วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 18:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณ เช่นนั้น จะกรุณาเพียงแค่นี้หรือคะ สำหรับคนไม่รู้ ก็คือไม่รู้ ถ้าดิฉันเป็นคนเข้าใจอะไรง่ายก็คงจะดี แต่คุณพูดมาขนาดนี้แล้ว ก็ยังขาดสติขาดปัญญา เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าใจ
คำว่าจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ คือคำที่ดิฉันถามว่าควรหรือไม่ที่คิดถึงอารม(ปิติขึ้นมาเอง)ยังไม่ได้เริ่มทำนะคะ และปกติคิดว่าไม่เคยหวังหรือรอคอย ไม่อยู่ในความนึกคิดเลย จะใช่ข้อนี้รึเปล่าคะ แค่กำลังคิดตอนนี้ที่เริ่มพิมถามนี่เองค่ะพอดีนั่งพิมๆอยู่เขาก็มาให้อิ่มใจ ยังไม่ลอง เพราะถ้าเริ่มนั่งสมาธิ ก็จะใช้วิธีนับ1คือเริ่มท่องพุธโธ กำหนดลมเข้าไป หรือเป็นเกี่ยวกับเรื่องของการปฏิบัติโดยรวมทั้งหมด ดังนั้นขอ--คุณเช่นนั้นช่วยกรุณาต่อได้ใหมคะ ดิฉันกำลังทบทวนหาหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ เพราะมีข้อวิจิกิจฉาข้อนี่อยู่ทุกอารมรึเปล่าเลยไม่ไปถึงไหนสักที แก้ไม่หายเตือนตัวเองอยู่ตลอด ใครแนะนำได้บอกด้วยเอาแบบเป็นแนวทางให้เอาไปปฏิบัติเลย รู้นิสัยการปฏิบัติกันมาบ้างแล้ว ดิฉันควรเปลี่ยนแนว หรือปรับต่อยอดไปแบบใดหรือคะ ขอน้อมรับทุกคำชี้แนะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะคุณจขกท

เอาเป็นว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะ...เพราะก็ไม่ได้รู้มากพอที่จะเป็นครูบาอาจารย์ใครได้..รู้เพียงแค่ศึกษาแล้วเอามาปฏิบัติได้...

ก็อย่างที่เคยบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า ต้องถามตัวเราเองว่าฝึกสมาธิไปเพื่ออะไร...ต้องการอะไร
มันต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อนำไปกำหนดวิธีการปฏิบัติ...
จิตตภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา วิธีปฏิบัติและผลลัพธ์ที่ได้ไม่เหมือนกัน

เห็นคุณจขกท พูดถึงคำว่า สติ ปิติ ไตรลักษณ์ เกิดดับ วิปัสสนา วิจิกิจฉา แสดงว่ามีพื้นความรู้ทางธรรมมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิปัสสนาภาวนาและจิตตภาวนาเพียงใด ซึ่งวิธีการปฏิบัติที่คุณเล่ามา มันยังไม่ใช่วิปัสสนาภาวนา

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2014, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณ เช่นนั้น จะกรุณาเพียงแค่นี้หรือคะ สำหรับคนไม่รู้ ก็คือไม่รู้ ถ้าดิฉันเป็นคนเข้าใจอะไรง่ายก็คงจะดี แต่คุณพูดมาขนาดนี้แล้ว ก็ยังขาดสติขาดปัญญา เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าใจ
คำว่าจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ คือคำที่ดิฉันถามว่าควรหรือไม่ที่คิดถึงอารม(ปิติขึ้นมาเอง)ยังไม่ได้เริ่มทำนะคะ และปกติคิดว่าไม่เคยหวังหรือรอคอย ไม่อยู่ในความนึกคิดเลย จะใช่ข้อนี้รึเปล่าคะ แค่กำลังคิดตอนนี้ที่เริ่มพิมถามนี่เองค่ะพอดีนั่งพิมๆอยู่เขาก็มาให้อิ่มใจ ยังไม่ลอง เพราะถ้าเริ่มนั่งสมาธิ ก็จะใช้วิธีนับ1คือเริ่มท่องพุธโธ กำหนดลมเข้าไป หรือเป็นเกี่ยวกับเรื่องของการปฏิบัติโดยรวมทั้งหมด ดังนั้นขอ--คุณเช่นนั้นช่วยกรุณาต่อได้ใหมคะ ดิฉันกำลังทบทวนหาหนทางปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ เพราะมีข้อวิจิกิจฉาข้อนี่อยู่ทุกอารมรึเปล่าเลยไม่ไปถึงไหนสักที แก้ไม่หายเตือนตัวเองอยู่ตลอด ใครแนะนำได้บอกด้วยเอาแบบเป็นแนวทางให้เอาไปปฏิบัติเลย รู้นิสัยการปฏิบัติกันมาบ้างแล้ว ดิฉันควรเปลี่ยนแนว หรือปรับต่อยอดไปแบบใดหรือคะ ขอน้อมรับทุกคำชี้แนะค่ะ

ตั้งแต่ เริ่มท่องพุทโธและกำหนดลมเข้าไป ...... ก็เป็นการเริ่มจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ทำสัญญาให้ปรากฏ
ไม่ใช่สติกำหนดลมหายใจครับ

การเริ่มท่องพุทโธและกำหนดลมเข้าไป ไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่เป็นการทำสมาธิให้ฟุ้งไปกับสัญญาครับ

ถ้าเจริญสมาธิเช่นนี้ ก็แป๊กครับ

คุณ Idea ทิ้งพุทโธ ไปเลยครับ ขณะนี้ไม่ได้เจริญพุทธานุสติครับ
เอาแต่อานาปานสติภาวนาอย่างเดียวก็พอ
หาที่เร้นคือที่สงบไม่มีใครรบกวน ศึกษาให้รู้จักสติด้วยลมหายใจเข้าลมหายใจออก ครับ

ด้วยความตั้งใจว่า จะทำความศึกษาเพื่อ เห็นสติ ถ้าเข้าใจก็จะไปต่อได้ง่าย
เพราะในอานาปานสติสูตร มีคำหนึ่งคือ ดำรงสติเฉพาะหน้า ก่อนที่จะไปทำการศึกษา ในกายานุปัสนาฯ

ต้องเข้าใจก่อนว่า ดำรงสติเฉพาะหน้า มีอาการอย่างไร....

สติคือการระลึกถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่ออารมณ์เฉพาะหน้าเป็นสำคัญเท่านั้น

จะนั่งหลับตา ลืมตา เดินก็ได้ วิ่งก็ได้ ไม่สำคัญ แต่อากัปกิริยาที่สะดวกที่สุดสบายที่สุดในการเจริญอานาปานสติภาวนา คือนั่งคู้ขา ตั้งกายตรง

มีลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นวัตถุ มีอาการทำการหายใจเข้าหายใจออกเป็นเครื่องหมายสำคัญว่าเป็นการหายใจ นี่คือการทำสัญญาให้ปรากฏ

ตอนนี้ก็มาถึงการเรียนรู้ สติ

ข้อเท็จจริงที่ทำขณะนี้คือ ใส่ใจเฉพาะที่จุดกระทบของลมเข้าลมออก (เช่นปลายจมูก หรือจุดเหนือริมฝีปากบน) สติจะระลึกแต่สิ่งเดียวคือการกระทบของลมที่จุดนี้

(ถ้าลืมตา ก็เห็นรูปเห็นภาพข้างหน้าก็ไม่ใส่ใจถือเป็นสำคัญ เห็นแต่ไม่รับรู้
ถ้ามีเสียงดังข้างๆหู ก็ไม่ใส่ใจถือเป็นสำคัญไม่ใช่หูดับ ได้ยินแต่ไม่รับรู้
มีลมพัดไรบ้างกระทบผิวกายก็ช่างมันไม่ใส่ใจ)

สติจะระวังอยู่แต่สิ่งนี้คือระวังใจไม่ให้ใส่ใจเรื่องอื่นนอกจากรู้ลมทีผ่านจุดกระทบ
ทำอย่างนี้สติก็จะตั้งอยู่ในภายใน

คุณIdea ก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างสัญญา และสติ
สติกำหนดลมหายใจว่ามีเพียงลมหายใจเท่านั้น เป็นการกำหนดเพื่อระวังใจไปใส่ใจต่อผัสสะอื่นที่มากระทบทางทวารอื่น
ต่างจากทำสัญญาให้ปรากฏ คือทำการหายใจเข้าหายใจออกเป็นเครื่องหมายสำคัญว่าเป็นการหายใจ


ไม่ต้องสนใจว่าลมจะเข้าท้องพอง หรือท้องยุบ
ไม่ต้องสนใจว่าลมจะไปถึงไหน
ไม่ต้องสนใจระยะทางของลม
ไม่ต้องสนใจว่าเมื่อไรจะออกเมื่อไรจะเข้า

เป็นการศึกษาอย่างแรก ที่ต้องอาศัยความเพียร ในการทำความรู้จักสติ ว่าสติ ทำหน้าที่ระวังใจคุมใจต่อข้อเท็จจริงกำหนดที่ข้อเท็จจริงว่าขณะนั้นทำอะไรอยู่

ขณะนั้นทำอะไรอยู่จึงเป็น เพียงอุปกรณ์ในการฝึกให้รู้จัก "สติ"

การฝึกแบบนี้ จึงไม่ใช่การจับเจ่าเฝ้าอารมณ์ แต่จะเป็นการศึกษาเข้ามาในจิตกันเลยทีเดียวครับ

ศึกษาให้รู้จัก "สติ" ก่อนครับ .....ค่อยไปต่อ...

เราไม่ใช่ตอไม้ จนถึงกับไม่ได้เห็นไม่ได้ยินอะไรรอบข้าง..........
ทำไปก่อนใช้เวลาไม่นานหรอก ทำสบายๆ : ))

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 07:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากค่ะ --คุณปลีกวิเวกเหมือนเปิดแสงสว่างให้วูบหนึ่ง สามารถมองเห็นได้ถึงหลายช่องทางไป ดิฉันเหมือนเดินอยู่ในที่มืด พยายามข่มความกลัวด้วยการพยายามทำใจให้ว่าง เพื่อควบคุมจิตให้นิ่งพร้อมรับกับสิ่งที่จะเข้ามา หรือเพิ่มฤทธ์ทางจิตเพื่อไว้ปกป้องตัวเองจากสิ่งที่มองไม่เห็น แต่หากคงอาจจะไม่เคยมีเป้าหมายในแบบที่ชัดเจน หลักธรรมที่เอามาพูดทั้งหมดได้มาจาก เปิดฟังธรรมของพระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวกแม่แตง เป็นชนวนให้เริ่มปฏิบัติในรอบก่อนที่ผ่านมา ไม่ได้เข้าใจอะไรมากเลยค่ะ เหมือนเพียงแค่ท่องจำ
สำหรับ--คุณเช่นนั้น ครั้งนี้ชัดเจนมากจนดิฉันอาจจะขอนำเอามาเป็นแนวทางปฏิบัติเลยค่ะ ขอบคุณมากเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน

แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ




ปัจจุบัน ทำแบบไหนอยู่หรือคะ?

หรือตามคำบอกเล่าที่เขียนมาว่า "ณ เวลานี้ ไม่ได้ปฏิบัติต่อ"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 09:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณ walaiporn ห่างมาหลายเดือนมากๆแล้วค่ะ ก่อนจะถอยออกมาก็เจออุปสรรคหนักๆมากมายหลายอย่าง แต่ก็คิดว่าใจตั้งมั่นพอสมควร ไม่หวั่นไหวแม้จะต้องเจอเรื่องให้ลำบากขนาดไหน เหมือนจะเข้ามาทดสอบหลายๆด้านของอารมณ์ แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดปรุงแต่งอะไรต่อ ไม่เกิดทุกใจ หวั่นไหวใดๆทั้งสิ้น จนมาเจอปัญหาที่ไม่มีเวลามานั่งสมาธิได้ แม้ใจอยากมาก แต่ไม่อาจจริงๆ มันเป็นห่วงเกี่ยวกับภาระการงาน เหมือนหากเราหยุดแล้วอีกเป็นร้อยชีวิตต้องกระเทือน แม้สักครึ่งชม. ยังหยุดไม่ได้ ไม่อยากจะเชื่อเหมือนกัน ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง แต่ก็เหมือนเรายอมแพ้ ก็เริ่มจากอยากปฏิบัติจริงๆแต่ไม่มีเวลา จนมาถึงอยากปฏิบัติแต่ไม่หาเวลา ปกตินั่งวันละประมาน1ชม. +เจริญสติ(คือรู้ลมกับรู้ทันอิริยาบทต่างๆรึเปล่าคะ)เกือบตลอดเวลา แต่พอห่างการนั่งมาก็เหมือนการรู้ทันสติระหว่างวันมันลดหายไปด้วยค่ะ ตอนนี้อยากเริ่มใหม่ จึงมาตั้งกระทู้ว่าที่เราปฏิบัติมาเองแบบไม่มีใครแนะนำ ผิดหรือถูก ควรปรับปรุงยังไง เราหลงหรือติดตรงไหนรึเปล่า ตอนนี้เริ่มมาได้ประมานอาทิตย์หนึ่งแล้วค่ะ ไม่อยากจะห่างหายไปอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
idea เขียน:
เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน

แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ




ปัจจุบัน ทำแบบไหนอยู่หรือคะ?

หรือตามคำบอกเล่าที่เขียนมาว่า "ณ เวลานี้ ไม่ได้ปฏิบัติต่อ"




idea เขียน:
--คุณ walaiporn ห่างมาหลายเดือนมากๆแล้วค่ะ ก่อนจะถอยออกมาก็เจออุปสรรคหนักๆมากมายหลายอย่าง แต่ก็คิดว่าใจตั้งมั่นพอสมควร ไม่หวั่นไหวแม้จะต้องเจอเรื่องให้ลำบากขนาดไหน เหมือนจะเข้ามาทดสอบหลายๆด้านของอารมณ์ แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดปรุงแต่งอะไรต่อ ไม่เกิดทุกใจ หวั่นไหวใดๆทั้งสิ้น จนมาเจอปัญหาที่ไม่มีเวลามานั่งสมาธิได้ แม้ใจอยากมาก แต่ไม่อาจจริงๆ มันเป็นห่วงเกี่ยวกับภาระการงาน เหมือนหากเราหยุดแล้วอีกเป็นร้อยชีวิตต้องกระเทือน แม้สักครึ่งชม. ยังหยุดไม่ได้ ไม่อยากจะเชื่อเหมือนกัน ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง แต่ก็เหมือนเรายอมแพ้ ก็เริ่มจากอยากปฏิบัติจริงๆแต่ไม่มีเวลา จนมาถึงอยากปฏิบัติแต่ไม่หาเวลา ปกตินั่งวันละประมาน1ชม. +เจริญสติ(คือรู้ลมกับรู้ทันอิริยาบทต่างๆรึเปล่าคะ)เกือบตลอดเวลา แต่พอห่างการนั่งมาก็เหมือนการรู้ทันสติระหว่างวันมันลดหายไปด้วยค่ะ ตอนนี้อยากเริ่มใหม่ จึงมาตั้งกระทู้ว่าที่เราปฏิบัติมาเองแบบไม่มีใครแนะนำ ผิดหรือถูก ควรปรับปรุงยังไง เราหลงหรือติดตรงไหนรึเปล่า ตอนนี้เริ่มมาได้ประมานอาทิตย์หนึ่งแล้วค่ะ ไม่อยากจะห่างหายไปอีก




คำศัพท์ต่างๆ ที่คุณใช้สำทับลงไป ในสิ่งที่คุณคิดว่า น่าจะเรียกว่าอะไร ก็ตาม
คุณสามารถใส่คำเรียกต่างๆ สำทับคำลงไปได้ เรียกได้ตามสะดวก เรียกได้ตามถนัด

หากคุณทำความเพียรต่อเนื่อง คำเรียกต่างๆที่คุณใช้อยู่
จะค่อยๆถูกปรับเปลี่ยนไปตามความรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น


ผัสสะ

สิ่งสำคัญ สิ่งแรกที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
และที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียรอยู่ ไม่ว่าจิตจะเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ
หรือมีเกิดขึ้นใน อิริยาบทใดๆ ก็ตาม

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ มีชื่อเรียกว่า สภาวะ
ซึ่งเป็นสภาพธรรม หรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ


ทำไมจำเป็นต้องรู้ เกี่ยวกับผัสสะก่อน
หากรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียรอยู่
ไม่ว่าจิตจะเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ หรือมีเกิดขึ้นใน อิริยาบทใดๆ ก็ตาม
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ล้วนเป็นความปกติของผัสสะ ที่เกิดขึ้น

อย่างน้อยๆ อาจช่วยให้ การให้ค่า ให้ความหมาย ความติดใจในสภาวะที่เกิดขึ้น เบาบางลง
เมื่อรู้ชัดว่า เป็นเพียงความปกติของผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง


สิ่งที่คุณบอกเล่ามาทั้งหมด เป็นความปกติของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น


idea เขียน:
เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน จึงอยากจะอธิบายเพื่อขอคำชี้แนะ ติเตือนค่ะ ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า ณ ช่วงเวลาที่ปฏิบัติไม่ได้มีความรู้สึกยินดีกับทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแนวที่รู้สึกว่ามันพิเศษ นอกจากยินดี และรับรู้ภายใต้ความสงบ อารณ์ตอนนั้นนิ่งแทบจะไม่มีเรื่องใดมากระทบจนทำให้จิตกระเทือน เช่นหากตกใจ ใจมันกระตุกแวบเดียว เหมือนมันรู้มาพร้อมๆกันก็หยุด ไม่ติดใจสงสัย ซึ่งปกติต้องใจสั่นอะไรตามมา มันดับเร็วมาก ช่วงนั้นมีความรู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตเป็นกำลังมาก กระตุ้นจิตใจตลอดเวลา อยากบวช อยากมุ่งหน้าปฏิบัติ ต้องการความสงบ เพราะถ้าอยู่ณจุดนี้มันมีผลกระทบหลายอย่างทำให้จิตไม่สงบเต็มที่ ใจมันไม่อยากจะเบียดเบียนสิ่งใดก็ตาม หาอาหารการกินบางทีเราเป็นแม่บ้านพยายามหลีกเลี่ยงเพราะอยากถือศิล5ให้ครบยังรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้ลำบาก-ไม่รู้ว่าเกิดจากเรื่องมากเกินไปรึเปล่า-อีกอย่างจิตมันคอยนึกถึงคำภาวนาพุธโธหรือสลับกับแค่รู้ลมเข้าออก มันเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลาแม้แต่เคลิ้มจะตื่นเหมือนมันตื่นขึ้นมาพร้อมกันเลย-หมกหมุ่นเกินใหม-อีกเช่นมองเห็นอะไรคิดถึงเป็นธรรมะตลอดจิตจะคอยบอกคอยแยกแยะเช่นเห็นบ้านรถของใดๆที่เคยชื่นชมกลับมองเป็นของธรรมดา มองแล้วทบทวนย้อนคิดถึงหาเหตุตั้งแต่มันเริ่มเกิด เก่า แก่ทรุดโทรมจนผุพังหายไป และอย่างวันหนึ่งมองดูพระอาทิตยขึ้นพอคิดว่าสวยปุ๊บ มันเหมือนมีสายใยอะไรสักอย่างเหนี่ยวดึงใจไว้ไม่ให้หลงในคำนั้น มันเป็นชั่ววินาทีแต่มันรู้สึกจริงนะ อธิบายยาก อย่างได้ยินเพลงเพราะ มันเห็นช่วงเวลาระหว่างที่เราจะวางเฉยหรือไปวิ่งตามอารมณ์นั้นๆ-เหมือนคนบ้ารึเปล่า-เพราะช่วงที่ปฏิบัติจะชอบอยู่สงบนึกถึงแต่ลมหายใจคือจะว่ากลัวก็ไม่ใช่แต่จะพยายามรักษาระดับจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ เหตุหนึ่งเพราะมันคิดเกือบตลอดที่เราจะเผลอ ว่าความตายมันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงต้องระวังรักษาตัวแลจิตไม่ให้ก่อกรรมขึ้นทั้งกายวาจาใจ-มันมากเกินไปรึเปล่า-ก่อนหน้าเคยทรมานกันโรคร่างกายหาหมอหลายที่ก็ไม่ดีขึ้นไม่มีโรคบ่งชี้ ยิ่งปวดตานี่หมอยอมแพ้หาสาเหตุไม่ได้ส่งตรวจทุกอย่างก็แล้ว แต่มาปฏิบัตินี่หายหมดจริงๆ ไม่มีเจ็บไข้ ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ขี้เกียจนั่นนี่ไม่มี ทรงอารมณ์เฉยๆอยู่เรื่อยๆ เหมือนตื่นตลอดเวลา มันเหมื่อนคนสดชื่นอิ่มใจแม้หลังตื่นคือรู้ตัวปุ๊บลุกปั๊บ เพราะปกติ2ทุ่มจะเข้านอนไม่ง่วงนะ แต่พอรู้ว่าหมดหน้าที่ระหว่างวันแล้วก็อยากปฏิบัติต่อ ทั้งลูก2และสามีเปิดทีวีวิ่งกันวุ่นวาย ไม่มีความรู้สึกรำคาญ นอนปุ๊ปกำหนดจิต คือก่อนนอนนี่จะใช้วิธีกำหนดลม+กับนึกถึงเปลวเทียน(เป็นความชอบแบบที่พยายามหลีก แต่ก็ยังอดไม่ได้ยังเอามาใช้ตอนนี้อยู่ พอหลังจะมองเห็นจริงๆไฟลุกพรึบๆ ก็จ้องไปบวกกับภาวนาด้วยจนหลับไป บางทีก็ตัวหมุนๆลอยๆถ้าได้ถึงตรงนี้ก็จะแผ่เมตตา และรู้ไปเรื่อยๆจนหลับ ท่านอนนี่จะตะแคงเอามือข้างหนึ่งหนุน ไม่เอาหมอน เท้าเหยียดตรงมืออีกข้างวางแนบลำตัว ใหม่ก็ฝืนลำบากหน่อยตื่นกลางดึกปวดแขนชามาก แต่สักพักถึงเช้าท่าเดียวเลยไม่เป็นไร ทีนี้นึกจะตื่นเวลาไหนตี4ตีห้า กี่นาทีตรงเป๊ะ อีกเรื่องตื่นเช้าจะลุกมาไหว้พระ อธิษฐานแล้วแผ่เมตตาเป็นประจำ พอเริ่มอธิฐานปุ๊ปจะเกิดความยินดีปลาบปลื้มขนลุกชันซาบซ่านภายในกาย น้ำตาไหลเออ เป็นจนกว่าเราจะหยุดเลย อาการอย่างนี้จะเกิดอีกเมื่ออ่าน/ฟังธรรมะบางประโยค,แผ่เมตตา,ชื่นชมยินดีเมื่อรู้เห็นใคร ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำสิ่งดีๆ-เรียกว่าปิติรึเปล่า ทำไมมันเกิดขึ้นแรงและง่ายเหลือเกิน-แล้วอีกอารมณ์หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันที ไม่ว่าตอนนั้นจะทำอะไรเช่นพอทรุดนั่งปุ๊บก็มาทันที คือจะรู้สึกสุขมาก อิ่มใจ เห็นสิ่งรอบกายแต่เหมือนอารมณ์ว่างเปล่าไร้ สภาวะใดๆ มันเป็นอารมณ์สุขที่สุดที่เคยสัมผัสมาจริงๆ ทุกครั้งที่เกิดก็จะหยุดเคลื่อนไหว ประคองจิตให้รู้อาการนั้นอย่างสงบ แต่จะเป็นแค่2-3นาทีก็หยุดไป-อันนี้คืออะไรคะ- อารมณ์นี้ยังตามมาหลังจากห่างการปฏิบัติมาเป็นครั้ง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว มันเป็นปิติตัวหนึ่งรึเปล่าเพราะช่วงที่ปฏิบัติ จะรักษาสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ขอใช้คำว่าแทบตลอดเวลา แต่ว่าอารมณ์นี้ มันสุขมากๆ สุขแบบไม่หลง เหมือนสุขกับความว่าง แต่เราก็จะแค่หยุดมองและปล่อยให้มันผ่านไป-หรือควรทำตัวอย่างไร-เคยนั่งสมาธิ,อ่านหนังสือหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่างก็จะเกิดอารมคล้ายๆกัน ตัวจะเบาๆหมุนๆไม่รู้ทิศหรือตัวใหญ่พองขึ้น และพอเกิดขึ้นก็จะยังทำอะไรต่อไปโดยก็กำหนดรู้ไปด้วย ต่างกันที่สุขละเอียด กว่ากัน และที่แปลกอีกเรื่องมักจะเห็นภาพแวบมา สถานที่บ้าง คนบ้าง แล้วก็จะได้พบเจอจริง บางทีเห็นก่อน ไม่กี่นาทีก็บังเอิญได้เจอ ลางสังหรก็แม่นด้วย เช่นเดี๋ยวใครจะมา จะว่าอะไร แบบลางสังหรนะคะไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว อีกอย่างเวลาโต้ตอบกับใครไม่ว่าเรื่องใดเคยรู้หรือไม่เคยรู้ ก็สามารถพูดให้เหตุผลกับเขาได้หมด อัศจรรย์มากไม่ต้องมีการเตรียมคิดหาคำตอบเหตุและผลมันพรั่งพรูออกมาเหมือนดังสายน้ำไหล(ไม่รู้จะเปรียบยังไง) สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ด้วยค่ะ ถ้ายังอยู่ณ อารมนั้นคงไม่มีหลายๆคำถามมารบกวน เพราะตอนนั้นมันแทบจะไร้ความคิดนึกอยากใดๆ แต่จนถึงวันนี้ ห่างมาหลายเดือน ได้ย้อนไปคิดแล้วเกิดความสงสัยขึ้น ว่ามันแปลกและมีความผิดพลั้งประการใด สิ่งที่ทำถูกต้องใหม ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับจิตใจที่มากเหลือเกินในช่วงเวลา1เดือน มันดูเหมือนเราจะสงบมากเกินไป เข้าถึงธรรมะมากเกินไป หรือเราพยายามทำให้มันเกิดรึเปล่า ระหว่างที่ปฏิบัตินั้นก็เตือนตัวเองอยู่ตลอดเหมือนกันนะ แต่ก็ยังไม่แน่ใจ เพราะแม้แต่ความชอบในสุขก็ยังเป็นกิเลส เผื่อมีตัวไหนที่เรามองไม่เห็น เพราะยังไงก็คิดว่าทุกอาการที่เกิด เราจะคอยตามรู้และดูมันอย่างสงบ ความอยาก ใดๆไม่มี ในตอนนั้น นอนจากอยากบวช,อยากถือศิล,อยากปฏิบัติให้มากเพื่อลดการก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ อยากไปให้ถึงพระนิพพาน ลืมบอกไปว่าคำอธิษฐานที่ทำหลังไหว้พระเช้า,ก่อนนอน,นั่งสมาธิ คือขออำนาจพระรัตนตรัย ช่วยหนุนนำบุญกุศลใด ในชาติใดสูงสุดที่ข้าพเจ้าเคยได้ปฏิบัติถึงมาช่วยส่งผลให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสเข้าถึงจุดนั้นได้โดยเร็วเพื่อส่งผลการปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามมรรค แห่งพระพุทธองทรงสอน ให้ได้ถึงพระนิพพานในชาตินี้เถิด อย่าได้หลงผิดทางใดเลย และวิธีนั่งสมาธิ ก็จะนึกอธิฐาน,แผ่เมตตาและกำหนดพุทโธ วันใดจิตฟุ้งมาก ก็จะเอาหลักธรรมคำสอนมาท่องวนไปมาด้วย จิตก็จะสงบส่วนมากก็กฏไตรลักษณ์ สงบในที่นี้ก็คือจะหายใจละเอียดขึ้นตัวเบาตัวหมุน นี่บ่อยๆกะตัวใหญ่พองขึ้น หลังจากนั้นจะหยุดและจะเห็นแสงจ้าและเปลี่ยนมาเป็นขาวนวลตอนนี้ลมจะเบาลงมาก จนเหมือนไหลเข้าออกเอง จิตสบาย รับรู้เสียงทุกอย่างเบาลง เราก็จะกำหนดรู้ดูเรื่อยๆแบบอารมจะเฉยๆ สักพักจะรูสึกอึดอัดแน่นไปทั้งร่าง จะเริ่มหายใจไม่สุด คือหายใจเข้ายาวนานมากๆ หรือออกนานมากๆ และพอเหมือนแน่นจนสุดละวูบเดียวก็สบายเบา เฉย ลมละเอียดมาก แต่ยังรู้สึกทางจิตตอนนี้จะมีแสงส่องมาจ้าขึ้นมากๆอีกละก็จะมาขาวนวลสว่างไสวกว่าเดิม แล้วก็จะเริ่มแวบคิดหรือรู้ลม วนมาปิติ วนมาแสง มาอึดอัด มันเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ไม่ก้าวหน้าเลยใช่ใหมคะ ทำไม่ถูกรึเปล่าช่วยแนะนำด้วยค่ะ ด้วยเหตุนี้ด้วยถึงมาคิดว่าตัวแปลกต้องมีสิ่งผิดพลาด เพราะสมาธิไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่อารมทางธรรมดูจะเกินจริง เพราะอ่านประสบการจากคนอื่น เขาเห็นนู่นนี่ พระพุทธรูปบ้าง,ตัวเองบ้าง หูดับกายดับบ้างได้เข้าฝึกมโมยิทธิบ้าง สมาธิเขาก้าวหน้าดี แต่ก็ยังพูดคิดถึงคนรัก อยากเที่ยว อยากไปอยากได้อะไรในทางโลกอยู่ แต่ทำไมสมาธิเราไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่ด้านอารมณ์สงบเหลือเกิน แค่คิดก็ดับเสียแล้ว ไม่รู้จะอธิบายยังไงตรงนี้ แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ ทุกอารมที่เคยได้ก็หายไปด้วยค่ะ กลับมาเป็นตัวตนเดิมรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนเดิม แต่จิตตั้งมั่นในบุญมากขึ้น พยายามมากขึ้น ต่างกับตอนปฏิบัติ จิตมันเป็นของมันเองจบแค่นี้ค่ะ หากผิดพลั้งประการใดขอขมาโทษด้วยนะคะ และขอคุณแห่งสิ่งศักสิทธ์คุ้มครองทุกท่านด้วยค่ะ 



เมื่อคุณยังไม่รู้ชัดใน สิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะ

เป็นปัจจัยให้ คุณเกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามที่เขียนมา
ทั้งเรื่องของคุณ และเรื่องจากคำบอกเล่าของผู้อื่น การเห็นโน่น เห็นนี่

หากรู้ชัดในผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว
สิ่งต่างๆที่คุณเขียนเล่ามาแบบนี้ จะไม่มีเกิดขึ้น

เพราะสักแต่ว่า ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น เป็นปกติ
ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังทำให้เกิดขึ้นใหม่



การทำความเพียร

เรื่องการทำความเพียร จะเรียกว่า การปฏิบัติ หรือการเจริญสติ หรือการทำมาธิ หรือ วิปัสสนา
คุณจะใช้เรียกว่าอะไรก็ได้ ตามความรู้ เข้าใจของคุณ ในตอนนี้

เพราะคำเรียกต่างๆเหล่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้น
หากคุณ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในคำเรียกต่างๆ


การทำความเพียร ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นหลักอิริยาบทใหญ่
คุณทำแบบไหนถนัด ทำได้ตามสะดวก ให้เลือกทำแบบนั้นไปก่อน

เช่น คุณบอกว่า ไม่มีเวลา(ปัจจัยจาก คุณติดอยู่เพียง "นั่งสมาธิ")
หากจัดสรรเวลาไม่ได้จริงๆ ให้ใช้เวลาก่อนนอน และ ตอนตื่นนอน เป็นการฝึกสติ

โดยการ ขณะที่นอนอยู่ ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ที่มีเกิดขึ้นปกติ รู้ไปตามนั้น
หรือชอบใช้การภาวนาต่างๆ แบบไหนก็ได้ ใช้ไปตามนั้น
หรือชอบใช้การกำหนดรู้ท้องพองขึ้น ยุบลง ตามลมหายใจเข้าออก รู้ไปตามนั้น
จนกระทั่งหลับลงไป

เมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นในตอนเช้า ก่อนลุกจากที่นอน จะอยู่ในท่านอน หรือ ลุกขึ้นนั่งบนที่นอนก็ได้
ให้ตั้งใจแผ่เมตตา กรวดน้ำ ตั้งจิตอธิษฐาน ก่อนที่จะลุกขึ้นทำกิจวัตรประจำวัน

การแผ่เมตตา กรวดน้ำ จะท่องในใจ ก็ได้
หรือหากมีอาการง่วงนอน สะลึมสะลือ ให้ใช้ปากขมุบขมิบท่อง
เมื่อกลับมารู้ที่กาย(ปากขมุบขมิบ) อาการง่วงนอน จะค่อยๆหายไปเอง

หากทำต่อเนื่องแบบนี้ทุกวัน จะเป็นปัจจัยให้ สติมีกำลังมากขึ้น
เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) มากขึ้น
เป็นปัจจัยให้ รู้ชัดในสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ที่มีเกิดขึ้นในเวลานอน



หากต้องการรู้ชัดในรายละเอียดของคำเรียกต่างๆ เช่น สมถะ-วิปัสสนา
ควรศึกษาตามคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้ มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33


คำแนะนำที่วลัยพรให้กับคุณคือ ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หากมีข้อสงสัย เกี่ยวกับผัสสะต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้อ่านตามลิงค์ ที่แนบมาให้ เกี่ยวกับสมถะ-วิปัสสนา

ตรงนี้ ว่าด้วย ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ขณะทำความเพียร

ส่วน ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ในการดำเนินชีวิต คนละเรื่อง แต่เกี่ยวเนื่องต่อกัน

เพราะต่างเกื้อหนุน แก่กันและกัน ในการกระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 10:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณ วลัยพร
สาธุธรรมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เคยมีประสบการณ์ทำสมาธิวันละประมาณ 1ชม.ต่อเนื่องเป็นเวลา1เดือน จึงอยากจะอธิบายเพื่อขอคำชี้แนะ ติเตือนค่ะ ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า ณ ช่วงเวลาที่ปฏิบัติไม่ได้มีความรู้สึกยินดีกับทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแนวที่รู้สึกว่ามันพิเศษ นอกจากยินดี และรับรู้ภายใต้ความสงบ อารณ์ตอนนั้นนิ่งแทบจะไม่มีเรื่องใดมากระทบจนทำให้จิตกระเทือน เช่นหากตกใจ ใจมันกระตุกแวบเดียว เหมือนมันรู้มาพร้อมๆกันก็หยุด ไม่ติดใจสงสัย ซึ่งปกติต้องใจสั่นอะไรตามมา มันดับเร็วมาก ช่วงนั้นมีความรู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตเป็นกำลังมาก กระตุ้นจิตใจตลอดเวลา อยากบวช อยากมุ่งหน้าปฏิบัติ ต้องการความสงบ เพราะถ้าอยู่ณจุดนี้มันมีผลกระทบหลายอย่างทำให้จิตไม่สงบเต็มที่ ใจมันไม่อยากจะเบียดเบียนสิ่งใดก็ตาม หาอาหารการกินบางทีเราเป็นแม่บ้านพยายามหลีกเลี่ยงเพราะอยากถือศิล5ให้ครบยังรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้ลำบาก-ไม่รู้ว่าเกิดจากเรื่องมากเกินไปรึเปล่า-อีกอย่างจิตมันคอยนึกถึงคำภาวนาพุธโธหรือสลับกับแค่รู้ลมเข้าออก มันเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลาแม้แต่เคลิ้มจะตื่นเหมือนมันตื่นขึ้นมาพร้อมกันเลย-หมกหมุ่นเกินใหม-อีกเช่นมองเห็นอะไรคิดถึงเป็นธรรมะตลอดจิตจะคอยบอกคอยแยกแยะเช่นเห็นบ้านรถของใดๆที่เคยชื่นชมกลับมองเป็นของธรรมดา มองแล้วทบทวนย้อนคิดถึงหาเหตุตั้งแต่มันเริ่มเกิด เก่า แก่ทรุดโทรมจนผุพังหายไป และอย่างวันหนึ่งมองดูพระอาทิตยขึ้นพอคิดว่าสวยปุ๊บ มันเหมือนมีสายใยอะไรสักอย่างเหนี่ยวดึงใจไว้ไม่ให้หลงในคำนั้น มันเป็นชั่ววินาทีแต่มันรู้สึกจริงนะ อธิบายยาก อย่างได้ยินเพลงเพราะ มันเห็นช่วงเวลาระหว่างที่เราจะวางเฉยหรือไปวิ่งตามอารมณ์นั้นๆ-เหมือนคนบ้ารึเปล่า-เพราะช่วงที่ปฏิบัติจะชอบอยู่สงบนึกถึงแต่ลมหายใจคือจะว่ากลัวก็ไม่ใช่แต่จะพยายามรักษาระดับจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ เหตุหนึ่งเพราะมันคิดเกือบตลอดที่เราจะเผลอ ว่าความตายมันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาจึงต้องระวังรักษาตัวแลจิตไม่ให้ก่อกรรมขึ้นทั้งกายวาจาใจ-มันมากเกินไปรึเปล่า-ก่อนหน้าเคยทรมานกันโรคร่างกายหาหมอหลายที่ก็ไม่ดีขึ้นไม่มีโรคบ่งชี้ ยิ่งปวดตานี่หมอยอมแพ้หาสาเหตุไม่ได้ส่งตรวจทุกอย่างก็แล้ว แต่มาปฏิบัตินี่หายหมดจริงๆ ไม่มีเจ็บไข้ ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ขี้เกียจนั่นนี่ไม่มี ทรงอารมณ์เฉยๆอยู่เรื่อยๆ เหมือนตื่นตลอดเวลา มันเหมื่อนคนสดชื่นอิ่มใจแม้หลังตื่นคือรู้ตัวปุ๊บลุกปั๊บ เพราะปกติ2ทุ่มจะเข้านอนไม่ง่วงนะ แต่พอรู้ว่าหมดหน้าที่ระหว่างวันแล้วก็อยากปฏิบัติต่อ ทั้งลูก2และสามีเปิดทีวีวิ่งกันวุ่นวาย ไม่มีความรู้สึกรำคาญ นอนปุ๊ปกำหนดจิต คือก่อนนอนนี่จะใช้วิธีกำหนดลม+กับนึกถึงเปลวเทียน(เป็นความชอบแบบที่พยายามหลีก แต่ก็ยังอดไม่ได้ยังเอามาใช้ตอนนี้อยู่ พอหลังจะมองเห็นจริงๆไฟลุกพรึบๆ ก็จ้องไปบวกกับภาวนาด้วยจนหลับไป บางทีก็ตัวหมุนๆลอยๆถ้าได้ถึงตรงนี้ก็จะแผ่เมตตา และรู้ไปเรื่อยๆจนหลับ ท่านอนนี่จะตะแคงเอามือข้างหนึ่งหนุน ไม่เอาหมอน เท้าเหยียดตรงมืออีกข้างวางแนบลำตัว ใหม่ก็ฝืนลำบากหน่อยตื่นกลางดึกปวดแขนชามาก แต่สักพักถึงเช้าท่าเดียวเลยไม่เป็นไร ทีนี้นึกจะตื่นเวลาไหนตี4ตีห้า กี่นาทีตรงเป๊ะ อีกเรื่องตื่นเช้าจะลุกมาไหว้พระ อธิษฐานแล้วแผ่เมตตาเป็นประจำ พอเริ่มอธิฐานปุ๊ปจะเกิดความยินดีปลาบปลื้มขนลุกชันซาบซ่านภายในกาย น้ำตาไหลเออ เป็นจนกว่าเราจะหยุดเลย อาการอย่างนี้จะเกิดอีกเมื่ออ่าน/ฟังธรรมะบางประโยค,แผ่เมตตา,ชื่นชมยินดีเมื่อรู้เห็นใคร ไม่ว่าจะทำบุญหรือทำสิ่งดีๆ-เรียกว่าปิติรึเปล่า ทำไมมันเกิดขึ้นแรงและง่ายเหลือเกิน-แล้วอีกอารมณ์หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันที ไม่ว่าตอนนั้นจะทำอะไรเช่นพอทรุดนั่งปุ๊บก็มาทันที คือจะรู้สึกสุขมาก อิ่มใจ เห็นสิ่งรอบกายแต่เหมือนอารมณ์ว่างเปล่าไร้ สภาวะใดๆ มันเป็นอารมณ์สุขที่สุดที่เคยสัมผัสมาจริงๆ ทุกครั้งที่เกิดก็จะหยุดเคลื่อนไหว ประคองจิตให้รู้อาการนั้นอย่างสงบ แต่จะเป็นแค่2-3นาทีก็หยุดไป-อันนี้คืออะไรคะ- อารมณ์นี้ยังตามมาหลังจากห่างการปฏิบัติมาเป็นครั้ง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว มันเป็นปิติตัวหนึ่งรึเปล่าเพราะช่วงที่ปฏิบัติ จะรักษาสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ขอใช้คำว่าแทบตลอดเวลา แต่ว่าอารมณ์นี้ มันสุขมากๆ สุขแบบไม่หลง เหมือนสุขกับความว่าง แต่เราก็จะแค่หยุดมองและปล่อยให้มันผ่านไป-หรือควรทำตัวอย่างไร-เคยนั่งสมาธิ,อ่านหนังสือหรือตั้งใจทำอะไรสักอย่างก็จะเกิดอารมคล้ายๆกัน ตัวจะเบาๆหมุนๆไม่รู้ทิศหรือตัวใหญ่พองขึ้น และพอเกิดขึ้นก็จะยังทำอะไรต่อไปโดยก็กำหนดรู้ไปด้วย ต่างกันที่สุขละเอียด กว่ากัน และที่แปลกอีกเรื่องมักจะเห็นภาพแวบมา สถานที่บ้าง คนบ้าง แล้วก็จะได้พบเจอจริง บางทีเห็นก่อน ไม่กี่นาทีก็บังเอิญได้เจอ ลางสังหรก็แม่นด้วย เช่นเดี๋ยวใครจะมา จะว่าอะไร แบบลางสังหรนะคะไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว อีกอย่างเวลาโต้ตอบกับใครไม่ว่าเรื่องใดเคยรู้หรือไม่เคยรู้ ก็สามารถพูดให้เหตุผลกับเขาได้หมด อัศจรรย์มากไม่ต้องมีการเตรียมคิดหาคำตอบเหตุและผลมันพรั่งพรูออกมาเหมือนดังสายน้ำไหล(ไม่รู้จะเปรียบยังไง) สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ด้วยค่ะ ถ้ายังอยู่ณ อารมนั้นคงไม่มีหลายๆคำถามมารบกวน เพราะตอนนั้นมันแทบจะไร้ความคิดนึกอยากใดๆ แต่จนถึงวันนี้ ห่างมาหลายเดือน ได้ย้อนไปคิดแล้วเกิดความสงสัยขึ้น ว่ามันแปลกและมีความผิดพลั้งประการใด สิ่งที่ทำถูกต้องใหม ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับจิตใจที่มากเหลือเกินในช่วงเวลา1เดือน มันดูเหมือนเราจะสงบมากเกินไป เข้าถึงธรรมะมากเกินไป หรือเราพยายามทำให้มันเกิดรึเปล่า ระหว่างที่ปฏิบัตินั้นก็เตือนตัวเองอยู่ตลอดเหมือนกันนะ แต่ก็ยังไม่แน่ใจ เพราะแม้แต่ความชอบในสุขก็ยังเป็นกิเลส เผื่อมีตัวไหนที่เรามองไม่เห็น เพราะยังไงก็คิดว่าทุกอาการที่เกิด เราจะคอยตามรู้และดูมันอย่างสงบ ความอยาก ใดๆไม่มี ในตอนนั้น นอนจากอยากบวช,อยากถือศิล,อยากปฏิบัติให้มากเพื่อลดการก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ อยากไปให้ถึงพระนิพพาน ลืมบอกไปว่าคำอธิษฐานที่ทำหลังไหว้พระเช้า,ก่อนนอน,นั่งสมาธิ คือขออำนาจพระรัตนตรัย ช่วยหนุนนำบุญกุศลใด ในชาติใดสูงสุดที่ข้าพเจ้าเคยได้ปฏิบัติถึงมาช่วยส่งผลให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสเข้าถึงจุดนั้นได้โดยเร็วเพื่อส่งผลการปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามมรรค แห่งพระพุทธองทรงสอน ให้ได้ถึงพระนิพพานในชาตินี้เถิด อย่าได้หลงผิดทางใดเลย และวิธีนั่งสมาธิ ก็จะนึกอธิฐาน,แผ่เมตตาและกำหนดพุทโธ วันใดจิตฟุ้งมาก ก็จะเอาหลักธรรมคำสอนมาท่องวนไปมาด้วย จิตก็จะสงบส่วนมากก็กฏไตรลักษณ์ สงบในที่นี้ก็คือจะหายใจละเอียดขึ้นตัวเบาตัวหมุน นี่บ่อยๆกะตัวใหญ่พองขึ้น หลังจากนั้นจะหยุดและจะเห็นแสงจ้าและเปลี่ยนมาเป็นขาวนวลตอนนี้ลมจะเบาลงมาก จนเหมือนไหลเข้าออกเอง จิตสบาย รับรู้เสียงทุกอย่างเบาลง เราก็จะกำหนดรู้ดูเรื่อยๆแบบอารมจะเฉยๆ สักพักจะรูสึกอึดอัดแน่นไปทั้งร่าง จะเริ่มหายใจไม่สุด คือหายใจเข้ายาวนานมากๆ หรือออกนานมากๆ และพอเหมือนแน่นจนสุดละวูบเดียวก็สบายเบา เฉย ลมละเอียดมาก แต่ยังรู้สึกทางจิตตอนนี้จะมีแสงส่องมาจ้าขึ้นมากๆอีกละก็จะมาขาวนวลสว่างไสวกว่าเดิม แล้วก็จะเริ่มแวบคิดหรือรู้ลม วนมาปิติ วนมาแสง มาอึดอัด มันเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย ไม่ก้าวหน้าเลยใช่ใหมคะ ทำไม่ถูกรึเปล่าช่วยแนะนำด้วยค่ะ ด้วยเหตุนี้ด้วยถึงมาคิดว่าตัวแปลกต้องมีสิ่งผิดพลาด เพราะสมาธิไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่อารมทางธรรมดูจะเกินจริง เพราะอ่านประสบการจากคนอื่น เขาเห็นนู่นนี่ พระพุทธรูปบ้าง,ตัวเองบ้าง หูดับกายดับบ้างได้เข้าฝึกมโมยิทธิบ้าง สมาธิเขาก้าวหน้าดี แต่ก็ยังพูดคิดถึงคนรัก อยากเที่ยว อยากไปอยากได้อะไรในทางโลกอยู่ แต่ทำไมสมาธิเราไม่เห็นจะก้าวหน้าแต่ด้านอารมณ์สงบเหลือเกิน แค่คิดก็ดับเสียแล้ว ไม่รู้จะอธิบายยังไงตรงนี้ แต่ณ เวลานี้ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติต่อ ทุกอารมที่เคยได้ก็หายไปด้วยค่ะ กลับมาเป็นตัวตนเดิมรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนเดิม แต่จิตตั้งมั่นในบุญมากขึ้น พยายามมากขึ้น ต่างกับตอนปฏิบัติ จิตมันเป็นของมันเองจบแค่นี้ค่ะ หากผิดพลั้งประการใดขอขมาโทษด้วยนะคะ และขอคุณแห่งสิ่งศักสิทธ์คุ้มครองทุกท่านด้วยค่ะ 





อนุโมทนาครับ :b8: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2014, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ขอบคุณมากค่ะ --คุณปลีกวิเวกเหมือนเปิดแสงสว่างให้วูบหนึ่ง สามารถมองเห็นได้ถึงหลายช่องทางไป ดิฉันเหมือนเดินอยู่ในที่มืด พยายามข่มความกลัวด้วยการพยายามทำใจให้ว่าง เพื่อควบคุมจิตให้นิ่งพร้อมรับกับสิ่งที่จะเข้ามา หรือเพิ่มฤทธ์ทางจิตเพื่อไว้ปกป้องตัวเองจากสิ่งที่มองไม่เห็น


tongue ไม่ทราบคุณจขกท ยังอยู่ไหม

ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ "สมาธิ" กันก่อน

สมถกรรมฐาน เป็นการมีสติคอยระลึกรู้อยู่ที่อารมณ์เดียว ผลที่ได้คือมีจิตที่สงบปราศจากนิวรณ์ มีความปลอดโปร่ง เบาสบาย มีกำลัง และมีความสุข หากมีความแนบแน่นเป็นหนึ่งมาก ก็ได้ฌานระดับต่างๆ เป็นการใส่ใจไปที่ตัวอารมณ์ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการฝึกให้มีสติ มีสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว ก็ให้ตามพิจารณารู้ทั้งนามและรูปให้เห็นความจริง คือเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ ผลที่ได้รับคือความเข้าใจความจริงของสภาวธรรม
จิตหมดความเห็นผิดและหมดความยึดมั่นถือมั่นในนามรูป เป็นการใส่ใจไปที่ลักษณะของสภาวธรรม
เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน

สมาธิ มีทั้ง สัมมาสมาธิ และมิจฉาสมาธิ ในพุทธศาสนานั้นท่านสอนเรื่องสัมมาสมาธิ คือการมีสมาธิที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา สมาธิที่เป็นไปเพื่อสนับสนุนเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงหรือเรียกว่าพระนิพพาน
ศึกษาเรื่องของสัมมาสมาธิได้ที่นี่ พอสังเขป
http://www.nkgen.com/367.htm

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 17:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ คุณปลีกวิเวก ยังเข้ามาเช็คดูเผื่อจะเข้ามาแล้วได้เห็นคำชี้แนะต่างๆ ตอนนี้ความตั้งใจปฏิบัติยังไม่เต็มที่เลย มีแต่ความอยาก ความเพียรบกพร่องมาก ขอบคุณค่ะ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 19:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณปลีกวิเวก เข้าไปอ่านดูตามที่แนะนำแล้วค่ะ แล้วเขียนลงสมุดด้วย เพื่อจะช่วยให้ย้ำทุกตัวอักษร บอกตรงๆนะก็พอเข้าใจบ้าง พยายามแล้วค่ะ แต่ก็เป็นความรู้ที่ดีมากๆบางประโยคที่ทำให้ย้อนมองตัวเองทันที แต่ก็นั่นแหละ ไม่ชัดเจนและไม่มั่นใจ เอาเป็นว่าหากดิฉันนั่งสมาธิ ก็คือควรตามรู้ ดูอารมณ์ไปเรื่อยๆ เช่นวันนี้ นั่งจับลมหายใจสั้น,ยาว หยาบ,ละเอียด ก็จะกำหนดตามลมเข้าออกไปเรื่อยๆ มีฟุ้งซ่าน,เบื่อ,หงุดหงิดก็กำหนดรู้ เบา,สงบตั้งมั่นนานไม่นาน,พอใจไม่พอใจ,สุขยังไงก็รู้แบบที่แค่รู้ เหมือนคอยดู เป้าหมายคือ คอยดูจิตที่คอยจะเปลี่ยนแปลงไปหลายอารมณ์ ถูกต้องใหมคะ ว่าไปแล้วเริ่มรู้ชัด ว่าที่ผ่านมาตัวเองนั่งแล้วเป้าหมายคืออะไรเอาตอนนี้ พอดีความรู้ด้านนี้ไม่มี อยากทำสมาธิก็ไปอ่านในเว็บถึงอารมนั้น,นี้ พอมานั่งทีนี้ก็รอที่ว่าเราควรจะถึงอารมนั้นนี้ อยู่เรื่อยไม่เคย เข้าใจว่าธรรมเขามาปรากฏอยู่ทุกเวลานาที ขอบคุณมากกกๆเลยค่ะ ขนาดท่องอยู่ตลอดว่าต้องไม่หลงไม่ยึดติดสิ่งใด แต่นี่เต็มเลยทั้งที่ก็เรียนรู้ธรรมมาหลายข้อ ที่เราจะตั้งมั่นทีไรต้องมาเข้ามาทดสอบทุกทีหากทำความเข้าใจได้ก็จะหายไป
วิธีปฏิบัติปัจจุบันแบบนี้ถูกไม่ถูกแนะนำด้วยค่ะ แล้วอานาปานสติที่ควร ปฏิบัติยังไงคะ เห็นว่าใช้วิธีนี้อยู่ แนะนำด้วยก็ดีนะคะ เอาแบบเป็นคำพูดที่ฟังง่ายๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณปลีกวิเวก เข้าไปอ่านดูตามที่แนะนำแล้วค่ะ แล้วเขียนลงสมุดด้วย เพื่อจะช่วยให้ย้ำทุกตัวอักษร บอกตรงๆนะก็พอเข้าใจบ้าง พยายามแล้วค่ะ แต่ก็เป็นความรู้ที่ดีมากๆบางประโยคที่ทำให้ย้อนมองตัวเองทันที แต่ก็นั่นแหละ ไม่ชัดเจนและไม่มั่นใจ เอาเป็นว่าหากดิฉันนั่งสมาธิ ก็คือควรตามรู้ ดูอารมณ์ไปเรื่อยๆ เช่นวันนี้ นั่งจับลมหายใจสั้น,ยาว หยาบ,ละเอียด ก็จะกำหนดตามลมเข้าออกไปเรื่อยๆ มีฟุ้งซ่าน,เบื่อ,หงุดหงิดก็กำหนดรู้ เบา,สงบตั้งมั่นนานไม่นาน,พอใจไม่พอใจ,สุขยังไงก็รู้แบบที่แค่รู้ เหมือนคอยดู เป้าหมายคือ คอยดูจิตที่คอยจะเปลี่ยนแปลงไปหลายอารมณ์ ถูกต้องใหมคะ ว่าไปแล้วเริ่มรู้ชัด ว่าที่ผ่านมาตัวเองนั่งแล้วเป้าหมายคืออะไรเอาตอนนี้ พอดีความรู้ด้านนี้ไม่มี อยากทำสมาธิก็ไปอ่านในเว็บถึงอารมนั้น,นี้ พอมานั่งทีนี้ก็รอที่ว่าเราควรจะถึงอารมนั้นนี้ อยู่เรื่อยไม่เคย เข้าใจว่าธรรมเขามาปรากฏอยู่ทุกเวลานาที ขอบคุณมากกกๆเลยค่ะ ขนาดท่องอยู่ตลอดว่าต้องไม่หลงไม่ยึดติดสิ่งใด แต่นี่เต็มเลยทั้งที่ก็เรียนรู้ธรรมมาหลายข้อ ที่เราจะตั้งมั่นทีไรต้องมาเข้ามาทดสอบทุกทีหากทำความเข้าใจได้ก็จะหายไป
วิธีปฏิบัติปัจจุบันแบบนี้ถูกไม่ถูกแนะนำด้วยค่ะ แล้วอานาปานสติที่ควร ปฏิบัติยังไงคะ เห็นว่าใช้วิธีนี้อยู่ แนะนำด้วยก็ดีนะคะ เอาแบบเป็นคำพูดที่ฟังง่ายๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ Kiss


สิ่งที่ คุณทำอยู่ไม่เรียกว่า อานาปานสติ แต่เป็นการฟุ้งไปกับลมหายใจเข้าลมหายใจออก
ถึงแม้จะดูคล้ายกับว่าทำอานาปานสติ แต่ไม่ใช่อานาปานสติ

ยังห่างไกลจากอานาปานสติมาก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 08:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


--คุณเช่นนั้น หมายถึงให้มีสติ รู้ถึงลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปเกี่ยวกับอารมณ์ไหนเลยมีสติอยู่กับลมที่หายใจ เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องไปรับอารมอื่น หรือหากรู้ว่าเกิดก็กลับเข้ามารู้ถึงแค่ว่าเรากำลังหายใจ ไม่ต้องไปรับเอาอารมนั้นเข้ามา รึเปล่าคะ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
--คุณปลีกวิเวก เข้าไปอ่านดูตามที่แนะนำแล้วค่ะ แล้วเขียนลงสมุดด้วย เพื่อจะช่วยให้ย้ำทุกตัวอักษร บอกตรงๆนะก็พอเข้าใจบ้าง พยายามแล้วค่ะ แต่ก็เป็นความรู้ที่ดีมากๆบางประโยคที่ทำให้ย้อนมองตัวเองทันที แต่ก็นั่นแหละ ไม่ชัดเจนและไม่มั่นใจ เอาเป็นว่าหากดิฉันนั่งสมาธิ ก็คือควรตามรู้ ดูอารมณ์ไปเรื่อยๆ เช่นวันนี้ นั่งจับลมหายใจสั้น,ยาว หยาบ,ละเอียด ก็จะกำหนดตามลมเข้าออกไปเรื่อยๆ มีฟุ้งซ่าน,เบื่อ,หงุดหงิดก็กำหนดรู้ เบา,สงบตั้งมั่นนานไม่นาน,พอใจไม่พอใจ,สุขยังไงก็รู้แบบที่แค่รู้ เหมือนคอยดู เป้าหมายคือ คอยดูจิตที่คอยจะเปลี่ยนแปลงไปหลายอารมณ์ ถูกต้องใหมคะ ว่าไปแล้วเริ่มรู้ชัด ว่าที่ผ่านมาตัวเองนั่งแล้วเป้าหมายคืออะไรเอาตอนนี้ พอดีความรู้ด้านนี้ไม่มี อยากทำสมาธิก็ไปอ่านในเว็บถึงอารมนั้น,นี้ พอมานั่งทีนี้ก็รอที่ว่าเราควรจะถึงอารมนั้นนี้ อยู่เรื่อยไม่เคย เข้าใจว่าธรรมเขามาปรากฏอยู่ทุกเวลานาที ขอบคุณมากกกๆเลยค่ะ ขนาดท่องอยู่ตลอดว่าต้องไม่หลงไม่ยึดติดสิ่งใด แต่นี่เต็มเลยทั้งที่ก็เรียนรู้ธรรมมาหลายข้อ ที่เราจะตั้งมั่นทีไรต้องมาเข้ามาทดสอบทุกทีหากทำความเข้าใจได้ก็จะหายไป
วิธีปฏิบัติปัจจุบันแบบนี้ถูกไม่ถูกแนะนำด้วยค่ะ แล้วอานาปานสติที่ควร ปฏิบัติยังไงคะ เห็นว่าใช้วิธีนี้อยู่ แนะนำด้วยก็ดีนะคะ เอาแบบเป็นคำพูดที่ฟังง่ายๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ Kiss


ไม่เป็นไรนะคะ ค่อยๆทำความเข้าใจควบคู่ไปกับการปฏิบัติค่ะ...
ในที่นี้เราต้องการฝึกสมถกรรมฐาน เพื่อฝึกสติและเป้าหมายคือสมาธิดังนั้นวิธีการที่เราใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกให้จิตมีสมาธิคืออะไร วิธีการนั้นต้องนำไปสู่เป้าหมายคือมีสมาธิตั้งมั่นค่ะ

ในที่นี้อ่านดูแล้วยังไม่เห็นหรือคุณไม่ได้บอกไว้...แต่การกำหนดรู้ดูอารมณ์ตามที่มันเป็น..ที่คุณบอกนั้นเราจะใช้สำหรับการวิปัสสนากรรมฐานในกรณีที่บุคคลนั้นๆมีความรู้เกี่ยวกับวิปัสสนาแล้ว เพราะในคำว่ารู้ตามที่มันเป็นนั้นต้องมีปัญญาประกอบ...

ดังนั้นวิธีปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อฝึกสติ สมาธิ จิตต้องอยู่กับองค์ของกรรมฐานเท่านั้น แต่ในกรณีที่จิตตกจากองค์กรรมฐาน เช่น คิดเรื่อง อดีต อนาคต เจ็บปวด เมื่อย เหนื่อย ขี้เกียจ ฯลฯ
เหล่านี้ก็ให้มีสติรู้เท่าทันกลับมาที่องค์กรรมฐาน หรือถ้าสติเราอ่อนกำลังมากก็ให้กำหนดรู้ตามอาการที่เป็น เช่น ขี้เกียจหนอๆๆๆ จนอารมณ์นั้นเบาลง (เป็นการดึงสติกลับจากอารมณ์ที่ฟุ้ง) แล้วก็กลับมาที่องค์กรรมฐานต่อไปจนกว่าจิตจะสงบตั้งมั่นความยากของมันอยู่ตรงที่จิตมักจะไปรู้อารมณ์อื่น คือตกออกจากองค์ของกรรมฐาน ดังนั้นเราต้องรู้วิธีการแก้ไขเท่านั้นเอง...

ที่คุณเช่นนั้นแนะนำอานาปานสติ คุณสามารถนำไปใช้ได้ค่ะ ถ้าเข้าใจ โดยส่วนตัวปลีกวิเวกก็ใช้อานาปานสติเหมือนกันแต่ไม่มีคำบริกรรมเป็นการใช้สติตามพิจารณาลักษณะของลม เช่น ลมเข้า หรือออก
เย็น ร้อน หยาบ ละเอียด เป็นต้น ซึ่งวิธีการใช้คำบริกรรมหรือไม่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณ คุณลองสังเกตุดูว่าเราถนัดแบบใด ใช้แบบใดแล้วบรรลุเป้าหมาย คือมีสติและสมาธิ

สติ คือความระลึกได้ สติในที่นี้ของเราคือให้ระลึกอยู่ในงานที่เราต้องการให้จิตทำ คืออยู่ในองค์กรรมฐานที่เราต้องการฝึกเท่านั้น..

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แก้ไขล่าสุดโดย ปลีกวิเวก เมื่อ 01 ก.ค. 2014, 08:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร