วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




61.gif
61.gif [ 28.77 KiB | เปิดดู 4088 ครั้ง ]
พระประจำวันพุธ (กลางคืน) ราหู ปางป่าลิไลยก์ (เลไลยก์)

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองลงบนดอกบัว
พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ (เข่า) ซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุข้างขวา เป็นกิริยารับ
นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำถวาย และสร้างลิงถือรวงผึ้งถวายอยู่ข้างหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มาของพระพุทธรูปปางนี้มีว่า

ณ เมืองโกสัมพี มีภิกษุสองพวก คือ พระวินัยธรพวกหนึ่ง พระธรรมถึกพวกหนึ่ง ได้เกิดวิวาทกันด้วยเรื่องเหลือน้ำในห้องชำระ พระพุทธองค์ทรงห้ามถึงสามครั้ง แต่พระภิกษุสองพวกนั้นหาเชื่อฟังไม่ พระองค์จึงได้เสด็จหลีกออกไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวันเพียงลำพัง โดยมีช้างป่าลิไลยกะ กับลิงปรนนิบัติตลอดพรรษานั้น ครั้นชาวเมืองโกสัมพีรู้เรื่อง ก็ไม่ถวายภัตตาหารแก่ภิกษุที่วิวาทกันนั้นตลอดพรรษา ทำให้ได้รับความยากลำบากเรื่องอาหารต่างก็สำนึกผิด หลังจากออกพรรษาแล้ว ชาวเมืองนิมนต์พระอานนท์เถระ ให้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้ากลับ ช้างปาลิไลยกะตามส่งตลอดทาง แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามช้างนั้นเมื่อพ้นเขตป่าแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทราบไว้ก่อนว่า คติความเชื่อเรื่องนี้ เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานนานแล้ว แต่ยุคใดสมัยใดไม่พบหลักฐานแน่ชัด และการสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ขึ้น จุดประสงค์น่าจะให้ชาวพุทธกำหนดจดจำพุทธประวัติได้ง่ายขึ้น จะพูดจะอธิบายพุทธจริยา ผู้ฟังก็เห็นภาพชัดขึ้น แต่กาลต่อมาโหราจารย์ก็นำมาสอดประสานเข้ากับวันเกิดของคนเรา แล้วก็ใช้พุทธมนต์สวดบูชาพระประจำวันเกิดแต่ละวัน ๆ เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นกุสโลบายโน้มน้อมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นๆตรงหน้า แล้วสมาธิก็เกิดจิตใจหยุดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้เกิดปัญญามองเห็นทางออกแห่งปัญหาที่เกิดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCA1MG3ZL.jpg
imagesCA1MG3ZL.jpg [ 3.13 KiB | เปิดดู 3905 ครั้ง ]
พระราหูเสวยอายุ ๒๑ ปี ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)

คาถาสวดบูชา

สวดกลางวัน

(สุริยะปะริตต์)

กินนุ สันตะระมาโน วะ -- ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ-- กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา-- ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ --โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ


สวดกลางคืน

ข้างหน้าเหมือนกัน เปลี่ยนแต่ สุริยันติ เป็น จันทิมันติ

....ฯลฯ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ ฯ

สวดตามกำลังวัน ๒๑ จบ

(สวดย่อ คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ)

วันพุธกลางคืนจบเพียงเท่านี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร
พุทธลักษณะแบบศิลปะอู่ทอง ปางป่าเลไลยก์ ขนาดสูง ๒๓.๔๘ เมตร
รอบพระวรกาย ๑๑.๒๐ เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูนปิดทอง]


หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีพุทธศิลปะหลายยุคผสมกัน
อาทิ อู่ทอง สุโขทัย และอยุธยา

แม้ไม่มีหลักฐานการสร้างแน่ชัด
แต่ต้องมีมา ก่อนปี ๑๗๐๖
เพราะมีระบุในพงศาวดารเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปใหญ่

นอกจากนี ยังเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี
ในวรรณคดี ขุนช้าง-ขุนแผน ก็มีปรากฏว่า
ขุนแผนได้เคยมาบวชเรียนยังวัดป่าแห่งนี้

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : http://www.kumpunpra.com)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2009, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร