วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b45: ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้าใหญ่อินแปลง
พระประธานในพระอุโบสถ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)
พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


วัดมหาวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
พระอารามหลวงแห่งแรกและแห่งเดียวของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกอย่างคุ้นเคยว่า “วัดป่าใหญ่”
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมากับการก่อตั้งจังหวัดอุบลราชธานี

ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๓ ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ภายในพระอุโบสถมีพระประธานชื่อว่า “พระเจ้าใหญ่อินแปลง”
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน พร้อมกับลงรักปิดทอง
ลักษณะองค์พระเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลาว

หน้าตักกว้างประมาณ ๓ เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี ๕ เมตร


ประวัติเล่าสืบต่อกันของพระพุทธรูปองค์นี้มีมากมายตั้งแต่การสร้างว่า
พระเจ้าใหญ่อินแปลง มีอยู่ด้วยกัน ๓ องค์
โดยองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร
นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันมีอายุประมาณพันกว่าปี


พระพุทธรูปอีกองค์ประดิษฐานอยู่ที่ วัดอินแปลง
ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม

ซึ่งก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าใหญ่อินแปลง
วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว

ส่วนองค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง
ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) พระอารามหลวง
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และมีอายุเกือบสองร้อยปีแล้ว

สำหรับประเพณีปฏิบัติต่อพระพุทธรูปองค์นี้ ในวันเพ็ญเดือน ๕
หรือในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตร
เทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง


การสร้างพระเจ้าใหญ่อินแปลงเกิดขึ้นหลังจากพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง)
เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก
ได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานีที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล
พร้อมได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยวัดแห่งแรกของจังหวัดมีชื่อว่า
“วัดหลวง” เพื่อให้เป็นสถานที่ใช้ทำบุญทำกุศลของประชาชนทั่วไป

ภายหลังก่อสร้างวัดหลวงเสร็จสมบูรณ์ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ได้นิมนต์
พระธรรมโชติวงศา ซึ่งเป็นพระมหาเถระสายวิปัสสนากรรมฐาน
พร้อมพระภิกษุสามเณรมาอยู่จำพรรษาสนองศรัทธาของประชาชน


รูปภาพ

รูปภาพ

แต่เมื่อ พระธรรมโชติวงศา เข้ามาพำนักจำพรรษาเล็งเห็นว่า
วัดหลวงแห่งนี้เป็นวัดบ้าน หรือ “ฝ่ายคามวาสี” ตั้งอยู่กลางใจเมือง
ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐาน
จึงได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานใหม่
โดยพิจารณาเห็นว่าป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐๐ เส้น
มีหนองน้ำชื่อหนองสะพัง เป็นสถานที่สงบวิเวกเหมาะแก่การตั้งเป็น
สำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หรือ “ฝ่ายอรัญญาวาสี”
จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ให้ชื่อว่า “วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์” คู่กับวัดหลวง

แต่ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้สมบูรณ์เรียบร้อย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์
ผู้เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ก็ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๓

กระทั่งเจ้าเมืองคนที่ ๒ คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม)
ได้มาก่อสร้างวิหารในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๘
และปี พ.ศ.๒๓๕๐ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สอง
และให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า
วัดหนองตะพัง หรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง
โดยมี พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
และพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นผู้สร้างพระพุทธรูป “พระอินแปลง”
หรือ “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” องค์ปัจจุบันซึ่งเป็นพระประธานประจำวัด

ส่วนชื่อวัดได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดรวม ๒ ครั้ง เป็น วัดมหาวัน
และเปลี่ยนตามสมัยนิยมอีกครั้งชื่อว่า “วัดมหาวนาราม”
แต่ความหมายของชื่อก็ยังคงเดิมคือแปลว่า “วัดป่าใหญ่”

ส่วนพระพุทธรูป “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” หลังก่อสร้างเสร็จ
ก็ได้รับความเคารพบูชาจากชาวเมืองมาโดยตลอด
โดยเฉพาะในอดีตเมื่อมีความขัดแย้งกันขึ้น หรือเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ
ชาวเมืองก็จะชวนกันมาสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง
เพราะต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
หากใครไม่ทำตามที่ได้ให้คำสัตย์สาบานเอาไว้ ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา

รวมทั้งการมาขอพรให้ประสบความสำเร็จในการสอบไล่
หรือในหน้าที่การงาน และความประสบโชคมีสุขในครอบครัว
หรือแม้กระทั่งมีสิ่งของสำคัญสูญหายไป จะมาบนบานต่อหน้า
องค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง เพื่อขอให้ได้สิ่งของที่หายไปกลับคืนมา

พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจ
ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงมาต่อเนื่อง
โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ของข้าราชการทุกระดับชั้น
จะต้องมาไหว้กราบนมัสการบอกกล่าวต่อองค์ท่าน
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคใดๆ

สำหรับการทำบุญกับพระเจ้าใหญ่อินแปลงที่ชาวบ้านนิยม
คือ การถวายดอกบัวตูม ธูป และเทียน
พร้อมลงรักปิดทองที่ตัวองค์พระ และถวายสังฆทาน

แต่เนื่องจากพระอุโบสถที่ใช้ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินแปลงเริ่มคับแคบ
เพื่อลดความแออัดในการเข้าไปกราบนมัสการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ
ซึ่งมีประชาชนจากทั่วสารทิศพากันมากราบไหว้จำนวนมาก

ทางวัดได้จัดทำรูปองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงจำลองที่หน้าทางขึ้นพระอุโบสถ
โดยประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการขอพร
สามารถเลือกที่จะเข้าไปกราบพระเจ้าใหญ่อินแปลงในพระอุโบสถ
หรือเลือกกราบองค์พระจำลองที่สร้างไว้บริเวณทางขึ้นหน้าพระอุโบสถ


รูปภาพ

รูปภาพ

:b8: หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO21.pdf
http://www.lib.ubu.ac.th/ubon_temple/pdf/fTP0019.pdf
http://2g.pantip.com/cafe/gallery/topic ... 96918.html

:b44: วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=48252

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปสักการะพระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดป่าใหญ่ จ.อุบลราชธานี มาแล้วค่ะ
:b8: :b8: :b8:

เมืองอุบล สมกับเป็นถิ่นกำเนิดแห่งนักปราชญ์
มีพระอริยสงฆ์ไปอุบัติขึ้น ณ ที่แห่งนี้มากมายนับไม่ถ้วน
ตั้งแต่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) หลวงปู่สีทา ชยเสโน
หลวงพ่อชา สุภทฺโท หลวงปู่บุญมี โชติปาโล ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
รวมทั้ง 4 สมเด็จฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์...
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นต้น
:b44: :b16: :b50: :b49: :b50:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร