วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
อ้างคำพูด:
"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....


ถ้าตีความแบบนี้ "วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น



การพิจารณาเห็น จิตที่ประภัสสระ
ไม่ใช่แบบเดียวกับการนั่นพิจารณา กระป๋องนมตราหมี ที่อยู่ตรงหน้านะ
ที่เราจะต้องเข้าไปตามรู้ว่า มันจะสลายไปตามกาลเมื่อไร อย่างไร
ที่เราจะหมายเอาค้อนมาทุบเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดของมันได้
แล้วชี้บอกออกมาได้ว่า มันเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง อย่างไร

เพราะสิ่งที่ดับก่อน มันก็จะดับไป

ซึ่งสิ่งที่ดับที่หลัง ยังไม่ดับ จะหมายว่า เที่ยง ก็ไม่ใช่
มันเป็น เรื่องที่ พ้นไปจากภาษาที่จะใช้มาอธิบายได้

สำหรับธรรมที่พระพุทธองค์สอน
สิ่งที่เป็นปัญญาก็ได้จากการพิจารณาเห็นผลจากสิ่งที่ดับไปแล้วนั่นล่ะ

จนกว่าจะดับจนไม่เหลืออะไรที่จะดับแล้ว นั่นล่ะ
พระพุทธองค์ก็่ว่า นั่นล่ะ คือรู้หมดแล้ว จะมีอะไรที่ต้องรู้ไปกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว

:b1:




สิ่งที่วลัยพรถามกับเช่นนั้น
ไม่มีตรงไหน ที่มีคำว่า ใช่ หรือไม่ใช่

วลัยพรเพียงถามเช่นนั้นว่า "งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ"
ส่วนเช่นนั้นจะตอบว่าอย่างไร ก็เป็นความคิดเห็นของเช่นนั้น

ในการสนทนา เมื่อมีความยึดมั้นถือมั่น
หากมีการใช้คำประเภท ถูก ผิด ใช่ ไม่ใช่
ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตน

ทุกสิ่งที่นำมาสนทนากัน เป็นเรื่องของการศึกษาแนวทางพระธรรมคำสอน
ใครเห็นต่างอย่างไร แสดงความเห็นไปตามนั้น

ไม่ใช่จะคอยยึดติดแต่คำว่า ใช่ ไม่ใช่

เรื่องการพิจรณาเช่นกัน ใครมีวิธีคิดพิจรณาอย่างไรแบบไหน อย่างไร
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

การที่บอกว่า ต้องคิดพิจรณาแบบนั้น ต้องคิดพิจรณาแบบนี้
ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของตน
พอถูกใจตน ก็บอกว่า ใช่ พอไม่ถูกใจ ก็บอกว่า ไม่ใช่

เมื่อเห็นอีกฝ่าย มีข้อคิดพิจรณาต่างกันไป
จึงแสดงออกมาทางคำพูดว่า ใช่ ไม่ใช่

ทุกๆคน ที่ยังมีกิเลส ล้วนมีอุปทานด้วยกันทั้งสิ้น
ทีนี้อยู่ที่ว่า ผู้นั้น จะทำอย่างไร เพื่อละอปุทานที่ตนยังมีอยู่

ทำยังไง ถึงจะเลิกใช้คำว่า ใช่ ไม่ใช่ ถูก ผิด
ในการสนทนากับอีกฝ่าย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:

วลัยพรก็เคยทำพลาดพลั้งมาแล้ว ใช้สำนวนตามที่ตนเข้าใจ เช่น
ปัจจุบัน ขณะ ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ที่วลัยพรใช้ในการหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

เมื่อมารู้ว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่วลัยพรเคยขีดเขียนไปนั้น
มีอยู่ในพระธรรมคำสอน เป็นสิ่งที่เรียกว่า ธรรมปัจจุบัน
เป็นสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นของ ผัสสะ



:b8: :b8: :b8:

มีความสับสนทางคำแปล อย่างไร. ดูที่บาลี.
สอบสวนจากนักธรรม.
ปฏิบัติตามพุทธภาษิต ... :b8:




เหมือนที่เช่นนั้น นำมาแสดงความคิดเห็น

เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
"วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
อเสสํ อุปรุชฺฌติ
เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."
"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)

ม.มู.12/554/596
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&pagebreak=0
บาลีเป็นดังนี้
วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ปวิยา
ปวิตฺเตน อนนุภูต อาปสฺส อาปตฺเตน.....

สำนวนแปล...
นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิ
ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ....

สำนวนแปล เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเห็นผู้แปล
แต่บาลี ไม่เปลี่ยนแปลง คือ

"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....



ตอนที่อ่าน เห็นเป็นภาษาบาลี
ก็นำไปหาข้อมูล

ในอรรกถาจารย์ ที่ท่านแปลความไว้
ล้วนแปลเหมือนกันหมด ตามที่วลัยพรนำมาแนบ

พอเช่นนั้น นำมาแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มอีกว่า

วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด


ก็ไปหาอีกว่า เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสถึงจิตประภัสสร ทรงตรัสไว้ว่าอย่างไร

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺนฺติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ

ภิกฺขเว = ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จิตฺตํ = จิต
อิทํ = นี้
ปภสฺสรํ = ผุดผ่อง
.....................
จ = แต่ว่า
จิตฺตํ = จิต
ตํ = นั้น
โข = แล
อุปกฺกิลิฏฺํ = เศร้าหมอง
อุปกฺกิเลเสหิ = ด้วยอุปกิเลสทั้งหลาย
อาคนฺตุเกหิ = ที่จรมา


เรื่อง บาลี ไม่เปลี่ยนแปลง
วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ
วลัยพรเห็นด้วย


แต่ความหมาย ที่เช่นนั้น ให้ความหมายลงไป
"ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด"

วลัยพรเพียงจะบอกว่า สิ่งที่คิดว่า รู้ เป็นเพียงสัญญา

สัญญา ก็ไม่เที่ยง
ยึดมั่นถือมั่นอันใดไม่ได้หรอก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
แต่ความหมาย ที่เช่นนั้น ให้ความหมายลงไป
"ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด"

วลัยพรเพียงจะบอกว่า สิ่งที่คิดว่า รู้ เป็นเพียงสัญญา

สัญญา ก็ไม่เที่ยง
ยึดมั่นถือมั่นอันใดไม่ได้หรอก


คุณวลัยพร ทราบไหม
ว่า การแสดง ด้วยสัญญา
และ การแสดงด้วย ปัญญา ต่างกันอย่างไร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เช่นนั้นช่วยนำพระไตรปิฏกมาแนบให้อ่านด้วย ได้ไหม?
เพื่อไว้ใช้ในการศึกษาว่า จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง มีปรากฏอยู่ในพระะรรมคำสอน

สิ่งที่วลัยพรเจอในพระธรรมคำสอน ในเรื่อง เหตุและปัจจัย

[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
ผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่คุณวลัยพรต้องการ อย่างนั้น คือการแสดงด้วยสัญญา

คุณวลัยพร
ควรศึกษาด้วยการ พิจารณาถึงเหตุและผล
ตั้งแต่บทตั้งต้นของพระสูตร คือเกวัฏฏบุตรสูตร

เชื่อมโยงให้เห็นสิ่งเกิดดับ และสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับในจิต เอง
ก็จะเห็นสังขตะ และอสังขตะ ที่มีความเป็นอย่างนั้น

และสิ่งที่เห็นนั้น ต้องทนต่อการพิสูจน์
ไม่ว่าจะพิจารณา โดยความเป็นธาตุ อายตนะ ปฏิจสมุปบาท อริยสัจจ์
หากไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว ไม่ทนต่อการพิสูจน์ ด้วยบทนั้นเพียงบทใดบทหนึ่ง
ความเห็นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง

Quote Tipitaka:
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


จิตที่เปลี่ยนแปลง มีการมาการไป มีเกิดมีดับ เป็นสังขตะ
จิตที่ผุดผ่อง แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา เป็นสังขตะ

จิตที่ผุดผ่อง เป็นเพียงการอุปมาขึ้นมา เป็นลักษณะพื้นฐานของจิตให้ง่ายแก่การศึกษา.
หากพิจารณาโดยธาตุ วิญญาณธาตุก็ผุดผ่อง

หากพิจารณา โดยอริยสัจจ์ อริยสัจจ์ไม่ได้แสดงการดับธาตุ แต่แสดงเหตุปัจจัย และความดับแห่งเหตุปัจจัย
เพราะฉะนั้น อริยะสัจจ์ ตอบคำถาม "จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา" หากดับอุปกิเลสที่จรมา จิตก็ผุดผ่องตามเดิม

หากพิจารณาโดยกรรม ว่าจิตผุดผ่องนี้ ท่องไปในภพหรือไม่
ก็จะพิจารณา ว่าจิตผุดผ่องที่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ท่องไปในวัฏฏสงสาร.

หากพิจารณาโดยปฏิจสมุปบาท อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

เพราะจิตผุดผ่องที่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา คือความหลงก่ออัตตสัญญา ยึดอัตตสัญญา ว่ามีอัตตาในการไปรู้ไปเห็นในขันธ์ทั้งหลาย มีอัตตาไปยุ่งไปเกี่ยวไปมีความเป็นเจ้าของในขันธ์ทั้งหลาย และยึดเอาว่านั่นละอัตตสัญญานั่นล่ะอย่างเหนียวแน่น ความหลงอย่างนี้คืออวิชชา.
เมื่ออวิชชาที่เหนียวแน่นที่สุดตัวนี้ได้หายไปเพราะความรู้แจ้ง แล้ว
จิตก็ผุดผ่อง พ้นวิเศษ (พ้นวิเศษ คือพ้นจากความไม่รู้เฉพาะ ที่อุปกิเลสต่างๆ มีอิทธิพลแก่จิต)

สภาวะอย่างนั้น เรียก นิพพาน
ซึ่งก็ไม่มีการมาการไป ไม่มีความเกิดความดับ
อันเป็นลักษณะของ อสังขตะธรรม.

เราจะสำเหนียก หรือสังเกตุอย่างลึกซึ้งได้ว่า
จิตที่ผัสสะ คือวิญญาณขันธ์ ผัสสะเนื่องกันไปตามอายตนะต่างๆ ไปตามอารมณ์ต่างๆ
นั่นคือความแปรปรวนของจิต เป็นสังขตะธรรม
ซึ่งวิญญาณธาตุนั้นนั่นเองที่ผัสสะ
โดยตัววิญญาณธาตุนั้น เป็นอสังขตะ

Quote Tipitaka:
[๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลส
ที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
ผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

[๔๕] อิธาหํ ภิกฺขเว เอกจฺจํ ปุคฺคลํ ปสนฺนจิตฺตํ เอวํ เจตสา
เจโต ปริจฺจ ปชานามิ อิมมฺหิ เจ อยํ สมเย ปุคฺคโล กาลํ
กเรยฺย ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ สคฺเค ตํ กิสฺส เหตุ จิตฺตํ
หิสฺส ภิกฺขเว ปสนฺนํ เจโตปสาทเหตุ จ ปน ภิกฺขเว เอวมิเธกจฺเจ
สตฺตา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชนฺตีติ ฯ


ส่วนจิตผ่องใสตามพระสูตรนี้ หมายถึง ผ่องใส เบิกบาน เพราะจิตเป็นกุศล เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่อทำกาละคือตาย ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เช่นนั้นช่วยนำพระไตรปิฏกมาแนบให้อ่านด้วย ได้ไหม?
เพื่อไว้ใช้ในการศึกษาว่า จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง มีปรากฏอยู่ในพระะรรมคำสอน




วลัยพรหมายถึง ตรงนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑. นิพพานสูตรที่ ๑
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-
*มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


Quote Tipitaka:
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


จิตประภัสสร ถ้าไม่ก่อรูปก่อนาม จะหาทุกข์มาแต่ไหนได้??

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เช่นนั้นช่วยนำพระไตรปิฏกมาแนบให้อ่านด้วย ได้ไหม?
เพื่อไว้ใช้ในการศึกษาว่า จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง มีปรากฏอยู่ในพระะรรมคำสอน




วลัยพรหมายถึง ตรงนี้

วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ปฐฺวิยา
ปฐฺวิตฺเตน อนนุภูตํ อาปสฺส อาปตฺเตน.....



ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นอนิ
ทัสสนะ (ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด หรือ หายไปจากความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ....

บอกไปแล้ว สิ่งใดที่แสดงโดยอสังขตะลักษณะได้ สิ่งนั้นเที่ยง

อนัตตํ >ธรรมชาติที่หายไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม เที่ยงหรือไม่เที่ยง ??

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 20 ก.ค. 2014, 16:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
อ้างคำพูด:
"วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด.....


ถ้าตีความแบบนี้ "วิฺาณ อนิทสฺสน อนนฺต สพฺพโตปภ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น



การพิจารณาเห็น จิตที่ประภัสสระ
ไม่ใช่แบบเดียวกับการนั่นพิจารณา กระป๋องนมตราหมี ที่อยู่ตรงหน้านะ
ที่เราจะต้องเข้าไปตามรู้ว่า มันจะสลายไปตามกาลเมื่อไร อย่างไร
ที่เราจะหมายเอาค้อนมาทุบเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดของมันได้
แล้วชี้บอกออกมาได้ว่า มันเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง อย่างไร

เพราะสิ่งที่ดับก่อน มันก็จะดับไป

ซึ่งสิ่งที่ดับที่หลัง ยังไม่ดับ จะหมายว่า เที่ยง ก็ไม่ใช่
มันเป็น เรื่องที่ พ้นไปจากภาษาที่จะใช้มาอธิบายได้

สำหรับธรรมที่พระพุทธองค์สอน
สิ่งที่เป็นปัญญาก็ได้จากการพิจารณาเห็นผลจากสิ่งที่ดับไปแล้วนั่นล่ะ

จนกว่าจะดับจนไม่เหลืออะไรที่จะดับแล้ว นั่นล่ะ
พระพุทธองค์ก็่ว่า นั่นล่ะ คือรู้หมดแล้ว จะมีอะไรที่ต้องรู้ไปกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว

:b1:

สิ่งที่วลัยพรถามกับเช่นนั้น
ไม่มีตรงไหน ที่มีคำว่า ใช่ หรือไม่ใช่

วลัยพรเพียงถามเช่นนั้นว่า "งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ"
ส่วนเช่นนั้นจะตอบว่าอย่างไร ก็เป็นความคิดเห็นของเช่นนั้น

ในการสนทนา เมื่อมีความยึดมั้นถือมั่น
หากมีการใช้คำประเภท ถูก ผิด ใช่ ไม่ใช่
ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตน

ทุกสิ่งที่นำมาสนทนากัน เป็นเรื่องของการศึกษาแนวทางพระธรรมคำสอน
ใครเห็นต่างอย่างไร แสดงความเห็นไปตามนั้น

ไม่ใช่จะคอยยึดติดแต่คำว่า ใช่ ไม่ใช่

เรื่องการพิจรณาเช่นกัน ใครมีวิธีคิดพิจรณาอย่างไรแบบไหน อย่างไร
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

การที่บอกว่า ต้องคิดพิจรณาแบบนั้น ต้องคิดพิจรณาแบบนี้
ล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของตน
พอถูกใจตน ก็บอกว่า ใช่ พอไม่ถูกใจ ก็บอกว่า ไม่ใช่

เมื่อเห็นอีกฝ่าย มีข้อคิดพิจรณาต่างกันไป
จึงแสดงออกมาทางคำพูดว่า ใช่ ไม่ใช่

ทุกๆคน ที่ยังมีกิเลส ล้วนมีอุปทานด้วยกันทั้งสิ้น
ทีนี้อยู่ที่ว่า ผู้นั้น จะทำอย่างไร เพื่อละอปุทานที่ตนยังมีอยู่

ทำยังไง ถึงจะเลิกใช้คำว่า ใช่ ไม่ใช่ ถูก ผิด
ในการสนทนากับอีกฝ่าย


มันก็อยู่ที่ผู้ร่วมในการสนทนา ทั้งผู้ที่กำลังสนทนา และผู้ที่ติดตามอ่าน

ถ้าหากผู้ร่วมในการสนทนาไม่ไปหมายเอาความรู้สึกว่ามีการมาชี้ถูกชี้ผิด มันก็ไม่มีอะไรหรอก

มันก็จะมองเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นตามปกติไป
และก็พิจารณาความคิดเห็นที่ถูกแสดงออกมาไปตามสภาพของมัน

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
๑. นิพพานสูตรที่ ๑
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-
*มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


Quote Tipitaka:
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


จิตประภัสสร ถ้าไม่ก่อรูปก่อนาม จะหาทุกข์มาแต่ไหนได้??




เมื่อนำมาแสดงแบบนี้ ก็ไม่เป็นไร




เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
ถ้าตีความแบบนี้ "วิญฺญาญํ อนิทสฺสนํ อนนฺตํ สพฺพโตปภํ ...."
ซึ่งหมายถึง จิตที่ประภัสสร เห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด

งั้นหมายถึง จิตนั้นเที่ยงสิ เช่นนั้น

จิตที่ประภัสสรนั้นเที่ยง




เป็นอันว่า วลัยพรรู้แล้วว่า เป็นความหมาย ที่เช่นนั้น คิดว่า เป็นแบบนั้น


ตอนนี้ คงไม่มีอะไรที่จะสนทนาต่อละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
: )))

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 16:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัย

คุณ Idea เข้ามาที่กระทู้ตัวเอง
เห็นสมาชิกเข้ามาแสดงบทความไว้มากมาย
เลยไม่กล้าถามเลย

กลับมาเถอะ สนทนาในส่วนของคุณต่อ
นี่กระทู้ของคุณ

เอกอนขอโทษที่เข้ามาขัดจังหวะของคุณ

ก็กระทู้คุณมันมีอะไรหลาย ๆ อย่าง น่าสนใจน่ะ... :b3: :b3: :b3:

:b12: :b12: :b12:

:b9: :b9: :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร