วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 05:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการปฏิบัติ



๑. ในแง่ความบริสุทธิ์ เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการอย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง ตามโน้มเอียง และความใฝ่นิยมต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย (subjective ) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น ความโกรธ จะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่ ไม่ให้เกิดขึ้น


๒. ในแง่ความเป็นอิสระ เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑ แล้วก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบเพราะอารมณ์เหล่านั้น ถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาววิสัย (objective) ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะ ที่เป็นสกวิสัย (subjective) สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัย แก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐิ) ไม่ถือมั่นสิ่งใดในโลก


๓. ในแง่ของปัญญา เมื่อยอยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูกเคลือบหรือหันเหไปด้วยความรู้สึกความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นตามที่มันเป็น คือรู้ตามความเป็นจริง


๔.ในแง่ความพ้นทุกข์ เมื่อจิตอยู่ในภาวะที่ตื่นตัวเข้าใจสิ่งต่างๆตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวกหรือลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านติดใคร่กระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส) ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆเป็นภาวะจิต ที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความโปร่งเบาผ่อนคลายสงบผ่องใสเป็นตัวของตัวเอง อย่างไม่มีขีดคั่นพรมแดน



ผลที่กล่าวมาทั้งหมด ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกส่วนในแง่ต่างๆ เมื่อสรุปตามแนวปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ก็ได้ความว่า เดิมนั้น มนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ยึดถือไว้ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยจำนวนมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกันกำลังเกิดขึ้น และเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆว่าเป็นตัวตนของตนแล้ว ตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไปรู้สึกว่า ฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯล ฯ


การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอานั่นเอง เมื่ออยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับ ให้คิดเห็นรู้สึกและทำการต่างๆไปตามอำนาจของสิ่งที่ยึดว่าเป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ



ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรม แต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแส กำลังเกิด ดับอยู่ ตามสภาวะของมันเมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออก มองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้วย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้น ก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ในบงการของมัน


ถ้าการมองเห็นนี้เป็นไปอย่างลึกซึ้ง แจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินไปในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระ ไม่มีความเอนเอียงยึดติดและเงื่อนปมต่างๆ ในภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่


กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งทีเป็นเงื่อนปม เป็นอุปสรรคถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่ง พร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลก ด้วยความเข้มแข็งและสดชื่นต่อไป


เรื่องนี้ อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้


"ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ ๒ ชนิด ดังนี้ คือ โรคทางกาย ๑ โรคทางใจ ๑ สัตว์ทั้งหลาย ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฏอยู่ ผู้่ที่ยืนยันได้ว่าตนไม่มีโรคทางกายเลยตลอดเวลา ๒ ปี...๓ ปี...๔ ปี...๕ ปี...๑๐ ปี...๒๐ ปี...๓๐ ปี...๔๐ ปี...๕๐ ปี...๑๐๐ ปี ก็มีปรากฏอยู่ แต่สัตว์ ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะแล้ว) ทั้งหลาย"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 01:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร