๆ กับความเชื่อเก่าๆของผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยนี้ยังมีอยู่มาก เรามาดูกันว่าเขาใช้วิธีใดที่ทำให้อำนาจพุทธคุณหรือเครื่องลางของขลังต่างๆ ทำงานได้ ใครที่ไม่เคยเชื่อเรื่องอย่างนี้ยอมรับได้แล้ว

เพราะในอดีต จากเวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลังเคยกู้ชาติปกป้องบ้านเมืองมาแล้วจากสงครามอินโดจีนที่ กล่าวไปแล้ว ขอให้เปิดใจรับอย่างมงายเหมือนกบในกะลาครอบ การรู้ไว้บางทีอาจป้องกันตัวเองได้บ้าง

พิธีปลุกเสกระดับเซียนจากสี่หลวงพ่อดัง ที่ทำให้ชนะศึกอินโดจีนนั้น เกิดอะไรขึ้นขณะทำพิธี...ฟังแล้วขนลุกไม่รู้ล้ม ทำให้เป็นที่กล่าวขานกันต่อมาอีกนาน

ในสมัยสงครามเกาหลี ทหารไทยที่พกพระพิมพ์ของหลวงพ่อแฉ่งไม่ว่าปางใด พิมพ์เล็กหรือใหญ่ ต่างอยู่ยงคงกระพันรอดตายกันมาทุกคน รวมทั้งบรรดาอัศวินแหวนเพชร หรือพวกนายตำรวจในยุคนั้นต่างก็มีพระนางพญาของหลวงพ่อแฉ่งกันถ้วนทั่ว

ยุคนั้นบรรดาอัศวินต่างมีชื่อเสียงมาก โจรผู้ร้าย ทั้งในเขตนครบาลหรือภูธรหัวหดเงียบกริบ กับถูกฆ่าตัดตอนเก็บกันระนาวจากบรรดาอัศวินแหวนเพชรทั้งหลาย เป็นยุคที่ตำรวจเฟื่องมากๆ

พิธีปลุกเสกระดับชาติได้ทำกันที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร โดยเริ่มพิธีตั้งแต่อาทิตย์เริ่มอัสดง จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ เป็นพิธีที่ใหญ่โตมโหราฬยิ่งกว่าการปลุกเสกครั้งใดๆ ท่ามกลางเหล่าทหารหาญที่คอยป้องกันอยู่รอบนอก ไม่ให้ผู้ใดรบกวนสมาธิของเกจิอาจารย์ทั้งสี่ ภายในห้ามออกภายนอกห้ามเข้ากันทีเดียว

ภายในตัววัดเมื่อพลบค่ำจึงมีแต่ความวิเวกวังเวงของบรรยากาศ ทำให้ทหารทุกคนทั้งรอบนอกรอบในวัดตื่นตัวกลัวกันตลอดคืน ก็ใครเล่าจะกล้าหลับตานอนได้ในบรรยากาศเช่นนั้น เหตุการณ์ปกติไปเรื่อยจนย่างเข้ารุ่งอรุณของวันใหม่ทุกคนที่อยู่ในพิธีต่าง สะดุ้งกันสุดตัวแล้วพยายามระงับความตื่นเต้น ประหลาดใจกับอะไรที่เกิดขึ้น กับเก็บสุ้มเสียงกันไว้อย่างมิดชิด

มีรายการขนลุกขนพองเห่อชาขึ้นมาตามแขนขาไปจรดต้นคอกันถ้วนทั่วอย่างช่วยไม่ ได้ระงับไม่อยู่ ที่ท่ามกลางความเงียบสงัดปราศจากแม้เสียงแมลงกลางคืนที่เงียบมาตลอดคืนแล้ว จู่ๆเกิด มีเสียงกรี๊ดร้องอย่างโหยหวลทำลายความวังเวง มาจากทุกสารทิศที่..ไม่ใช่เสียงเดียวเพศเดียวแต่หลายเสียง มันดังก้องเข้าไปในจิตวิญญานของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

จากนั้นยังปรากฏร่างของวิญญาณ ที่มาทั้งในรูปผู้คน เงา มากมายนับไม่ได้เป็นร้อยเป็นพันบ้างเดินบ้างวิ่งบ้าง มีมาไม่ขาดสาย..ในบริเวณวัดพร้อมทั้งเสียงกรีดร้องนั้นยังดังอยู่อย่างต่อเนื่อง กับยังปรากฏหมอกควันพวยพุ่งออกมารอบๆพระอุโบสถ ชวนให้พยานสายตาในที่นั้นหนาวเย็นวูบวาบไปถึงตับไตใส้พุงแม้จะเป็นเหล่าทหาร กล้าก็เถอะ

เหตุการณ์ที่เกิดระหว่างการปลุกเสกนี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาทุกคนที่อยู่ บริเวณนั้น ให้เป็นที่โจษขานกันมาหลายยุคหลายสมัย คงไม่มีครั้งใดจะแรงและทรงพลานุภาพเท่าจวบจนยุคปัจุจบัน ไร้เทียมทานจริงๆ

การปลุกเสกใช้เวลา 12 ชั่วโมง โดยพระทั้งสี่รูปจะนั่งนิ่งอยู่ในท่าเดิมไม่ขยับเขยื้อนเป็นการรวมพลังจิต ให้มีอนุภาพที่แก่กล้าแล้วรวมเพ่งไปที่ผ้าประเจียดที่วางอยู่บนพานทอง เพื่อให้ได้ผลเต็มร้อย

หลังเสร็จพิธีหลวงพ่อทั้งสี่ จึงมอบผ้าประเจียดให้กับพลตรี หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต เพื่อนำไปใช้ปกป้องทหารในสงครามต่อไป ก่อนนำออกแจกจ่าย ยังมีการทดลอง ความอยู่ยงคงกระพัน โดยการนำผ้าประเจียดไปลองยิงดู ซึ่งถ้าไม่ได้ผลหลวงพ่อทั้งสี่องค์ ท่านจะทำพิธีให้ใหม่ แต่ปรากฏว่างานแรกครั้งเดียวขลังทันใด..ใช้ได้ทันที

เครื่องลางของขลังจากการปลุกเสก ทำให้ทหารไทยชนะสงครามอินโดจีนกับถูกตราหน้าว่าเป็นทหารผี...อันนี้พิสูจน์ กันชัดๆอีกอย่างของคลื่นพลังจิตที่รวมกันเข้าจากเกจิอาจารย์ทั้งสี่

การผสมธาตุซึ่งจะประกอบเป็นเครื่องลางของขลังนั้น ต้องผสมให้ถูกต้องจึงจะใช้เป็นสื่อเพื่อบรรจุพลังปราณ (พลังจิต) ของผู้ปลุก เสกได้เต็มที่ หากธาตุผสมผิดส่วนพลังปราณจะลดหย่อนลง พลังนี้ท่านเปรียบเหมือนพลังแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีอยู่แล้วในทุกตัวคน

เราขอแนะนำให้ตรวจหาพลังนี้ได้เองจากการทำสมาธิ เมื่อเข้าถึงขั้นหนึ่งแล้วจะมีความรู้สึกว่ามีพลังบางอย่างวิ่งไปตามหน้าขา ไหล่แขน บางที่มาในรูปของความร้อนวิ่งไปทั่วร่าง ทางฮินดูเรียกว่า พลัง “คุณดาลินี” หรือพลังปราณนั่นเอง

หลักการใช้คลื่นหรือพลังจิตนี้ ผู้ที่จะทำเครื่องลางของขลังได้ต้องฝึกจิตจนถึงองค์ญาณสมาบัติเสียก่อน จิตจึงจะมีพลังงานแล้วสามารถรวบรวมพลังนี้บรรจุลงในสิ่งใดได้ พลังที่บรรจุนี้จะต้องแบ่งสายปราณให้ถูกต้องด้วยการใช้วิชาลึกลับอันเป็นต้นสูตร โดยเฉพาะเป็นแหล่งกำเหนิดให้เกิดพลังขึ้นได้อย่างหนึ่งเช่น ของขลังที่จะใช้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายใช้วิชา “เรยูกูระบัด” ประกอบกับวิชา “อิลละมู” หรือใช้วิชา “สังกะลัม” ประกอบกันสองอัน หรือจะใช้เพียงวิชาอิลละมู ประกอบเวทมนตร์ก็ได้ (ชื่อวิชาเหล่านี้เป็นของพวกโยคีสมัยเก่า) แต่ถ้าใครเรียนถึงวิชา เรยูกูระบัด หรือสังกะลัม เครื่องรางของขลังจะให้พลังงานสูง ในสมัยสงครามอินโดจีน ในช่วงที่กำลังร้อนระอุ ทหารไทยถูกประนามว่า เป็นทหารผี...เพราะเหตุใดเรามาดูกัน กับใครอยู่เบื้องหลัง บทต่อจากนี้ ที่เกี่ยวข้องกันอย่างช่วยไม่ได้ คืออยู่ยง...คงกระพัน

ตอนนั้นทหารไทยมีหน้าที่ต้องบุกเข้ายึดเมืองศรีโสภณให้ได้ แต่ไม่ใช่ของง่ายเลยเพราะฝ่ายตรงข้าม คือทหารญวนกับทหารมอร็อคโคมีมากกว่า อุปกรณ์การฆ่าทันสมัยกว่าแน่นอนกำลังใจย่อมดีกว่า รวมถึงความจัดเจนในการเชือดการปาดคล่องตัวกว่าเรียกว่าเขี้ยวลากดินกันทุกคน เพราะเหตุนี้ ท.ทหารไทยจึงมองหาทางออก มองหาสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ คือความ..เหนียวแบบไร้เทียมทาน..หรืออยู่ยงคงกระพัน ดังนั้นวันบุกเข้าจู่โจมจึงเกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น คือ

เมื่อวันที่ทหารไทยบุกเข้าศรีโสภนนั้น ทหารญวนกับมอร็อคโคต่างสาดกระสุนมาดุจห่าฝน แต่หาได้ระคายเคืองผิวทหารไทยอย่างไรไม่ ไม่ว่าจะยิง จะแทงฟันเชือด ปาด เด็ด ดึง..ทหารไทยอย่างไรก็ไม่มีผู้ใดเลือดตกออกมาสักหยด ทหารต่างชาติเหล่านั้นไม่เคยเชื่อหรือรับรู้ในเรื่องวิชาอาคมเวทมนตร์คาถา ตอนนั้นรู้อย่างเดียวว่า ทหารไทยฆ่าไม่ตาย กับที่เหลือตัวใครตัวมัน หมดกำลังใจที่จะต่อสู้ยึดพื้นที่เอาไว้ได้ เพราะถูกฆ่าอยู่ฝ่ายเดียว เห็นไพร่พลล้มตายเกลื่อน จึงพากันทิ้งเมืองเอาตัวรอด งานนี้ทหารญวนกับมอร็อคโคถูกจับได้อย่างมากมายพร้อมทั้งอาวุธปืนเป็นจำนวน มาก

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากอนุภาพ ของผ้าประเจียด ที่สี่หลวงพ่อทำการปลุกให้ไปแจกทหารที่ออกรบ ข่าวการชนะศึก ของทหารไทย ข่าวการยิงไม่เข้าแทงไม่เข้าไม่ระคายเคืองผิว กับการอยู่ยงคงกระพันของเหล่าทหารกล้า ทำให้สี่เซียนดังไปเจ๊ดย่านน้ำ หลวงพ่อทั้งสี่ได้แก่

หลวงพ่อ ชวน (โอภาสี)
หลวงพ่อแฉ่ง แห่งวัดบางพัง นนทบุรี
หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
และหลวงพ่อจง แห่งวัดหน้าต่างนอก

กล่าวกันว่า กรณีพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งนั้น รัฐบาลไทยได้นิมนต์หลวงพ่อทั้งสี่องค์นี้มาทำพิธีปลุกเสกผ้าประเจียด เพื่อแจกจ่ายกับทหารที่ออกรบทุกคน เพื่อเป็นการป้องกันตัวกับเรียกขวัญกำลังใจ พิธีปลุกเสกกระทำกันที่วัดบวรนิเวศน์วิหารโดยเริ่มพิธีตั้งแต่ตะวันตกดิน..แล้วปรากฏมีเหตุอาเภทอาถรรพ์เกิดขึ้นในวันทำพิธี..

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ม.ค. 2010, 12:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ครบ 108 รู

มีพระมหาเถระหลายรูปครับ ที่ทหารไทยนำพระของท่านไปแขวนแล้ว ถูกยิงไม่เป็นไรครับ

ที่ผมอยากจะยกตัวอยางกล่าวถึงท่านก็มีอีกรูปหนึ่ง คือ ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงปู่สด จันทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ในครั้งที่ท่านสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในสมัยปี 2490 กว่าๆ ถ้าใครทำบุญเกิน 25 บาท จะได้รับพระปากน้ำของขวัญรุ่นที่ 1 ไปเป็นที่ระลึกในการสร้างบุญ (1 คน รับพระของขวัญได้ 1 องค์เท่านั้น ใครทำหายมารับใหม่ไม่ได้ครับ ถึงจะถวายหลักหมื่น ขนาดพระสังฆราชในยุคนั้นมาขอท่านไปแจกต่างจังหวัด หลวงปู่สดท่านบอกว่าถ้าอยากได้ต้องมารับเองกับมือ 1 คนต่อ 1 องค์ พระสังฆราชยังรับได้องค์เดียวเลยครับ)

ปรากฏว่าทหารหน่วยหนึ่งจะไปรบที่เกาหลีใต้ ก็เลยมาร่วมบุญ แล้วรับพระของขวัญจากท่านไป ระเบิดถูกปามากี่ลูกต่อกี่ลูก ก็ไม่ระเบิดครับ โดนยิงก็ไม่เข้า ในสมัยนั้นโด่งดังมากครับ หลวงปู่สดท่านสร้างแต่ละรุ่น 84,000 องค์ ท่านสร้างเอง 3 รุ่น แต่ละรุ่นหมดอย่างรวดเร็วครับ

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ม.ค. 2010, 12:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: รายชื่อพระคณาจารย์ผู้ปลุกเสกพระพุทธชินราชอินโดจีน ครบ 10

และยังมีเรื่องราวของทหารไทยที่ได้รับฉายา ว่า ทหารผี อีก ในยุคสงครามอินโดจีน(คนละคราวกับสงครามเกาหลี) ซึ่งฉายานี้ ได้รับจาก คู่ ศึก ต่างชาติ ที่ไม่สามารถทำอันตราย เหล่านักรบไทยได้ ทหารอีก กลุ่มนึง กลุ่มนั้นคือ กองร้อย เสื้อ แดง

ซึ่งเหตุการณ์ พลิกผัน ทำให้ทหารผี เป็นที่น่าเกรงขามแก่ศัตรู ต่างชาติ จนนายพลๆผู้นำประเทศไทยในขณะนั้น วางแผนที่จะเปิดแชมเปญที่กรุงพนมเปญ

......ขาดอีก 1 องค์ ท่านพ่อสุ่นวัดแหลมสิงห์ จันทบุรี (พระที่ถลกจีวรเตะก้านคอทหารฝรั่งเศษที่ชอบแกล้งชาวบ้านและเสกต่อแตนบินไว่ต่อยทหารฝรั่งเศษที่ไล่ปล้ำผู้หญิง

ปล. ยังมีอีกเยอะ :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/