วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุ

บัดนี้การถวายสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่พระภิกษุรับเรียกว่าประเคนสิ่งของ เราควรทำความเข้าใจให้รู้ก่อนว่าทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและถูกต้องดี ในการประเคนของนั้นขนาดและน้ำหนักของสิ่งที่จะประเคนนั้น ควรจะเป็นสิ่งของพอบุรุษมีกำลังยกคนเดียวได้ หรือไม่หนักเกินไป เพื่อจะยกประเคนได้สะดวกและพระก็รับประเคนได้สะดวกเช่นกัน ส่วนสิ่งของที่น้ำหนักเบาและขนาดเล็กน้อยนั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อหากว่าทายกจัดเตรียมสิ่งของเหล่านั้นเสร็จแล้วพระก็นั่งเรียบร้อยดี เราก็ถือสิ่งของเหล่านั้นเข้าไปใกล้พระให้ได้หัตถบาท คือให้ห่างกันประมาณ 1 ศอกคืบ หรือ 2 ศอก พอเหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ ด้วย แล้วยกของนั้นประเคนพระภิกษุ ให้สูงพอแมวลอดได้ พระภิกษุก็น้อมรับสิ่งของที่โยมถวายแก่ตนด้วยความเคารพเช่นกัน

การรับประเคนสิ่งของนั้น ถ้าโยมยกของถวาย 2 มือ พระก็ต้องรับของ 2 มือ ถ้าโยมยกของถวายมือเดียว พระก็รับของมือเดียวเช่นกัน ถือว่าถูกต้องในการประเคนสิ่งของสำหรับโยมผู้ชาย

ถ้าหากว่าเป็น โยมผู้หญิง ประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุนั้น ก็ควรจะนั่งห่างจากพระภิกษุประมาณ 2 ศอก หรือให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ

พระภิกษุเมื่อจะรับประเคนสิ่งของจากโยมผู้หญิงนั้น ก็ควรมีผ้าสำหรับรับประเคน หรือผ้าที่ควรหาได้ว่าเหมาะสมก็ได้แล้ววางผ้านั้นลงที่ตรงหน้าของตนให้เรียบร้อยแล้วโยมผู้หญิงก็น้อมสิ่งของที่จะถวายพระวางลงบนผ้าที่พระท่านจัดผู้ไว้นั้นด้วยความเคารพ ถ้าโยมยกของถวาย 2 มือ พระก็ต้องจับผ้า 2 มือ ถ้าโยมยกของถวายมือเดียว พระก็จับผ้ามือเดียว เช่นกันด้วยความเคารพในสิ่งของที่ตนบริจาคทานด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย จึงเรียกว่าเป็นการประเคนสิ่งของให้พระภิกษุอย่างถูกต้อง และแลดูสวยงามเหมาะสมในทางพระพุทธศาสนา

บัดนี้ การทำบุญตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรนั้น ญาติโยมควรพากันปฏิบัติให้ถูกต้องเช่นกันในการใส่บาตรหรือตักบาตรพระ เมื่อพระภิกษุสามเณรออกไปบิณฑบาตตามกิจวัตรของท่าน ถ้าญาติโยมมีความประสงค์ อยากทำบุญใส่บาตรรพระตามกำลังศรัทธาของตน

เมื่อพระเดินมาบิณฑบาต หากเราเตรียมอาหารเพื่อจะใส่บาตรเรียบร้อยแล้วก็นำอาหารเหล่านี้ออกมาตั้งในที่ใดที่หนึ่ง ที่เห็นว่าสมควร หรือถืออาหารออกไป เพื่อใส่บาตรเมื่อพระมายืนเฉพาะหน้าของตนท่านเปิดฝาบาตรออกเพื่อรับภัตตาหารจากโยม โยมก็จัดอาหารนั้นใส่บาตรพระตามประสงค์ของตน

การตักบาตรหรือการใส่บาตรนั้น ถ้าญาติโยมใส่รองเท้าอยู่ ควรถอดรองเท้าเสียก่อนจึงใส่บาตร เพราะว่าพระภิกษุท่านไม่ได้ใส่รองเท้ามาบิณฑบาต เราก็ไม่ควรที่จะใส่รองเท้าเหมือนกันเพราะจะทำให้สูงกว่าพระภิกษุสามเณร จึงเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุสามเณรและกองบุญของตน เว้นไว้แต่ข้าราชการทหาร ตำรวจ ที่อยู่ในชุดเครื่องแบบประจำ จึงใส่บาตรได้โดยไม่ต้องถอดรองเท้า นอกนั้นต้องถอดรองเท้าจึงเป็นการเคารพในการทำบุญตักบาตรของตน

ถ้านิมนต์ให้พระท่านยืนรับบิณฑบาตบนยกพื้นที่อยู่สูงกว่าที่โยมยืนอยู่ โยมจะสวมรองเท้าเวลาตักบาตรก็ได้ เพราะพระท่านอยู่ในที่สูงโยมแล้วหรือถ้าโยมถอดรองเท้า ยืนรอตักบาตรอยู่บนเสื่อแล้วจะนิมนต์ให้ท่านยืนรับบิณฑบาตบนเสื่อด้วย ก็ใช้ได้เพราะโยมไม่ได้ยืนอยู่บนที่สูงกว่าพระ คืออยู่บนที่สูงระดับเดียวกันก็ได้เช่นกัน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร