วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 00:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะทุกท่าน
คุณRotala
เข้าไปดูแล้วนะคะ ได้ประโยชน์มากๆ เหมือนสตาร์ทเครื่องเก่าขึ้นมาใหม่ ฟังไปด้วยปฏิบัติไปด้วย ไม่ยากเลย
ทำต่อเนื่องได้ดีมาก
แต่พอกลับเข้าสู่กลุ่มคนจิตใจคุมยาก รู้ตัวบ่อยๆนะคะ แต่ก็เลือกปล่อยให้ตามรู้อารมณ์ภายนอกเรื่อย ขึ้นๆลงๆ
การรักษาจิตใจนี่ยากจริง ขอโทษนะคะ ทั้งที่ทุกท่านคอยให้กำลังใจ

ทำไมรู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้หนทางดับทุกข์ แต่ทำไมไปกันยากจังคะ ไม่ได้พูดถึงหลักอริยสัจ4ตามที่ท่านเข้าใจศึกษากันมานะคะ อันนี้ถามเรียบเรียงจากใจ( แต่ย้อนคิดแล้วถามได้ใกล้เคียงกัน เดี๋ยวจะคิดว่าเข้าใจดี)
แต่คำตอบอาจจะมีผู้ศึกษามาจริงแล้วบ้างให้คำแนะนำได้ สงสัยอีกแล้ว
s005
คุณคนธรรมดาๆ
ยังทบทวนอยู่นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 01:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Idea อาจจะไม่มีภูมิธรรมความรู้เหมือนท่านทั้งหลายนะคะ และความเมตตาที่คอยชี้แนะพูดคุยธรรมจากท่านทั้งหลายอาจจะสูญเปล่าโดยที่สุดท้ายidea ก็ยังจะไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรเพิ่มหรืออาจจะลดลงก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 02:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่ารู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ หนทางดับทุกข์ นี่มาจากความรู้สึกตัวเองนะคะ แบบพื้นๆเลย ไม่ใช่กล่าวได้ว่าตัวเองรู้จริงๆ
หรือถึงตัวรู้คือปัญญานะคะ เอาเป็นว่าเรียบเรียงใหม่ดีกว่า
คือหลายๆครั้งที่เรามักคอยทบทวนหาเหตุหาผลในสิ่งที่เรากำลังจะทำ ไตร่ตรองดีแล้วว่ามีโทษ
ถามแล้วว่าเคยหรือจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจ เพราะฉะนั้นก็รู้แล้วว่าไม่ควรจะทำ ไม่ควรสร้างเหตุ ให้มีผลตามมา
แต่ใจก็ยังปล่อยตามไป ให้ต้องละอาย ทุกครั้งที่แพ้ใจตนเอง ปล่อยตามความทะยานอยาก
ว่ามาอย่างนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นคนไม่ดีจนเลวร้ายนะคะ แค่ไม่ดีพอที่จะพูดว่ารักษาศิล5ได้100% แต่อาจจะยังบกพร่องบ้าง :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คือหลายๆครั้งที่เรามักคอยทบทวนหาเหตุหาผลในสิ่งที่เรากำลังจะทำ ไตร่ตรองดีแล้วว่ามีโทษ
ถามแล้วว่าเคยหรือจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจ เพราะฉะนั้นก็รู้แล้วว่าไม่ควรจะทำ ไม่ควรสร้างเหตุ ให้มีผลตามมา
แต่ใจก็ยังปล่อยตามไป ให้ต้องละอาย ทุกครั้งที่แพ้ใจตนเอง ปล่อยตามความทะยานอยาก
ว่ามาอย่างนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นคนไม่ดีจนเลวร้ายนะคะ แค่ไม่ดีพอที่จะพูดว่ารักษาศิล5ได้100% แต่อาจจะยังบกพร่องบ้าง :b12: :b12: :b12:

ไม่มีใครเกิดมาแล้วบรรลุธรรม เห็นแจ้งในอริยสัจจธรรมอย่างพร้อมมูล
บรรลุมรรคผลตั้งแต่เกิดได้คงไม่ต้องมาเกิดแล้วครับ ^^

ทำความเพียร รักษาความเพียร ให้กุศลธรรม เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปครับ :b4: :b4:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




80px-ปางทุกรกิริยา2.jpg
80px-ปางทุกรกิริยา2.jpg [ 6.64 KiB | เปิดดู 4326 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ไม่มีใครเกิดมาแล้วบรรลุธรรม ....บรรลุมรรคผลตั้งแต่เกิดได้


เอ๊ะ งง อีกแระ เช่นนั้น หายไปวันหนึ่ง กลับมาคราวนี้ เหมือนพูดได้เข้าท่า ไปทำอะไรมา หรือไปชุบตัวในบ่อทองคำ คห. นี้ ^ ก็ใช้ได้ :b1:

อ้างคำพูด:
ไม่มีใครเกิดมาแล้วบรรลุธรรม ....บรรลุมรรคผลตั้งแต่เกิดได้


แถมให้อีกหน่อย แล้วก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด พระพุทธเจ้าคิด-ศึกษา ใช้เวลาถึง ๖ ปี จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 19:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้ยังยุ่งกับงานศพคุณพ่อ จนถึงพรุ่งนี้อีกวัน งานที่บ้านก็รออยู่มาก
ไม่ได้นั่งสมาธิเลย ได้แต่พยายามเจริญสติ แต่ก็ได้บ้างส่วนน้อย
แวะเข้ามาทักทาย พร้อมคำถามเล็กๆ
การอธิษฐานสัจจะบารมี คืออะไร เป็นไปเพื่ออะไรคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
การอธิษฐานสัจจะบารมี คืออะไร เป็นไปเพื่ออะไรคะ

ที่กล่าวว่าบารมี เพราะ สั่งสมความเคยชินต่อกุศลต่อสิ่งที่ดีงามจนเป็นปรกติแห่งจิตสันดาน

อธิษฐานบารมี
สัจจะบารมี

เมื่อจิตตั้ง อธิษฐาน จึงเป็นการตั้งความปราถนาอย่างเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น ที่จะกระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เป็นผลสำเร็จ
อธิษฐานบารมี จึงเป็นอุปนิสัยอันลงตัวของจิตนั้นในการตั้งความปราถนาอย่างเด็ดเดี่ยวในการกระทำการอันเป็นกุศลให้บังเกิดผลให้สำเร็จให้ได้

สัจจะ เป็นการตั้งความสัจจ์ ตรงต่อความจริง ความสัจจ์
สัจจะบารมี จึงเป็นอุปนิสัยอันลงตัวของจิตในการกล่าวแต่ความสัตย์ความจริง ทำสิ่งไรตรงต่อความสัจจ์ความจริง

โดยมากแล้ว อธิษฐานบารมีและสัจจ์บารมี จะมาคู่กัน เช่น
การอธิษฐานสัจจะ คือการตั้งจิตมั่นคงอย่างเด็ดเดียวที่จะรักษาความความสัจจ์ ความจริงในสิ่งที่ หรือต่อสิ่งที่จะอธิษฐานให้มีผลนั้น

เช่นเราอธิษฐานสัจจะว่า จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น

หากทำการอธิษฐานสัจจะ ในทางกุศลเนืองๆ ก็กลายเป็นอุปนิสัยอันลงตัวไป เป็นบารมี

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากบางครั้งเราตั้งสัจจะบารมี7วันหรือเดือน แล้วทำพลาด โดยไม่เจตนา
-จะเป็นบารมีอีกใหม ควรล้มเลิกกลางครันหรือเริ่มต้นใหม่
-จะเป็นเรื่องไม่ดีต่อตัวเราเองมากใหม
ชอบอธิษฐานเพื่อตั้งใจ ลดละกิเลสโดยตรงบางเรื่องที่คิดว่าเอาชนะใจตัวเองยาก หากตั้งสัจจะ จะตั้งมั่นรักษาได้มั่นคงพอประมาน ที่ผิดพลาดครั้งหลังนี่เอง เพราะเหตุการอฐิษฐานไม่รัดกุม ทำให้เกิดความสงสัย อีกละ ว่าควรทำต่อใหมและมันเผลอไปโดยไม่ได้เจตนาเลย แต่เผลอสติ
แต่การตั้งสัจจะแต่ละครั้ง ชนะหรือไม่ ก็ทำให้เราได้เห็นกิเลสพากันแย่งกันเกิดในอารมณ์ ชัดเจนดีค่ะ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
หากบางครั้งเราตั้งสัจจะบารมี7วันหรือเดือน แล้วทำพลาด โดยไม่เจตนา
-จะเป็นบารมีอีกใหม ควรล้มเลิกกลางครันหรือเริ่มต้นใหม่
-จะเป็นเรื่องไม่ดีต่อตัวเราเองมากใหม
ชอบอธิษฐานเพื่อตั้งใจ ลดละกิเลสโดยตรงบางเรื่องที่คิดว่าเอาชนะใจตัวเองยาก หากตั้งสัจจะ จะตั้งมั่นรักษาได้มั่นคงพอประมาน ที่ผิดพลาดครั้งหลังนี่เอง เพราะเหตุการอฐิษฐานไม่รัดกุม ทำให้เกิดความสงสัย อีกละ ว่าควรทำต่อใหมและมันเผลอไปโดยไม่ได้เจตนาเลย แต่เผลอสติ
แต่การตั้งสัจจะแต่ละครั้ง ชนะหรือไม่ ก็ทำให้เราได้เห็นกิเลสพากันแย่งกันเกิดในอารมณ์ ชัดเจนดีค่ะ cool


ล้มเหลว ก็คือความล้มเหลว
ไม่เป็นไรครับ
ดีกว่าไม่พยายามเลย

เราก็ตั้งใหม่ ... พยายามให้สำเร็จ ถ้าเข้มแข็งพอ
ตั้งได้มากได้น้อย ก็เป็นการสั่งสมบารมีไว้แล้วครับ .......

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 17:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานสมาธิ ญานวิสัย คืออะไรคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ฌานสมาธิ ญานวิสัย คืออะไรคะ

สมาธิ : สภาวะของจิตที่ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย สงบ
(สภาวะอย่างนี้ ไม่ได้เป็นตัวบอก กุศล หรืออกุศล ของจิต)

ฌาน : ชี้บอกลักษณะระดับ ความเพ่ง ความตั้งมั่นของจิต ซึ่งมีเฉพาะสมาธิจิตที่เป็นกุศล (สัมมาสมาธิ)
สภาวะ ฌาน ในแต่ละระดับต่างก็เป็นสัมมาสมาธิทั้งนั้น
กล่าวคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ที่กล่าวว่า เพ่ง เพราะนำอารมณ์สู่จิต
การเพ่ง นำอารมณ์สู่จิต มี 2 ลักษณะ ;
1.เพ่งโดยอารมณ์ ที่อาศัยรูปสัญญา หรืออรูปสัญญา ต่างก็รวมเรียกว่า อารัมนูปณิชฌาน
2.เพ่งโดยลักษณะ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งวิปัสสนา อาศัย อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ต่างก็รวมเรียกว่าลักขณูปณิชฌาน.

ญาณวิสัย : คือความสามารถในการหยั่งลงสู่ความรู้ในอริยสัจจธรรมของพุทธสาวก รวมถึงความเป็นผู้ประกอบด้วย วิชชา 3 ปฏิสัมภิทา 4 ของอรหันตสาวก.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 20:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
ขอถามซ้ำอีกรอบนะคะ ทำไมถึงไม่ตามลมตลอดสาย ทำไมถึงไม่บริกรรมพุทโธ
รอคำตอบนะคะ พรุ่งนี้จะมีเรื่องเล่าถึงข้อปฏิบัติ ถึงแม้มีแต่เรื่องราววุ่นวาย และใจที่อยากจะดิ้นรนไปกับความสนุกสนาน (ช่วงนี้พบปะผู้คนเยอะ) แต่หากไปตามที่เคยมันก็ไม่เหมือนเดิมแล้วค่ะ ไปกินมากก็เห็นทุก อยากได้นั่นนี่ ก็ทุก ทำอะไรก็มองเห็นโทษ แต่ที่น่าโกรธ ก็คือ ยังอยากจะทำตามปกติ ใจเลยหดหู่ ตอนนี้เลยรู้สึกแยกแยะไม่ถูก จะว่าบังคับตัวเองก็ไม่ใช่ ยิ่งพยายามเข้าหาธรรมะ ชีวิตก็ยิ่งผิดปกติ คอยดูการกระทำของตัวเอง คือสิ่งที่เคยทำเคยเป็นปกติ เช่นเวลาที่คนรู้จักเอาแต่จะเบียดเบียนซ้ำๆ เราก็ต้องไม่พอใจ บางทีก็ไประบายกับคนอื่นบ้าง ทั้งที่ก็รู้ว่าไม่ควรที่จะไปโกรธ ถือโทษเพราะธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ก็อดไม่ได้
*แม้เวลาที่ทั้งคิดทั้งพูดว่าไม่พอใจเขาแต่ตอนนั้นก็เกิดอารมที่แย่มากกว่าคือเหนื่อยหน่ายกับใจตัวเองที่ไม่หยุดคิดหยุดพูด ทำไมจิตคนเรานี่ซับซ้อนจังเหมือนมอง ทุกความคิดความพูดของตัวเองได้ไปพร้อมๆกับที่คิดถึงความเหนื่อยหน่ายที่ถูกที่ควรได้อยู่ แต่มันรู้สึกแย่สิคะที่หยุดการกระทำไม่ได้ บางคนอาจคิดว่าจริงจังกับเรื่องเล็กน้อยนะ แต่ว่ามันหน่ายตัวเองจริงค่ะ มีวิธีแนะ ช่วยแก้มั้ยคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ทำไมถึงไม่ตามลมตลอดสาย

เพื่อความสบายในการตั้งสติ ระงับนิวรณ์โดยเร็วพลัน และไม่เป็นเหตุให้จิตซัดส่ายออกจากสมาธิง่ายครับ
idea เขียน:
ทำไมถึงไม่บริกรรมพุทโธ

พุทโธ เป็นคำบริกรรม ไม่ใช่ นิมิต ไม่ใช่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

การเจริญอนาปานสติ เรายกอารมณ์มาสู่จิต แต่ไม่ให้อารมณ์นั้นมีอิทธิพลเหนือจิต
จิตจำต้องรู้อารมณ์นั้น โดยสภาพของอารมณ์ ไม่ใช่โดยบัญญัติอารมณ์

จึงไม่จำเป็นต้องเริ่ม ด้วยคำบัญญัติใดๆ ให้เป็นที่รบกวนการรับรู้ตามสภาพของอารมณ์ ครับ
ซึ่งหมายความว่า ไม่ต้องบริกรรมว่า "เข้า" "ออก" หรือ "พุท" หรือ "โธ" ใดๆ ทั้งนั้น.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ถึงแม้มีแต่เรื่องราววุ่นวาย และใจที่อยากจะดิ้นรนไปกับความสนุกสนาน (ช่วงนี้พบปะผู้คนเยอะ) แต่หากไปตามที่เคยมันก็ไม่เหมือนเดิมแล้วค่ะ ไปกินมากก็เห็นทุก อยากได้นั่นนี่ ก็ทุก ทำอะไรก็มองเห็นโทษ แต่ที่น่าโกรธ ก็คือ ยังอยากจะทำตามปกติ ใจเลยหดหู่ ตอนนี้เลยรู้สึกแยกแยะไม่ถูก จะว่าบังคับตัวเองก็ไม่ใช่ ยิ่งพยายามเข้าหาธรรมะ ชีวิตก็ยิ่งผิดปกติ คอยดูการกระทำของตัวเอง คือสิ่งที่เคยทำเคยเป็นปกติ เช่นเวลาที่คนรู้จักเอาแต่จะเบียดเบียนซ้ำๆ เราก็ต้องไม่พอใจ บางทีก็ไประบายกับคนอื่นบ้าง ทั้งที่ก็รู้ว่าไม่ควรที่จะไปโกรธ ถือโทษเพราะธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ก็อดไม่ได้
*แม้เวลาที่ทั้งคิดทั้งพูดว่าไม่พอใจเขาแต่ตอนนั้นก็เกิดอารมที่แย่มากกว่าคือเหนื่อยหน่ายกับใจตัวเองที่ไม่หยุดคิดหยุดพูด ทำไมจิตคนเรานี่ซับซ้อนจังเหมือนมอง ทุกความคิดความพูดของตัวเองได้ไปพร้อมๆกับที่คิดถึงความเหนื่อยหน่ายที่ถูกที่ควรได้อยู่ แต่มันรู้สึกแย่สิคะที่หยุดการกระทำไม่ได้ บางคนอาจคิดว่าจริงจังกับเรื่องเล็กน้อยนะ แต่ว่ามันหน่ายตัวเองจริงค่ะ มีวิธีแนะ ช่วยแก้มั้ยคะ

ความรู้สึกสุข ทุกข์ในโลก ที่คนต้องประสบ เป็นธรรมดา
เพียงแต่ว่า เราจะฉลาดในการบริหารจิตให้รู้เท่าทันเพียงใดเท่านั้นครับ

ถ้าหากทุกคนเกิดก็รู้จักบริหารจิต จนวางเฉยต่อสุขทุกข์ในโลกได้
โลกนี้ก็คงไม่มีความอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วครับ

เราบริหารจิตได้เก่งขึ้น ก็ระงับความกระวนกระวายเพราะสุขทุกข์ ได้เร็วขึ้นมากขึ้นเพียงนั้นครับ

ความกระวนกระวาย ความดิ้นรนของจิตที่เต้นไปกับความทุกข์ ความสุข ความอยากนู่น อยากนี่
จึงต้องข่มจิตข่มใจทำความระงับให้เร็วให้ไว.
แต่การข่มจิตข่มใจ ก็อาจระงับได้ครั้งคราว ความกระวนกระวายในสิ่งนั้นก็อาจก่อขึ้นมาได้อีก
คุณ idea ฉลาดแล้วที่จะมาเรียนรู้ เพื่อทำปัญญาทำสติให้คมให้เร็วพอที่จะขุดให้ถึงก้นบึ้งของความกระวนกระวาย.

รู้เท่าทันผัสสะ ..... ด้วยการเรียนรู้จากอานาปานสติสมาธิภาวนา ก็จะพัฒนาความรวดเร็วของปัญญาและสติให้ทันพอดี. เร็วมากเร็วน้อย ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำจิตเรา นะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 16:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้นั่งสมาธิมานานหลายวัน เริ่มหลับตาไม่ค่อยฟุ้งซ่าน แต่ด้วยความอยากทำสมาธิมากไป จนรู้สึกตื่นเต้นเหมือนเด็กได้ของเล่นใหม่ทีเดียว จึงเกิดความรู้สึกเพ่งหรือบังคับให้เกิดอารมณ์สงบ มากกว่าที่จะให้เป็นไปตามธรรมชาติ จึงต้องคอยคุมอารมณ์นั้นไปด้วย กับการพยายามรู้ลมจุดเดียวตรงจมูก ได้เพียงไม่นานลมหายใจละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ครั้งนี้ไม่ค่อยฟุ้งซ่าน แต่เหมือนไม่มีความรู้ตัวตลอดเวลา และเมื่อลมหายใจละเอียดลงเรื่อยๆ อยู่ๆก็สัมผัสถึงร่างกายนี่เหมือนถูกตรึงไม่รู้สึกกระเทือนรู้ได้แค่ลมหยาบเข้าออกเร็วตรงจมูกกับหน้าอกที่กระเพื่อมตามแรงลม
ก็พยายามรู้ไปเรื่อยๆก็ผ่อนลงจน ลมละเอียดขึ้นมากและเหมือนจะไม่มี แสงที่เป็นอยู่ก็สว่างขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับเหมือนลมหมด ทีนี้สงสัยค่ะ *ถ้าลมหมดจะให้ดูอะไรต่อคะ ตอนที่รู้สึกขึ้นมา ก็มองสภาวะนั้นไป
แต่ใจแอบกังวลนิดๆค่ะ กลัวด้วยเพราะว่าสังเกตุว่าไม่มีลมเข้า และหวนคิดถึงว่าเราต้องรู้ลม แต่ก็พยายามปล่อยเอาแต่สภาวะนั้น พอดีมีคนโผล่เข้ามาในห้องค่ะ ไม่ได้นั่งมานานคุมสติไม่ได้ ก็เลยลืมตา ดูเวลานั่งไปรวม25นาทีเองค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร