วันเวลาปัจจุบัน 13 ก.ย. 2024, 10:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จาก หนังสือข้อพึงปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีบทว่าด้วยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี ได้ให้ความหมายของคำว่า ถวายอดิเรก ดังนี้

ถวายอดิเรก คือ การที่ประธานสงฆ์ในการพระราชพิธีหรือการพระราชกุศล กล่าวคำ “ถวายพระพร” เป็นพิเศษเฉพาะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขั้นตอนในการถวายอดิเรก เป็นเวลาหลังจากที่พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาแล้ว สมเด็จพระราชคณะหรือพระราชาคณะผู้เป็นประธานในพิธี “ถวายพระพร” เป็นภาษาบาลีด้วยบทว่า “อติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะตุ...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประนมพระหัตถ์รับ ส่วนผู้เฝ้าฯ ในพิธีไม่ต้องประนมมือ จบแล้วรองประธานสงฆ์ถวายพระพรลา (เฉพาะในพระราชฐานที่ประทับเท่านั้น) แล้วลุกจากอาสนะออกจากมณฑลพิธีไป

ที่มาของธรรมเนียมที่พระสงฆ์ “ถวายพระพร” พระมหากษัตริย์ที่เรียกว่า “ถวายอดิเรก” นี้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถือปฏิบัติเป็นรัชสมัยแรก โดยมีมูลเหตุเนื่องมาจากงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในปีหนึ่ง ได้โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา พระอุดมปิฎก (สอน พุทฺธสโร) เจ้าอาวาสวัดสุนทราวาส จ.พัทลุง อดีตเป็นพระราชาคณะที่ พระอุดมปิฎก เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม (เดิมชื่อวัดหงสาราม) กรุงเทพฯ ซึ่งทรงคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ให้เข้าร่วมพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวังครั้งนั้นด้วย

ขณะทรงประเคนจัตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์โดยลำดับ นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาจนถึง พระอุดมปิฎก ซึ่งนั่งประจำที่เป็นองค์สุดท้ายปลายแถวในพระที่นั่ง ทรงโสมนัสยิ่งนัก และทรงทักทายด้วยความคุ้นเคย ตอนท้ายมีรับสั่งว่า “ท่านเดินทางมาแต่ไกล นานปีจึงจะได้พบกัน ขอจงให้พรโยมให้ชื่นใจเถิด”

เนื่องจากพระอุดมปิฎกไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน แต่ด้วยภูมิรู้ของผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค จึงได้ตั้งพัดยศขึ้นถวายพระพรด้วยปฏิภาณโวหารเป็นภาษาบาลี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับแล้วโปรดมาก จึงรับสั่งให้ถือเป็นธรรมเนียมนิยมให้พระสงฆ์ถวายพระพรพระมหากษัตริย์ในงานพระราชพิธีทั้งปวง นับตั้งแต่รัชสมัยนั้นสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ก่อนถวายอดิเรกดังกล่าว พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาก่อน คือการที่พระสงฆ์สวดอนุโมทนา (เรียกโดยสามัญว่า ยะถาสัพพี) ในพระราชพิธีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ขั้นตอนการอนุโมทนาเริ่มขึ้นเมื่อประธานสงฆ์เริ่มสวดภาษาบาลีว่า “ยะถา วาริวะหา...” จนถึง “...มะณิ โชติระโส ยะถา” ระหว่างนี้ประธานทรงหลั่งทักษิโณทก ผู้ร่วมพิธีประนมมือ แล้วพระสงฆ์รับ “สัพพีติโย” ถึงตอนนี้ประธานจะทรงหลั่งทักษิโณทกลงในขันที่รองรับจนหมด แล้วทรงส่งพระเต้าคืนแก่เจ้าหน้าที่รับไป ทุกคนในพิธีประนมมือรับพรต่อไป

หลั่งทักษิโณทก คือกริยาราชาศัพท์ หมายถึง แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ หากใช้เป็นภาษาพูดเรียกว่า “ทรงกรวดน้ำ” ภาชนะที่ทรงใช้สำหรับกรวดน้ำ เรียกว่า “พระเต้าทักษิโณทก” มีลักษณะเป็นเต้าหรือคนโทเล็กๆ มีขันพานรองเป็นที่รองรับน้ำ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จาก พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร และข้อมูลของกองพุทธสารนิเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของคำว่า ถวายอดิเรก สรุปได้ดังนี้

ถวายอดิเรก คือ “การถวายพระพร” เป็นธรรมเนียมในพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งพระสงฆ์จะพึงปฏิบัติเป็นพิเศษเฉพาะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ เท่านั้น

ผู้กล่าวถวายอดิเรก ก็คือพระสงฆ์รูปที่เป็นประธาน ซึ่งดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะ จึงกล่าวถวายได้ หากสมณศักดิ์ต่ำกว่านี้ถือว่าไม่ต้องด้วยพระราชนิยม โดยกล่าวเพียงรูปเดียว

คำถวายอดิเรกนั้นมีดังนี้ “อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ ปรมินฺทมหาราชา ส ราชินี สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ ปรมินฺทมหาราชาวรสฺส ราชินิยา สห ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2011, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จาก หนังสือคำวัด โดยพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร ได้ให้ความหมายของคำว่า ถวายอดิเรก ดังนี้

ถวายอดิเรก คือ การที่พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาแด่พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี ด้วยบทบาลีตอนหนึ่ง แล้วประธานสงฆ์จะถวายพระพรต่อด้วยบทว่า “อติเรกวัสสสตัง ชีวตุ...” จบลงด้วยคำว่า “ขอถวายพระพร” แล้วพระสงฆ์ทั้งนั้นจะถวายอนุโมทนาต่อไปจนจบ

เพราะขึ้นต้นด้วยคำว่า “อติเรก...” และจบลงด้วยคำว่า “ขอถวายพระพร” จึงเรียกว่า ถวายอดิเรก ถวายพระพร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2012, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2019, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร