วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หวัดดีค่ะ
คุณเช่นนั้นคะ
Kiss
หากนั่งสมาธิ จนเกิดสภาวะเหมือนกายไม่มี ลมไม่มี นิ่ง สงบสบายอยู่อย่างนั้น
แล้วไม่อยากพิจารณาค่ะ หรือว่ายังไม่ควรพิจารณา
คือว่าช่วงนี้ก็สับสนอยู่ค่ะ ไม่เป็นขั้นเป็นตอน งงๆ ว่าหากเริ่มกำหนดลม จะต่อยังไง
แต่ที่ทำ ก็กำหนดลม รู้อยู่ที่ลม แต่เพียงสักพัก จิตจะมีความตั้งมั่นสว่างโปล่ง โล่งสบาย ลมและกายเหมือนไม่มี
ก็รู้อยู่อย่างนั้น จำเป็นต้องทำผ่านไปทีละขั้นใหม
หรือหากจนสงบมาก เฝ้าดูจิตไป แล้วพิจารณาความเปลี่ยนแปลง
หรือหากโน้มพิจารณาธาตุ โดยเริ่มต้นที่ลม คือยังไง ตอนไหน
คือว่าตอนนี้เรียบเรียงไม่ถูก ถ้ามีเวลาจะย้อนกลับไปอ่านใหม่ค่ะ แต่ว่ายังไม่ได้
แต่ว่าก็อยากทำสมาธิในทุกวัน

:b9: :b9: s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คือว่าช่วงนี้ก็สับสนอยู่ค่ะ ไม่เป็นขั้นเป็นตอน งงๆ ว่าหากเริ่มกำหนดลม จะต่อยังไง
แต่ที่ทำ ก็กำหนดลม รู้อยู่ที่ลม แต่เพียงสักพัก จิตจะมีความตั้งมั่นสว่างโปล่ง โล่งสบาย ลมและกายเหมือนไม่มี
ก็รู้อยู่อย่างนั้น จำเป็นต้องทำผ่านไปทีละขั้นใหม
หรือหากจนสงบมาก เฝ้าดูจิตไป แล้วพิจารณาความเปลี่ยนแปลง
หรือหากโน้มพิจารณาธาตุ โดยเริ่มต้นที่ลม คือยังไง ตอนไหน

ในขั้นตอนต่างๆ นั้นดูเหมือน จะวนไปวนมานะครับ
แต่จุดตั้งต้นคือต้องให้จิตผ่องใสจิตเป็นเอกัคคตาก่อนครับ.

การทำความศึกษา จึงเป็นการทำความสังเกตุ สภาวะของจิตที่คุณ idea เข้าไปสู่สภาวะตั้งมั่นสว่างโปล่ง โล่งสบาย ลมและกายเหมือนไม่มี นั้น เริ่มตั้งแต่ต้นทาง ถึงปลายทาง อีกทีหนึ่ง.
จึงเป็นการวนไปวนมาเดิมๆ ต่อกิจเดิมๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ. (เพราะนามรูป ที่จิตไปพัวพัน ก็มี แต่สิ่งเดิมๆ คือ รูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุ)
ให้สังเกตุว่า การวนไปวนมาในสิ่งเดิมๆนั้น เป็นการตั้งใจทำความศึกษาที่มีจุดประสงค์แตกต่างกัน
ด้วยการตั้งจุดประสงค์ที่จะทำความศึกษาแตกต่างกันนั่นเองจึงวนอยู่กับกิจเดิมๆ ครับ
เพียงแต่ทำความสังเกตุ ต่างๆกันไปตามขอบเขตของอนุปัสสนานั้นๆครับ.
เช่น
ในชั้นกายานุปัสสนา จะเป็นการสังเกตุ ธาตุต่างๆ ที่ประกอบเข้ามาเป็นกาย และ การอยู่ร่วมกันของรูปกายนามกาย การกำหนดให้นามกายคุมรูปกายได้.
ในชั้นเวทนานุปัสสนา จะเป็นการสังเกตุ เกี่ยวกับ ผัสสะ เวทนา สัญญา วิตก การควบคุมวิตก
ในชั้นจิตตานุปัสสนา จะเป็นการสังเกตุพฤติจิต อันก่อเป็นทุกข์ สิ่งที่เจืออยู่ในจิต ความอยาก อัตตสัญญา อัตตสังขาร การมีสติควบคุมจิต การสังเกตุความตั้งมั่นของจิตที่มีความสงบด้วยอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ การกำหนดด้วยสติ จนถึงสิ่งที่คุณ idea เข้าถึงสภาวะตั้งมั่นสว่างโล่งสบายดังกล่าว.

การปฏิบัติจึงวนไปวนมาจนจิตชำนาญ มีปัญญาแทงตลอดสภาวะที่รู้อยู่เห็นอยู่นั้น และจิตตั้งมั่นมีกำลัง.
และด้วยความชำนาญที่เกิดขึ้นจะเป็นต้นทุนทางปัญญาที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติมีสมาธิครับ.

เมื่อถึงการทำความสังเกตุรู้ในชั้น ธัมมานุปัสสนา ที่เป็นการเผชิญหน้ากับอารมณ์
จิตก็จะมีความละเอียดอ่อน และมีกำลังเพียงพอ ที่จะใช้ปัญญาเข้าหักกับกิเลสครับ.
ตรงนี้เหมือนกับ เอานักกีฬาที่ซุ่มซ้อม ไปลงสนามแรก
เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง.

จิตนั้นจึงจะ คงที่ไม่หวั่นไหวไปกับกิเลส หลุดพ้นจากทุกข์ได้.

สติสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
มีสติกำหนดอยู่เพื่อให้จิตไม่แส่ส่าย
มีความความเพียรเพื่อให้จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับกิเลส
กำหนดธรรมที่จะเรียนรู้พิจารณาศึกษาเป็นอย่างๆไป.ไม่สับสนปนเป.

ผู้ฝึกปฏิบัติชั้นแรกๆ ถ้าจิตเข้าถึงความสงบตั้งมั่นดั่งที่คุณ idea ประสบอยู่นั้น ก็ให้ดำรงจิตอยู่ในสภาวะนั้นให้นานที่สุด จนเสพย์คุ้นเคยชินครับ พอจิตถอนเอง ค่อยมาทำความศึกษาครับ เป็นการทำอานาปานสติสมาธิภาวนา ที่กว้างขวางขึ้นครับ.
idea เขียน:
หากนั่งสมาธิ จนเกิดสภาวะเหมือนกายไม่มี ลมไม่มี นิ่ง สงบสบายอยู่อย่างนั้น
แล้วไม่อยากพิจารณาค่ะ หรือว่ายังไม่ควรพิจารณา
:b9: :b9: s002

ถ้าอยู่ในสภาวะนี้ได้ จิตก็อยู่กับจิตเอง ให้ทรงอยู่อย่างนั้นไว้ จนมันถอนของมันเองครับ.
พอถอนขึ้นมาเอง. จิตนั้นเป็นจิตมีกำลังอยู่ครับ ก็ให้พิจารณาสภาวะนั้น ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเปลื้องจิตจากความยึดถือใน อุเบกขานั้นไว้ครับ จิตจะคลายจากความเข้าไปหลงยึดถือไว้ด้วย ว่าจิตมีอุเบกขา อุเบกขาเป็นของจิต และจิตที่เป็นอุเบกขาคือตัวจิตเองครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 18:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ คุณเช่นนั้น
ปกติเวลานั่งสมาธิ ก็หมดความกังวลใดๆ แล้วนะคะ
พอนั่งหลับตา กำหนดลม ก็พยายามมีสติ กำหนดรู้ในแต่ละสภาวะผ่านไปเรื่อย
ก็พอใจในขั้นอารมณ์ที่ได้รับในการปฏิบัติ
ต่อเมื่อออกมาแล้ว จึงมีสงสัย ว่ามีการตกหล่น อะไรไปรึเปล่า เผื่อผิดพลั้งหน่ะค่ะ :b19: :b19:
เพราะหากจากตัวอักษรมันเหมือนยาวมากเลย แล้วยิ่งการปฏิบัติช่วงนี้ เพียงสักพักเดียวเลยจริง
ก็เจอสภาวะที่ละเอียดมากไปเลย ก็อดคิดว่าจะข้ามกระโดดไปรึเปล่า
ช่วงนี้รู้สึกในตัวมี2อารมณ์ เดี๋ยวง่าย เดี๋ยวยาก เดี๋ยวเข้าใจ เดี๋ยวเหมือนจะไม่เข้าใจ คนละโหมดสลับกันไป
:b9: :b9:
:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2014, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ขอบคุณค่ะ คุณเช่นนั้น
ปกติเวลานั่งสมาธิ ก็หมดความกังวลใดๆ แล้วนะคะ
พอนั่งหลับตา กำหนดลม ก็พยายามมีสติ กำหนดรู้ในแต่ละสภาวะผ่านไปเรื่อย
ก็พอใจในขั้นอารมณ์ที่ได้รับในการปฏิบัติ
ต่อเมื่อออกมาแล้ว จึงมีสงสัย ว่ามีการตกหล่น อะไรไปรึเปล่า เผื่อผิดพลั้งหน่ะค่ะ :b19: :b19:
เพราะหากจากตัวอักษรมันเหมือนยาวมากเลย แล้วยิ่งการปฏิบัติช่วงนี้ เพียงสักพักเดียวเลยจริง
ก็เจอสภาวะที่ละเอียดมากไปเลย ก็อดคิดว่าจะข้ามกระโดดไปรึเปล่า
ช่วงนี้รู้สึกในตัวมี2อารมณ์ เดี๋ยวง่าย เดี๋ยวยาก เดี๋ยวเข้าใจ เดี๋ยวเหมือนจะไม่เข้าใจ คนละโหมดสลับกันไป
:b9: :b9:
:b8: :b8:

: ))
ทานข้าว ก็ทานกับ
ข้าวก็มีข้าวต้ม ข้าวสวย เคี้ยวยาก เคี้ยวง่าย ก็ทานกันไปครับ

ภาวนาไป
เมื่อเจอสนามจริงในชีวิต จิตไม่เต้นไม่ขึ้นไปตามกิเลส ก็สอบผ่าน
ถ้าสอบตก ก็ต้องนำมาทบทวนในสถานที่หลีกเร้น.

ตอนทำความศึกษาในบทธัมมานุปัสสนา ก็ต้องตั้งใจชนกับความกลัวกันล่ะ
ู: ))

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 07:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ปล่อยวางอะไรๆได้เยอะเลยค่ะ
ทุกข์ เข้ามาไม่ถึง หรือหากจะมีบ้างบางเรื่องกับนิสัยที่เคยชิน ก็อยู่กับเราไม่นาน
เพราะเริ่มเข้าใจว่ามันก็เป็นเพียงสภาวะหนึ่ง เหมือนสิ่งของร้อนที่เราจะเอื้อมมือไปสัมผัสรึเปล่า
รู้ทัน ยั้งคิดปรุงแต่งในอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามา ลดลงไปก็เยอะ หากมีบ้างรู้ทันก็ปล่อยเร็ว ปล่อยเลย ไม่ติดอยู่ในใจเลย
ปกติก็รู้อยู่บ้างนะคะ ทำนั่นไม่ควร ไม่ดี แต่ไม่อยากหยุด หยุดไม่ได้ นี่เป็นตัวปัญหา
เพราะทำให้รู้สึกแย่ เหมือนเราทันรู้ ทันได้เลือกที่จะทำ ก็จะไม่สบายใจตามทันที
s005


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ตอนนี้ปล่อยวางอะไรๆได้เยอะเลยค่ะ
ทุกข์ เข้ามาไม่ถึง หรือหากจะมีบ้างบางเรื่องกับนิสัยที่เคยชิน ก็อยู่กับเราไม่นาน
เพราะเริ่มเข้าใจว่ามันก็เป็นเพียงสภาวะหนึ่ง เหมือนสิ่งของร้อนที่เราจะเอื้อมมือไปสัมผัสรึเปล่า
รู้ทัน ยั้งคิดปรุงแต่งในอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามา ลดลงไปก็เยอะ หากมีบ้างรู้ทันก็ปล่อยเร็ว ปล่อยเลย ไม่ติดอยู่ในใจเลย
ปกติก็รู้อยู่บ้างนะคะ ทำนั่นไม่ควร ไม่ดี แต่ไม่อยากหยุด หยุดไม่ได้ นี่เป็นตัวปัญหา
เพราะทำให้รู้สึกแย่ เหมือนเราทันรู้ ทันได้เลือกที่จะทำ ก็จะไม่สบายใจตามทันที
s005


ไม่รู้ เพราะยังไม่มีปัญญา
รู้ แต่ยังทำ เพราะขาดสติ
รู้แต่ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เพราะสมาธิอ่อนกำลัง

ถ้าสติและปัญญา สมาธิเต็มบริบูรณ์ คงได้อรหัตผล แล้วละครับ : ))

พยายามกันต่อไป ...
มีโอกาสที่มีจิตสงบในการดำเนินชีวิตได้ ก็ดี ฝุดๆ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ระหว่างทำสมาธิ เริ่มแวบคิดเหมือนจะมีใครเข้ามาอีกแล้ว
ทั้งที่ห่างหายไปแล้ว :b5:
แต่ระหว่างนั้น มีสติรู้อยู่ แต่ว่าสภาวะตอนนั้นสงบละเอียดมาก ไม่น่าจะฟุ้งซ่านได้
ก็กำหนดรู้ ไม่ไขว้เขว ปกติสมาธิถึงพยายามฝืนไว้(ไม่ลืมตาดู)
สมาธิก็จะตก ต้องรวบรวมกำลังใหม่
แต่ครั้งนี้ คิดว่าปล่อยไปจะเอาไงก็เอา ไม่ฝืนไม่ข่มไม่บังคับ จิตมันกลับปล่อยเอง
แต่ก็แวบมา4-5รอบ เริ่มทำความเข้าใจกับมันอีก มันก็เป็นเพียงสภาวะหนึ่งเท่านั้น
แต่ก็นะ ครั้งต่อไปจะไงไม่รู้
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่เป็นอย่างนั้น เกิดขึ้นได้เป็นปรกติ
เพราะยังไม่ได้ละอย่างเด็ดขาดได้ด้วยปัญญาครับ
พอกำลังแห่งสติ สมาธิอ่อนลง ก็ปรากฏได้อยู่ แต่จะไม่รุนแรงเหมือนสมัยก่อนครับคุณ idea

ต้องมาฝึกสังเกตุ ในธัมมานุปัสสนา โดยเอา
การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะลมหายใจเข้าลมหายใจออก
สัญญา วิตก และสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตเป็นตัวศึกษา เป็นตัวซักซ้อมให้เสพย์คุ้นต่อการพิจารณาครับ
เมื่อเข้าใจธรรมชาติต่างๆ ของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และจิตได้อย่างประจักษ์ต่อจิตจริงๆ แล้ว
เมื่อเห็นเมื่อรู้สิ่งต่างๆ การแว๊ปๆ นั้นก็เอาความรู้นี้เข้าไปละวางได้ครับ

ดังนั้นในบทธรรมานุปัสสนาแห่งอานาปานสติ จำต้องอาศัยเข้าใจในจุดมุ่งหมายการพิจารณา
ด้วยการอ่านจากพระสูตร โดยตรงก่อนครับ.
เมื่ออ่านพระสูตรทำความเข้าใจได้แล้ว. ปัญญาที่เกิดขึ้นจะมีกำลังนิดหน่อย

เมื่อจะนำความรู้ความเข้าใจในจุดประสงค์ของการพิจารณา มาปฏิบัติ จึงยังคงต้องอาศัยจิตที่ผ่องใสมีสติมีสมาธิ ที่มีกำลังหนุนเสริมปัญญาในการพิจารณา.

พระสูตรที่คิดว่าแนะนำให้อ่าน จะอยู่ในขันธวารวรรค สังยุตตนิกายครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=1298&Z=1348&pagebreak=0

สังขิตสูตร
[๑๐๓] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก
จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-
*เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-
*สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน
จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-
*เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง
ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ
หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-
*จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
จบสูตรที่ ๓

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติสมาธิภาวนา 13

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.


ในลำดับที่ 13
"สิ่ง" คือสภาวะธรรมที่ปรากฏในขณะพิจารณา ด้วยจิตที่ยังมีกำลังของสมาธิที่ตั้งมั่นค้ำชูเกื้อหนุนอยู่
ให้พิจารณา "สิ่ง" นั้นๆ เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กองลม รูปกาย นามกาย เวทนา ผัสสะ สัญญา วิตก จิตต่างๆ ที่ เจือด้วยอัตตสัญญา หรือไม่เจือด้วยอัตตสัญญา ในขณะแห่งอนุปัสสนาในลำดับๆ นั้นๆ

สิ่งใดไม่เที่ยง (มีความเกิดความดับ)
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง)
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (เป็นธรรมมีเหตุปัจจัย)

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=1266&Z=1281&pagebreak=0

Quote Tipitaka:
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียก
กันว่าโลกๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกกันว่า โลก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกใน
อริยวินัย


ก็อะไรเล่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุแลมีความแตกสลายเป็น
ธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุวิญญาณมีความแตกสลายเป็น-
*ธรรมดา จักษุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลาย
เป็นธรรมดา ฯลฯ ใจมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลาย
เป็นธรรมดา มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตก
สลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา

ดูกรอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้ระหว่างทำสมาธิ เริ่มแวบคิดเหมือนจะมีใครเข้ามาอีกแล้ว
ทั้งที่ห่างหายไปแล้ว :b5:

เมื่อพิจารณา อนิจจัง จนปัญญาได้กำลังแล้ว
ให้ใช้ปัญญานี้ไป ดูไปรู้ตรงๆ กับสิ่งที่แว๊ป โดยไม่ต้องหลบเข้าสมาธิอีกเลย

มันไม่ได้อยู่กับ คุณ idea ตลอดเวลา เกิดเพราะสังขาร จิตน้อมเอาวิตกในอดีตมาปรุงแต่งในปัจจุบัน มีความชอบใจไม่ไม่ชอบใจ มีสัญญา เกิดขึ้นเป็นธัมมารมณ์กระทบใจ ถ้ารู้มัน มันก็จะหายไป
การเกิดการดับของสิ่งที่แว๊ปๆ เป็นสิ่งที่จริง แต่จิตนี้เองที่มีอัตตสัญญายึดกุมอยู่นี้ ไปคลุกเคล้าไปพะวง ไปกลัวมัน. สังเกตุว่าถ้าจิตเป็นสมาธิมีกำลัง มันก็จะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะเหตุไร เพราะสิ่งนั้นไม่อาจปรุงแต่งได้ในขณะจิตเป็นสมาธิ จึงเป็นสิ่งเกิดดับตามธรรมดา. เผชิญกับมันด้วยความรู้ด้วยปัญญาด้วยสติครับ สิ่งนั้นก็จะไม่อาจกลับมาปรุงแต่งได้อีกตลอดไป.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2014, 19:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขนาดอ่านแบบผ่านๆ( ตอนเย็นไม่ค่อยมีเวลาค่ะ)
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลย
อ่านจบเกิดปิติ ขนลุกชัน ซาบซึ้งจริงๆ เลยค่ะ
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 06:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
วันนี้นั่งทำสมาธิตอนเช้ามืดได้แล้วผ่านไปด้วยดี
:b19: :b19:
เดี๋ยวคืนนี้ จะลองนั่งตอนกลางคืนดู
ถ้าผ่าน ต่อไปจะมีเวลาในการตั้งใจศึกษามากขึ้น
s007 ดีใจมากค่ะ ขอให้ผ่าน เพราะอยากเน้นการปฏิบัติให้มากกว่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
วันนี้นั่งทำสมาธิตอนเช้ามืดได้แล้วผ่านไปด้วยดี
:b19: :b19:
เดี๋ยวคืนนี้ จะลองนั่งตอนกลางคืนดู
ถ้าผ่าน ต่อไปจะมีเวลาในการตั้งใจศึกษามากขึ้น
s007 ดีใจมากค่ะ ขอให้ผ่าน เพราะอยากเน้นการปฏิบัติให้มากกว่านี้

:b8: อนุโมทนากับความเพียร ครับคุณ idea

อานาปานสติสมาธิภาวนา
ชั้นที่ 14

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า.


เมื่อคุณ idea อาศัยจิตที่มีกำลังด้วยสติ ด้วยสมาธิ
พิจารณา อนิจัง (ความเกิดความดับ)
ทุกขัง (มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง)
อนัตตา (ความไม่มีอำนาจโดยตัวมัน ล้วนมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง)
ในกาย ในเวทนา ในจิต นั้นๆ ทุกชั้นทุกอารมณ์ วนไปวนมา ตั้งแต่หยาบไปจนละเอียด.

ธรรมทั้งปวงอันเป็นที่มาแห่งความยินดี ความยินร้าย
ธรรมทั้งปวงอันเป็นอารมณ์ของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
คือ :
รูปทั้งหลาย
เวทนาทั้งหลาย
สัญญา ทั้งหลาย
วิตก ความคิดความดำริ ความพล่าน ความเพลิน
ล้วนไม่อาจตั้งอยู่ได้ ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

ยิ่งพิจารณาเห็น อนิจัง ทุกขัง อนัตตา ในรูปธาตุ เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุ บ่อยๆ
จิตก็จะคลายจากการยึดเอาถือเอาด้วยตัณหา

ดังนี้ เป็นการพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ จิตจะคลายออกจากการยึดถือได้ตามกำลังของการปฏิบัติครับ.

Quote Tipitaka:
๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยทุกข์และมูลเหตุแห่งทุกข์
[๖๘] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์และมูล
เหตุแห่งทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์คือ
รูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่าทุกข์.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มูลเหตุแห่งทุกข์เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด นำให้เกิดในภพ
ใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์
นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามูลเหตุแห่งทุกข์.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น
ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ


ภวตัณหา คือความกำหนัดนัก คือราคะ คือความเพลิน ความเข้าถึงด้วยความยินดี ความดื่มด่ำถึง พร่ำถึง อาลัยอาวรณ์ถึง ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น.
เช่น อยากมียศ มีศักดิ์ อยากได้รับการเคารพนับถือ อยากเป็นเกิดเป็นเทวดา อยากเกิดเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ อยากมีฤทธิ์ มีเดช

วิภวตัณหา คือความกำหนัดนัก คือราคาะ คือความเพลิน ความเข้าถึงด้วยความไม่ยินดี ความดื่มด่ำ พร่ำถึง ความไม่อยากมี-ไม่อยากเป็น ด้วยความเป็นสิ่งที่ดีกว่า.
เช่น ไม่อยากเศร้าเสียใจ ไม่อยากพรัดพราก ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากป่วย ไม่อยากตาย ไม่อยากเกิด ไม่อยากเจ็บ เป็นต้น

กามตัณหา คือความราคะ คือความเพลิน ความเข้าถึงด้วยความยินดี ความดื่มด่ำพร่ำถึง ความอยากใน อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย เป็นต้น
Quote Tipitaka:
[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่
ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา
นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก
ที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด
ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจใน
โลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน
สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก
ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่
ในที่นี้ ฯ
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม-
*สัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ
สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อม
เกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
*ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ
ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2014, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น
ความหน่าย ความคลายกำหนัด จากความยึดถือต่างๆ ด้วยอำนาจของราคะ โทสะ โมหะนั้น
ก็ไม่อาจบังคับบัญชาเอาเอง หรือสั่งเอาเองว่า จงคลายๆ ๆๆๆ ได้ครับ

ในสมถะภาวนา เราเพียงข่มด้วยกำลังของสติและสมาธิ
ในวิปัสสนาภาวนา เราจึงต้องอาศัยจิตที่มีกำลังจากอำนาจของสมถะ มาพิจารณาความจริงอย่างชัดแจ้ง
ถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยความเห็นคุณ เห็นโทษ เห็นภัย จนจิตเบื่อหน่ายถอนออกจากความยึดถือครับ

การสังเกตุ พิจารณา ถึงความหน่าย ความคลายจากความยึดถือ จึงต้องพิจารณาด้วยอาการอย่างนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร