วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2018, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 1
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส

1. วิธีเล่าสภาวะ ให้เล่าจากความรู้สึกที่เป็นจริงไม่ควรปรุงแต่ง เพราะการปรุงแต่งจะเป็นอุปสรรคต่อ มรรค ผล นิพพาน
2. เมื่อปัญญามีกำลังแก่กล้าขึ้น สติจะอยู่ที่เดียวกับอาการและสามารถดูหรือฟังรู้เรื่องได้ โดยไม่ต้องออกห่างจากอารมณ์
3. ความว่างไม่สามารถแสดงอาการพระไตรลักษณ์ได้ แต่ที่รู้สึกถึงอาการวูบๆวาบๆในความว่างนั้น เกิดจากเห็นอาการสลายของรูปนาม
4. เมื่อมีอารมณ์จรเข้ามา ให้กำหนดอารมณ์จรจนกว่าจะหมด แล้วจึงกลับมากำหนดอารมณ์หลัก
5. ช่องว่างระหว่างจิตที่อ่อนกำลัง กิเลสเกิดง่าย ยิ่งมีช่องว่างมากเท่าไร ? กิเลสยิ่งเกิดมากเท่านั้น
6. เห็นช่องว่างอยู่ระหว่างจิตที่ประกอบด้วยสติ เรียกว่าปัญญา
7. การเล่าสภาวะ ไม่ว่าขั้นตอนไหนก็ตาม จะต้องเล่าอาการพระไตรลักษณ์ให้ได้มากที่สุด
8. ความคิดจัดเป็นปรมัตถ์ มโนภาพที่เกิดพร้อมความคิด จัดเป็นบัญญัติ
9. รสชาติของเวทนาและอาการเกิดดับของเวทนา อยู่ที่เดียวกันแต่รู้คนละขณะ
10. ทุกครั้งที่มีความคิดเข้าแทรก จะต้องกำหนดความคิดให้หมดไปก่อน
11. จิตที่ไวต่อกุศลจะไม่ไวต่ออกุศล
12. ขณะปฏิบัติไม่ว่าจะมีสภาวะใดปรากฏขึ้นก็ตาม ไม่ต้องไปสาวหาเหตุที่มาที่ไป ให้มีสติรู้ทันขณะแรกของอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น
13. เมื่อใจรู้อยู่ที่ไหน สติจะต้องอยู่ที่นั่น อาการรู้ชัดในรู้จะปรากฏขึ้นมาทันที
14. จิตคับแคบ ปัญญาเกิดยาก
15. จิตคับแคบ จะเกิดพร้อมกับความมีตัวตนเสมอ
16. ปัญญาญาณจะเกิดได้ง่าย ต้องอาศัยบรรยากาศรู้กว้าง ไม่มีตัวตน
17. แยกรูปนามได้ครั้งแรก รูปมีสภาพคล้ายหุ่นมีความหนาทึบชัดเจน เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นความหนาทึบจะค่อยๆน้อยลง พร้อมกับความชัดเจนก็เริ่มจางลง เหลือแต่รูปที่โปร่งว่าง คล้ายไม่มีรูปมีแต่นาม
18. เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นรูปละเอียดจะค่อยๆปรากฏ ทุกครั้งที่ปรากฏขึ้นมาใหม่ ความละเอียดความใสสะอาดจะเพิ่มมากขึ้น
เมื่อเข้าถึงความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ รูปจะกลับคืนสู่สภาพเดิม เป็นรูปที่ว่างเปล่าสะอาดหมดจด ไม่มีความรู้สึกใดๆอย่างชัดเจน
19. ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกสับสน ไม่แน่ใจว่าปฏิบัติถูกหรือผิด ให้เอาสติไปที่ความรู้สึกสับสนนั้น อาการสับสนที่เกิดขึ้นจะหายไป เมื่ออาการสับสนหายไป ให้เอาสติไปดูอาการต่างๆที่เกิดขึ้นต่อไป
20. ความพอใจที่ประกอบด้วยตัวตน โลภะจิตเกิด
21. ความพอใจที่ไม่ประกอบด้วยตัวตน โลกุตตระสติเกิด
22. ความคิดจัดเป็นนาม มโนภาพที่เกิดขึ้นจัดเป็นรูป
23. ความบรรจงของจิต เป็นบ่อเกิดแห่งความอ่อนโยนและกุศลธรรมต่างๆ
24. อารมณ์บัญญัติ เป็นอารมณ์ที่อยู่ใกล้กิเลส
25. อารมณ์ปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ที่อยู่ไกลจากกิเลส
26. ไม่ควรตั้งจิตขณะที่เกิดโทสะ เพราะจะทำให้ชีวิตในชาตินี้และชาติต่อๆไปตกต่ำ
27. ควรตั้งจิตขณะที่จิตเป็นกุศล เพราะจะทำให้ชีวิตในชาตินี้และชาติต่อไปเจริญรุ่งเรือง
28. ปุถุชนผู้มีศีลย่อมงดเว้นจากบาป เพราะกลัวการถูกติเตียน กลัวตกนรก กลัวจะต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต
อสุรกายกลัวการ เวียน ว่าย ตาย เกิดและกลัวภัยต่างๆ
29. พระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามีถึงแม้จะพ้นจากภัย นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกายแล้ว แต่ยังกลัวภัยที่เหลือจึงไม่กระทำบาป
30. พระอรหันต์ไม่กระทำบาปทั้งปวง ไม่ได้เกิดจากความกลัวใดๆทั้งสิ้น เพราะสามารถตัดภัยต่างๆได้อย่างเด็ดขาดแล้ว
31. ตาทิพย์จะไม่ปรากฏแก่ผู้มีอภิญญาจิต ที่มีดวงตาพิการทั้งสองข้างโดยกำเนิด
32. จิตที่แข็งกร้าวหรืออ่อนไหว เกิดจากอุปาทาน
33. ความอดทน อดกลั้น จัดเป็นกุศล
34. ความสำรวมหมายถึง ให้มีสติรู้ทันอารมณ์ปัจจุบัน ไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของความอยากได้หรือขัดเคือง
35. รอบๆของอาการเกิดดับ เป็นบัญญัติ
36. ขณะสนทนาให้มีสติอยู่ที่อาการเกิดดับของเสียง จะเห็นว่าวิถีปรมัตถ์กับวิถีบัญญัติเกิดสลับกันตลอดเวลา ซึ่งได้ทั้งปัญญารู้ถึง
อาการพระไตรลักษณ์และฟังรู้เรื่อง
37. วิธีอ่านสภาพจิตของผู้อื่น ให้ดูจากวิถีรูปที่แสดงออก
38. วิถีรูปที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวรับรองวิถีนาม วิถีรูปยิ่งมีมากเท่าไรวีถีนามจะยิ่งชัดเจนเท่านั้น
39. ดวงตาของผู้มีโทสะจะมีอาการรวมตัว นิ่ง หนัก พุ่งเป็นสาย โทสะยิ่งมากการรวมตัวยิ่งชัดเจน
40. กิริยาที่ไม่ได้ออกจากใจ วิถีรูปจะแย้งกันเอง
41. ทานที่ให้ผลนั้นจะต้องบริสุทธิ์ทั้งผู้ให้และผู้รับ อย่างน้อยจะต้องมีศีลบริสุทธิ์
42. การเล่าสภาวะให้เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของแต่ละอาการที่เกิดขึ้น
43. ผู้ที่สิ้นกิเลส รูปจะเหมือนกล่องเปล่าที่ถูกบรรจุด้วยพลังสติ และสติตัวนี้จะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆที่ไหลเข้ามา ยิ่งเข้าใกล้พลังสติมากเท่าไร ? อารมณ์จะยิ่งอ่อนกำลังมากเท่านั้น
44. นักปฏิบัติเปรียบเสมือนผ้าต่างสี ถึงแม้จะมีความสะอาดเท่ากัน แต่บุคลิกไม่เหมือนกัน
45. ผู้ที่เคยได้ฌานมาแล้วและต้องการปฏิบัติวิปัสสนา ให้ใช้วิธียกจิต
46. วิถีจิตของผู้ที่สั่งงานไวกับวิถีจิตของผู้มีโทสะ จะต่างกันที่ความเป็นระเบียบ และความบรรจง
47. นักปฏิบัติมีปัญญาไม่เท่ากันนั้นไม่ได้หมายถึงปัญญาทางโลก แต่หมายถึงปัญญาทางธรรมซึ่งรู้ได้จากอาการพระไตรลักษณ์
48. ปัญญาทางโลกยิ่งรู้บัญญัติมากยิ่งฉลาด ฉลาดในการยึดมั่นถือมั่น
49. ปัญญาทางธรรมยิ่งรู้ปรมัตถ์มากยิ่งฉลาด ฉลาดในการปล่อยวาง
50. จิตเป็นผู้คิด ผู้ปรุงแต่ง และจิตก็เป็นผู้รับทุกข์หรือสุขนั้น
51. อริยบุคคลได้ชื่อว่าเที่ยงต่อ มรรค ผล นิพพาน
52. คนที่ไม่มีความอดทนมักหลงลืมง่าย
53. ความเพียรที่เกิดขึ้นครั้งแรก เป็นเหตุของความเพียรในภายหลัง
54. คำว่าปัจจุบันในการเจริญสตินั้น หมายถึงขณะแรกของอารมณ์
55. ปัญญาทางธรรมยังหมายถึงการแยกแยะผิด ถูกได้
56. ความถึงพร้อมของการทำบุญทั้งขณะ 3 นั้น เป็นกำลังของการเจริญวิปัสสนา เพราะนึกถึงเมื่อไร ปีติ สุข ก็เกิดเมื่อนั้น ปีติ สุข เป็นบ่อเกิดแห่งสติปัญญา
57. ความสวยงามของจิตไม่ได้หมายถึงสีสัน แต่หมายถึงความบริสุทธิ


แก้ไขล่าสุดโดย อภิสิทธิ์ ภู่ภักดี เมื่อ 21 ก.ย. 2018, 11:31, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2018, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 2
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส
1. ว่างอย่างบริสุทธิ์จะต้องเป็นความว่างที่ไม่มีตัวตน และรู้ได้เดี๋ยวนั้น
2. ขณะเจริญสติให้มีตัวสังเกตประกอบด้วยเสมอ
3. สติที่ได้ปัจจุบันจะต้องเข้าไปอยู่ในอาการ เป็นต้นว่า ขณะเห็นความรู้สึกเห็น จะต้องอยู่ในรูป ให้ความรู้สึกว่า รูปนามอยู่ที่เดียวกัน
4. จิตของผู้สิ้นอาสวะกิเลส อาการรับรู้ทางทวารทั้ง ๖ จะมีสภาพ บาง เบา ละเอียด ตั้งอยู่ในความว่าง ใส สะอาด ไม่มีตัวตน อายุของอารมณ์สั้นมาก
5. การทวนกระแส หมายถึง ไม่ให้จิตไหลไปตามอารมณ์ของกิเลส ทุกครั้งที่มีกิเลสเกิดขึ้น จะต้องมีสติเข้าประกอบ จิตจะหยุดปรุงแต่ง เรียกว่าทวนกระแส
6. เมื่อจิตมีกิเลส แล้วมีการปรุงแต่งคล้อยตามอารมณ์ของกิเลสนั้น เรียกว่า ไหลตามกระแส
7. ไม่ควรเลือกเวลาปฏิบัติ เพราะจะทำให้เกิดความเคยชิน ทุกๆขณะจิตสามารถเจริญสติได้
8. ขณะที่ได้ยินเสียง มีความรู้สึกเหมือนแก้วใสๆครอบ หรือรองรับเสียงนั้นอยู่ เกิดจากความผ่องใสของจิต สติดีมีกำลัง
9. ถ้าสติมีอาการเน้นไปที่อาการ แสดงว่าสติดีกำหนดได้ปัจจุบัน
10. เห็นการทำงานของรูปนามเหมือนเครื่องจักร เมื่อทำหน้าที่เสร็จเครื่องจักรก็หยุด ทุกอย่างต้องอิงอาศัยกันอย่างเป็นระเบียบไม่ก้าวก่ายกัน
เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เป็นการเห็นอาการพระไตรลักษณ์อย่างชัดเจน
11. ขณะปฏิบัติถ้าหากมีอาการคล้อยตามอารมณ์ เช่น เมื่อพองยุบ ปรากฏขึ้น กายมีอาการโยกไหวตามพองยุบ หรือขณะตามลมหายใจเข้าออก
กายมีอาการยืดหดตามลมหายใจเข้าออก วิธีแก้อารมณ์ประเภทนี้ ให้ใช้วิธี จิตสั่งจิต เมื่อสั่งให้หยุดอาการต่างๆจะหยุดทันที เหลือแต่อาการพองยุบ หรือลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ถ้ายังไม่หายแสดงว่าสติอ่อนมาก เพราะอาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอุปาทานไม่ใช่สภาวะ เมื่อรู้สึกตัวจะต้องหายทันที
12. เมื่อปัญญาเข้าถึง 3 ขณะ แต่ละอาการจะมีสติรู้ชัด ถ้าเป็นเวทนาจะชัดเจนและทนยาก ให้สนใจอาการพระไตรลักษณ์ในเวทนา
จะเห็นว่าเวทนานั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ไม่มีเจ้าของอย่างชัดเจน
13. กำหนดเห็นอาการพระไตรลักษณ์จัดเป็นวิปัสสนา ในการกำหนดแต่ละครั้งต้องอาศัยกำลังสมาธิ เพราะฉะนั้นวิปัสสนากับสมถะจึงต้องอาศัยกัน
14. วิปัสสนากรรมฐานต้องมีรูปนามขันธ์ ๕เป็นอารมณ์ เพราะรูปนามขันธ์ ๕ซึ่งเป็นปรมัตถสภาวะนั้น มีพระไตรลักษณ์ปรากฏอยู่และผู้ที่เข้าถึง
อาการพระไตรลักษณ์จะต้องมีปัญญาอันแหลมคม
15. ความว่างกับใจรู้เป็นอันเดียวกัน สติจะมีกำลังมากเป็นพิเศษ
16. สภาพกายทิพย์ของผู้มีคุณธรรม มีแต่ความกว้าง ความสูง ไม่มีความหนา กายทิพย์ปรากฏขึ้นที่ไหน บรรยากาศที่นั่นจะใส สะอาด และเต็มไปด้วยพลัง
17. ปลีกวิเวกหมายถึง ให้จิตเข้าถึงความสงบ แล้วยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนา
18. เมื่อแยกรูปนามออกจากกัน ความวิเวกจะเกิดขึ้นทันที
19. ความวุ่นวายเกิดเพราะมีตัวตน
20. ขณะเจริญสติได้ปัจจุบัน อนุสัยกิเลสย่อมถูกทำลาย กิเลสที่มีอยู่ในใจจะเบาบางลงเรื่อยๆ
21. มีสติปัญญาเกิด ขาดสติกิเลสเกิด
22. มีปัญญาแสงสว่างเกิด ปัญญายิ่งมากจิตยิ่งผ่องใส
23. สภาวะต่างๆที่ปรากฏขึ้น จะค่อยๆปรับปรุงร่างกายและจิตใจของนักปฏิบัติ ให้ดีขึ้นโดยลำดับ
24. ความเบื่อที่เกิดจากญาณหรือปัญญา จะเกิดอยู่ในใจอย่างเงียบๆไม่ถึงกับแสดงออก
25. เพราะการแสดงออกจัดเป็นอกุศล ไม่ใช่ปัญญา
26. ก่อนลงมือปฏิบัติ จะต้องสร้างความพอใจต่อทุกๆสภาพ หรือทุกอาการที่เกิดขึ้น สมาธิจะค่อยๆเพิ่มขึ้น
27. มัจจุราชไม่เห็นนั้น หมายถึงพ้นจากการเกิดแก่เจ็บและตาย คือนิพพานนั่นเอง
28. ขณะปฏิบัติไม่ต้องกังวลว่าสภาวะที่ปรากฏขึ้นนั้นดีหรือไม่ เพราะจะทำให้จิตวอกแวก ให้มีสติตามรู้การเปลี่ยนแปลงของอาการเท่านั้น
29. เบื่อที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส จะต้องไม่มีตัวตน ตั้งอยู่ในความเงียบ
30. การปฏิบัติจะก้าวหน้าหรือไม่ ให้สังเกตจากสภาพจิต
31. สติไม่มีคำว่ามากเกิน สติยิ่งมาก รูปยิ่งละเอียด จิตยิ่งผ่องใส
32. วิถีสุขที่เกิดต่อจากวิถีอ่อนโยน เป็นสุขที่ละเอียดอ่อน
33. ความสับสน เกิดเพราะวิถีจิตขาดความเป็นระเบียบ
34. ความเป็นระเบียบของจิต จะต้องรู้ตั้งแต่ต้นจนจบของแต่ละวิถี
35. จิตที่เงียบสงบแต่ขาดกำลัง จะต้องเติมตัวตื่นตัวลงไป จิตจะค่อยๆมีกำลังขึ้นมา
36. สภาพจิตของผู้ที่เข้าถึงนิพพานครั้งแรก เปรียบเหมือนคนตาดีที่เดินไปในความมืด แล้วปรากฏแสงฟ้าแลบขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง
37. นิพพานครั้งที่ 2 แสงสว่างที่ปรากฏชั่วขณะหนึ่งนั้นมีกำลังมากขึ้น
38. นิพพานครั้งที่ 3 แสงสว่างที่มีกำลังนั้นชัดเจนขึ้น
39. นิพพานครั้งที่ 4 แสงสว่างที่เกิดขึ้น เปรียบเหมือนแสงฟ้าผ่าที่ตั้งอยู่ตลอดไป
40. ความอภิรมย์ยินดีในธรรมได้แก่ การเจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งมีแต่ก่อให้เกิดปีติ ความอิ่มใจในธรรม และสามารถทำให้สิ้นสุดกองทุกข์ทั้งปวง จึงประเสริฐ ยิ่งกว่าความอภิรมย์อื่นใด
41. นิโรธสมาบัตินั้นไม่มีสัญญา เวทนาและลมหายใจ เมื่อจะเข้านิโรธจึงต้องดับสัญญาก่อน เมื่อดับสัญญาเวทนาและลมหายใจก็ดับด้วย
เป็นอันว่า ได้เสวยอารมณ์นิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
42. การเข้าผลสมาบัติ ผลจิตเท่านั้นที่เกิด มรรคจิตไม่เกิด
43. ท่ามกลางความวุ่นวาย จะต้องรู้จักมองข้ามอารมณ์ หรือเลือกอารมณ์
44. สภาวะก้าวหน้าหรือไม่ ให้สังเกตกำลังของพระไตรลักษณ์
45. สติมีกำลังหรือไม่ ให้สังเกตกำลังของความว่าง
46. จะต้องปฏิบัติจนกระทั่ง นึกถึงความเป็นตัวตนไม่ออก จึงจะได้ชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์
47. การเจรจาพร่ำเพรื่อ ย่อมหาประโยชน์ไม่ได้
48. ผู้มีปัญญาจะเห็นอายุของรูปนามได้ชัดเจน
49. ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกสับสนวุ่นวาย ให้มองข้ามความสับสนวุ่นวายนั้น แล้วไปดูวิถีว่าง ความสับสนจะค่อยๆสงบลง
50. ผู้ที่เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ครั้งที่ 1 ความเป็นตัวตนจะเหลือ 75 %
51. เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ครั้งที่ 2 ความเป็นตัวตนจะเหลือ 50%
52. เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ครั้งที่ 3 ความเป็นตัวตนเหลือ 25%
53. เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ครั้งที่ 4 ความเป็นตัวตนไม่ปรากฏ
54. วิถีทดสอบอุปาทานว่ามีมากน้อยแค่ไหน ให้ใช้สามัญสติสำรวจความเป็นตัวตนดู อุปาทานยิ่งน้อย ความเป็นตัวตนจะยิ่งบาง
55. รู้อยู่ในความว่าง จะเห็นว่าใจรู้กับความว่างแยกเป็นคนละส่วน ถ้าเข้าถึงบรรยากาศของความว่าง ใจรู้กับความว่างเป็นส่วนเดียวกัน
ให้ใช้บรรยากาศของความว่างรับรู้อารมณ์ต่างๆ
56. โอกาสที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นหาได้ยาก
57. การรับรู้อารมณ์ไม่มีระยะทาง
58. จิตที่เป็นระเบียบ สมาธิย่อมเกิดได้ง่าย
59. วิธีใช้ตัวมุ่งให้เกิดประโยชน์ จะต้องเป็นตัวมุ่งที่ประกอบด้วยตัวพิจารณา
60. วิถีจิตสับสน การแสดงออกย่อมสับสน
61. ทุกข์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ ทุกข์ทางกายนั้น หมายถึง ทุกข์เกี่ยวกับอิริยาบถต่างๆ เช่น นั่งนานก็ทุกข์ ยืนนานก็ทุกข์ เดินนานก็ทุกข์ นอนนานก็เป็นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2018, 16:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 3
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส

1. วิธีสร้างตัวมุ่งเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ ให้เติมกำลังลงไปในความรู้สึกพร้อม กำหนดทิศทาง ตัวมุ่งจะมีกำลังขึ้นมาทันที
2. ทุกครั้งที่เห็นอาการดับของรูปนาม ปฏิจจสมุปบาทก็ดับพร้อมด้วยเสมอ
3. ในการเจริญสติ ไม่ว่าจะขณะลืมตาหรือหลับตา สภาวะจะต้องมีความใสและชัดเจนเท่ากันจึงจะดี
4. ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแต่ยังมีขันธ์ 5 อยู่ ทุกครั้งที่มีอาการรับรู้เกิดขึ้นมา จัดเป็นปฏิจจสมุปบาทโดยอ้อม ซึ่งเป็นเพียงกิริยาที่ไม่เกี่ยวกับกิเลส
5. อารมณ์ต่างๆที่ปรากฏแก่ผู้มีคุณธรรมสูง จะมีความรู้สึกเหมือนปรากฏอยู่ในท้องทะเลที่เวิ้งว้างไม่เปียกน้ำ และแยกเป็น คนละส่วนอย่างชัดเจน
6. ขณะฟังธรรมจะต้องมีความพร้อม พร้อมที่จะฟัง พร้อมที่จะเข้าใจ พร้อมที่จะจำ และพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติตาม
ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งยากที่จะก้าวหน้าได้
7. จิตที่อ่อนโยนขณะหยิบจับสิ่งของจะมีอาการนุ่มนวล เสียงกระทบที่เกิดขึ้นเป็นระเบียบและบรรจง
8. ผู้ที่เข้าถึงสภาวปรมัตถ์ได้นั้นสติจะต้องแก่กล้า สติยิ่งมีกำลังมากสภาวปรมัตถ์ยิ่งปรากฏชัดเจน
9. รูปที่ถูกบรรจุด้วยความอ่อนโยน เกิดจากพลังเมตตา
10. รูปว่างเปล่า เกิดจากจิตผ่องใส ไม่มีตัวตน
11. รูปมีความแกร่ง เกิดจากจิตมั่นคง
11. รูปอ่อนกำลังไม่ตั้งมั่น เกิดจากจิตท้อแท้
12. รูปแข็งกระด้าง เกิดจากโทสะจิต
13. ขณะทำงานให้มีสติรู้เฉพาะจุดกระทบจุดใดจุดหนึ่งก่อน เมื่อสติมีกำลังอาการต่างๆจะค่อยๆปรากฏขึ้นมา พร้อมกับความชัดเจน
14. กิเลสยิ่งน้อยดวงตายิ่งสงบ เป็นความสงบที่กว้างและไม่เหม่อลอย
15. ความอ่อนโยนที่แท้จริง จะต้องแสดงออกจากใจเป็นธรรมชาติไม่ฝืน
16. ความอ่อนโยนที่แสดงออก จะต้องตั้งอยู่บนจิตที่มั่นคง
17. ความอ่อนโยนจะเกิดขึ้นได้นั้น จิตจะต้องเป็นกุศลและไม่มีตัวตน ซึ่งจัดเป็นความอ่อนโยนบริสุทธิ์
18. ความอ่อนโยนแท้จะต้องแยกแยะผิดถูกได้อย่างชัดเจน มีเหตุมีผล รู้กาลควรไม่ควร และมีความสงบอยู่ในตัว
19. ขณะรับประทานอาหาร ให้มีสติอยู่ที่อาการเคี้ยว เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น อาการต่างๆจะค่อยๆปรากฏขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องไปจดจ้อง
20. ในการเจริญวิปัสสนา จะต้องมีสติทันขณะเกิดให้ได้มากที่สุด
21. เวลาเดินให้มีสติอยู่ที่อาการยก และรู้ถึงจุดกระทบของเท้า เมื่อจิตสงบอาการต่างๆจะค่อยๆปรากฏขึ้นมา เป็นอาการที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่ในความเงียบเหมือนอยู่คนเดียว
22. การกำหนดนั้นมี 2 วิธี คือ 1 การกำหนดโดยอาศัยบัญญัติ 2 กำหนดโดยอาศัยปรมัตถ์
23. การกำหนดโดยอาศัยบัญญัติจะต้องมีชื่อกำกับอยู่ในใจ กำหนดอย่างปรมัตถ์ไม่มีชื่อกำกับมีแต่อาการรู้ชัดในรู้
24. กำหนดโดยอาศัยบัญญัติถึงแม้จะไม่มีตัวตน แต่ยังมีผู้ประกาศ ผู้รู้ ผู้เห็น กำหนดอย่างปรมัตถ์ ไม่มีผู้ประกาศ ผู้รู้ ผู้เห็น อาการต่างๆจะประกาศตัวเอง
25. เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ให้เอาความรู้สึกเข้าไปในเวทนา ไม่ต้องไปค้นหาว่าเป็นเวทนาชนิดใด? ขณะที่ค้นหาจัดเป็นอุปาทานเพราะมีตัวตน
26. เวทนาที่ประกอบด้วยบัญญัตินั้น มีรูปร่าง สีสัน อาจจะชัด จาง หรือเลือนลาง ก็ได้
27. เวทนาปรมัตถ์ มีเพียงอาการไม่มีรูปร่างหรือสีสัน
28. อาการเกิดดับของรูปนามปรากฏขึ้นตั้งแต่ เริ่มแยกรูปนามได้จนถึงดับขันธ์
29. เกิดดับแต่ละขั้นตอน ต่างกันที่กำลัง
30. ผู้ที่เข้าถึงความสงบครั้งแรกของแต่ละญาณ จะเกิดความรู้สึกเงียบเหงาอยู่ในใจ
31. ผู้ที่เข้าถึงธรรมขั้นสูง สติจะเปลี่ยนเป็นพลัง พลังตัวนี้จะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ
32. เมื่อพลังมีกำลังเต็มที่ จะเห็นว่าอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าใกล้หรือไกล จะถูกล็อกเอาไว้ไม่เคลื่อนย้ายที่ เกิดที่ไหนดับที่นั่น
33. อย่ามองข้ามอาการก่อนดับ เพราะจะทำให้ปัญญาเกิดช้า
34. ผู้มีสติ ทุกๆอารมณ์ที่เกิดขึ้น จะตั้งอยู่ในความเงียบ สงบ ใส หากมีการปรุงแต่งเกิดขึ้น จะเป็นการปรุงแต่งอย่างสันโดษและเป็นระเบียบ
35. ต้องการให้ความสุขหรือความอ่อนโยนตั้งอยู่นานๆ จะต้องเติมความพอใจลงไป อาการนั้นๆจะตั้งอยู่ตราบเท่าที่ต้องการ
36. ความเป็นระเบียบของจิตจะเกิดขึ้นได้ ต้องเห็นขณะดับของแต่ละวิถี
37. วิธีทดสอบกิเลสในตัวว่ามีมากหรือน้อย ให้ใช้สามัญสตินึกถึงอารมณ์ในอดีต ถ้าหากนึกออกเพียงแต่แค่รู้ไม่มีรูปร่าง และดับไปอย่างรวดเร็ว
แสดงว่ากิเลสมีน้อย ยิ่งบางเท่าไรกิเลสยิ่งน้อยเท่านั้น
38. ถ้าหากนึกแล้วมโนภาพเกิดขึ้นชัดเจน แสดงว่ากิเลสยังมีมากอยู่ ยิ่งปรุงแต่งเป็นสีสันมากเท่าไรกิเลสยิ่งมีมากเท่านั้น
39. เห็นอาการเกิดดับ จัดเป็นปัญญาทางธรรม เพราะเห็นอาการพระไตรลักษณ์
40. อาการรับรู้จะเกิดขึ้นได้นั้น 1 . ต้องอาศัยกำลังของอารมณ์ 2. ขึ้นอยู่กับความพอใจหรือเจตนา
41. อาการวูบๆวาบๆที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสตินั้น เป็นอาการสลายของรูปนาม เป็นจุดเริ่มต้นของสภาวะปรมัตถ์
42. เมื่อเข้าสู่ญาณสลาย หากกำหนดไม่ทันปัจจุบัน อาการหวาดกลัว คิดปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ เป็นเรื่องเป็นราวจะเกิดขึ้น
ซึ่งที่ถูกนั้นจะมีก็เพียงแต่อาการใจหายๆเท่านั้น
43. ผู้ที่เรียนรู้ปริยัติจะต้องใจกว้าง ขณะสนทนาให้สนทนาเฉพาะเกี่ยวกับธาตุ ๖ เท่านั้น
44. การพูดจาโอ้อวดเกินจริง ไม่ได้หมายถึงความมีปัญญา
45. การปฏิบัติธรรมช่วยพัฒนาศักยภาพทาง กาย วาจา ใจ ให้ดีขึ้น และยังสามารถพัฒนาชีวิตให้มีความสุข


แก้ไขล่าสุดโดย อภิสิทธิ์ ภู่ภักดี เมื่อ 18 ก.ค. 2019, 09:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2018, 11:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 4
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส
1. การยกจิตให้ใช้ในขณะที่จิตเป็นกุศล
• ในขณะที่จิตว่าง ให้ระลึกถึงความอ่อนโยน
• ให้ระลึกถึงความละเอียดอ่อน
• ให้ระลึกถึงความไม่มีอะไร
• ไม่ว่าจะระลึกถึงธรรมใดธรรมหนึ่ง จิตจะมีกำลังและพร้อมที่จะสร้างกุศลทันที
2. ให้หมั่นใช้สติ ดูความเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นทางทวารทั้ง ๖ พร้อมทั้งอิริยาบถย่อย
3. การข่มเวทนา ให้ใช้ความรู้สึกที่มีน้ำหนักเติมลงไปในเวทนา ความกระวนกระวายจะค่อยๆหายไป เมื่อ สามารถข่มเวทนาได้แล้ว จะรู้สึกเบาสบาย
4. เมื่อรูปหมดกำลัง ให้เติมพลังลงไปในส่วนที่บางที่สุด ห้ามเติมตรงใจกลางของความอ่อนกำลัง จะเกิดอัตตาไม่รู้ตัว
5. บางครั้งอาจจะหาตำแหน่งของความบางเบาไม่เจอ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ให้เติมลงตรงจุดห่างจากความหนาแน่นของความอ่อนกำลัง หรือ
ผิวของความหนาแน่นของความอ่อนกำลัง พลังจะค่อยๆปรากฏขึ้นมา
6. เมื่อเริ่มปฏิบัติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม ให้เอาสติเข้าไปในความรู้สึก
• เมื่อสภาวะชัดเจนให้เอาสติดูอาการ
• เมื่อเกิดอาการไม่ชัด ให้เอาสติเข้าไปในความรู้สึก ที่รู้ว่าไม่ชัด
• เมื่อชัดขึ้นมา ให้ดูที่อาการ สลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อาการพระไตรลักษณ์จะค่อยๆปรากฏขึ้นมาจนกระทั่งชัดเจน
7. ความรู้สึกไม่มีตัวตน เป็นความรู้สึกที่ละเอียดกว่า ความรู้สึกไม่ใช่ตัวเรา
8. ขณะยกจิตขึ้นสู่ความว่าง อารมณ์ต่างๆจะไหลมาเอง ไม่ต้องไปหา
9. เมื่อจำต้องอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้สร้างความพอใจต่อสภาพนั้นๆ
10. วิธีสังเกตคำชม ให้สังเกตวิถีจิตที่เกิดต่อจากวิถีชม จะเห็นเจตนาของผู้ชม คำชมที่เกิดจากใจจะต้องตามด้วยวิถีชื่นชม เมตตา อ่อนโยน หรือ ศรัทธา
11. ไม่จำเป็นจะต้องฟังทุกประโยค และตอบทุกคำถาม ถ้าเรื่องนั้นไร้สาระ
12. ควรสงเคราะห์คนในก่อน จึงสงเคราะห์คนนอก
13. ขณิกนิพพาน ไม่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ มีสภาพเหมือนพระอรหันต์ ที่ปรินิพพานแล้วไม่มีอะไรเหลือ
14. สุขของนิพพาน คล้ายสุขของคนที่นอนหลับสนิท ไม่ฝัน ไม่รู้อะไร พอตื่นขึ้นมา บอกได้ว่าหลับเป็นสุข
15. สุขของนิพพาน เป็นความสุขสงบ ไม่ต้องรับรู้ถึงการเกิด และความเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
16. นามที่มีน้ำหนักจัดเป็นฝ่ายอกุศล นามฝ่ายกุศลจะไม่มีน้ำหนัก เบา สบาย
17. ความหนักแน่นของนามจัดเป็นฝ่ายกุศล
18. ความเป็นกุศลหรืออกุศลของนาม หากมีสติจะดับทันที
19. อาการพระไตรลักษณ์ของรูปนาม ถึงแม้จะมีสติก็ดับไม่ได้ มีหน้าที่ตามรู้เท่านั้น
20. เวทนาบางครั้งกำหนดให้ดับได้ บางครั้งก็กำหนดให้ดับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังหรือเหตุปัจจัยของเวทนานั้นๆ
21. ต้องการสื่อสาร จะต้องมีสติรู้อยู่กับบัญญัติ
22. ต้องการรู้อาการพระไตรลักษณ์ ต้องรู้อย่างปรมัตถ์
23. วิธีรู้อย่างบัญญัติ ให้รู้กว้าง รู้อย่างปรมัตถ์ให้รู้แคบ เป็นอาการรู้ที่ปรากฏอยู่ในความว่าง
24. ถ้าใจรู้ไหลตามนิมิตจนสามารถ ปะติด ปะต่อ เป็นเรื่องเป็นราวได้ เกิดจากสติอ่อน
25. เราสามารถเปลี่ยนอกุศลให้เป็นกุศลได้ ด้วยการเติมตัวสติลงไปในอกุศลนั้น จิตจะเปลี่ยนเป็นกุศลทันทีสติที่ได้รับการฝึกฝนดีแล้ว จะไม่มีระยะทาง
26. รูปมีอาการถูกกระชากหายไป หรือกระเด็นไป หลุดไป นั่นเป็นอาการสืบต่อของรูปขาดออกจากกัน
27. คำว่าดับนั้น ไม่ได้หมายถึงจุดสุดท้ายที่ไม่รู้หรือหมดไปเพียงอย่างเดียว ยังหมายถึงอาการจาง สลายด้วย
28. ทุกๆอิริยาบถ แสดงอาการพระไตรลักษณ์ได้หมด
29. ว่างมีหลายอย่าง
• ว่างเกิดจากอุเบกขา
• ว่างผ่องใส
• ว่างสงบ ไม่เหลือเศษ
• ว่างเหมือนหยุดโลก หยุดทุกสิ่งทุกอย่าง
• ว่างเคว้งคว้าง
• ว่างมีกระแส
• ว่างหลุดจากกระแส
30. อิริยาบถย่อยเมื่อกำหนดได้ปัจจุบันแล้ว ขณะหยิบหรือจับจะรู้สึกว่า รูปนามกระทบกัน
31. จิตที่ไม่มีกิเลส จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ชัดเจนตามความเป็นจริง เพราะไม่ถูกกิเลสปรุงแต่ง
32. สติยิ่งมาก อายุของอารมณ์ยิ่งสั้น การตั้งอยู่ของอารมณ์จะสั้นมาก จนแทบจะไม่รู้สึกว่าตั้งอยู่
33. ขณะปฏิบัติถ้าใส่ใจหรือตั้งใจมากเกินไป จะเกิดอาการแน่น อึดอัด กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน
34. วิธีปฏิบัติที่ถูก ให้ปล่อยใจสบายๆ เพียงแต่ให้มีสติพร้อมกับเติมตัวสังเกต ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง
35. ทุกๆอาการสามารถเข้าสู่ มรรค ผล นิพพานได้ ถ้ารู้หลักในการเจริญสติ
36. ความเพียรในการเจริญวิปัสสนาหมายถึง เพียรสติ คือหมั่นเจริญสตินั่นเอง
37. เมื่อต้องการละกิเลส ไม่ควรเพ่งเล็งผู้อื่น ควรเพ่งเล็งหรือดูตัวเองให้มาก
38. ในความว่างไม่ปรากฏอาการพระไตรลักษณ์ แสดงว่าสติไปไม่ถึงอาการปรมัตถ์ ให้เอาสติเข้าไปในความรู้สึก รูปละเอียดจะค่อยๆปรากฏขึ้นมาเอง
39. ขณะที่มีเมตตาหรือพรหมวิหร ๔ จิตจะเข้มแข็งใจเปิดกว้าง เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นจะไม่เกิดความรู้สึกว่าต้องทน
40. การกระทำกรรมต่างๆ ให้ตัดสินที่เจตนา
41. บางคนอาจจะบอกว่าไม่มีเจตนา ทำไปด้วยความโกรธหรือเผลอ
42. ขณะนั้นจัดเป็นเจตนาที่ไม่ประกอบด้วยสติ จึงทำให้เข้าใจผิดได้ว่าไม่มีเจตนา
43. ฉะนั้นผู้ที่ขาดสติ จึงมีโอกาสไปสู่อบายภูมิได้มากกว่าผู้มีสติ
44. ถ้าบุคคลนั้นพอใจในสภาพของตนเอง ไม่ต้องพูดโน้มน้าวให้เขาปฏิบัติ เพราะไม่เกิดประโยชน์
45. ความว่างของพระอรหันต์นั้น เป็นความว่างหยุดโลก ไม่หมุนไม่คล้อยตาม ทุกสิ่งทุกอย่างคล้ายกับไม่เคลื่อนไหว ไม่มีอารมณ์ใดพิเศษ
เบาไม่มีน้ำหนัก ทุกๆอารมณ์ไม่เหลือเศษ ทุกอย่างเงียบ สงบ คล้ายคนประสาทหูดับทั้งสองข้างอย่างกะทันหัน
46. เมื่อสติมีกำลัง จิตจะหดสั้นเป็นหนึ่ง มั่นคง อารมณ์ปรมัตถ์จะปรากฏในลักษณะ 3 ขณะ ถ้าไม่ทิ้งการปฏิบัติ โอกาสที่จะเข้าถึง
มรรค ผล นิพพาน จึงอยู่แค่เอื้อม
47. วาจาของพระอรหันต์ไม่มีการปรุงแต่ง หรือบิดเบือน บ้างมีวาจาแข็งกระด้าง บ้างก็พูดดี ล้วนเป็นบุพกรรมที่สร้างมาแต่อดีตแก้ไม่ได้
48. ทุกข์ใจเกิด เพราะไปเกาะเกี่ยวอยู่กับอารมณ์ในอดีต หรืออนาคต
49. นักปฏิบัติที่ดีต้องตรงต่อเวลา ทันต่อเหตุการณ์
50. โมหะกับปัญญา ไม่สามารถเกิดร่วมกันได้ เหมือนแสงสว่างกับความมืด
51. ทุกครั้งที่มีสติ ปัญญาเกิด ความหลงไม่รู้หมดไป เห็นตามความเป็นจริงว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาไม่มี จะมีก็เพียงแต่ รูปนามเท่านั้น
52. เมื่อขาดสติ โมหะเข้าครอบงำ ความมืดเข้าปกคลุมจิต รูปนามถูกปิด สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาจึงเกิดขึ้น
53. จิตที่มีกิเลสต้องอาศัยสติชะล้าง จึงจะผ่องใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2019, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 5
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส
1. เข้าไม่ถึงสภาวธรรม ไม่เรียกว่ามีธรรมเป็นที่อยู่
2. สภาวธรรมเคลื่อนไหว สติจะต้องอยู่ห่างจากอาการ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น ให้เอา สติไปจับที่อาการ
3. บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป ลบล้างกันไม่ได้
4. การขออโหสิยังรวมไปถึง การให้สัญญากับใจตนเองว่า จะไม่กระทำอย่างนั้นอีก
5. คำพูดไม่เหลือเศษ หมายถึง ความรู้สึกจบพร้อมคำพูด
6. คำพูดเหลือเศษ หมายถึง คำพูดจบแต่อารมณ์ยังไม่จบ
7. คำพูดที่เหลือเศษ จะแสดงออกทางวิถีรูป
8. การยอมรับความจริง จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่าย
9. การปล่อยวางอย่างมีตัวตน เรียกว่า โมหะ
10. อุเบกขาที่ประกอบด้วยตัวตนจัดเป็นกิเลส เพราะถึงแม้จะว่างจากอารมณ์ภายนอกได้แล้ว แต่ยังยึดความรู้สึกที่เป็นตัวตนอยู่
11. สนามแม่เหล็กของกรรม จะปรากฏแก่บุคคลที่ตายแล้วต้องเกิดอีก
12. ตายแล้วไม่ต้องเกิด สนามแม่เหล็กของภพชาติใหม่ จะไม่ปรากฏ
13. รู้ได้จากความรู้สึกในขณะใกล้จะตายจิตจะเปลี่ยนสภาพจากรู้กว้างเป็นรู้แคบ จากที่เคยท่องเที่ยวรับรู้อารมณ์ต่างๆ
ไม่มีที่สิ้นสุด จะเหลือเพียงอารมณ์เฉพาะหน้า
14. รูปกายเนื้อว่างเปล่าจากความรู้สึก เหลือแต่อาการเกิดดับของรูปนามเป็นขณะๆ อยู่ในที่โล่ง ว่าง ใส ไม่มีอะไรรองรับ
เป็นธรรมชาติล้วนๆปรากฏอยู่ในที่โล่ง ว่าง ใส
15. เป็นสภาวปรมัตถ์ไม่มีเศษของบัญญัติปะปนอยู่
16. ไม่มีอาการดิ้นรน กระวนกระวาย หรืออึดอัด
17. ไม่มีอาการนึกคิดหรือปรุงแต่ง
18. ไม่มีมโนภาพหรือสีสัน
19. ไม่มีความกังวลหรือห่วงใย
20. ไม่ดีใจ หรือเสียใจ
21. ไม่มีความอาลัย หรือตื่นกลัว
22. ไม่มีความปรารถนาหรือปฏิเสธ
23. เป็นความรู้สึกอิสระจากทุกสิ่งทุกอย่าง
24. ยิ่งมีความอ่อนกำลังมากเท่าไร ใจรู้ยิ่งเงียบ สงบ สบาย และยิ่งเข้าใกล้วาระสุดท้ายมากเท่าไร ใจรู้ที่เงียบ สงบ
สบาย จะยิ่งกลืนเข้ากับบรรยากาศมากเท่านั้น เป็นความเงียบ สงบ สบายที่ไม่มีอะไรเหลือ ซึ่งเป็นอาการรับรู้ครั้งสุดท้ายก่อนที่รูปนามจะสิ้นสุด
25. อาการรับรู้ครั้งสุดท้าย จะเป็นตัวประกาศให้รู้ว่า ไม่ต้องเกิดอีก บุคคลผู้หวังความหลุดพ้น จะต้องมีความศรัทธาในพระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์
26. สติมีการเตือนเป็นลักษณะ เตือนให้รู้จักกุศล อกุศล แยกแยะผิด ถูก มีโทษหรือไม่มีโทษ เมื่อขาดเสียซึ่งสติจึงไม่สามารถแยกแยะได้
26. จองเวรข้ามภพข้ามชาติ เกิดจากการตั้งจิตขณะที่มีมิจฉาสมาธิ
27. อายตนะเกิดจากกรรมต่างกัน ไม่ได้เกิดจากกรรมอย่างเดียวกัน
28. ผู้ที่ยังมีกิเลส อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ภายนอกหรือภายใน อารมณ์เหล่านี้จะเป็นตัวบังคับจิตให้ปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
29. ขณะที่มีโลกุตตรสติ จิตจะเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ
30. สภาวะที่เคลื่อนไหว สลาย หรือแตกกระจาย จะต้องใช้ความรู้สึกหยุดนิ่งเป็นตัวดู
31. อาการของเวทนาที่แสดงความเป็นกลุ่มก้อน หนัก หรือหยุดนิ่ง ให้เอาความรู้สึกเข้าไปในเวทนา รู้แล้วปล่อยๆๆ อาการของเวทนาจะค่อยๆ
กระจายออก ความโปร่ง เบา จะมีกำลังมากขึ้นพร้อมกับเวทนาก็เริ่มน้อยลง
32. วิธีสร้างตัวแกร่ง ให้เริ่มจากจิตมั่นคงก่อน จิตมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ตัวมุ่งต้องมีกำลัง
33. โลกุตตรสติจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสามัญสติเป็นบาทก์
34. อริยบุคคลมีความสุขไม่เท่ากัน บ้างก็แห้งแล้ง บ้างก็สดชื่น ทั้งนี้เกิดจากกรรมในอดีตและปัจจุบันของแต่ละคนไม่เท่ากัน
35. การเหวี่ยงแขนจนสุดในขณะเดิน ทำให้ขาดสติได้ง่าย เพราะขณะสุดท้ายของการปล่อยแขนขาดตัวบรรจง
36. ตัวมุ่งจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสมาธิ
37. สมาธินั้นมี 2 อย่าง ได้แก่ สัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ
38. สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยกุศลจิต มีลักษณะเบา
39. มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยอกุศลจิต มีลักษณะหนัก
40. ไม่ว่าจะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ ถ้าประกอบด้วยตัวมุ่งที่มีกำลัง แล้วนึกคิดให้ตนเองเป็นไปต่างๆนาๆ นั่นคือการอธิษฐานจิต
41. การอธิษฐานจิตนั้น ไม่สามารถอธิษฐานให้ผู้อื่นเป็นไปต่างๆนาๆได้
42. ปัญญามีการตัดเป็นลักษณะ คือเห็นอาการเกิดดับนั่นเอง
43. รู้ขึ้นมาก็ดับไปแล้วไม่เรียกว่าปัญญา จะต้องรู้ขณะดับด้วยจึงจะเรียกว่าปัญญา
44. อาการต่างๆที่กระทำลงไปนั้นจัดเป็นเหตุ เหตุยิ่งชัดผลยิ่งเร็ว
45. อาการปล่อยวางนั้น ไม่ได้หมายถึงพยายามที่จะลืมหรือพยายามที่จะไม่ใสใจ แต่หมายถึงเห็นอาการเกิดดับของอารมณ์ต่างๆ
ทุกครั้งที่เห็นอาการเกิดดับ จิตจะทำหน้าที่ปล่อยวางอย่างอัตโนมัติ
46. สามัญสติจะไม่ปรากฏในอกุศลจิต
47. นักปฏิบัติที่มีจิตเศร้าหมอง ขุ่นมัวบ่อย เกิดจากไม่มีศรัทธาในตนเอง
48. อธิปัญญาวิปัสสนา คือการเห็นรูปนามเกิดดับเนืองๆ
49. เห็นความเกิดดับอยู่เนืองๆ ความว่างเปล่าจะปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
50. พญามัจจุราชย่อมมองไม่เห็น บุคคลที่กำหนดรู้ขันธ์ 5 เหมือนต่อมน้ำ หรือพยัพแดดอยู่
51. อนัตตาปรากฏจะเห็นสังขารเหมือนบ้านร้าง ไม่มีผู้นำ ไม่มีเจ้าของ ว่างเปล่า
52. วิธีปลีกวิเวก ให้เอาความรู้สึกไปจับบริเวณใต้ลิ้นปี่ แล้วเจาะลึกเข้าไป จะพบกับบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นบรรยากาศเฉพาะตน ไม่ต้องเพิ่ม
ไม่ต้องปรุงแต่ง เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวนใดๆทั้งสิ้น เรียกว่าวิหารธรรม
53. วิหารธรรมอีกอย่าง หมายถึงมีความเป็นอยู่ด้วยจิตอ่อนโยน มีเมตตา หรืออยู่ด้วยความว่าง กว้าง ใส
54. บุคคลต่างๆที่ฝึกฝนเอาไว้อย่างดีแล้วในชาตินี้ ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล จะปรากฏ เป็น วิบากในชาติหน้าและชาติต่อๆไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2020, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2015, 15:40
โพสต์: 65

แนวปฏิบัติ: ไม่เจาะจงรูปแบบ
งานอดิเรก: ปั่นจักรยาน
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 6
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส

1. เห็นอาการเกิดดับ ไม่ต้องใสใจว่าอะไรเกิด อะไรดับ เพราะการรู้ว่าอะไรเกิด อะไรดับ ยังจัดว่าอยู่ใกล้อุปาทาน
2. ในความว่างให้ดูอาการเกิดดับของนาม ไม่ต้องหาอารมณ์
3. มีหลายๆอารมณ์เกิดขึ้น ให้เอาสติจับที่ความรู้สึก สติจะเลือกอารมณ์เอง
4. เห็นอาการเกิดดับเร็วขึ้นๆ เกิดความรู้สึกกลัว หายใจไม่ออกและรู้สึกเหนื่อย เกิด จากอุปาทาน ให้ปล่อยความรู้สึกให้หมด
อย่าดึงๆรั้งๆอาการต่างๆจะหายไปเอง
5. ยิ้มที่ออกจากใจ จะห่อหุ้มเอาความรู้สึกดีๆออกมาด้วย
6. ยิ้มบริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยโลภะจิต จะห่อหุ้มเอาความว่างเปล่าออกมา
7. ในอาการเกิดดับ ยิ่งเห็นความว่างมากเท่าไร อุปาทานยิ่งน้อยลงเท่านั้น
8. กำลังปัญญารู้ได้จากอาการเกิดดับของนาม ปัญญายิ่งมีมากกำลังของนามยิ่งชัดเจน
9. อาการพระไตรลักษณ์จะปรากฏ เมื่อจิตคลายจากอุปาทาน
10. จิตคลายจากอุปาทานมากเท่าไร อาการพระไตรลักษณ์จะยิ่งชัดเจนเท่านั้น
11. ให้เอานามไว้หน้ารูปกาย อนัตตาจะปรากฏขึ้นมาในลักษณะที่ไม่มีตัวตน
12. จิตฟู เกิดจากโลภะจิต
13. ผู้ที่มีเวทนาเป็นเจ้าเรือนไม่สามารถจะเอาชนะได้ ให้ไปดูที่ความรู้สึกอย่าเจาะเวทนา เพราะการเจาะเวทนาเพื่อที่จะเอาชนะ หรือต้องการให้หมดไป จัดเป็นอุปาทาน ให้ไปจับที่ความรู้สึกจะเห็นอาการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นอาการพระไตรลักษณ์
14. เวทนายิ่งกล้า สมาธิยิ่งมีกำลังมาก ให้เอากำลังสมาธิมาดูเวทนา
15. วิธีเอาสมาธิมาใช้ประโยชน์ ให้เติมความพอใจลงไป กำลังสมาธิจะเปลี่ยนเป็นกำลังสติทันที ให้เอาสติดูความรู้สึกจะเห็นอาการพระไตรลักษณ์
16. เวทนามีกำลังกล้า ให้เอากำลังของเวทนามาจับที่ความรู้สึก ปัญญาจะปรากฏ
17. จิตเป็นผู้นึก คิด ปรุงแต่ง สั่งและจดจำ เพื่อรอโอกาสที่จะรับผลและชดใช้
18. ยิ่งมีธรรมมาก จิตยิ่งเปิดกว้าง รูปยิ่งเบา สังเกตได้จากใบหน้า
19. จะต้องเห็นรอยต่อระหว่างเกิดกับดับ และดับกับเกิดจึงจะได้ชื่อว่าปัญญาเกิดต่อเนื่อง
20. มีความรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในความเงียบสงบ เกิดจากจิตคลายอุปาทาน
21. มีอาการเดินหน้าไปเรื่อยๆไม่มีถอยหรือกลับหลัง เกิดจากมีสติอยู่กับปัจจุบัน
22. มีความรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในความเงียบ สงบและว่างเปล่า เป็นอาการของอนัตตาไม่มีตัวตน
23. ศรัทธายิ่งมีมากสติยิ่งมีกำลัง ศรัทธากับสติจะต้องมีกำลังเท่ากันจึงจะดี
24. รอบๆของอาการเกิดดับรู้สึกสว่างใส เป็นความสว่างใสของสติ
25. เมื่อสติมีกำลัง อารมณ์ต่างๆจะปรากฏอยู่ในความรู้สึก
26. เห็นความไม่มีอะไรเกิด เห็นความไม่มีอะไรดับ เป็นอาการเห็นความไม่มีแก่นสารอย่างชัดเจน
27. รู้วิธีดับทุกข์แต่ไม่ยอมดับหรือไม่พยายามดับ แสดงว่าพอใจที่จะทุกข์
28. ในความเป็นมนุษย์ยังแบ่งจิตออกได้ 5 ประเภท
29. กายมนุษย์ จิตพรหม จะมีเมตตา กรุณา อ่อนโยนและเสียสละ
30. กายมนุษย์ จิตเทวดา มีแต่ความสุข จิตละเอียดอ่อน เบาสบาย
31. กายมนุษย์ จิตมนุษย์ สุข ทุกข์คละเคล้ากันไป
32. กายมนุษย์ จิตนรก มีแต่ทุกข์ ทุรนทุราย หวาดระแวง กลัวภัย นึกถึงความเป็นกุศลไม่ออก
33. กายมนุษย์ จิตพ้นโลก จิตอยู่เหนือกุศลและอกุศลทั้งปวง ไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งสิ้น จิตว่างเปล่า
34. กายมนุษย์จิตจะเป็นเช่นไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจและกำลังสติปัญญาของแต่ละบุคคล
35. นักปฏิบัติที่ดีไม่ควรมุ่งที่จะเล่าเพียงอย่างเดียว ควรมุ่งที่จะฟังด้วยจึงจะเกิดประโยชน์
36. จิตยิ่งนิ่งอาการเกิดดับยิ่งชัดเจน
37. ศรัทธาที่เกิดจากการนึกคิด กำลังจะต่างกับศรัทธาที่เกิดจากใจ
38. ศรัทธาที่เกิดจากการนึกคิด กำลังจะน้อยไม่มั่นคง
39. ศรัทธาที่เกิดจากใจ จะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
40. ผู้สิ้นอาสวกิเลส อาการฟูของจิตจะไม่ปรากฏ
41. ขณะก้าวเท้าแล้วมีอาการหลุดออกๆ เป็นอาการเกิดดับของรูป
42. อาการระยิบระยับเป็นอาการของความเป็นกลุ่มก้อนแตก จัดเป็นปัญญา
43. จิตดิ่งลึก เกิดจากอำนาจสมาธิ
44. เห็นเป็นคน 2 คนๆหนึ่งนั่ง คนหนึ่งดูเป็นอาการแยกรูปนาม คนนั่งเป็นรูป คนดูเป็นนาม ยังจัดเป็นบัญญัติอยู่
45. ถ้าหากนามมีกำลังมากจะปรากฏเป็นกายละเอียด คล้ายถอดรูปได้
46. มีอาการวูบดับเหมือนตกเหว เป็นอาการดับของนาม จัดเป็นปัญญา
47. ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกๆขณะจิต จึงไม่ควรยึดติดอยู่กับอารมณ์อดีต
48. พลังที่ไหลเข้ามาจัดเป็นสภาวะ ให้เอาความรู้สึกไปจับที่พลัง อาการพระไตรลักษณ์จะปรากฏ
49. จิตเป็นกุศล พลังความเบาจะเป็นตัวส่งรูปกายให้ทรงอยู่
50. จิตเป็นอกุศล ความหนักจะเป็นตัวฉุดรูปกายให้ทรุดลง
51. สภาวะถูกล็อกเอาไว้อย่างเป็นระเบียบ มีแล้วหมดๆ เกิดจากความไวของสติ
เกร็ดความรู้ หัวข้อที่ 7
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส

1. วิธีเติมความสุข ขั้นแรกจะต้องแยกรูปนามก่อน
2. เมื่อแยกรูปนามได้แล้ว จิตจะโปร่ง ว่าง
3. ให้เติมความรู้สึกละเอียดอ่อนเข้าไปในความ โปร่ง ว่าง นั้น ความสุขจะปรากฏขึ้นมา
4. เป็นความสุขที่ไม่ประกอบด้วยตัวตน
5. เมื่อเข้าถึงความสุขแล้ว ต้องการให้ความสุขนั้นตั้งอยู่นานๆ
6. ให้เอาความสุขเป็นตัวรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบทวารทั้ง 6
7. เช่น ขณะตาเห็นรูป ความสุขจะเป็นผู้เห็น
8. ขณะได้ยินเสียง ความสุขจะเป็นผู้ได้ยินเสียงนั้น
9. ขณะได้กลิ่น ความสุขจะเป็นผู้รู้กลิ่น
10. ขณะลิ้มรส ความสุขจะเป็นผู้รับรู้รส
11. ขณะสัมผัส หยิบ จับ เคลื่อนไหว เดิน ความสุขจะเป็นผู้รับรู้อาการเหล่านั้น
12. ขณะยืน จะรู้สึกว่ายืนอยู่บนความสุข
13. ขณะนั่ง จะรู้สึกว่านั่งอยู่บนความสุข
14. ขณะคิด ความสุขจะเป็นตัวห่อหุ้มความคิด
15. ขณะพูด ความสุขจะเป็นตัวห่อหุ้มคำพูดออกมา
16. ขณะเคี้ยวอาหาร จะเคี้ยวถูกความสุข
17. ขณะกลืน จะกลืนเอาความสุขเข้าไป
18. เมื่อทำได้อย่างนี้ ความสุขจะตั้งอยู่ได้นาน
19. ผู้มีปัญญามาก จะดับอารมณ์ได้เร็ว
20. ผู้ที่มีสติ จะมีความตื่นตัวตลอดเวลา
21. มักมีคำถามว่า ทำไมยิ่งปฏิบัติยิ่งทุกข์? ไม่ปฏิบัติยังจะดีกว่า
22. ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อเจริญโลกุตตรสติแล้ว สามัญสติมีกำลังมากขึ้น จึงเห็นทุกข์ชัดเจนขึ้น
23. ถ้าหากสามัญสติมีกำลังมากขึ้น ทำไมจึงเกิดความรู้สึกสับสน? วนเวียนอยู่กับความทุกข์นั้น?
24. เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดการพิจารณา ไม่เห็นช่องว่างระหว่างอารมณ์
25. วิธีแก้ ให้เอาความรู้สึกไว้หน้ารูป จะเกิดความรู้สึกว่าง เบา สบาย
26. ให้เอาความรู้สึกว่างนี้ ย้อนกลับไปดูปัญหาต่างๆ ความสับสน ความทุกข์จะค่อยๆจางหายไป
27. อริยะขั้นที่ 1 ศีล 5 บริสุทธิ์จริงหรือไม่?
28. การกระทำใดๆที่ส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ อริยะขั้นที่ 1 จะไม่กระทำอย่างเด็ดขาด
29. ขณะทำงานแล้วทำสัตว์ตายโดยไม่ตั้งใจถือว่าไม่บาป เพราะขาดองค์ประกอบคือตัวเจตนา
30. เมื่อตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร ขึ้นอยู่กับอาการยึดติดของคนๆนั้น
31. ถ้ายึดติดในความเป็นกุศล กุศลก็จะส่งผลให้ไปเกิดในที่ดีๆ อย่างน้อยก็เป็นมนุษย์
32. ถ้ายึดติดในความเป็นอกุศล อกุศลก็จะส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำ
33. อกุศลที่ยังไม่ได้ลงมือกระทำหรือแสดงออก หากคิดอยู่ในใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็สามารถนำไปสู่อบายได้เช่นกัน
34. อกุศลชนิดนี้มีกำลังมาก เพราะคิดจนติดเป็นนิสัย จัดเป็นมโนกรรม
35. ทุกครั้งที่รู้สึกขึ้นมาจะต้องรู้สึกทันทีว่า เป็นอารมณ์ใหม่และความรู้สึกใหม่จึงจะดี
36. เหมือนคนนอนหลับสนิท แล้วตื่นขึ้นมารับอารมณ์ใหม่เสมอ
37. อารมณ์กับความรู้สึก จะต้องเกิดดับพร้อมกันตลอดเวลา
38. จะเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ได้นั้น นามจะต้องมีกำลังมากกว่ารูป
39. รูปมีกำลังมากกว่านาม อารมณ์ที่ปรากฏจะเป็นอารมณ์บัญญัติเท่านั้น เพราะนามที่อ่อนแอจะไม่สามารถรับอารมณ์ปรมัตถ์ได้
40. การรับรู้อารมณ์บัญญัติ วิถีจิตทำงานมากกว่าการรับอารมณ์ปรมัตถ์
41. ตายแล้วไปเกิดในภพภูมที่ดีหรือไม่ สังเกตจากความรู้สึกก่อนตาย
42. จิตรู้สึกโปร่ง เบา สบาย ย่อมไปเกิดในที่ดีที่สูง
43. จิตหนัก ย่อมไปเกิดในที่ต่ำ
44. จิตยิ่งมืดยิ่งหนักเท่าไร ก็จะยิ่งตกต่ำเท่านั้น
45. คนที่ทำกรรมหนักได้นั้น เกิดจากจิตขณะนั้น มืด บอด ขาดสามัญสติ
46. ขณะปฏิบัติมีอาการเคร่งตึง เกิดจากกความรู้สึกถูกล็อกเอาไว้ประกอบด้วยตัวตน
47. วิธีแก้ ให้ความรู้สึกอยู่หน้ารูปอาการถูกล็อกจะหายไป
48. อารมณ์จะชัดเจนหรือไม่ก็ตาม สติจะต้องชัดเจนเสมอ
49. อารมณ์ไม่ชัดเจน สติจะต้องรู้ชัดถึงความไม่ชัดเจนของอารมณ์นั้น
50. โลกุตตรสติมีกำลัง สภาวปรมัตถ์จะชัดเจน สติยิ่งมีกำลังมากยิ่งชัดเจน
51. สภาวปรมัตถ์ชัดเจน ยังแสดงถึงกำลังของปัญญาด้วย
52. ขณะเล่าสภาวะ เมื่อถามแล้วจะต้องตอบทันที ยิ่งตอบช้าความชัดเจนของสภาวะยิ่งน้อย ความบกพร่องที่มีอยู่จะยิ่งมาก
53. เห็นอาการเกิดดับของรูปนามในแต่ละขณะ จะต้องรู้ถึงสภาพจิตในขณะนั้นด้วย
54. ขันธ์ 5 อยู่ที่ไหน สภาพจิตอยู่ที่นั่น
55. การเล่าสภาวะไม่ควรเล่าวน เพราะการเล่าวนบ่งบอกถึงลักษณะของอารมณ์ ที่ยังเหลือเศษ
56. อารมณ์ที่ยังเหลือเศษอยู่ สภาวะจะไม่ชัดเจน สังเกตได้จากวิถีรูป
57. สภาวะไม่ชัดเจน จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติขั้นต่อไป

ที่มา หนังสือมิติธรรม ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส และ http://www.mtt4.com

:b8: ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส
สำนักวิปัสสนาพัฒนาทางจิต จังหวัดตรัง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=55102
เกร็ดความรู้ 8
โดย ท่านแม่ครูนราวรรณ กุลธรชุติภาส
1. ขณะปฏิบัติ เห็นอาการต่างๆคล้ายของว่างเปล่า เกิดจากปัญญาเห็นความไม่มีแก่นสารของสังขาร
2. ทุกครั้งที่เห็นอาการเกิดดับ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดจะถูกตัดขาดไปด้วย
3. อาการเกิดดับไม่ปรากฏ สังโยชย์จะเกิดขึ้นทันที
4. ขณะเห็นอาการเกิดดับไม่ต้องไปกังวลว่า เป็นรูปหรือนาม
5. ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นตัวปิดกั้นปัญญา
6. กายทิพย์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยพลังจิต
7. สภาพจิตเป็นตัวรองรับ อาการเกิดดับของรูปนาม
8. สภาพจิตกับอาการเกิดดับอยู่ที่เดียวกัน แต่เป็นคนละส่วน
9. สติมีกำลังมาก จะเห็นสภาพจิตชัดเจน
10. สภาพจิตที่เกิดขึ้นต้องรู้ได้ในขณะนั้น ถ้าหากมีอาการต้องนึกก่อนจึงบอกได้ แสดงว่าสติยังอ่อนอยู่
11. รู้ถึงอาการเกิดดับโดยทั่วไปแล้วเรียกว่าดี มีสติรู้ทันอารมณ์ปัจจุบัน
12. แต่ถ้าหากต้องการที่จะเข้าถึงธรรมขั้นต่อไป สติจะต้องมีกำลังมากยิ่งขึ้น
13. ทุกครั้งที่เห็นอาการเกิดดับ จะต้องรู้ทันทีว่าเกิดดับอยู่ในสภาพจิต ประเภทไหน?
14. เมื่อทำได้อย่างนี้ สติจะมีกำลังเป็นทวีคูณ
15. สภาพจิตที่มีกำลังเมื่อขยายให้กว้างออก จะเป็นบรรยากาศเฉพาะตัว
16. บรรยากาศของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพจิตของคนๆนั้น
17. จิตเบา บรรยากาศรอบๆจะเบา การรับรู้อารมณ์ต่างๆจะรู้สึกเบาสบาย
18. จิตหนัก บรรยากาศรอบๆตัวจะมีแรงกดดัน การรับรู้อารมณ์ต่างๆจะหนักและอึดอัด
19. จิตขุ่นมัว บรรยากาศรอบๆตัวจะสลัวไม่ปลอดโปร่ง การรับรู้อารมณ์ต่างๆไม่ชัดเจน คล้ายคนหูอื้อตาลาย
20. จิตละเอียดอ่อน บรรยากาศรอบๆตัวจะละ เอียดอ่อน เบา นุ่ม การรับรู้อารมณ์ต่างๆจะไม่มีน้ำหนัก
21. จิตยิ่งละเอียด โปร่ง ว่าง เบา สงบมากเท่าไร? วิถีรวบรวมยิ่งทำงานน้อยลงเท่านั้น
22. จิตละเอียดอ่อน สติจะใส การรับรู้อารมณ์จะเร็วและชัดเจน
23. จิตที่ถูกครอบงำ วิถีรวบรวมจะทำงานมาก เพราะจิตประเภทนี้รับรู้อารมณ์ไม่ชัดเจน อันเนื่องมาจากสติอ่อน วิถีรวบรวมจึงต้องทำงานมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด อึดอัดและเครียดได้ง่าย
24. เพราะเห็นวิถีรวบรวมซึ่งเกิดต่อเนื่องกันเป็นสาย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอดเวลา ความหงุดหงิด อึดอัด เครียด จึงเกิดขึ้น ทั้งนี้เกิดจากยึดติดในอารมณ์
25. ผู้ที่เข้าถึงความเป็นอนัตตา และสามารถสร้างพลังได้ เมื่อต้องการเอาพลังนี้มาใช้กับชีวิตประจำวัน
26. จะต้องขยายพลังให้เป็นบรรยากาศ รูปนามจะถูกห่อหุ้มด้วยพลังทันที
27. อาการรับรู้ต่างๆที่เกิดขึ้น จะตั้งอยู่บนบรรยากาศของพลัง
28. ขณะเดิน จะเดินอยู่ในพลัง
29. ขณะเห็น จะเห็นอยู่ในพลัง
30. ขณะได้ยิน จะได้ยินอยู่ในพลัง
31. ขณะหายใจ จะหายใจเอาพลังเข้าไป
32. ขณะพูด จะพูดอยู่ในพลัง
33. ขณะหยิบจับ เคลื่อนไหว อาการเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในพลัง
34. ขณะเคี้ยว จะเคี้ยวอยู่ในพลัง
35. ขณะกลืน จะกลืนเอาพลังลงไปด้วย
36. ขณะดื่ม จะดื่มเอาพลังลงไปด้วย
37. ขณะคิด จะคิดอยู่ในพลัง
38. ขณะนั่ง จะนั่งอยู่ในพลัง
39. ขณะนอน จะนอนอยู่ในพลัง
40. ขณะทำงาน จะทำอยู่ในบรรยากาศของพลัง
41. เมื่อทำได้อย่างนี้ พลังจะไม่หมด มีแต่เพิ่ม สติมีกำลังมาก จิตจะมีความผ่องใสเป็นพิเศษ
42. บางครั้งจะรู้สึกว่าพลังมีมาก บางครั้งมีน้อย บางครั้งก็หมด ไม่แน่นอน ทั้งนี้เกิดจากยังไม่ชำนาญ
43. จะต้องฝึกจนกระทั่ง พลังอยู่ตัวเต็ม อิ่ม ไม่เพิ่ม ไม่ลด หยุดนิ่ง จึงจะเป็นพลังที่ใช้งานได้ดี
44. พลังประเภทนี้จัดเป็นพลังพิเศษ ไม่ประกอบด้วยตัวตน ใช้สำหรับตัดกิเลสโดยเฉพาะ
45. พลังประเภทนี้ถึงแม้จะฝึกฝนจนชำนาญแล้วก็ตาม ถ้าหากมีกิเลสเข้าไปรบกวนแม้เพียงนิดเดียว พลังนี้จะสลายไปทันที
46. เมื่อต้องการสร้างพลังขึ้นใหม่ จะต้องแยกรูปนามให้ได้ชัดเจนเสียก่อน
47. พลังชนิดนี้ไม่มีน้ำหนัก มีความไวเป็นพิเศษ สามารถดับ โลภะ โทสะ โมหะได้ และยังสามารถป้องกันกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย
48. เมื่อทำได้อย่างนี้จะเห็นว่า รูปนามเป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วก็หมดไป
49. ไม่มีอะไรยั่งยืน จากสิ่งนี้ไปยังสิ่งนั้น ไม่มีอะไรเที่ยง
50. แต่ละปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีแต่อาการเกิดดับ ไม่มีปรากฏการณ์ไหนที่ไม่ดับ
51. อาการเหล่านี้ จะชัดเจนคล้ายเห็นด้วนตาเปล่า
52. เห็นความเป็นไปของวิถีรูป วิถีนามอย่างชัดเจน
53. เมื่อเห็นเป็นอย่างนี้ อาการยึดติดจะค่อยๆคลายออกจนหมดสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2020, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2020, 22:08 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร