วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 01:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

น้ำแบบไหน คือ “น้ำปานะ”
เขียนโดย...พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี)
วัดเกตุมดีศรีวราราม ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

:b50: :b47: :b50:

ทุกวันนี้มีเครื่องดื่มมากมายหลายชนิดในท้องตลาด ทั้งที่เป็นชนิดกล่อง กระป๋อง ขวด หรือแม้กระทั่งชนิดบรรจุลงถุงอย่างดี น้ำดื่มดังกล่าวก็มีทั้งที่เป็นน้ำผลไม้แท้ ๑๐๐% น้ำผลไม้ที่มีทั้งน้ำและเนื้อปนกัน นมสด นมถั่วเหลือง น้ำนมข้าว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และกาแฟ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นของชั้นดีมีคุณภาพควรแก่การบริโภคทั้งนั้น หากผู้บริโภคเป็นฆราวาสผู้อยู่ครองเรือนจะดื่มเพื่อดับกระหาย หรือเสริมสร้างบำรุงกำลังด้วยเครื่องดื่มดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่สมควรโดยแท้ แต่หากเหล่าพระภิกษุ สามเณร หรือผู้รักษาศีลอุโบสถจะฉันหรือดื่มเครื่องดื่มดังกล่าว ต้องมีการพิจารณาที่ละเอียดลึกซึ้งตามหลักพระวินัยว่า เครื่องดื่มเหล่านั้นเป็น “น้ำปานะ” หรือไม่

คำว่า “ปานะ” แปลว่า เครื่องดื่ม หรือน้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้ ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ชนิด หรือที่เรียกว่า “น้ำอัฏฐบาน” ได้แก่ น้ำมะม่วง, น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า, น้ำกล้วยมีเมล็ด, น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด, น้ำมะซางต้องเจือด้วยน้ำจึงจะควร, น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น, น้ำเหง้าบัว และน้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ หากเทียบเคียงกับปัจจุบันก็น่าจะหมายถึง บรรดาน้ำผลไม้ทั่วไปนั่นเอง

วิธีทำน้ำปานะที่ท่านแนะไว้ คือปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าขาวบางห่อแล้วบิดให้ตึง อัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า อย่าให้มีกาก จากนั้นเติมน้ำลงไปให้พอดี แล้วผสมกับน้ำตาลและเกลือ เป็นต้น เพื่อให้ได้รสที่ดีขึ้น แต่น้ำปานะดังกล่าวก็มีข้อจำกัดที่จะพึงทราบคือ ปานะนี้ให้สุกด้วยแสงแดดเท่านั้น ห้ามให้สุกด้วยไฟ และน้ำปานะจัดเป็นยามกาลิก จึงควรเก็บไว้ฉันได้ตลอด ๑ วัน กับ ๑ คืนเท่านั้น เมื่อขึ้นอรุณของวันใหม่แล้วเป็นอันฉันไม่ได้

เมื่อทราบถึงวิธีการทำน้ำปานะแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจถึงวัตถุดิบที่จะนำมาทำน้ำปานะ ด้วยว่าเป็นของที่สมควรหรือไม่สมควร เพื่อเป็นการป้องกันการล่วงละเมิดพระบัญญัติ ดังต่อไปนี้

๑. น้ำปานะที่ไม่สมควรตามหลักพระวินัย ได้แก่ น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้

น้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง


น้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ มีถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ และงา เป็นต้น แม้จะต้มจะกรอง ทำเป็นเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น น้ำนมถั่วเหลืองชนิดกล่อง หรือชนิดขวดที่วางขายตามท้องตลาด และน้ำนมข้าว เป็นต้น จัดเป็นน้ำปานะที่ไม่สมควรทั้งนั้น

๒. น้ำปานะที่สมควรตามหลักพระวินัย ได้แก่ น้ำปานะ ๘ ชนิดข้างต้น และน้ำปานะแห่งผลไม้เล็ก เช่น ลูกหวาย มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น เมื่อพิจารณาตามนี้จะพบว่า น้ำผลไม้ชนิดไม่มีเนื้อปนที่วางขายอยู่โดยส่วนใหญ่ จัดเป็นน้ำปานะที่สมควร

อย่างไรก็ดี ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษเห็นจะเป็นเรื่องราวของ “น้ำนม” เนื่องจากมีสิกขาบทหนึ่งระบุว่า น้ำนมเป็นโภชนะอันประณีต ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล แต่ในเรื่องนี้ก็ยังมีข้อความจากพระไตรปิฎกที่ขัดแย้งกันอยู่ ๒ แห่งด้วยกัน กล่าวคือ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ ขุททกนิกาย มหานิเทส ได้ระบุว่า “ปโยปานํ” หรือน้ำนม จัดเป็นน้ำปานะ และในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องเสขิยกัณฑ์ ได้กล่าวถึง พราหมณ์คนหนึ่งปรุงน้ำนมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้รับน้ำนมมาแล้วก็ดื่มน้ำนมทำเสียงดังซู้ดๆ จึงเป็นที่มาของสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงห้ามพระภิกษุไม่ให้ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจทำให้เกิดการสับสนขึ้นได้ว่า “น้ำนม” หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำนม ควรหรือไม่ควรกันแน่

รูปภาพ

ในปัจจุบันวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่งก็อนุญาตให้ดื่มน้ำนมได้ ส่วนบางแห่งก็ไม่อนุญาตให้ดื่ม ในเรื่องนี้ แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็ยังมีข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสนทางความคิด เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอทำการแบ่งประเภทของน้ำปานะออกเป็น ๓ ระดับขั้น โดยพิจารณาจากเครื่องดื่มที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้

๑. ขั้นหยาบ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีเนื้อปน เช่น น้ำเฉาก๊วย เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปต่างๆ น้ำผลไม้ที่มีเนื้อปน แม้แต่น้ำนมถั่วเหลืองก็ดื่มไม่ได้

๒. ขั้นกลาง ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีเนื้อปน เช่น น้ำผลไม้แท้ ๑๐๐% ชนิดที่ไม่มีเนื้อปน น้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟผสมครีมเทียม และน้ำนม เนื่องจากน้ำนมก็ได้รับการอนุญาตไว้ตามพระไตรปิฎกข้างต้น ท่านใดเห็นว่าควรดื่ม ก็ไม่ควรไปตำหนิเขา ส่วนท่านใดเห็นว่าไม่ควรดื่ม ก็งดเว้นเสีย

๓. ขั้นละเอียด ได้แก่ น้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้ ๘ อย่าง น้ำผลไม้แท้ ๑๐๐% กาแฟชนิดที่ไม่มีครีมเทียมอันเป็นส่วนผสมของน้ำนม


เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ทั้ง ๓ ข้างต้น ก็คงพอจะกำหนดได้ถึงความเหมาะสมของเครื่องดื่มแต่ละประเภท แต่หากพิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงของการดื่มน้ำปานะแล้ว จะพบว่า การดื่มน้ำปานะก็เพื่อบรรเทาความหิวกระหาย และการดับธาตุไฟที่เผาผลาญอาหารอยู่ภายในร่างกาย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีกำลังในการเจริญสมณธรรม ไม่ถูกความหิวบีบคั้นจนกระสับกระส่ายเกินไปในการปฏิบัติธรรม

นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้ถวายที่เป็นทายก ทายิกา มีความต้องการที่ช่วยเหลือส่งเสริมเหล่านักปฏิบัติ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปในช่วงขณะหนึ่งเท่านั้น หาใช่ต้องการให้ดื่มจนอิ่มหนำอันเป็นที่มาแห่งความกำหนัดไม่ สำหรับฆราวาสผู้มุ่งหวังบุญกุศลในการใส่บาตรถวายเครื่องดื่มในปัจจุบัน ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของเครื่องดื่มดังกล่าว โดยใช้เกณฑ์การตัดสินข้างต้นเป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ เครื่องดื่มที่จัดอยู่ในขั้นหยาบไม่ควรถวายเลยจะดีที่สุด แต่ควรถวายเฉพาะเครื่องดื่มที่จัดอยู่ในขั้นกลาง และขั้นละเอียดเท่านั้น เมื่อถวายแล้วก็ควรทำใจให้เป็นกุศลในบุญที่ได้ทำไว้ ส่วนนักปฏิบัติก็ควรดื่มพร้อมทั้งพิจารณาถึงคุณค่าและเจตนาที่แท้จริงของผู้ถวายด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดื่มในปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปมากจากครั้งอดีตกาล หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า เครื่องดื่มเกือบทุกประเภทจะต้องผ่านการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) ซึ่งเป็นกระบวนการถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนในอุณหภูมิที่สูง เพื่อยืดอายุการเก็บอาหาร และทำให้อาหารปลอดภัยควรแก่การบริโภค

เมื่อเป็นเช่นนี้ เครื่องดื่มเหล่านั้นก็ชื่อว่าได้รับการหุงด้วยไฟ ไม่ใช่เป็นของที่ให้สุกด้วยแสงแดดตามพระบัญญัติ ครั้นจะบอกว่า เครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ควรดื่ม เนื่องจากได้รับการหุงด้วยไฟ แต่ก็เป็นกรรมวิธีที่มีความปลอดภัยสูงและเหมาะสมแก่การบริโภคด้วย จึงเป็นการตัดสินที่ยากเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น เมื่อจะเลือกเครื่องดื่มใด ก็ควรพิจารณาตามความเหมาะสมของยุคสมัยด้วย แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดการติเตียนขึ้นในภายหลัง จึงจะถือได้ว่า เครื่องดื่มนั้นมีความเหมาะสมและควรค่าแก่ความเป็นน้ำปานะ



จากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 147 มีนาคม 2556
โดย พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี)
วัดเกตุมดีศรีวราราม ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2556 09:14 น.



หมายเหตุ : เครื่องดื่มที่เหล่าพระภิกษุ สามเณร หรือผู้รักษาศีลอุโบสถ
จะฉันหรือจะดื่มหลังเที่ยงไปแล้วได้ ก็คือ “น้ำปานะ” เท่านั้น :b8:

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 07:20 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2018, 08:07 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b42: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2021, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร