วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 16:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
ยากอยู่ค่ะ ขอเก็บไว้ ทำความเข้าใจก่อน
s007

ตอนนี้ขอรักษาการปฏิบัติให้ก้าวหน้า คล่องตัว บวกกับการเจริญสติได้ดี
คงก้าวต่อไปได้มั่นคงกว่า แค่มีข้อสงสัย(เหมือนเคย) กับคำตอบเก็บไว้เป็นเสบียงความรู้
หากไม่ถอยเสียก่อนคงได้เอามาใช้แน่ๆ
:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณมากๆค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
ยากอยู่ค่ะ ขอเก็บไว้ ทำความเข้าใจก่อน
s007

ตอนนี้ขอรักษาการปฏิบัติให้ก้าวหน้า คล่องตัว บวกกับการเจริญสติได้ดี
คงก้าวต่อไปได้มั่นคงกว่า แค่มีข้อสงสัย(เหมือนเคย) กับคำตอบเก็บไว้เป็นเสบียงความรู้
หากไม่ถอยเสียก่อนคงได้เอามาใช้แน่ๆ
:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณมากๆค่ะ

พยายามกันครับ คุณidea
ไม่จำเป็นต้อง พิจารณา ธาตุ ทั้ง 6 ในคราเดียวกันก็ได้ครับ
ปราถนาจะพิจารณาธาตุใด ก็กำหนดพิจารณาธาตุนั้น

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
ให้ความเข้าใจเรื่องไฟ กับการเจริญสติ ด้วยได้ใหมคะ ยังคงการปฏิบัติเดิม แต่ถ้าสมาธิแน่นขึนต้องหวนคิดแน่ๆ หมายถึงระหว่างวันที่เจริญสติ รู้ลมสบายพร้อมระลึกถึงดวงไฟหนะค่ะ
มันติดใจจริงๆค่ะ จึงอยากเข้าใจความหมายโดยรวม ทีถูกที่ควร มาถึงขนาดนี้ติเตือนกันตรงๆนะคะ
Ideaปฏิบัติตามคุณเช่นนั้น ตามขั้นตอนเหมือนลูกศิษย์กับครูอาจารย์เลยค่ะ
smiley

หากว่าคุณ Idea จะพิจารณาโดยความเป็นธาตุ
ก็ปฏิบัติเช่นเดิม คือรู้ลม ด้วยความรู้สึกตัวว่าไม่มีอุปกิเลส หรือนิวรณ์ใดกวนจิตใจ
จิตแนบแน่นกับความรู้ลม และมีฌานจิตเป็นอารมณ์ของจิต
เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างมั่นคงในภายในดีแล้ว
จึงถอยฌานจิตกลับมาที่ปฐมฌานจิต
เพื่อทำความสังเกตุ ธาตุ ที่ประกอบกับลมหายใจทั้งปวง.

อ้างคำพูด:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.


โดย
สังเกตุ ลมหายใจเข้า ออก มีความร้อนความเย็นต่างๆ กัน ตั้งแต่รู้ลมหายใจหยาบ ไปถึงละเอียดของลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น คือการสังเกต เตโชธาตุที่ปรุงแต่งลมหายใจเข้าลมหายใจออก.

สังเกตุ ความเคลื่อไหว ของลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คือการสังเกตุ วาโยธาตุ

สังเกตุ ความนุ่ม ความเป็นกลุ่มของลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คือการสังเกตุ ปฐวีธาตุ

สังเกตุ ความอิ่มเอิบ แทรกซึมไปขณะผ่านจุดกระทบ บริเวณจุดกระทบของลมหายใจเข้าลมหายใจออก คือการสังเกตุ อาโปธาตุ

สังเกตุ ความว่างช่องว่างที่มีเป็นช่องการไหลเลื่อนของลมหายใจเข้าลมหายใจออก คือการสังเกตุอากาศธาตุ (ดังนั้นอากาศจึงไม่ลม แต่เป็นช่องว่างที่ให้ธาตุต่างๆ ตั้งอยู่รวมตัวกัน)


สังเกตุ การรับรู้ของธาตุต่างๆ ว่าเป็นเพียงนิมิตเครื่องรู้ของจิตคือการสังเกตุ วิญญาณธาตุ [นามธาตุ]

[การที่ไม่เอาคำบริกรรมต่างๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ให้รู้ลมโดยสภาวะนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตุโดยความเป็นธาตุต่างๆ โดยความเป็นรูปธาตุ นามธาตุ ]

ถ้าหากว่า มีนิวรณ์ใดๆ มาแทรกในระหว่างการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ก็หมายความว่า สมาธิอ่อนกำลัง
ให้หยุดการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ให้มีสติกลับมารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก และทำความระงับแห่งกาย.

การเจริญกายานุปัสสนา กลับไปมาระหว่าง สมถะและวิปัสสนา อย่างนี้ ก็เพื่อการพักและเสริมกำลังกันและกันของสมถะและวิปัสสนา.

จิตที่ยังไม่เป็นอัปปนา หรือแนบแน่น สงบตั้งมั่นจะเห็นโดยบัญญัติ ไม่ได้เห็นโดยสภาวะอย่างแท้จริงครับ คุณ idea. เมื่อเราพิจารณา อย่างนี้ได้คล่องแคล่วแล้ว ก็จะเกิดเป็นญาณขึ้น และเกิดความเคยชินขยายขอบเขตของความรู้ไปรู้กาย อันเนื่องกับรูปขันธ์ได้ทุกอย่างครับ.

ไม่ว่าจะเป็นรูปภายนอก รูปภายใน รูปภายในและภายนอก.

[การสังเกตุ คือการรู้โดยสภาวะธรรมชาติที่มันเป็น]

กายานุปัสสนา ในลำดับที่ 3 จึงมีประโยชน์ สามารถพลิกแพลงสังเกตุได้หลากหลายมากมายครับ.

จิตที่ผ่องใสจึงจะเห็นสภาพธรรมทั้งปวงตามเป็นจริง.


:b8: อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 15:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้พอว่าง จะนั่งสมาธิ รู้สึกขี้เกียจจังค่ะ
คงเกี่ยวกับสภาพร่างกาย ไม่ค่อยสบายด้วยรึเปล่า
เมื่อวานยุ่งทั้งวัน ก็ไม่ได้ทำ ตอนนี้ที่โรงงาน งานเข้าเยอะมาก เหมือนจะวัดใจ จะไปต่อยังไง
เวลามีตอนเช้ามืด กะตอนดึก แม้ตอนนี้หลับตาจะไม่หวั่นไหวเรื่องความกลัว แต่ถ้าเวลามืดยังไม่แน่ใจที่จะทำ
คุณเช่นนั้น ขอกำลังใจหน่อยค่ะ
พยายามเจริญสติเวลาว่างนะคะ แต่ยังไม่ตั้งมั่นเท่าไหร่ ทำได้ยากกว่าการนั่งสมาธิไปเลย
นี่ก็เพิ่งเริ่มต้นฝึกสมาธิมาไม่กี่วันเอง
แต่สุดท้ายแล้วก็ทำอยู่นะคะ ไม่ได้กำหนดเวลา นั่งไปทั้งหมด30นาที ทำความสงบได้ดีแค่พอควร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เวลามีตอนเช้ามืด กะตอนดึก แม้ตอนนี้หลับตาจะไม่หวั่นไหวเรื่องความกลัว แต่ถ้าเวลามืดยังไม่แน่ใจที่จะทำ

ดีแล้วครับ
ความกลัว ไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าน่ารำคาญมาก รบกวนจริงๆ ครับ
ขณะนี้ เรายังกำจัดไม่ได้เด็ดขาด ได้แต่ใช้กำลังสมาธิสงบให้เคยชินครับ
พอฝึกบ่อยๆ นานๆ เข้า ก็จะเริ่มเข้าใจแล้วว่า
ความกลัวที่มันคอยก่อนกวนเรานั้น มันก็ไม่เที่ยง เมื่อเรามีสัญญาอื่นมาแทนที่ความรู้สึกนั้น มันก็ไม่มีอิทธิพลในจิตเรา.
[นั่นคือ สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญา]

นั่นหมายความว่า
กุศลเหตุที่ฝึกจิตให้ตั้งมั่นได้บ่อยๆ มีอิทธิพล(กุศลวิบาก) เหนืออกุศลวิบากที่เกิดขึ้น(ความกลัว).

ต่อไป การละความกลัวต่อความมืดก็จะละได้อย่างเด็ดขาดเองครับ.

idea เขียน:
พยายามเจริญสติเวลาว่างนะคะ แต่ยังไม่ตั้งมั่นเท่าไหร่ ทำได้ยากกว่าการนั่งสมาธิไปเลย
นี่ก็เพิ่งเริ่มต้นฝึกสมาธิมาไม่กี่วันเอง.
แต่สุดท้ายแล้วก็ทำอยู่นะคะ ไม่ได้กำหนดเวลา นั่งไปทั้งหมด30นาที ทำความสงบได้ดีแค่พอควร


ดีครับ ยามกลางวันของฆราวาส เป็นเวลาทำงาน
เราทำจิตให้สงบ ทรงอารมณ์ไว้ที่ฌานจิตไหนก็ได้ครับ เรียกว่า มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขของจิต.

ทำงานด้วยจิตที่สงบทั้งวันยังได้ครับ สมองจะปลอดโปร่งไม่วุ่นวายใจ ทำงานสะดวกขึ้นครับ.

การทำงานด้วยจิตที่สงบอย่างนั้น หมายความว่าเกิดจากจิตที่เคยอบรมดีพอ และการอบรมนั้นส่งผลอยู่
เป็นกุศลวิบากที่ให้ผลอยู่ครับ.

พอกลางคืน หรือช่วงที่มีเวลาว่างค่อยฝึกฝนอย่างเข้มข้นต่อไป.

อนุโมทนาครับ คุณ idea

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติสมาธิภาวนา
หมวด เวทนานุปัสสนา

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า.
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้นั่งสมาธิ ก่อนหลับตาตั้งจิตอฐิษฐานขอให้ออกจากสมาธิ ในเวลา9.45น.
วันนี้สภาวะจิต เหมือนเดิม ไม่อยากจะทำภาวนา แต่ไม่ยอมแพ้ค่ะ
หลับตากำหนดลมไปสักพัก เกิดปิติกำหนด พอปิติหายไปก็สงบ ในระหว่างที่นิ่งสงบ มีปิติเกิดขึ้นอีก
และพอปิติสงบ จะเกิดรู้ลมหายใจเบาละเอียดมากขึ้นอีกเรื่อยๆ ทั้งความสุขด้วย จนสักพัก
สงบ ตั้งมั่นมากกว่าที่เคย ลมละเอียดเหมือนไม่มี เสียงรอบข้างใกล้ไกลได้ยินเท่าๆกันเบามาก
ถึงตอนนี้ มีกังวล คิดว่ากายจะหาย แต่พยายามปัดออกไปด้วยการรู้ที่ลมหายใจต่อ
ลมก็ละเอียดน้อยลง หยาบขึ้น ละเอียดขึ้น แต่ยังคงความสงบอยู่ไม่ถึงกับฟุ้งมาก
ก็เลยจะออกจากสมาธิ ตั้งจิตกำหนดแผ่เมตตา ที่นี้สภาวะที่เกิด พร้อมๆและหลังกำหนดแผ่เมตตา
ลมเหมือนไม่มี กายเหมือนไม่มี มีความตื่นสว่างมาก บอกไม่ถูกเหมือนไม่มีอะไร
พอเสร็จค่อยถอยออกจากสมาธิเป็นลำดับจากเรียกลมหายใจมาเบามาปกติ ก็ลืมตา 9.45พอดีเลยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้นั่งสมาธิ ก่อนหลับตาตั้งจิตอฐิษฐานขอให้ออกจากสมาธิ ในเวลา9.45น.
วันนี้สภาวะจิต เหมือนเดิม ไม่อยากจะทำภาวนา แต่ไม่ยอมแพ้ค่ะ
หลับตากำหนดลมไปสักพัก เกิดปิติกำหนด พอปิติหายไปก็สงบ ในระหว่างที่นิ่งสงบ มีปิติเกิดขึ้นอีก
และพอปิติสงบ จะเกิดรู้ลมหายใจเบาละเอียดมากขึ้นอีกเรื่อยๆ ทั้งความสุขด้วย จนสักพัก
สงบ ตั้งมั่นมากกว่าที่เคย ลมละเอียดเหมือนไม่มี เสียงรอบข้างใกล้ไกลได้ยินเท่าๆกันเบามาก
ถึงตอนนี้ มีกังวล คิดว่ากายจะหาย แต่พยายามปัดออกไปด้วยการรู้ที่ลมหายใจต่อ
ลมก็ละเอียดน้อยลง หยาบขึ้น ละเอียดขึ้น แต่ยังคงความสงบอยู่ไม่ถึงกับฟุ้งมาก
ก็เลยจะออกจากสมาธิ ตั้งจิตกำหนดแผ่เมตตา ที่นี้สภาวะที่เกิด พร้อมๆและหลังกำหนดแผ่เมตตา
ลมเหมือนไม่มี กายเหมือนไม่มี มีความตื่นสว่างมาก บอกไม่ถูกเหมือนไม่มีอะไร
พอเสร็จค่อยถอยออกจากสมาธิเป็นลำดับจากเรียกลมหายใจมาเบามาปกติ ก็ลืมตา 9.45พอดีเลยค่ะ

:b8: มีความเพียร ดีมากครับ
จิตเมื่อมีความสงบตั้งมั่นมากขึ้น
จิต จะไม่รับรู้อารมณ์ทางกาย แต่จะมีจิตเป็นอารมณ์ล้วนๆ ครับ
จิตนั้นมีจตุตถฌานจิตเป็นอารมณ์
ให้รู้เฉยๆ อยู่อย่างนั้น สตินั้นจะบริสุทธิ์ เป็นอุเบกขา ปราศจากนิวรณ์ใดๆ อย่างแท้จริง

ถามว่าลมหายไหม สติกำหนดอยู่ไหม
ตอบว่า ลมไม่หายไปไหนหรอกครับ แต่คุณภาพนั้นละเอียดมากจนเหมือนไม่มีครับ สติระลึกอยู่ครับ

จิตที่มีจตุตถฌานจิตเป็นอารมณ์ได้ เป็นจิตที่มีคุณภาพดีที่สุดครับ

ซึ่งทำให้ชำนาญการทำวิปัสสนาก็จะทำได้สะดวกกว่าผู้ที่ ได้เพียงปฐมฌานจิต ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 10:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังตั้งมั่นในอารมณ์นั่นไม่ได้ค่ะ คุณเช่นนั้นบอกมาแล้วทำให้เข้าใจชัดเจนดีค่ะ"จิตเป็นอารมณ์ล้วน"
มีสงสัยค่ะ
เวลาที่ปฏิบัติจนรู้ได้ถึงลมละเอียดมาก แล้วจู่ๆ ก็หายใจแรงๆเร็วจนอกกระเพื่อม ท้องร่างกายเหมือนเหนื่อยหอบ ไปสักพัก ก็กลับมาลมละเอียดต่อ นี่แปลว่าสมาธิตกรึเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ยังตั้งมั่นในอารมณ์นั่นไม่ได้ค่ะ คุณเช่นนั้นบอกมาแล้วทำให้เข้าใจชัดเจนดีค่ะ"จิตเป็นอารมณ์ล้วน"
มีสงสัยค่ะ

ขณะที่ คุณ idea เข้าสู่ภาวะนี้ครับ
อ้างคำพูด:
ลมเหมือนไม่มี กายเหมือนไม่มี มีความตื่นสว่างมาก บอกไม่ถูกเหมือนไม่มีอะไร


สภาวะเช่นนี้ ตอนนี้คุณ idea เข้าได้แบบฟลุ๊คๆ
ต่อเมื่อคุณ idea ทราบว่า สภาวะนี้ เป็นสภาวะแห่งจตุตถฌานจิต จิตมีจิตเองเป็นอารมณ์ล้วนๆ ครับ
จิตไม่ใส่ใจแล้วซึ่งปิติสุขทางกายทางใจ
จิตไม่ใส่ใจแล้วซึ่งสุขโสมนัสทางใจ
จิตตั้งอยู่ในความรู้ที่จิตเองล้วนๆ มีสติบริสุทธิ์ วางเฉย

เมื่อคุณ idea เข้าได้บ่อยๆ ก็จะชำนาญทรงจิตเช่นนี้อยู่ได้นานครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
มีสงสัยค่ะ
เวลาที่ปฏิบัติจนรู้ได้ถึงลมละเอียดมาก แล้วจู่ๆ ก็หายใจแรงๆเร็วจนอกกระเพื่อม ท้องร่างกายเหมือนเหนื่อยหอบ ไปสักพัก ก็กลับมาลมละเอียดต่อ นี่แปลว่าสมาธิตกรึเปล่า


สมาธิอ่อนกำลังลง 1
เพ่งเพียรมาก 1
และ
มีความสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้น.... ด้วยครับ

ดีแล้วครับ ที่ถอยกลับมาที่ ปฐมฌานจิตใหม่ได้ แล้วเริ่มใหม่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 11:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley

ช่วงนี้งานยุ่ง ได้แต่เฝ้าติดตามดูห่าง ๆ
เห็นท่านเช่นนั้น อธิบายได้ชัดเจนดีในเรื่องอารมณ์ที่ปรากฎแต่ละขั้น

:b1:

เดี๋ยวเย็นนี้ พอจะมีเวลาว่า
เอกอนจะขอเข้ามาอ่านอย่างละเอียดอีกที...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 14:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนเอกอนคิดว่าตนเองได้เข้าไปเห็นธรรมบางอย่าง มัชฌิมา
ในนัยยะ...การเดินจิตเข้ากลาง...

ซึ่งถ้าเดินจิตเข้ากลางไม่ได้ และ/หรือทรงตัวอยู่ในระดับความเป็นกลางนั้นไม่ได้
มันจะไหลไปสู่ด้านใดด้านหนึ่ง และกำลังแห่งด้านที่จิตตั้งอยู่ก็จะแสดงอิทธิพลต่อสภาวะรู้
จะแสดงออกมาเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ต่าง ๆ ความเชื่อต่าง ๆ ทิฐิต่าง ๆ
อันเป็นทางสุดโต่งในด้านใด ๆ

อารมณ์อุเบกขา ไม่ได้บ่งบอกว่า จิตนั้นตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
ซึ่งจิตที่ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เราก็ไม่อาจจะเรียกว่า นั่นเป็นอุเบกขา
เพราะสิ่งนั่นไม่ใช่อารมณ์ และอารมณ์ก็ไม่ใช่สิ่งนั้น
สิ่งนั้นตั้งอยู่ได้ด้วยความเป็นเช่นนั้นท่ามกลางธรรมทั้งมวล
โดยสิ่งนั้น ปราศจากการที่จะแสดงว่า นั่นคือรูป หรือนั่นคือนาม
คือ รูป-นาม ไม่ปรากฎในสิ่งนั้น

การเข้าถึงสิ่งนั้น ก็มีทั้งสาย ศรัทธา สายวิริยะ สายปัญญา
แต่ท้ายที่สุดแล้วต้องประกอบด้วย ปัญญา จึงจะรู้แจ้งในสิ่งนั้น...และการดำเนินไปแห่งโลก

:b41: :b41: :b41:

ทันทีที่ออกมาจากการพิจารณาสิ่งนั้น
เอกอนก็อยากจะ...นำออกมาตีแผ่นะ...
เพราะเอกอนมองเห็นว่า มันเป็นจุดที่วิทยาศาสตร์และศาสนา เดินทางมาบรรจบกัน

แต่...เอกอนคงยังต้องใช้เวลากับสิ่งเหล่านั้นอีกนาน
ในการที่จับประเด็นและนำออกมาอธิบายอย่างเหมาะสมได้
หรืออาจจะทำไม่ได้เลยก็ได้...

เอกอนไม่เลือกว่าจะต้องทำ หรือ ไม่ทำ
ถ้า...อะไรมันจะต้องเป็นไป...มันก็ต้องเป็นไปนั่นล่ะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 14:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเอกอน
:b8: :b8:
อะไรคือ การเดินจิตเข้ากลาง และเป็นไปได้ยังไง เพื่อเหตุใดคะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 15:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเอกอน
:b8: :b8:
อะไรคือ การเดินจิตเข้ากลาง และเป็นไปได้ยังไง เพื่อเหตุใดคะ :b16:


รูป - นาม ประหนึ่งเหมือนไม้สองอันพิงกัน บันดาลให้โลกเป็นไป

ด้วยเห็นลักษณะที่มันพิงกันอยู่

เข้าไปได้ก็ด้วย ข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นไปด้วย ศรัทธา วิริยะ ปัญญา
เห็นก็ด้วยจิตอันแล่นไปด้วย ศรัทธา วิริยะ ปัญญา

ธรรมที่เข้าไปเห็น ด้วยปัญญาที่เกื้อหนุน
ทำลายทัศนะแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายที่บันดาลความเป็นไปแห่งโลกทุกอย่างลง

...

:b1:

คือ ข้อวัตรปฏิบัติ นำพาเราไปในทางที่จะเข้าถึงได้ทั้งหมด
อย่างเร็วบ้าง อย่างช้าบ้าง อย่างง่ายบ้าง อย่างยากบ้าง
ด้วยข้อวัตรที่ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็จะค่อย ๆ สะสมปัญญา
ปัญญาที่ได้จากการเข้าไปรู้ ก็จะค่อย ๆ สะสมเป็นนิสัย วิถีแห่งจิต
ทำให้จิตละวางอารมณ์ต่าง ๆ ไป แล่นไปในการละวางอารมณ์ด้วยความคุ้นชิน
จนบางจังหวะ ที่อาจจะฟลุ๊ค จิตจะเข้าไปทรงตัวอยู่ระหว่างแรงหน่วง ...
...

นะ...เห็นว่างั๊น...น่ะ

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 18 ก.ค. 2014, 16:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร