วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 19:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 95.77 KiB | เปิดดู 10646 ครั้ง ]
หอไตร สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ

หอไตรเป็นที่เรือนหรืออาคารที่เก็บรักษา หนังสือผูก ใบลาน จารึกพระไตรปิฎก ปัจจุบันบ้างเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงพุทธ และ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ภูมิปัญญาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรักษาจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้

ส่วนใหญ่หอไตรในอดีตนิยมสร้างเป็นลักษณะงานเครื่องไม้ โดยภูมิปัญญาคนโบราณที่ต้องการจะป้องกันปลวกแลงมากัดกินคัมภีร์ ป้องกันน้ำท่วมและความชื้น เห็นได้ทั่วไปอยู่ 2 แนวทาง คือ การสร้างหอไตรไว้ในกลางสระน้ำ โดยทั่วไป และการสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2.jpg
2.jpg [ 48.84 KiB | เปิดดู 10635 ครั้ง ]
3.jpg
3.jpg [ 55.87 KiB | เปิดดู 10637 ครั้ง ]
4.jpg
4.jpg [ 77.35 KiB | เปิดดู 10637 ครั้ง ]
การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน พบในวัดใหญ่ทางภาคเหนือ

หอไตรในล้านนามีแบบแผนที่ไม่แตกต่างจากภาคกลางมากนัก ด้วยเป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ โดยต้องปลอดภัยจากแมลงกินไม้กินกระดาษจำพวกปลวก มอด จะต่างกันเพียงรูปแบบการประดับตกแต่ง และรายละเอียดประกอบอาคาร เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนใช้เก็บคัมภีร์ ชั้นล่างเป็นที่นั่งอ่านธรรม ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นที่สะดวกนัก ส่วนใหญ่ใช้พาดขึ้นชั่วคราวและเก็บเมื่อใช้เสร็จ ถ้าเป็นอาคารไม้ก็มักจะสร้างอยู่กลางน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็จะสร้างชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้


หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (อุบลราชธานี)

เป็นหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบ ระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรม ของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดครับ

ประวัติโดยย่อ : เมื่อพระอริยวงศาจารย์ฯ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว ก็ได้สั่งให้ช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยยมีจุดประสงค์ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาพื้นบ้าน รวมถึงตำราต่างๆ มากมาย ส่วนมากเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมและสมุดข่อย ไม่ให้แห้งและกรอบและเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิกฎให้เสียหาย

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




5.jpg
5.jpg [ 184.64 KiB | เปิดดู 10628 ครั้ง ]
6.jpg
6.jpg [ 131.52 KiB | เปิดดู 10626 ครั้ง ]
“ ชาวบ้านถือว่าหอไตรเป็นตัวแทนของพระธรรมเจดีย์ และถือเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์ของชาวบ้านเห็นได้จากบุคคลทั่วไปไม่ควรขึ้นไป โดยผู้ที่จะขึ้นไปบนหอไตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรหรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ”






หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในหมู่บ้าน ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธ
ดังนั้น การอนุรักษ์ และ บูรณะ หอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควร รักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป

ที่มาข้อมูล
สถาสาระ: หอไตรอีสาน : ปองพล ยาศรี 2551
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
เมืองโบราณสมุทรปราการ
สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณ ตักบาตรถามพระ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณที่เข้าเยี่ยมชม

หวังว่าถูกใจและจะพยายามทำกระทู้เพื่อพระพุทธศาสนาต่อไปครับ

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Scripture Hall by SMP.jpg
Scripture Hall by SMP.jpg [ 55.5 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
หอไตร......และลักษณะทางสถาปัตยกรรม (ภาค 2)

เรียบเรียงภาคที่ 2โดย : น้อมเศียรเกล้า :b48:

-------------------------------------------
ความเป็นมาและความสำคัญของหอไตร

หอไตรคืออาคารที่สร้างขึ้นเพือใช้เป็นทีเก็บพระไตรปิฎกคำว่า"หอ"หมายถึงอาคารประเภทหนึ่งส่วนคำว่า"ไตร"หมายถึงพระไตรปิฎกบางครั้งบางแห่งก็เรียกว่าหอธรรมหรือหอพระธรรมถ้าเป็นหอไตรที่สร้างในเขตพระราชฐานก็จะเรียกว่าหอพระมณเฑียรธรรม

หอไตรไม่ได้ใช้เก็บเฉพาะพระไตรปิฎกเท่านั้นบางแห่งใช้เก็บพระฎีกาพระอรรถกธาจารย์และพระธรรมเทศนาอื่นๆ กฎหมาย และตำรายาเป็นต้น สำหรับบางแห่งหอไตรใช้เป็นที่สำหรับนั่งอ่านหรือคัดลอกพระธรรมหอไตรจึงเปรียบได้กับห้องสมุดของวัดซึ่งใช้เป็นห้องสมุดสำหรับพระสงฆ์

ประโยชน์หลักของหอไตรจึงสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ หนึ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาและใช้เก็บพระไตรปิฏก และสองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยแต่เนื่องจากปัจจุบันมีการบันทึกพระไตรปิฏกและพระธรรมคำสอนลงในสื่ออิเล็คทรอนิคก์ต่างๆ ซึ่งการเก็บรักษาทำได้ง่ายมาก การใช้สอยหอไตรจึงค่อยๆลดบทบาทลงไป เหลือไว้แต่เพียงประโยชน์เชิงสัญลักษณ์ที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาเท่านั้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2.jpg
2.jpg [ 48.84 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
ตำแหน่งที่ตั้งของหอไตร

หอไตรสมัยสุโขทัย เชื่อว่าโครงสร้างมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่กลางสระ เช่นเดียวกับหอไตรสมัยอยุธยา สำหรับยุคต้นรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นในเขตพุทธวาส โดยตั้งห่างจากพระอุโบสถไม่ไกลนัก ยกเว้นหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ในเขตพัทธสีมา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ได้มีการสร้างหอไตรห่างออกไปจากเขตพุทธาวาส โดยสร้างขึ้นในเขตสังฆาวาสเพื่อให้พระได้ใช้งานได้สะดวก โดยตำแหน่งที่ตั้งของหอไตรไม่มีการวางกฎเกณฑ์ที่ตายตัว สำหรับวัดขนาดใหญ่จะมีการสร้างหอไตรไว้มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่นวัดพระเชตุพนฯมีการสร้างหอไตรถึง 4 แห่งประจำมุมของเขตสังฆาวาส
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สถาปัตยกรรมของหอไตร

หอไตรมีการสร้างในหลายรูปแบบด้วยวัสดุที่แตกต่างกันต่อไปนี้

1.เครื่องไม้
2.เครื่องก่อ
3.แบบผสมระหว่างเครื่องก่อและเครื่องไม้ (ครึ่งตึกครึ่งไม้)

หอไตรเครื่องไม้มักสร้างไว้กลางสระเพื่อป้องกันแมลงต่างๆเช่นมดปลวก ซึ่งมักจะขึ้นไปกัดกินใบลาน หรือกระดาษ โดยมีสะพานแบบชักเก็บได้ พาดจากฝั่งไปยังหอไตรไม่มีส่วนใดของอาคารที่สัมผัสพื้นดินได้ การสร้างหอไตรกลางน้ำยังเป็นการป้องกันอัคคีภัยไปด้วยในตัว

:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




หอไตร1.jpg
หอไตร1.jpg [ 55.62 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
หอไตร2.jpg
หอไตร2.jpg [ 52.76 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
รูปทรงของหอไตร

มีต่อไปนี้

1.หอไตรทรงคฤห์ ได้แก่หอไตรหลังคาทรงจั่ว แบบเรือนของคฤหัสถ์หรือชาวบ้าน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




หอไตร3.jpg
หอไตร3.jpg [ 63.92 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
หอไตร4.jpg
หอไตร4.jpg [ 66.53 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
2. หอไตรทรงโรงได้แก่ หอไตรหลังคาทรงจั่วมีชายคาปีกนกโดยรอบ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




หอไตร5.jpg
หอไตร5.jpg [ 57.27 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
3.หอไตรทรงจัตุรมุข คือหอไตรที่ทำหลังคาแบบจัตรมุข
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




หอไตร6.jpg
หอไตร6.jpg [ 62.48 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
4.หอไตรทรงเครื่องยอด คือ หอไตรที่ทำหลังคาแบบมีเครื่องยอด
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSCF0037-copy.jpg
DSCF0037-copy.jpg [ 55.88 KiB | เปิดดู 9988 ครั้ง ]
หอไตรทรงสูง เช่นหอไตรในล้านนาไม่มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นบนทั้งภายนอกและภายใน ส่วนชั้นบนนิยมทำด้วยเครื่องไม้แกะสลักเวลาจะหยิบพระคัมภีร์ไปใช้จะต้องนำบันไดพิเศษมาพาดแล้วปีนเข้าไปทางช่องประตูแคบ ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคนเข้ามาหยิบฉวยพระคัมภีร์ออกไปง่ายๆ เช่น หอไตรวัดบ้านหลุก จ.ลำพูน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการสร้างบันไดทั้งภายในและภายนอกหอไตรแต่อย่างใด
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบมาตรฐานสถาปัตยกรรมพุทธศาสนา เว็บไซด์สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

http://www.thaiarch3d.com

ตัวอย่างแบบหอไตรทางภาคเหนือ



แก้ไขล่าสุดโดย น้อมเศียรเกล้า เมื่อ 24 มี.ค. 2012, 11:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง

ชลทิศ สว่างจิตร.(2535).การศึกษาภาพจิตรกรรมไทยในหอไตร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาเฉพาะจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่าง).สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บันฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร

สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี. (2553). หอไตร. วันที่ค้นข้อมูล 21 มีนาคม 2555. จาก เวบไซด์รายวิชา อาจารย์สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี: http://suebpong.rmutl.ac.th/




-ติดตามชม หอไตรนานาชาติ ที่หน้าถัดไปค่ะ-


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


------------- > คลิกหน้าที่ 2


แก้ไขล่าสุดโดย น้อมเศียรเกล้า เมื่อ 24 มี.ค. 2012, 13:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร