วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 05:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คำถาม....(นำมาจากเวบพลังจิต)
เรื่องมีอยู่ว่าผมบวชเมื่อช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา แล้วตอนนั่งสมาธิอยู่ขั้นอุปจารมาตลอด แต่ตอนออกพรรษาปรากฎว่าเกิดเวทนาแก่กล้าขึ้น คือลมหาย จุกอก ถูกบีบ ภาวนา"รู้ๆๆๆ" รู้ว่าเกิดขึ้น ก็ให้มันเกิดไป เราแค่ดูอยู่ รู้อยู่ มีสติอยู่แค่นั้น
แต่ผมต้านไม่ไหว กลัวตาย... ตอนออกจากสมาธิเกิดภาพไม่น่าดูนัก คือเหมือนถูกถีบกระเด็นหงายหลัง จีวงจีวรกระจาย เพื่อนพระ ญาติโยมที่นั่งสมาธิบนศาลาด้วยกันก็ตกใจ สอบถามหลวงพ่อ ท่านก็ว่า"ต้องไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ผ่านได้ก็จะรู้เอง" หลวงพ่อท่านได้กสิณทั้งสี่กอง ท่านเป็นพระผู้ใหญ่
พอสอบถามไปทางพระอาจารย์อีกสองท่าน ที่ท่านอ่อนพรรษากว่าหลวงพ่อ ท่านก็ว่าเราจะดิ่งลงไปแล้ว ให้ทำไปเลย อย่ากลัวตาย มันไม่มีใครตายจริงหรอก

ตั้งแต่ออกพรรษามา จนผมสึกเมื่อเดือนมกรา(เพราะต้องกลับมาเลี้ยงลูก) จนบัดนี้ (16/02/56) ผมก็สู้กับอาการนั้นมาตลอด แพ้มาเป็น100-200ครั้งแล้ว แม้ว่าช่วงหลังๆ จะคุ้นชินกับอาการไม่หายใจ จุกอก ถูกบีบ แต่ก็ยังคงไม่ผ่านปราการด่านนี้สักที บางครั้ง นั่งนิ่งๆกลั้นหายใจแว่บเดียวมันก็เข้าไปตรงนั้นเลย

กรรมฐานที่ผมใช้คือ อาณาปานสติ แต่ไม่ได้บริกรรม พุท-โธ แค่มองลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก เหมือนเราอยู่บนระเบียงแล้วมองรถที่วิ่งอยู่ข้างล่าง ให้มันออโตเมติกไปของมันเอง ไม่ได้ไปกำหนดอะไร แค่มีสติดูอยู่ รู้อยู่ สักพักลมละเอียด เบาลง แล้วลมก็หายไป แน่นหน้าอก คอแข็ง-หนัก คิ้วขมวด หน้าแดง บีบบี้ เหมือนคนเบ่งอุจจาระสุดแรง ตัวสั่นเพราะเวทนานั้นๆ ...ทนไม่ไหว ...แพ้(การแพ้ของผมคือเริ่มต้นหายใจใหม่ เลิกปล่อยอารมณ์ไหลเข้าสู่จุดนั้น ก็เหมือนกับกลับมาตั้งต้นมองลมใหม่อีกครั้งนั่นเอง)

ถ้าท่านใดเมตตาช่วยแนะนำ แก้อาการ หรือผมต้องแก้ตัวเองด้านไหน ประการใด โปรดชี้แนะด้วย ส่วนตัวผมเป็นพวก พุทธิจริตผสมกับราคะจริต อย่างล่ะครึ่งๆ

ตอบ....

คุณได้รับการฝึกสอนมาผิด คุณก็ปฏิบัติแบบผิดๆ อาณาปานสติ แม้จะจัดอยู่ใน หมวด กรรมฐาน แต่ หลักการปฏิบัติ ไม่ได้ปฏิบัติอย่างที่คุณได้รับการสอนมา
ถ้าคุณจะปฏิบัติสมาธิ คุณก็ต้อง เลือกเอากสิณใดกสิณหนึ่ง ถ้าคุณจะเลือกเอากสิณลม การปฏิบัติ ก็เหมือนอย่างที่คุณกำลังปฏิบัติอยู่ แต่ไม่ใช่เรียกว่า "อาณาปานสติ" เขาเรียกว่า "กสิณลม" ลมไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้ความรู้สึกจากการหายใจ และต้องระลึกไว้เสมอว่า ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ ต้องเรียนรู้ลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกาย ในขณะปฏิบัติสมาธิ ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า "ฌาน"(ชาน) อ่านให้ดีนะขอรับ พิจารณาให้ดีนะขอรับ อย่าไขว่เขว่ สับสน
เมื่อเรียนรู้ ลักษณะงานของระบบการทำงานของร่างกาย ที่ทางพุทธศาสนา เรียกว่า "ฌาน"(ชาน)แล้ว ก็ให้เลือกข้อ กสิณ ใดกสิณหนึ่ง เป็นเครื่องมือในการฝึก ยกเว้นกสิณลมที่ไม่ต้องมีเครื่องมือใดก็ได้ ส่วนกสิณอื่นๆ ควรมีเพราะถ้าไม่มี จะเป็นการสร้างภาพหลอนให้กับระบบสมอง ฯลฯ อีกประการหนึ่ง การนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ อย่าปฏิบัตินานเกินกว่าร่างกายจะทนไหว ถ้าจะให้ดี ไม่ควรเกิน สองชั่วโมงเป็นอย่างสูงสุด ช่วยได้เท่านี้ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้ตอบ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถาม....(นำมาจากเวบพลังจิต)
เรื่องมีอยู่ว่าผมบวชเมื่อช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา แล้วตอนนั่งสมาธิอยู่ขั้นอุปจารมาตลอด แต่ตอนออกพรรษาปรากฎว่าเกิดเวทนาแก่กล้าขึ้น คือลมหาย จุกอก ถูกบีบ ภาวนา"รู้ๆๆๆ" รู้ว่าเกิดขึ้น ก็ให้มันเกิดไป เราแค่ดูอยู่ รู้อยู่ มีสติอยู่แค่นั้น
แต่ผมต้านไม่ไหว กลัวตาย... ตอนออกจากสมาธิเกิดภาพไม่น่าดูนัก คือเหมือนถูกถีบกระเด็นหงายหลัง จีวงจีวรกระจาย เพื่อนพระ ญาติโยมที่นั่งสมาธิบนศาลาด้วยกันก็ตกใจ สอบถามหลวงพ่อ ท่านก็ว่า"ต้องไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ผ่านได้ก็จะรู้เอง" หลวงพ่อท่านได้กสิณทั้งสี่กอง ท่านเป็นพระผู้ใหญ่
พอสอบถามไปทางพระอาจารย์อีกสองท่าน ที่ท่านอ่อนพรรษากว่าหลวงพ่อ ท่านก็ว่าเราจะดิ่งลงไปแล้ว ให้ทำไปเลย อย่ากลัวตาย มันไม่มีใครตายจริงหรอก

ตั้งแต่ออกพรรษามา จนผมสึกเมื่อเดือนมกรา(เพราะต้องกลับมาเลี้ยงลูก) จนบัดนี้ (16/02/56) ผมก็สู้กับอาการนั้นมาตลอด แพ้มาเป็น100-200ครั้งแล้ว แม้ว่าช่วงหลังๆ จะคุ้นชินกับอาการไม่หายใจ จุกอก ถูกบีบ แต่ก็ยังคงไม่ผ่านปราการด่านนี้สักที บางครั้ง นั่งนิ่งๆกลั้นหายใจแว่บเดียวมันก็เข้าไปตรงนั้นเลย

กรรมฐานที่ผมใช้คือ อาณาปานสติ แต่ไม่ได้บริกรรม พุท-โธ แค่มองลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก

อานาปานสติสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ใน
พระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงมากรูปด้วยกัน
[๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจง
ปรารภความเพียร เพื่อถึง คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตน
ยังไม่ทำ ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ๔ เดือน
แห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรอ
อยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากัน
หลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาท
พร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน
๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่าง
กว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
[๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วนนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึง
ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่
ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่
ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อ
นาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวาย
ของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกัน
กับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอัน
สมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์
ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดาแม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
อินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
พละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
โพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
เมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
กรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญ
มุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญ
อนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน
อันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว อย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา
ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ..........


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร