วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2014, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

นำมาจากเฟสบุคอาจารย์แม่ชีทองสุข ทองกระจ่าง
https://www.facebook.com/mailmcu?fref=photo

การภาวนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ แต่ถ้าผลที่ปรากฎมี
ความก้าวหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนน้ำในลำธารไหลเอื่อยๆ ทั้งๆที่ก็ทุ่มเทเต็มทีแล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ต้องวางแผนดีๆ ให้รัดกุมจะได้ไม่พลาด

ถามว่า ทำไมต้องวางแผน
ตอบว่า ก็มันไม่สำเร็จแน่ๆในชาตินี้ ถ้าวางแผนก็อก 2 ก็อก 3 ไว้ เราจะปลอดภัยหรือ?????
....แล้วต้องวางแผนอย่างไร
ตอบ ต้องดำเนินชีวิตตามลำดับขึ้นของบารมีทั้ง 10 ประการ ให้มีกำลังสม่ำเสมอ กันให้ดี ต้องศึกษาขั้นตอนการภาวนาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค /มหาสติปัฏฐานสูตร / มหาราหุโลวาทะสูตร/ สารีบุตรสูตร / วิปากสูตร / อนุรุธสูตร /เป็นต้น กล่าวคือพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้ดึงเก็บเขั้าแฟ้มไว้ต่างหากเลย แล้วลงมืออ่านศึกษาพิจารณาใคร่ครวญให้ถูกต้องตามหลัก ถ้าอ่านไม่เข้าใจ ต้องไปเรียนพระอภิธรรมสัก 2 ปี เรียนเรื่องจิต เจตสิก รูป ฯลฯ
ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ก้มหน้าก้มตาเจริญทาน รักษาศีล ประพฤติเนกขัมมะ ศึกษาขั้นตอนภาวนาให้ดี แล้วดำเนินตามลำดับ อย่าเชื่อการภาวนาที่ออกนอกแบบคำสอนให้ภาวนาตามคำสอนที่ได้ศึกษาไป

ฯลฯ เขียนเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าสงสัยและสนใจเพิ่มเติมก็สอบถามมา
บันทึกธรรมอาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
11/6/57

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

นำมาจากเฟสบุคอาจารย์แม่ชีทองสุข ทองกระจ่าง
https://www.facebook.com/mailmcu


จิตไม่มีคุณภาพ จิตแบบนี้นำไปเจริญวิปัสสนาไม่ได้
ได้แก่จิตอะไร?
ได้แก่จิตที่มีราคะกลุ้มรุม โทสะกลุ้มรุม โมหะกลุ้มรุม

การอยู่กับลมหายใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอยู่ภายใน บาปอกุศลธรรมย่อมไม่เกาะเกี่ยวจิตเธอผู้กำลังตั่้งมั่น
อยู่ในภายใน อย่างนี้แหละเป็นการฝึกขจัดของเสียออกจากจิต

ฉะนั้นถ้าไม่มีสติอยู่กับการระลึกรู้ลมหายใจเข้าและลมหายออกให้แน่วแน่ ให้สงบ นั่นไม่สามารถขจัดของเสียออกจากจิต

ถ้าสามารถแน่วแน่อยู่กับลมหายใจ ในขณะนั้นของเสียก็จะถูกขจัดออกไปเรื่อยๆ
ด้วยกำลังของสติและสมาธิ
และในขณะจิตนั่นก็มิใช่มีเพียงสติ+สมาธิ ก็ยังมีทั้งศรัทธาในการกระทำ - มีทั้งวิริยะความเพียรในการประคองจิตของตนให้ตั้งอยู่กับลมหายใจ มีสติในการระลึกอยู่กับลมหายใจเข้าหายใจออก ณ จุดกระทบ อย่างตลอดสาย มีสมาธิคือความแน่วแน่ดิ่งในอารมณ์เดียว การรู้อยู่ตลอดสาย นี่เป็นการขจัดของเสียออกจากจิต

การขจัดของเสียออกจากจิตก็เหมือนการหลอมทอง เขาสกัดเอาดีบุกออก เอาเงินออก เอาตะกั่วออกไปให้เหลือแต่ทองคำแท้ๆ แล้วจึงนำทองคำนั้นมาทำเครื่องประดับได้อย่างงดงามอลังการ

การขจัดของเสียออกจากจิตด้วยการเจริญอานาปานสติก็เป็นดุจนายช่างทองสกัดดีบุกฯ ฉะนั้นให้ภูมิใจว่าการกำหนดดูลมหายใจเข้าและกำหนดดูลมหายใจออกนั่นคือวิธีกรรมขจัดของเสียออกจากจิต ขจัดกามฉันทะพยาบาท.วิจิกิจฉาออกไป
จิตก็จะตั้งมั่นขึ้น ผ่องแผ้วขึ้น เหมาะควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไป

จิตที่มีคุณภาพเป็นจิตไม่เครียดไม่กระด้างเป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ฯ คุณภาพจิตอย่างนี้เป็นจิตที่ถูกฝึกขจัดของเสียออกได้เป็นระยะ ๆ การขจัดของเสียออกจากจิตได้นั้นต้องมีสมาธิดีพอ ต้องเป็นสมาธิที่มีพลังพอ....

อยากรู้ขั้นตอนต่อไป ก็ติดตามอ่านต่อไป..
บันทึกธรรมภาวนา อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
จ.16มิย57

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา
จิตก็สักแต่ว่าจิต ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นญาณความรู้นั้นก็เพียงแต่สักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึกก็เพียงแต่อาศัยระลึก ไม่อิงอาศัยตัณหาความอยากและทิฏฐิความเห็นผิด ไม่ยึคมั่นถือมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวคือไม่ยึคมั่นถือมั่นว่า

เอตํ นั่นเป็นของเรา (ยึคมั่นในตัณหา)
เอโสหมสมิ เราเป็นนั้น (ยึคมั่นในมานะ)
เอโส เม อตตา นั้นเป็นตัวของเรา
อย่างนี้แหละที่เรียกว่า สติปัฏฐาน


การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้นต้องอาศัย อาตาปี สติมา สัมปชาโน

อาตาปี หมายถึง ความเพียร ๔ หรือ สัมมัปปธาน ๔ ซึ่งได้แก่
- ความเพียรจะป้องกันมิให้กิเลสหรืออกุศลจิตเข้ามา
- ความเพียรจะละอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
- ความเพียรที่จะสร้างความดีหรือ กุศลให้เกิดขึ้น
- ความเพียรที่จะรักษาคุณงามความดีหรือ กุศลกรรมที่สร้างขึ้นแล้วนั้นให้คงอยู่
และให้มีความเจริญแก่กล้ายิ่งขึ้น

สติมา หมายถึง สติคือการระลึกรู้ (ในอารมณ์)

สัมปชาโน หมายถึง สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวทุกขณะ มี ๔ ประการ ในสีลขันธอรรถกถา
แสดงไว้ได้ความโดยย่อว่า
๑. สัตถกสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัวในการพินิจประโยชน์ รู้แน่ว่ามีประโยชน์แล้วจึงทำ

๒. สัปปายสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัวในการพินิจถึงการควร คือ รู้ว่าควรแล้วจึงทำ

๓. โคจรสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัวในการพินิจในอารมณ์
ไม่ให้คลาดไปจากอารมณ์กัมมัฏฐานนั้นๆ

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัวในการพินิจถึงไตรลักษณะ คือ รู้การเคลื่อนไหวโดย
ปราศจากการเคลื่อนแคลงสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นการที่เราจะพิจารณาถึงไตรลักษณ์ ถ้าเรามีสัมปชัญญะเป็นเครื่องประกอบแล้ว เราจะต้องรู้อย่างแจ่มแจ้งในการเสื่อมหรือความเป็นอนิจจับของรูป หรือนาม มีความแจ่มแจ้งในความทุกข์ของรูป และนาม ตลอดจนมีความแจ่มแจ้งในเรื่องอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนอย่างแจ่มแจ้ง

ฉะนั้นจะเห็นว่าการเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ จะต้องมี อาตาปี สติมา สัมปชาโน ทั้ง ๔ หัวข้อ คือ
ต้องมีความเพียร มีความรู้สึกตัว และมีการระลึกรู้อยู่สม่ำเสมอ จึงจะกำจัดอภิชฌาและโทมนัส คือ
ความอยากและความเสียใจ หรือกิเลสตัณหา ในโลกก็คือในอุปาทานขันธ์ ๕ เสียได้

จาก เอกสารประกอบการเรียน อชว.
:b8: :b8: :b8:

ส่วนสมาธินั้นเกิดขึ้นจากการเพียรให้สติเกิดค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 04:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

สติเจตสิก

สติเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความระลึกได้ในอารมณ์ และให้สังวรอยู่ในกุศลธรรมเป็นลักษณะ
มีอรรถโดยเฉพาะ (ลักขณาทิจตุกะ) ๔ ประการ คือ
อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีความไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา (วา) มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
วิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความจดจ่อต่ออารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญา ปทฏฺฐานา (วา) มีความจำอันมั่นคง เป็นเหตุใกล้ (หรือ)
กายาทิสติปฏฺฐาน ปทฏฺฐานา มีสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

สติมีลักษณะประการ คือ
๑. อปิลาปนลักขณาสติ
๒. อุปคัณหณลักขณาสติ

๑. อปิลาปนลักขณาสติ ได้แก่ สติที่เตือนให้ระลึกไปในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมสิ่งนี้ดี สิ่งนั้นชั่ว,
สิ่งนี้เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์, ธรรมสิ่งนี้เป็นสติปัฏฐาน๔, สิ่งนี้เป็นสัมมัปปธาน๔,
สิ่งนี้เป็นอิทธิบาท๔, สิ่งนี้เป็นอินทรีย์๕, สิ่งนี้เป็นพละ๕, สิ่งนี้เป็นโพชฌงค์๗, สิ่งนี้เป็นมรรค๘,
หรือสิ่งนี้เป็นสมถกรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน, สิ่งนี้เป็นฌาน, เป็นสมาบัติ, เป็นวิชา,
เป็นวิมุตติ, เป็นกองจิต, กองเจตสิก

เมื่อ อปิลาปนลักขณาสติ เตือนให้ระลึกถึงธรรมเหล่านี้แล้ว ก็มิได้ส้องเสพธรรมอันมิควรเสพ
กลับเสพธรรมที่ควรเสพ สตินี้ จึงหมายถึงสติที่ประกอบทั่วไปในโสภณจิต
ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรม
โดยทำหน้าที่กั้นกระแสแห่งนิวรณ์ธรรม จะประกอบด้วยปัญญา หรือมิได้ประกอบด้วยปัญญา
ก็สามารถให้ระลึกถึงกุศลธรรมโดยชอบได้

๒. อุปคัณหณลักขณาสติ ได้แก่ สติที่ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี ย่อมระลึกว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการะ
ธรรมสิ่งนี้มิได้มีอุปการะ, นำออกเสียซึ่งธรรมมิได้เป็นประโยชน์ มิได้เป็นอุปการะ ถือเอาแต่ธรรมที่เป็น
ประโยชน์ ธรรมที่เป็นอุปการะ ดุจนายประตูของพระบรมกษัตริย์ ถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตู
พระราชวัง ก็ห้ามเสียมิให้เข้า ผู้ใดมีอุปการะแก่พระบรมกษัตริย์ ก็ปล่อยให้เข้าไปสู่พระราชฐาน
ย่อมกำจัดเสียซึ่งคนอันมิใช่ข้าเฝ้า ถือเอาแต่คนที่เป็นข้าเฝ้าให้เข้าสู่พระราชฐานนั้นได้

อุปคัณหณลักขณาสติ จึงเป็นสติที่อุปการะแก่ปัญญาโดยตรง ได้แก่ สติ สัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะ
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่า เจริญ "สติปัฏฐาน ๔" อันเป็นปุพพภาคมรรค ซึ่งเป็นเบื้องต้น
แห่งมรรคพรหมจรรย์ ที่จะอุปการะให้แจ้งพระนิพพาน

ฉะนั้น สติจึงมี ๒ อย่าง คือ
๑. สติ ที่ประกอบกับโสภณจิตโดยทั่วไป ในขณะระลึกรู้อารมณ์ที่อดีตสัญญาเก็บจำไว้ตามนัยปฏิบัติ
ด้วยอปิลาปนลักขณาสติ กับ
๒. สติ ที่ทำความรู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความจริงในการเจริญสติปัฏฐาน ตามนัยปฏิบัติด้วย
อุปคัณหณลักขณาสติ (สติที่ประกอบด้วยปัญญา)


จากเอกสารประกอบการเรียน อชว.

:b8: :b8: :b8:


สติที่เป็นสติปัฏฐานข้อ๒ นั้นแตกต่างจากสติฯทั่วไปข้อ๑ อย่างไร? แตกต่างกันตรงที่ สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นมี กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้ ส่วนสติฯทั่วไปนั้น มี สัญญาเป็นเหตุใกล้ ในการที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิดได้นั้นจะต้องเกิดสติฯทั่วไปให้ได้ก่อน คือเพียรให้มีสติเกิดก่อน หรือฝึกให้ตนมีสติเกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆ ในแต่ละวันก่อน ซึ่งเป็นสติที่มีปัญญาหรือไม่มีปัญญาก็อย่าเพิ่งไปสนใจ ทำให้สติเกิดบ่อยๆ เนืองๆ ในแต่ละวันให้มากเข้าไว้ค่ะ เมื่อสติเกิดขึ้นมากแล้ว จึงต้องสร้างเหตุคือ เจตนาที่จะกระทำให้ยิ่งขึ้นด้วยการตั้งใจทำความเพียรให้เพิ่มระดับขึ้นจากเดิม ด้วยการอาศัยบัญญัติเข้าสติธรรมดาก่อน เช่น การฝึกเดินจงกรม เป็นต้น จะต้องใช้บัญญัติก่อนคือ ยก ย่าง ย้ายฯ เป็นต้น คือฝึกสติจากงานหยาบไปหางานละเอียดก่อน แต่บางคนก็อาจจะข้ามเรื่องหยาบไปฝึกงานละเอียดกว่าคือมีสติตามดูจิตก่อน ซึ่งก็เป็นเรื่องของแต่ละคนว่า สามารถอย่างไร การมีสติกำหนดรู้ในฐานใดฐานหนึ่ง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม การปฏิบัติในระยะแรกๆ นั้น จะมีสติทั้ง ข้อ๑ และ ข้อ๒ เกิดสลับกันไปค่ะ แต่เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ ติดต่อกันนานเข้า เช่น ๗ วันผ่านไป สติที่กระทำความรู้สึกตัวขณะกำหนดรูปนามตามความเป็นจริงในการเจริญสติปัฏฐานจะค่อยๆ เกิดมากขึ้นกว่าสติฯทั่วไปค่ะ อาศัยการเสพบ่อยๆ (อเสวนปัจจัย)ให้อยู่ในสันดานของตนจนเป็นภาวนา

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ นั้นถ้าปฏิบัติเองที่บ้าน ดูอาการของท้องพองยุบนั้น มีเทคนิคอยู่ที่ท่านนั่งปฏิบัติในเวลาพอสมควรของท่านแล้ว เมื่อเลิกปฏิบัติแล้ว อย่าได้ลุกขึ้นเดินไปไหนหรือทำอะไร ขอให้ค่อยๆ ล้มตัวลงนอนหงายต่อจากการนั่งปฏิบัติทันที และใจขณะนั้นจะสงบอยู่ ให้ค่อยๆ นอนหงายสบายๆ ไปก่อนค่อยไปทำภาระกิจอื่นเช่น แผ่เมตตา อธิษฐาน แผ่ส่วนบุญ ขอให้อย่างอื่นรอไปก่อนนะคะ ลองนอนหงายสบายๆ ไปก่อนสักพักหนึ่งค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

(ขอเอาเนื้อหาที่ดิฉันเคยเขียนที่กระทู้อื่นมาลงไว้ให้อ่านกันค่ะ)

การแยกรูปแยกนามในญาณแรกที่ชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณ นั้นไม่ใช่ของหมูๆ นะคะ ขอบอกว่ายากมากๆ
มีอารมณ์ กับ ผู้รู้อารมณ์ แค่นั้นไม่พอค่ะ ยังต้องมี ผู้รู้อารมณ์ไปรู้ผู้อารมณ์ อีกทีหนึ่งนะคะ
คือ สติไปรู้สติ สรุป นามไปรู้รูปแล้ว นามก็ต้องไปรู้นามอีกที ไล่ไปกันเรื่อยในขบวนการรู้รูปนาม
แล้วสติที่ตั้งมั่นไม่หลุดหายไปไหน สติแบบเว่อร์ๆ สติอยู่กับตัวตลอด ไม่หลุด สติก็กลายเป็นอัตตาไป
ใช้ไม่ได้ ต้องเป็นธรรมชาติที่สติผลุบๆ โผล่ๆ เดี๋ยวมีเดี๋ยวหาย (สติเกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆได้ แต่ถ้าบังคับให้มีสติอยู่นานแช่อยู่ไม่ได้ สติจะกลายเป็นอัตตาไป) คือต้องเป็นสติที่ตามไปรู้อารมณ์เท่านั้น
ไม่ใช่สติที่ตั้งอยู่คอยจดจ้อง ส่วนใหญ่การตามดูรูปนามแต่ละครั้งโดนบัญญัติเอาไปกินหมดค่ะ
แต่ในระยะเริ่มแรกการฝึกก็ต้องอาศัยบัญญัติเข้าช่วยเหมือนกัน แต่อย่าให้นานนักนะ จะแกะบัญญัติไม่ออก
ดูเวทนา เวลาปวดไม่ว่าจะปวดฟันปวดหัวปวดขา ไม่มีวิ่งไปรู้ตามชิ้นส่วนร่างกายที่ปวด แต่ไปรู้แค่
ความรู้สึกปวด ไม่ว่าปวดที่ไหน ก็แค่รู้สึก แต่จริงๆ พอปวดหัวก็ไปรู้ที่หัว ก็จบข่าวบัญญัติเอาไปกินอีก
เสียงที่ได้ยิน จะเสียงหมา เสียงคน ก็แค่เสียง แต่ถ้าไปรู้ว่านี่เสียงใคร เสร็จบัญญัติอีก คือถ้าบัญญัติมาปรมัตถ์ก็ไม่มาค่ะ

สติจะต้องตามไปรู้อารมณ์เท่านั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ตามดูรูปนาม สติตามดูอย่างเดียวพอ
ชนิดที่ว่า มรึงไปไหนกรูไปด้วย (ขอยืมคำลุงหมานมา)

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนอื่นเลย คือ ฝึกสติ ให้วันหนึ่งๆ มีสติเกิดให้บ่อยที่สุด เรียกว่าใน 1 ชั่วโมงก็ลองเช็ค
ดูว่า ในชั่วโมงนี้เรามีสติเกิดขึ้นมากี่ครั้ง เยอะกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าไม่เริ่มจากการฝึกให้มีสติเกิดบ่อยๆ
ก็บอกคำเดียวว่ายากค่ะ ส่วนสมาธิก็ต้องทำทุกวันด้วยค่ะ ทำพอให้จิตมีกำลัง เปรียบเหมือนคนที่
ออกกำลังกายทุกวัน ร่างกายก็แข็งแรงนะคะ สมาธิก็ทำใ้ห้จิตมีกำลัง และสมาธิก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญาด้วยคุ่ะ

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ จะต้องแยกให้ออกก่อนนะคะว่า อะไรที่เรียกว่ารูปบ้าง อะไรที่เรียกว่านาม

วิเสสลักขณะ เป็นลักษณะพิเศษประจำตัว เป็นลักษณะพิเศษจำเพาะของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง
ซึ่งไม่เหมือนกันเลย ผิดแผกแตกต่างกันทั้งนั้น วิเสสลักขณะนี้มี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน

:b50: ลักษณะ คือ คุณภาพ หรือ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีประจำสำหรับธรรมนั้นๆ

:b49: รสะ คือ หน้าที่ หรือ กิจการงาน ที่ธรรมนั้นๆ พึงกระทำไปตามลักษณะของตน

:b47: ปัจจุปัฏฐาน คือ ผลของรสะ หรือ อาการปรากฏ ที่เกิดจากธรรมนั้นๆ ได้กระทำกิจการงานตาม
หน้าที่ของตน

:b46: ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น

เพราะเหตุว่า วิเสสลักขณะ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวมา จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ลักขณาทิจตุกะ ซึ่งแปล
ความว่า ธรรมหมวด ๔ มีลักษณะ เป็นต้น

ถ้าได้เรียนรู้ วิเสลักขณะ หรือ ลักขณาทิจตุกะ ซึ่งแสดงสภาวะประจำตัวโดยเฉพาะแห่งปรมัตถธรรม
แต่ละอย่างนั้นด้วยแล้ว ก็จะทำให้มีความเข้าใจซึ้งถึงสภาพแห่งปรมัตถธรรม

เชิญเข้าอ่าน ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก *_*
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=44496

มีคนจำนวนมากบอกว่าไม่ต้องไปเรียนไปศึกษาเสียเวลา มาปฏิบัติเลยจะได้ไม่เสียเวลา
ขอบอกว่า ผู้ที่จะบรรลุได้นั้น ก็ล้วนแล้วแต่ต้องสั่งสมบารมีทางด้านการศึกษาปริยัติมาแล้วทั้งนั้น แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สนับสนุนให้ค้นคว้าด้วยตนเองต่อไปค่ะ สิ่งหนึ่งที่คนไม่รู้คือ การศึกษาปริยัตินั้นจัดเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานค่ะ อานิสงส์ไม่ได้น้อยไปกว่าการนั่งสมาธิ การเดินจงกรมค่ะ
ดังนั้นควรจะหาความรู้ด้านปริยัติ และปฏิบัติไปพร้อมๆ กันค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2014, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 188&Z=1233

โรหิตัสสวรรคที่ ๕
สมาธิสูตร


[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนา
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
*สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
@๑. ความสำคัญหมายว่ากลางวัน
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
ชาติและชราได้แล้ว ฯ

จบสูตรที่ ๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๑๘๘ - ๑๒๓๓. หน้าที่ ๕๒ - ๕๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=41
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_21

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

ขอเชิญอ่าน การเจริญอานาปานสติ คำแนะนำเบื้องต้น
พระอาจารย์ใหญ่พะเอ้า ตอยะสยาดอ อัครมหากัมมัฎฐานาจริยะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47612

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2014, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
29 สิงหาคม

มงคลที่ ๗ (ตอน ๒) พาหุสจฺจํ (การมีความรู้มาก)


การมีความรู้มากนั้น โดยองค์ธรรมคือปัญญา พระพุทธองค์ตรัสว่า

ปญฺญา นรานํ รตนํ.

“ปัญญาเป็นรัตนะของชนทั้งหลาย”

คำว่า ปัญญาเป็นรัตนะ คือ แม้ปัญญาจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่อาจมอบเป็นมรดกให้กับลูกหลาน แต่ก็ถือว่าเป็นรัตนะทรงค่า ซึ่งมีค่ามากกว่าเพชรนิลจินดาหรือเงินทอง เพราะโจรไม่อาจขโมยปัญญาไปได้ เป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ และแม้จะให้มากเพียงใดก็ไม่หมดสิ้นไปเหมือนโลกิยทรัพย์อื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การมีความรู้มากคือการสั่งสมปัญญา ทั้งที่เป็นปัญญาเกี่ยวกับวิชาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพการงาน การเรียนรู้หลักธรรมของพระพุทธเจ้า รวมไปถึงวิปัสสนาปัญญาซึ่งเราได้ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าใจรูปนามจากประสบการณ์ของตนเช่นนี้ จะทำให้เรามีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนามากขึ้น หมดความสงสัยในพระรัตนตรัย

ที่จริงแล้ว ถ้าเทียบศรัทธาของผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมกับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมนั้น มีความต่างกัน คือ ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมจนกระทั่งบรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ ที่รู้เห็นความเกิดดับ อาจเกิดความสงสัยในพระรัตนตรัย โดยสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ พระธรรมเป็นทางแห่งการหลุดพ้นจริงหรือไม่ พระสงฆ์เป็นผู้บรรลุธรรมจริงหรือไม่ เพราะเรายังไม่เคยรู้เห็นว่ารูปนามไม่เที่ยงอย่างแท้จริง

แต่ผู้ที่ได้รู้เห็นความเกิดดับแล้ว พอลืมตาขึ้นมาจะมีความรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ เขามักรู้สึกว่าเราไม่สงสัยพระพุทธเจ้าแล้ว แม้ศรัทธานี้จะเป็นระดับปุถุชน ไม่มั่นคงเหมือนศรัทธาของพระอริยบุคคล แต่ก็มีความมั่นคงมากกว่าศรัทธาของคนทั่วไปที่ยังมิได้รู้เห็นความเกิดดับของรูปนาม

โดยทั่วไปคนทั่วไปอาจเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริงโดยประวัติศาสตร์ คือ มีหลักฐานทางโบราณคดีที่อินเดีย มีพระพุทธเจ้าจริงโดยวรรณคดี คือ มีพระไตรปิฏกรองรับเป็นภาษาบาลี และมีหลักธรรมที่ลุ่มลึก เราจึงเข้าใจว่ามีพระพุทธเจ้าโดยประวัติศาสตร์และวรรณคดี แต่มิได้เข้าใจว่ามีพระพุทธเจ้าจากประสบการณ์ของตนจริงหรือไม่

ดังนั้น วิชาความรู้ที่ได้สั่งสมมานี้ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีเกียรติยศชื่อเสียงในสังคม เป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่พึ่งของบุคคลอื่น สามารถแสวงหาทรัพย์สมบัติด้วยวิชาความรู้ของตน มีบริวารที่พึ่งพาตนได้ นี้คือเป็นโลกิยทรัพย์ที่เราแสวงหาได้จากวิชาความรู้ที่ตนได้เรียนมา

นอกจากนั้นแล้ว เรายังได้รับประโยชน์ในอนาคตต่อไป คือการไปเกิดในสุคติภูมิด้วยการหลีกเลี่ยงจากความชั่วและกระทำแต่ความดี โดยเข้าใจจากสิ่งที่ตนได้ศึกษาร่ำเรียน

แม้วิชาความรู้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักกฎแห่งกรรม แต่ก็เหมือนยา กล่าวคือ ยาที่เรามีอยู่แต่มิได้บริโภค ก็ไม่อาจรักษาโรคของเราได้ นั่นก็คือเป็นโรคอวิชชานั่นเอง เมื่อเรามียาแล้ว คือ เราได้เรียนรู้วิชาความรู้แล้ว เราต้องรู้จักกินยานั้นด้วย การกินยานี้ก็เปรียบได้กับการนำวิชาความรู้มาใช้จริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองจริงๆ โดยเฉพาะปัญญาที่เกี่ยวกับทางธรรม นั่นคือการหลีกเลี่ยงจากความชั่ว ทำแต่ความดี เราต้องลงมือปฏิบัติตามความรู้ที่เราได้ศึกษามา จึงจะนับว่าได้บำเพ็ญมงคลข้อที่ ๗ คือพาหุสจฺจํ (การมีความรู้มาก)

ถ้าเราไม่ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาเพื่อปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ก็อาจก่อให้เกิดโทษกับตนเองและผู้อื่น ดังเช่นในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุชื่อว่าท่านพระกปิละ เกิดมานะทิฏฐิด้วยความรู้ของตนเอง ถือว่าตนเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก มีความรู้มาก มีคนนับหน้าถือตา มีบริวารมาก ท่านจึงกล่าวสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย

หลังจากพระกปิละเสียชีวิตแล้ว ได้ตกอเวจีมหานรก หลังจากนั้นจึงไปเกิดเป็นเปรตปลา ชื่อว่าปลากปิละ มีผิวสีทอง เพราะท่านรักษาศีลดี แต่พออ้าปากขึ้นก็มีกลิ่นเหม็นออกจากปากฟุ้งตลบไป เนื่องจากว่ากล่าวสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัยนั่นเอง

:b8: :b8: :b8:

เดี๋ยวนี้มีผู้เผยแพร่หลักปฏิบัติผิดๆ เยอะมาก บางทีก็แปลบาลีผิด นำคำว่าพุทธวจนะ ซึ่งเป็นคำที่สูงส่งมาแล้วใส่ทิฏฐิของตนเองแปลบาลี สอนคนมั่วไปหมด ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้เรียนบาลี แต่ก็จะแปลบาลี

อย่าลืมนะว่า เจ้าสำนักไปไหน ลูกศิษย์ก็ต้องตามไปด้วยค่ะ

เราเป็นชาวพุทธ แต่ถ้าไม่เข้าหาผู้รู้และศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าให้ดี
ย่อมไม่เท่าทันพวกที่สอนแบบผิดๆ ได้ค่ะ
เมื่อรู้และเข้าใจแล้ว ต้องนำมาปฏิบัติค่ะ

พระพุทธองค์ทรงฝากให้พวกเราดูแล เราสมควรทำหน้าที่ช่วยกันสืบทอดและปกป้องพระศาสนา ให้สืบต่อไปให้ยาวนานที่สุดค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2014, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์พระไตรปิฎกกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค
http://www.abhidhamonline.org/thesis/visudhi/vis4.htm

จะเปรียบเทียบใน 3 ลักษณะ คือ ด้านโครงสร้าง ด้านเนื้อหา และหลักวิชาการของแต่ละคัมภีร์

4.4.1 โครงสร้างของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

คัมภีร์วิสุทธิมรรคแต่งขึ้นโดยพระพุทธโฆสะ ท่านเป็นผู้ประมวลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก อันได้แก่ พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของไตรสิกขา โดยนำไตรสิกขามาตั้งเป็นบทกระทู้ แล้วอธิบายขยายความบทกระทู้ดังกล่าว แสดงหมวดหมู่ของไตรสิกขาเป็นรูปคำถาม-คำตอบ แบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ ถือแนววิสุทธิ 7 ประการเป็นหลัก โดยขยายสีลวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่งต่างหาก เรียกว่า สีลนิเทศ แยกจิตวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่ง เรียกว่า สมาธินิเทศ และแยกปัญญาวิสุทธิทั้ง 5 มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น ออกเป็นอีกนิเทศหนึ่ง เรียกว่า ปัญญานิเทศ รวมทั้ง 3 ภาค มี 23 นิเทศ

โครงสร้างของคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงต่างจากคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ใหญ่ และมีการแบ่งหมวดหมู่ในลักษณะของนิกายรวม 5 นิกาย ซึ่งกว้างขวางและลุ่มลึกกว่าหลายเท่านัก

4.4.2 เนื้อหาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ใน 3 ภาคใหญ่ ๆ นั้น แต่ละภาคจะชี้ให้เห็นถึงกระบวนความรู้ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันตั้งแต่ความรู้อย่างหยาบ ๆ จนถึงความรู้ขั้นละเอียดลึกซึ้ง

ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจได้ว่า ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้นทำอย่างไร จะต้องมีความรู้อะไรบ้าง ความรู้เหล่านั้นมีหลักการอย่างไร ต้องเรียนรู้อะไรก่อน อะไรหลัง กล่าวคือ แต่ละภาคจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงความหมาย ลักษณะ กิจ ผลปรากฏ เหตุใกล้ คุณประโยชน์ต่อชีวิต อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการเจริญไปตามขั้นตอนทั้งของศีล สมาธิ และปัญญา เป็นภาพรวมของวิถีชีวิตที่ดำเนินไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยตรง

ซึ่งต่างจากมหาสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฎก คือ มหาสติปัฏฐานสูตร จะกล่าวถึงเรื่องการเจริญสติโดยตรง ไม่มีการกล่าวถึงลำดับของการเจริญศีล สมาธิ และปัญญาอย่างในวิสุทธิมรรค

เนื้อหาโดยรวมในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จะเน้นการดำเนินชีวิตเยี่ยงพระสงฆ์มากกว่าการดำเนินชีวิตอย่างคฤหัสถ์ เพราะชีวิตของพระเป็นชีวิตแห่งไตรสิกขาโดยตรง วิสุทธิมรรคจึงเปรียบเสมือนคู่มือของนักปฏิบัติธรรมฝ่ายเถรวาท เพื่อใช้เป็นฐานที่จะก้าวลงสู่มหาสมุทรของพระพุทธศาสนา (คือคัมภีร์พระไตรปิฎก) แต่ไม่ควรสรุปว่าวิสุทธิมรรคคือทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เป็นเพียงภาคของการปฏิบัติที่จะทำให้ชีวิตถึงจุดหมายสูงสุด คือ ความบริสุทธิหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย (พระธรรมปิฎก, สากัจฉา วิมุตติมรรค 21 ก.ย.38)

4.4.3 หลักวิชาการของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ซึ่งแต่งขึ้นในภายหลังโดยพระพุทธโฆสะ ในวงวิชาการทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคัมภีร์หลักขั้นปฐมภูมิ เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎก B.C.Law (1946 : 80) กล่าวว่า คัมภีร์นี้มิได้เพิ่มอะไรให้แก่ตัวคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นแต่มุ่งหมายในการจัดสารบัญของพระไตรปิฎกในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (วิสุทธิมรรค แปล 2513 : จ) นอกจากนี้ทางการคณะสงฆ์ไทยยังจัดคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหนึ่งในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วิชาการแปลมคธเป็นไทย ประโยค ปธ.8-9 นับว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่งที่นิยมศึกษากันมาก ประวัติแห่งการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความแตกฉานในคัมภีร์พระไตรปิฎกของท่านพระพุทธโฆสะ จนเป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารแห่งประเทศลังกาในยุคนั้นเช่นกัน

คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์ ที่แสดงการประมวลความรู้ความเข้าใจในพุทธธรรมของฝ่ายเถรวาทอย่างสมบูรณ์ ทั้งการอุปมาอุปไมยและตัวอย่างประกอบมากมาย (สุภาพรรณ ณ บางช้าง 2526 : 292) สามารถรวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา และหมวดธรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมาอธิบายขยายความไว้อย่างเป็นระบบให้รายละเอียดในแง่มุมต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของธรรมที่พึงทราบเหล่านั้น เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติถือตามหลักการของไตรสิกขาแล้วขยายออกตามแนววิสุทธิ 7 นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกด้านกิจกรรมภายนอกแล้ว (เช่น ศีล สมาธิ) ยังแสดงลำดับขั้นของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือ การที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับ ๆ จนถึงการตรัสรู้ (พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) 2525 : 359)

ไตรสิกขาหรือศีล สมาธิ ปัญญานั้น แต่ละส่วนมีหลักเกณฑ์เฉพาะของตนเอง นอกจากนี้วิธีการ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเป็นเอกเทศ การเจริญไตรสิกขาไปสู่ความวิสุทธินั้น หมายเอาศีล สมาธิ ปัญญาที่กำลังเกิด พร้อมในอารมณ์เดียวกัน ขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น คนทุกคนสามารถสร้างนิสัยในเจริญวิปัสสนาได้ และเป็นสิ่งที่ควรสั่งสมอบรม แต่มิใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงเหตุผลและญาณปัญญา ทั้งนี้มีเงื่อนไขบางอย่างของญาณปัญญา โดยเฉพาะคือต้องเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยไตรเหตุ (อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ)

นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ฉลาดรอบคอบในการนำกิจของพระกรรมฐานทุกอย่าง เริ่มต้นด้วย การเรียน การถาม และการเจริญ เป็นต้น เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเหตุของวิปัสสนาญาณในระดับต่าง ๆ เท่าที่ตนเคยสั่งสมไว้ วิปัสสนาญาณแต่ละระดับก็มีความสามารถปหานกิเลสชนิดต่าง ๆ ได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดวิสุทธิได้ไม่เท่ากันด้วย กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่กล่าวมาเป็นการยืนยันถึงหลักอนัตตาอย่างหนึ่งว่า ญาณปัญญาและวิสุทธิที่มีอยู่หลายระดับนั้นอยู่นอกเหนืออำนาจการจัดสรรของผู้ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดกับใครโดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้องก็ไม่ได้ ความบริสุทธิ์มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความเชื่อ หรือการอ้อนวอน แต่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์หรือจากการปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น

ดังได้กล่าวในบทที่ 2 แล้วว่า การพัฒนาสติ สัมปชัญญะ และความเพียรนั้น จำเป็นต้องศึกษาถึงอุปสรรคหรือสิ่งที่จะขัดขวางการพัฒนาตนเอง เช่น ความเป็นผู้ชอบการงาน การพูดคุย การนอน การคลุกคลีกับหมู่คณะ ความไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคดังกล่าว ในยุคสมัยต่อ ๆ มาจึงพัฒนามาเป็นห้องกรรมฐาน กฎระเบียบ และสำนักปฏิบัติธรรม กรณีศึกษาเกี่ยวกับสำนักปฏิบัติธรรมดังกล่าวจะกล่าวถึงใน 2 บทต่อจากนี้ไป

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2014, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ตามรอยพ่อ

:b8: คำพ่อสอน... 'รู้แล้วนำไปใช้ คือ ฉลาดรู้'

"...การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด 'ความฉลาดรู้' คือ รู้แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ
ประการแรกเมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่มุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม
อีกประการหนึ่งซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปกติ และเที่ยงตรงเป็นกลาง..."
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๓
ท ร ง พ ร ะ เ จ ริ ญ ยิ่ ง ยื น น า น
พ่อของแผ่นดินผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ปวงข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระสิริสวัสดิ์ ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากโรคาพยาธิพิบัติภัยใดมาแผ้วพาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นธงชัยแห่งประเทศชาติ และสถิตเป็นมิ่งขวัญแห่งอาณาประชาราษฎร์สืบไปชั่วจิรัฐติกาล กราบแทบพระบาท...


:b8:
https://www.facebook.com/mineroyalty?fref=photo
:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ศีล สมาธิ ปัญญา : แนวคิดและความสัมพันธ์
บรรยายโดย พระครูศรีโชติญาณ ปธ.๖( หลวงพ่อพระมหาแสวง โชติปาโล )ผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะ
มหาบัณฑิตกิติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ

ศีล สมาธิ ปัญญา : แนวคิดและความสัมพันธ์
จากพระคาถาพยากรณ์ที่เป็นบทตั้งของวิสุทธิมรรคกล่าวถึงการตั้งอยู่ในศีลด้วยบทว่า

สีเล ปติฏฺฐาย หมายถึง ภิกษุผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในศีล

นโร สปญฺโญ หมายถึง ผู้มีปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ

จิตตํ ปัญฺฺญญฺจภาวยํ หมายถึง การยังสมาธิ และวิปัสสนาให้เจริญอยู่ ทรงแสดงถึงสมาธิ ด้วยหัวข้อว่าจิต
ส่วนวิปัสสนาทรงแสดงโดยชื่อว่า ปัญญา หรือปญฺญญฺจ

อาตาปี หมายถึง ผู้มีความเพียร เป็นเหตุเผากิเลสให้เร่าร้อน

นิปโก หมายถึง ปัญญาอีกชนิดหนึ่ง ทรงแสดงถึงปาริหาริกปัญญา

ภิกฺฺขุ หมายถึง ผู้ใดเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ

ในบทท้าย คือ โส อิมํ วิชฏฺฺเย ชฏํ เป็นการสรุปสภาวธรรมข้างต้นว่า

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ คือ ด้วยศีล ด้วยสมาธิ (หรือจิต) ด้วยปัญญา 3 ลักษณะ (ไตรเหตุปฏิสนธิ, วิปัสสนาปัญญา และปาริหาริกปัญญา) และด้วยความเพียรเผากิเลสนี้ เมื่อยืนอยู่บนแผ่นดินคือศีลแล้ว ยกศัสตรา คือ วิปัสสนาปัญญา ที่ลับด้วยศิลาคือสมาธิ อยู่ในมือคือปาริหาริกปัญญา ที่มีกำลังวิริยะ พึงถาง ตัด ทำลาย ซึ่งชัฏ คือ ตัณหา อันตกอยู่ในสันดานของตนทั้งหมดได้ เปรียบเหมือนบุรุษยืนบนแผ่นดิน ยกศัสตราที่ลับดีแล้ว ถางกอไผ่ใหญ่ฉะนั้น”

“ก็ในขณะแห่งมรรค ภิกษุนี้ชื่อว่า กำลังถางชัฏนั้นอยู่ ในขณะแห่งผลชื่อว่าถางชัฏเสร็จแล้ว ย่อมเป็นอัครทักขิไณยของ (มนุษย์) โลก กับทั้งเทวโลก ทั้งหลาย”

การเจริญไตรสิกขาในที่นี้ ทรงหมายเอา ศีล สมาธิ และวิปัสสนาปัญญา ที่กำลังเกิดพร้อมในอารมณ์อันเดียวกันเท่านั้น มิใช่เจริญไปคนละขณะ เพราะ ศีล - สมาธิ - ปัญญา ที่เกิดในอารมณ์ต่างกัน จะไม่สามารถเป็นบาทฐานแก่กันได้เลย ศีลมีลักษณะเหมือนกับพื้นที่ สมาธิเหมือนกับผู้คอยประคองให้มีความมั่นคง ส่วนปัญญามีหน้าที่พิสูจน์ดูความจริง

ถ้าจะมีแต่เฉพาะศีล โดยที่ไม่ต้องมีสมาธิและปัญญาร่วมด้วยก็อาจมีได้ เช่น พระภิกษุที่บวชกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าท่านไม่ได้ทำสมาธิหรือวิปัสสนาแต่อย่างใด ก็จะมีเฉพาะศีลเท่านั้น ไม่มีสติกับปัญญาเกิดร่วมด้วย บางครั้งมีศีลและสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาในขณะนั้นก็อาจมีได้เช่นกัน เช่น ภิกษุที่กำลังทำสมาธิเพ่งกสินต่าง ๆ เป็นต้น ขณะนั้นมีศีล มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาร่วม เพราะไม่ได้มีการพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม เป็นเพียงการข่มจิตให้นิ่งด้วยอารมณ์ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

แต่ถ้าผู้ใดกำลังเจริญวิปัสสนาปัญญาอย่างถูกต้องแล้ว จะต้องมีศีลและสมาธิอยู่ในที่นั้นด้วยเสมอ การทำลายกิเลสในส่วนลึกให้หมดไป จำเป็นต้องมีพร้อมทั้ง ศีล-สมาธิ-ปัญญา โดยศีลมีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างหยาบที่แสดงออกทางกาย วาจา เป็นต้น สมาธิมีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างกลาง ได้แก่ ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ส่วนปัญญามีหน้าที่ทำลายกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยต่าง ๆ แม้ในอนุสัย 2 อย่าง (อารัมมณานุสัย และสันตานานุสัย) นั้น วิปัสสนาปัญญาจะละได้ก็เพียงอารัมมณานุสัยเท่านั้น อำนาจวิปัสสนาปัญญาสามารถละความรัก ความชัง ที่เกิดจากการเห็นได้ยิน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ดีและไม่ดีได้ ส่วนสันตานานุสัยนั้น เป็นอนุสัยที่ลึกและมั่นคงกว่า ต้องอาศัยมรรคจิตที่เป็นอรหัตตมรรคเท่านั้น จึงจะละสันตานานุสัยได้เด็ดขาด

(พระมหาแสวง โชติปาโล 2536 : 79)


ศีล สมาธิ และปัญญา แม้จะเกิดในขณะจิตเดียวหรือรับอารมณ์เดียวกัน แต่มีหน้าที่ต่างกัน เป็นคนละส่วนกัน ทั้งนี้ก็เพื่ออุดหนุนกัน เจริญเป็นทางแห่งวิสุทธิเพื่อการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา อานุภาพแห่งความบริสุทธิ์ของศีล สมาธิ ปัญญา จะมีขีดจำกัดเฉพาะตัว ในวิสุทธิมรรคกล่าวถึงองค์คุณของศีล สมาธิ ปัญญา และขีดจำกัดในการอุดหนุนกันแยกเป็น 9 ประการ ได้แก่

1. สิกขา 3

2. ศาสนามีความงาม 3

3. อุปนิสัยแห่งคุณวิเศษ มีความเป็นผู้ได้วิชชา 3 เป็นต้น

4. การเว้นที่สุดโต่ง 2 อย่าง และการเสพข้อปฏิบัติสายกลาง

5. อุบายที่เป็นเครื่องพ้นจากคติมีอบาย

6. การละกิเลสด้วยอาการ 3

7. ธรรมอันเป็นปฏิบัติต่อกิเลส มีวิติกกมะ

8. การชำระสังกิเลส 3

9. เหตุแห่งความเป็นพระอริยบุคคล มีพระโสดาบัน

ตารางต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของศีล สมาธิ ปัญญา ตามลักษณะ 9 ประการข้างต้น ทั้งนี้ยังมีคุณที่เป็นหมวด 3 อื่น ๆ อีกมาก เช่น วิเวก 3 กุศลมูล 3 เป็นต้น ที่สามารถแจกตามศีล สมาธิ ปัญญา เช่นกัน แต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้

ตารางที่ 7 การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา
เชิญอ่านต่อได้ที่ http://www.abhidhamonline.org/thesis/visudhi/vis2.htm

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ปัญญานิเทศ : :
บรรยายโดยพระครูศรีโชติญาณ ปธ.๖
( หลวงพ่อพระมหาแสวง โชติปาโล )
ผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะ
มหาบัณฑิตกิติมศักดิ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ

ปัญญานิเทศ : :
ในวิสุทธิมรรค กล่าวถึงปัญญา 3 อย่าง คือ ปัญญาที่หนึ่งเป็นปัญญาที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ ปัญญาที่สองเป็นวิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่สามเป็นปัญญาที่นำในการบริหารกิจกรรมทุก ๆ อย่าง

สำหรับปัญญาที่หนึ่งที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ หมายถึง ปัญญาเจตสิกที่ประกอบมาพร้อมกับวิบากจิตไตรเหตุ* ที่ทำหน้าที่เกิด ผู้ที่เกิดมาด้วยจิตดวงนี้เรียกว่า ติเหตุกบุคคล หรือคนไตรเหตุ ส่วนวิปัสสนาปัญญาหมายถึงปัญญาที่สามารถละกิเลสอย่างละเอียดออกจากจิตได้ นับตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไป จนถึงโคตรภูญาณเป็นที่สุด สำหรับปัญญาที่สามชื่อว่าปาริหาริกปัญญานั้น พระธรรมปาละมหาเถระขยายความปัญญาชนิดนี้ไว้ในคัมภีร์มหาฎีกาว่า

“ปัญญาที่ได้นามว่า ปาริหาริกา ก็เพราะประกอบแล้วในการนำไปโดยรอบคอบ ซึ่งพระกรรมฐานปัญญาใดที่กำหนดนำเอากิจทุกอย่าง มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยอำนาจของสัมปชัญญะมีสาตถกสัมปชัญญะ เป็นต้น ปัญญานั้นชื่อว่า สรรพกิจปาริหาริกาปัญญา”

“อีกอย่างหนึ่ง การเริ่มต้นด้วยการเรียน การถาม และการเจริญ คือ วิธีใส่ใจในพระกรรมฐานนั้น ต้องมีปัญญาที่นำกิจทุกอย่างไปโดยรอบคอบ เช่น ความเป็นผู้มีปกติทำไปด้วยความเคารพ โดยติดต่อโดยความเป็นสัปปายะ ความเป็นคนฉลาดในนิมิต โดยความเป็นผู้ส่งใจในความสิ้นทุกข์ โดยไม่ย่อท้อเสียในระหว่าง โดยความเพียรให้ถึงความสม่ำเสมอกัน ประกอบความเพียรให้เสมอภาคกัน ปัญญาเช่นนี้ชื่อว่า สรรพกิจปริณายิกาปัญญา”

ดังนั้น จะเห็นว่าคนทุกคนอาจจะสร้างนิสัยในการเจริญวิปัสสนาได้ แต่มิใช่ทุกคนที่สามารถเจริญวิปัสสนาจนได้ญาณปัญญา จะมีบุคคลเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถเจริญวิปัสสนาให้เกิดญาณปัญญาได้ บุคคลดังกล่าวได้แก่ ผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยไตรเหตุ นอกจากนี้ยังต้องเคยอบรมเคยศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาจนได้เหตุผลมาก่อนแล้วเท่านั้น

การสั่งสมปัญญา ความรู้ และความเข้าใจในเหตุผล เป็นงานต่อเนื่องที่อาจทำสำเร็จภายในภพชาติเดียว ความคิดที่ควรสร้างสรรค์ขึ้นในแต่ละภพชาติ คือ ความคิดที่ไม่ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ที่จะพ้นไปจากความทุกข์หรือความวนเวียนของการเกิด แก่ ตาย นั่นเอง

หมวดปัญญานิเทศเป็นหมวดที่ขยายใจความสำคัญในปริจเฉทที่ 9 ของอภิธัมมัตถสังคหะให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้จำเป็นต้องเข้าใจสภาวธรรมพื้นฐานของปรมัตถธรรมทั้ง 4 ที่กล่าวไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะตั้งแต่ปริจเฉทที่ 1 ถึงปริจเฉทที่ 8 มาก่อนด้วยเช่นกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงความรู้ก่อนการปฏิบัติ (แนบ มหานีรานนท์ 2529 : 9-13) อันเป็นเงื่อนไขสำคัญ ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติว่าเป็นไปตามบรรทัดฐานหรือไม่ นอกจากนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของญาณ 16 และวิสุทธิ 7 ตามลำดับต่อไป

4.2.3 ความรู้ก่อนการปฏิบัติ 6 ประการ

1. เรื่องอารมณ์ อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้วก็ได้แก่ รูปกับนาม รูปกับนามนี้เป็นตัวกรรมฐานที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญา ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูป-นามให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงเริ่มปฏิบัติเพราะถ้าไม่เข้าใจแล้ว เมื่อรูปหรือนามอะไรปรากฏ ผู้ปฏิบัติก็จะกำหนดไม่ถูก

2. เรื่องปัจจุบัน คำว่าปัจจุบัน มี 2 อย่าง คือ ปัจจุบันธรรม กับปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันธรรม คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ความร้อน-เย็น ความอ่อน-แข็ง กลางวัน-กลางคืน คลื่นแม่เหล็ก คลื่นไฟฟ้า ที่มีอยู่ในบรรยากาศทั่วทุกมุมของโลก ความรู้สึก รัก - เกลียด ดีใจ - เสียใจ เจ็บปวด - กลัวตาย การเกิด การตาย ที่มีอยู่ในความเป็นอยู่ของสัตว์ทุกชนิด เช่น ยุง มีอยู่ทั่วไปเป็นปัจจุบันธรรม แต่เมื่อใดที่ยุงมากัดเราทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ยุงตัวนั้น และความรู้สึกเจ็บ จัดว่าเป็นปัจจุบันอารมณ์

ดังนั้น ปัจจุบันอารมณ์จึงหมายถึง รูป-นามที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า และผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นได้เป็นอารมณ์ได้ อารมณ์นั้นก็ชื่อว่าปัจจุบันอารมณ์ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามให้ได้ปัจจุบันอารมณ์เสมอ เช่น เวลานั่งอยู่อาการท่าทางของร่างกายที่ตั้งอยู่อย่างนั้นเป็นปัจจุบันธรรมด้วย และผู้ปฏิบัติก็กำหนดดูในขณะที่รูปนั่งปรากฎอยู่เฉพาะหน้านั้น รูปนั่งนั้นก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วยดังนี้ เป็นต้น

ประโยชน์ของปัจจุบันอารมณ์ คือ ทำลายอภิชฌา (ความยินดี) และโทมนัส (ความไม่ยินดี) การเจริญสติปัฏฐานนั้น จุดประสงค์สำคัญก็เพื่อทำลายอภิชฌาและโทมนัส เพียงแต่ความเพียรอย่างเดียว หรือสติอย่างเดียว หรือปัญญาอย่างเดียว ไม่สามารถทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือให้เกิดวิปัสสนาได้ เพราะเหตุว่าไม่มีปัจจุบันอารมณ์ ผู้ปฏิบัติจึงต้องอาศัยอารมณ์ด้วย เพราะอารมณ์ปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่การทำลายอภิชฌาและโทมนัส และเป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาปัญญา

อารมณ์ปัจจุบันนั้นได้มาอย่างไร ก็ได้มาจากอินทรีย์สังวร เช่น สังวรในเวลาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อเวลาได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น ถ้ามีปัจจุบันอารมณ์แล้วอภิชฌาและโทมนัสจะเกิดขึ้นไม่ได้ขณะนั้น

ผู้ที่มีความเข้าใจในอารมณ์ปัจจุบัน และเคยมีประสบการณ์ตรงในอารมณ์ปัจจุบัน แล้วจึงรู้ว่า กาลใด สถานที่ใดควรแก่การเจริญวิปัสสนา เพราะปัจจุบันธรรมนั้นมีอยู่ตลอดเวลา แต่กาละเทศะที่ควรแก่การจะถือเอาปัจจุบันธรรมมาเป็นอารมณ์ปัจจุบันได้นั้น อาจจะไม่เหมาะสมในบางเวลาและบางสถานที่

ผู้ไม่เข้าใจก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ เช่น ขณะฟังพระเทศน์ ไม่ใช่กาลที่ควรเจริญวิปัสสนา เพราะถ้ากำหนดการได้ยินว่าเป็นนามแล้ว ก็จะไม่รู้เรื่องที่เทศน์ และสถานที่ในการเจริญวิปัสสนาก็ควรพิจารณาว่าต้องเป็นสถานที่ที่ไม่เป็นปัจจัยแก่กิเลส พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญป่า โคนไม้ เรือนร้างว่างเปล่า เป็นต้น ว่าเป็นสถานที่อันสงัดและเงียบสงบ เหมาะแก่การทำความเพียรที่เกื้อกูลผู้ปฏิบัติให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้สะดวก

3. เรื่องสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวของผู้ปฏิบัติในขณะที่กำหนดรูป-นาม ความรู้สึกตัวนี้มีหลักอยู่ว่า ในขณะนั้นผู้ปฏิบัติกำลังทำอะไร คือ มีตัวกรรมฐานกับตัวผู้เจริญกรรมฐานหรือเจริญวิปัสสนา ตัวกรรมฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 หรือรูปนามเป็นตัวถูกเพ่ง ส่วนผู้เพ่งหรือโยคาวจร ได้แก่ อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีตัวถูกเพ่ง กับตัวเพ่ง เท่านั้น

ความรู้สึกตัวในการกำหนดรูปนาม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญวิปัสสนา โดยมากมักเป็นการนึกคิด แล้วเข้าใจว่าความคิดนึกนั้นเป็นความรู้สึกตัว ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเพียงใด ก็ได้ปัจจุบันอารมณ์มากเพียงนั้น เป็นความสำคัญของวิปัสสนาว่า เวลากำหนดหรือเวลาดูรูป-นามนั้น จะต้องรู้สึกตัวอยู่ว่าดูรูปอะไร ดูนามอะไร ถ้าดูรูปไปเฉย ๆ หรือดูนามไปเฉย ๆ ก็ไม่เป็นการถูกต้อง เช่น

ดูรูปนั่ง ต้องให้ได้ความรู้สึกตัวด้วยว่าดูรูปนั่ง บางทีดูรูปนั่งอยู่ แต่สักครู่เดียวสมาธิก็เข้าหรือไม่ก็คิดฟุ้นซ่าน พอสมาธิเข้าแล้วความรู้สึกตัวว่านั่งก็หมดไป เป็นต้น ก็ต้องกลับมาทำความรู้สึกตัวใหม่ ต้องมีความเพียรพยายามยกจิตให้เข้าสู่ในทางของวิปัสสนาเช่นนี้เสมอ ๆ เพื่อขจัดกิเลสความเข้าใจผิดว่าเรานั่งออกไป

4. การกำหนดอารมณ์ ตามหลักปฏิบัติในสติปัฏฐานนั้น ให้กำหนดที่อารมณ์ปัจจุบัน เช่น การเห็นหรือการได้ยิน เป็นนามธรรมเกิดขึ้น จะต้องกำหนดว่าเป็นนาม คือ กำหนดที่นามเห็นหรือที่นามได้ยินนั้น ๆ หรือเวลานั่ง เวลานอน เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปธรรมก็กำหนดรูปนั่งหรือรูปนอนนั้น ๆ กล่าวคือ ต้องมีนามอะไร รูปอะไร ร่วมไปในอารมณ์ปัจจุบันนั้นด้วยเสมอ โดยมากในการสอนวิปัสสนานั้นกล่าวถึงการสังเกตรูป-นามจริง แต่เวลาปฏิบัติไม่ได้นำรูปอะไร นามอะไร ที่จะต้องกำหนดในเวลานั้นไปใช้ด้วย และบางทีก็ไม่รู้ด้วยว่าจะต้องกำหนดอย่างไร และเวลาใด

เวลาที่กำหนดขึ้น ปริยัติที่เรียนรู้มากับการปฏิบัติต้องเข้าไปด้วยกัน คือ ปริยัติกล่าวถึงการกำหนดอะไร กำหนดอย่างไร เมื่อเวลาปฏิบัติก็ต้องนำเอาปริยัติที่เรียนมาแล้วไปใช้ให้ถูกตำแหน่งในขณะที่กำหนดด้วย

5. เหตุผลในการปฏิบัติ การเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติควรจะได้เหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติหรือกำหนดเช่นนั้น เช่น ขณะกำหนดอิริยาบถว่ารูปนั่ง เมื่อความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในขณะที่นั่ง ก็ไม่สามารถกำหนดอิริยาบถได้ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนกว่ารูปนั่งในขณะนั้น และเป็นนามธรรมก็กำหนดนามฟุ้ง

การที่ให้พิจารณาความฟุ้งซ่านว่าเป็นนามฟุ้งซ่านนั้น เพื่อประโยชน์อะไร มีเหตุผลอย่างไรนั้น ความสำคัญอยู่ที่การใช้เหตุผล อยู่ที่ความเข้าใจ มิใช่อยู่ที่การกำหนด เหตุผลนั้นสำคัญมากที่จะตัดสินได้ว่าการปฏิบัตินั้นผิดหรือถูก มิใช่กำหนดความฟุ้งว่าเป็นนามฟุ้ง เพราะอาจารย์สั่ง แล้วทำตามไป หรือกำหนดเพื่อให้ฟุ้งหาย เช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก

6. ความสังเกต ความสังเกตมีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนา เมื่อสังเกตจะรู้ว่าการกำหนดนั้นตกไปจากอารมณ์รูปนามหรือไม่ ถ้าไม่มีความสังเกตแล้ว เมื่อจิตตกจากอารมณ์ไปใส่ใจสมาธิ รูป-นามก็ตกไปด้วย จึงควรจะรู้ว่าเมื่อสมาธิเกินแล้ว ความรู้สึกตัวจะไม่อยู่ที่ปัจจุบัน คือ จิตจะนิ่งไปโดยไม่รู้ตัว สมาธินั้นทำให้จิตนิ่งและหยุดจากการกำหนด แต่ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าตนเองยังดูรูปนั่งอยู่

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความสังเกตในเวลานั้นว่าทำถูกต้องหรือไม่ เมื่อรู้ว่าไม่ถูกควรกลับมาทำความรู้สึกตัวให้ถูกในอารมณ์ปัจจุบันใหม่

ความรู้ความเข้าใจในเรื่องอารมณ์ เรื่องความหมายของปัจจุบันอารมณ์และสติสัมปชัญญะ ตลอดจนวิธีการกำหนดอารมณ์และเหตุผลในการกำหนด ความเข้าใจทั้งหมดนี้รวมอยู่ในหัวข้อการสังเกตทั้งสิ้น หลักการสังเกต คือ การเฝ้าดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เกิดเพราะเหตุใด ในเวลาต่อมาสิ่งเหล่านั้นยังมีอยู่จริงหรือไม่ เปรียบเหมือนกับการดูละคร ตัวละครคือรูปและนาม แต่ละรูปแต่ละนามจะมีพฤติกรรมแสดงออกอย่างไร เพียงแต่ตั้งใจดูก็จะรู้ถึงความสัมพันธ์ของรูปและนามเหล่านั้น โดยผู้สังเกตหรือผู้ดูที่ดีจะไม่ไปจัดแจงหรือบงการตัวละครว่าต้องแสดงอย่างนั้น อย่าแสดงอย่างนี้หรือเข้าไปร่วมเล่นละครด้วย

ในสังยุตตนิกาย อุปมาเกี่ยวกับการสังเกตไว้ว่า เปรียบเหมือนกับพ่อครัวปรุงอาหารถวายพระราชา พ่อครัวต้องคอยสังเกตหรือสำเหนียกในอาหารที่จะบำรุงพระราชานั้นว่า อาหารอย่างไร รสอย่างไร เป็นที่โปรดปรานของพระราชา หากทำถูกพระทัย พ่อครัวย่อมจะได้รับรางวัล เช่นเดียวกับวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องมีความสังเกตว่า ตนทำถูกหรือไม่ ถ้าทำได้ถูกต้องตามเงื่อนไขย่อมได้รับรางวัลเป็นผล คือ วิปัสสนาปัญญา

4.3 แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ญาณ 16

ญาน 16 คือ ความรู้สึกด้วยปัญญาที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติปัฏฐาน ระดับของปัญญาแบ่งเป็นลำดับขั้น ดังนี้ (วิสุทธิ อ. ภาค 3/205)

1. นาม-รูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้ว่านามและรูปเป็นคนละส่วน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

2. ปัจจยปริคหญาณ คือ ปัญญารู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดนาม-รูป

3. สัมมสนญาณ คือ ปัญญารู้ความไม่เที่ยงของนาม-รูป

4. อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปของนาม-รูป

5. ภังคญาณ คือ ปัญญารู้ความดับไปของนาม-รูป

6. ภยญาณ คือ ปัญญารู้ว่านาม-รูปเป็นภัยที่น่ากลัว

7. อาทีนวญาณ คือ ปัญญารู้โทษของนาม-รูป

8. นิพพิทาญาณ คือ ปัญญารู้สึกเบื่อหน่ายนาม-รูป

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญารู้สึกอยากพ้นจากนาม-รูป

10. ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากนาม-รูป

11. สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญารู้การทำลายความยินดี ยินร้าย ในนาม-รูป แล้ววางเฉยได้

12. อนุโลมญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมที่จะอนุโลมให้เห็นอริยสัจจธรรมทั้ง 4

13. โคตรภูญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกีย์

14. มัคคญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ

15. ผลญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ

16. ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญารู้มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ

ดังได้กล่าวแล้วว่า วิปัสสนามีสติปัฏฐานเป็นเหตุ มีวิสุทธิคือความหมดจดเป็นผล นอกจากนั้นแล้ววิปัสสนาที่เกิดก่อน ๆ ก็เป็นเหตุของวิปัสสนาที่เกิดหลัง ๆ วิปัสสนาบางอย่างเป็นได้แต่เหตุอย่างเดียว บางอย่างเป็นได้แต่ผลอย่างเดียว

สำหรับที่เป็นเหตุอย่างเดียวกัน ก็ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ เพราะไม่มีวิปัสสนาญาณอื่นที่นอกเหนือไปจากตนจะเป็นเหตุให้ อาจจะมีปัญญาอื่นเป็นปัจจัยให้ได้ก็เฉพาะสุตมยปัญญาและจินตมยปัญญาเท่านั้น

สำหรับโคตรภูญาณก็เป็นได้เฉพาะผลของอนุโลมญาณเพียงญาณเดียวเท่านั้น ตนเองไม่อาจเป็นเหตุของวิปัสสนาอื่นอีก เพราะหลังจากตนไม่มีวิปัสสนาญาณอื่นเกิดได้อีกแล้ว เมื่อตนดับลงก็เกิดมรรคญาณ คือ พระโสดาปัตติมรรค ซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และโลกุตตรมรรคนั้นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ

ส่วนวิปัสสนาในระหว่างคือตั้งแต่ปัจจยปริคหญาณเป็นต้นไป จนถึง อนุโลมญาณ เป็นได้ทั้งเหตุและผล

(พระมหาแสวง โชติปาโล ; 2536 : 73)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2014, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

อารักขกรรมฐาน

››››สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อย
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-019.htm

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จิตตภาวนาการอบรมจิตเป็นกิจสำคัญแห่งผู้ปฏิบัติธรรมะในพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นภิกษุสามเณร ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ชายหญิงทั้งปวง เพราะว่าจิตนี้เป็นความสำคัญ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติกระทำทุกอย่าง เป็นเบื้องต้นของกรรมคือการงานที่ประกอบกระทำ ถ้าจิตร้ายใจร้ายก็เป็นเหตุให้ประกอบกรรมที่ร้ายต่างๆ ถ้าจิตดีใจดีก็เป็นเหตุให้ประกอบกรรมที่ดีงามต่างๆ

เพราะฉะนั้น จิตตภาวนาการอบรมจิต จึงหมายถึงการอบรมจิตให้ละเว้น ให้สงบอารมณ์และกิเลสที่ชั่วร้ายทั้งหลาย แต่ให้ตั้งอยู่ในธรรมะที่เป็นคุณงามความดีต่างๆ อันตรงกันข้าม การปฏิบัติธรรมะในพุทธศาสนา แม้ว่าจะเป็นขั้นต้นก็ต้องอาศัยจิตที่สงบ ที่ดี

ด้วยการทำจิตนี้ให้สงบให้ดีประกอบไปด้วย แม้ว่าการปฏิบัตินั้นจะปรากฏทางกายทางวาจา ดังที่เรียกว่าศีล ที่อธิบายกันทั่วไปว่าเว้นจากความประพฤติชั่วประพฤติผิดทางกายทางวาจา แต่ก็มิใช่ว่าจะทิ้งใจเสียได้ ต้องมีจิตใจ ตั้งใจที่จะงดเว้น และจะต้องมีจิตใจเป็นศีล กายวาจาจึงจะเป็นศีลที่สมบูรณ์ ถ้าแสดงกายวาจาว่างดเว้นได้ แต่จิตใจยังไม่สงบ ยังมีความคิดฟุ้งซ่าน ยังมีความอยากต้องการที่จะทำโน่นทำนี่อันเป็นการผิดศีล ก็ชื่อว่าใจยังไม่เป็นศีล และหากว่ากุศลเจตนาหย่อนลงไป หรืออารมณ์อันเป็นเครื่องยั่วเย้าจิตแรงขึ้น ก็จะทำให้ละเมิดศีลได้ ดังที่เรียกว่าศีลขาด ศีลเป็นท่อน เป็นช่อง ศีลด่างศีลพร้อย เป็นอันยังไม่ได้ สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีจิตตภาวนาการอบรมจิต

วิธีหนึ่งสำหรับที่จะใช้อบรมจิต เรียกว่าอารักขกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ควรรักษาไว้เป็นประจำ เพราะว่าจิตนี้ที่ยังมิได้อบรมก็มีกิเลสมีอารมณ์อยู่เป็นประจำ ถ้าหากว่าไม่มีกรรมฐานมาเป็นประจำบ้าง อารมณ์และกิเลสก็จะจูงจิตไปในทางชั่วทางผิดได้โดยง่าย แต่ถ้าหากว่ามีกรรมฐานมารักษาจิตเอาไว้ตามสมควร กรรมฐานที่รักษาจิตไว้นี้ก็จะช่วยรักษาบุคคล ไม่ให้ตกไปสู่อำนาจของอารมณ์และกิเลสได้โดยง่าย

อารักขกรรมฐาน กรรมฐานที่ควรรักษาไว้เป็นนิจนี้ ข้อ ๑ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ข้อ ๒ เมตตา แผ่จิตออกไปด้วยความใคร่ความปรารถนาสุขประโยชน์ แก่บุคคลแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้อ ๓ อสุภะ พิจารณากายนี้ว่าไม่งดงาม และข้อ ๔ มรณสติ ระลึกถึงความตาย

พุทธานุสสติ

ข้อ ๑ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ในทางปฏิบัติที่เป็นกรรมฐานก็คือระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ตามบทที่สวดกันว่า อิติปิโส ภควา อรหังสัมมา สัมพุทโธ เป็นต้น อันมีคำแปลว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเป็นพระผู้ไกลกิเลส ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ดั่งนี้เป็นต้น อันเรียกว่า นวหรคุณ คือคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ นวหรคุณนี้ย่อลงก็เป็น ๓ ประการ ดังที่เราทั้งหลายสวดกันอยู่ ว่า พุทโธสุสุทโธ กรุณามหัณโว อันแปลว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระ พุทโธ คือพระผู้ตรัสรู้แล้ว อันแสดงถึงพระปัญญาคุณ สุสุทโธ ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว อันแสดงถึงพระวิสุทธิคุณ กรุณามหัณโว มีพระกรุณาดั่งห้วงทะเลหลวง อันแสดงถึงพระกรุณาคุณ ก็คือย่อลงเป็นพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ ก็ตั้งใจระลึกพิจารณาในพระคุณของพระพุทธเจ้า บทใดบทหนึ่งใน ๙ บทก็ดี ย่อลงเป็นพระคุณทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้วนี้ก็ดี

หรือว่าจะพิจารณาระลึกถึงพระคุณดังที่ท่านแสดงไว้อย่างอื่น เช่นระลึกว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีพระสันดานแห่งธรรมอันบริสุทธิ์แล้ว และที่เรียกว่าพระพุทธะ พระพุทธะ ก็เพราะตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยม เพราะประกอบเวไนยนิกรไว้ในธรรมะ เพราะทรงปลุกให้ตื่นจากความหลับคือกิเลสมีความหลงเป็นต้น ดั่งนี้ก็ได้ ซึ่งก็รวมเข้าในพระปัญญาคุณ ในพระวิสุทธิคุณ ในพระกรุณาคุณนั้นเอง และเมื่อ ... (เริ่ม ๑๒/๒ ) ในพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ ในความบริสุทธิ์ของพระองค์ และในพระกรุณาของพระองค์ยิ่งขึ้น ทำให้จิตใจได้พบสรณะคือที่พึ่งกำจัดทุกข์ภัยได้จริง

กำจัดกิเลสได้จริง กำจัดบาปอกุศลได้จริง อันน้อมใจให้ใฝ่ปฏิบัติธรรมะตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

เมตตาพรหมวิหาร

ฉะนั้นจึงมาถึงข้อที่ ๒ เมตตา ความแผ่จิตออกไปในสัตว์บุคคล เจาะจงก็ตาม ไม่เจาะจงคือทั่วไปไม่มีประมาณก็ตาม ให้มีความสุข ดังเช่นคิดว่าสัตว์ทั้งหลายจะเป็น นระ คือมนุษย์ก็ตาม เป็น อนระ คือมิใช่มนุษย์ คือเป็นพวกโอปปาติกะทั้งหลาย ทั้งที่เป็นฝ่ายสุคติ ทั้งที่เป็นฝ่ายทุคติก็ตาม เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ตาม ต่างก็พากันแสวงหาความสุข จึงขอให้สัตว์ทั้งปวงพากันมีความสุข มีตนบรรลุถึงความสุข มีความเกษมสวัสดี

เมื่อหัดปฏิบัติแผ่เมตตาไปดั่งนี้ จะทำให้จิตใจนี้พ้นจากโทสะพยาบาท เป็นจิตใจที่อ่อนโยน ที่สุภาพ ที่ไม่มุ่งร้ายต่อใครๆ แต่ว่ามีความมุ่งดีต่อใครๆ อันทำให้ผู้ที่มีเมตตาอยู่ในจิตเอง มีความสุขความเย็น มองดูใครๆโดยรอบ ก็มองดูด้วยสายตาที่มีความรักใคร่ปรารถนาดีมุ่งดี ไม่มุ่งทำลายล้าง ผู้ปฏิบัติมีเมตตาขึ้นเองจึงได้พบความสุข ความเย็น และก็ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมกันมีความสุขความเย็นด้วย และนอกจากนี้ยังทำให้จิตใจยากที่จะกระทบกระทั่ง ง่ายต่อที่จะให้อภัยในความผิดพลาด ล่วงเกินของผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธแค้น จะโกรธยาก ใจจะถูกกระทบกระทั่งให้โกรธได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ควรอบรมให้มีอยู่ประจำใจเนืองนิจ

อสุภกรรมฐาน

และมาถึงข้อที่ ๓ อสุภะ พิจารณากายนี้ว่าไม่งดงาม กรรมฐานข้อนี้เป็นเครื่องระงับกิเลสกองราคะ

คือความกำหนัดยินดีติดอยู่ในกายตนในกายผู้อื่น เพราะฉะนั้นจึงสอนให้พิจารณากายนี้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลสกองราคะนี้ ว่าอันที่จริงนั้นเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สะอาดไม่งดงาม เพราะว่ากายนี้เป็นที่ประชุมแห่งศพ มี ผม ขน เป็นต้น เป็นสิ่งที่พึงรังเกียจ โดยจะพึงพิจารณาเห็นได้โดย สี สัณฐาน เป็นต้น ฉะนั้น จึงต้องมีการชำระ และการตกแต่งให้งดงามต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถจะกระทำให้สำเร็จไปได้ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิกูลไม่สะอาด ไม่งดงามอยู่โดยธรรมชาติ เมื่อพิจารณาดั่งนี้ก็จะดับกิเลสกองราคะ คือความติดอยู่ในกายลงได้ ทำให้มีความเบา มีความสบาย

มรณสติ

และอีกข้อหนึ่งเป็นข้อที่ ๔ คือ มรณสติ ระลึกถึงความตาย ว่าความตายนั้นคือความเข้าไปตัด ชีวิตินทรีย์ ซึ่งความตายนี้เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ของสัตว์ทั้งปวงในโลก ส่วนชีวิตนั้นเป็นของไม่เที่ยงแท้ เพราะจะต้องมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งหมด และเมื่อพิจารณาถึงความตายซึ่งต้องมีแก่ตนเองด้วย แก่ผู้อื่นด้วยทุกๆคนในโลกผู้เกิดมา ดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้จิตใจนี้สงบจากความประมาทมัวเมาเลินเล่อเผลอเพลินในชีวิต

แต่ว่าก็ไม่ได้มุ่งว่าจะให้กลัวตาย หรือจะให้หมดกำลังใจ แต่มุ่งว่าเมื่อระลึกว่าความตายจะต้องมีแน่นอนดั่งนี้แล้ว ก็จะได้รีบเร่งประกอบกระทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ทำเสียตั้งแต่ในวันนี้ทีเดียว ดั่งนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต และจะทำให้ได้ความรู้รับรองในคติธรรมดาของชีวิต จะทำให้เป็นผู้ไม่กลัวตายเพราะเป็นธรรมดาของชีวิต

ความกลัวตายนั้นเพราะเหตุที่ไม่รับรองคติธรรมดาของชีวิต แต่เมื่อรับรองคติธรรมดาของชีวิตด้วยปัญญา ก็จะทำให้ไม่กลัวตายและก็จะทำให้ไม่ประมาทไม่มัวเมาเลินเล่อเผลอเพลิน ประกอบกรณียะคือกิจที่ควรทำไปทุกวัน ไม่ผัดหรือผลัดเอาไว้

ทั้ง ๔ ข้อนี้ คือ ๑ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๒ เมตตา แผ่เมตตาจิตออกไป ๓ อสุภะ พิจาณากายนี้ว่าเป็นของที่ไม่งดงามไม่สะอาด และ มรณสติ ระลึกถึงความตาย เป็นอารักขกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ควรรักษาไว้เนืองนิจ ปฏิบัติอบรมอยู่เนืองๆ หัดระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ หัดแผ่เมตตาอยู่เนืองๆ หัดพิจารณากายนี้ว่าเป็นของไม่งดงามไม่สะอาดอยู่เนืองๆ ระลึกถึงความตายอยู่เนืองๆ

เมื่อเป็นดั่งนี้จะเป็นเครื่องป้องกันอารมณ์และกิเลสร้ายทั้งหลายได้ แม้ว่าจะเกิดอารมณ์กิเลสขึ้นตามธรรมดาของสามัญชน ก็สามารถจะใช้อารักขกรรมฐานนี้ระงับได้ เมื่ออารมณ์และกิเลสบังเกิดขึ้น ก็ระลึกถึงกรรมฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ทันที ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระงับใจได้ ทำให้จิตใจได้ความสงบได้ความสุข ตลอดจนถึงได้สมาธิตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูง เป็นบาทของปัญญาที่จะเห็นธรรมะยิ่งขึ้นต่อไป

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ขอเชิญฟัง การปรับอินทรีย์ ๕
พระคันธสาราภิวงศ์ (พระมหาสมลักษณ์ คนธสาโร)


http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... Itemid=199

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:







:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2014, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

อุบายฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการเดินจงกรม
พระอาจารย์มานพ อุปสโม

https://www.youtube.com/watch?v=7J7f6bE2ty8

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2014, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:


เหตุในการบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ
viewtopic.php?f=66&t=46002&start=15


"ปฏิสัมภิทาญาณย่อมถึงความแตกฉานด้วยปริยัติ(การเรียนพระพุทธพจน์)
ปริปุจฉา(การไต่ถาม)
สวนะ(การฟัง)
อธิคมะ(การบรรลุมรรค)
และปุพพโยคะ(การเจริญวิปัสสนาจนใกล้ถึงอนุโลมและโคตรภูในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน) "

:b8: :b8: :b8:

การบรรลุมรรค ผล นิพพานไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ ต้องอาศัยการแตกฉานปริยัติด้วย ไม่ใช่มุ่งแต่ปฏิบัติอย่างเดียว ก็ยากที่จะบรรลุ นอกเสียจากผู้นั้นจะค้นคว้าด้วยเองเพื่อเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
และผู้ศึกษาอย่างเดียวโดยไม่ลงมือปฏิบัติ ก็ยากที่จะบรรลุกันได้ง่ายๆ
ที่เห็นว่าพระอริยะท่านบรรลุกันได้แค่พริบตาเดียวนั้น ในอดีตชาติก่อนชาติที่บรรลุนั้น ท่านเหล่านั้นได้สั่งสมไว้แล้วมามากจนกระทั่งสามารถบรรลุได้ในชาตินั้น. ล้วนแล้วแต่ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ มาแล้วทั้งสิ้น.

คนที่เข้าใจลึกซึ้งว่าควรทำอย่างไรในชาติที่เกิดมาพบคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เพราะได้สั่งสมมา และทราบว่าโลกไม่ได้มีคำสอนพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ช่วงที่ว่างเว้นจากพระพุทธศาสนาคำสอนพระพุทธเจ้านั่นมีอยู่ หากชาตินี้เมื่อพบแล้วและได้มีโอกาสศึกษานับว่าไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา. อย่างไรเรียกว่าไม่เสียทีที่เกิดมา. ก็คือเห็นประโยชน์อันพึงมีจากการศึกษาให้เกิดปัญญาเข้าใจให้มากที่สุดจนสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง สามารถรู้ว่าทางใดควรเจริญ ทางใดคือทางแห่งความเสื่อม

ผู้ที่มีอุปาทานยึคมั่นในความเห็นของตนเอง ไม่สามารถฟังใครได้ ก็จมอยู่ในความหลง เป็นผู้ว่ายาก
เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการแตกฉานด้านปริยัติ และทำให้ผลการปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
น้อมนำเอาพระธรรมใช้ธรรมะพระพุทธองค์เป็นหลัก เพื่อนำทางดีกว่าค่ะ
ปีใหม่นี้เริ่มมีการเปิดปีการศึกษาใหม่ ขอเชิญศึกษาพระอภิธรรมกันค่ะ ตามสถานที่เรียนต่างๆ ที่ท่านสะดวก
หาดูได้ว่ามีสถานที่ใดที่ท่านสามารถไปเรียนได้ ดูได้ที่กระทู้ในห้องพระอภิธรรมค่ะ

การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยเรื่องสภาวธรรมทั้งสิ้นไม่มีสัตว์บุคคล
ผู้เห็นประโยชน์ ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2015, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร