วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 06:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เป็นการพิจารณาเจริญสติตามอิริยาบถต่างๆทั่วไปรวมถึงการเดิน แต่ไม่ใช่ขณะนั่งนะคะ(เพราะนั่งไม่ค่อยทน) แต่มันพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ช่วงก่อนนู้น นานแล้วมันจะพิจารณาอาหารเก่าชัดเจนมาก แล้วมันก็เคลื่อนที่ไปพิจารณาอื่นๆบ้าง ตอนนี้กระดูก

ไม่ทราบว่า ปกติการพิจารณากาย ควรหยิบอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมาพิจารณาหรือเปล่า ถ้าใจมันพิจารณาไปเอง เราควรปล่อยหรือควรดึงให้มาพิจารณาแต่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งคะ

มารบกวนอีกแย้ว :b27: :b27: :b27:
ขอบคุณค่ะ


.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 10:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 ก็ให้มันรู้

ก็ซนอย่างนี้นี่เน๊อะ

:b32: :b32: :b32:

ลิงน้อยในสวนเอกอนก็ซน

เมื่อเราพาเขาเข้าสมาธิ/วิปัสสนา เมื่อเขาคุ้นเคยกับเกมที่เราพาเขาเล่น
เขาก็เล่นไปกับเรา :b12: :b12: :b12:
บางอย่าง เราชวนเขาเล่น
แต่บางอย่าง ถ้าเขารำคาญมุขเรา มุขเรามันเห่ย มุขเรามันทื่อ ไม่โดนใจวัยโจ๋อย่างเขา
เขาก็แสดงมุขมาเล่นกับเรา 5555 ก็เขามันฉลาด แสนซน ...อยู่แล้วนี่

เอาเถอะ อยู่ด้วยกันมานาน
เราชวนเขาเล่น เขาชวนเราเล่น ก็เล่นกันไป
แต่เราต้องมีสติ เพราะถ้าเห็นว่าเขาจะซนเกิน เราก็ต้องเอ็ดเขาบ้าง

:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 ก.ย. 2012, 11:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 10:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ก็ดีนะ

เพราะโดยอุปนิสัย เอกอนออกจะเรียบร้อย สุขุม นิ่งดูอยู่

พอเห็นเจ้าลิงซน ๆ มันออกมากระโดดเหย่ง เหย่ง
สะบัดหางไปมา
เด๋วก็ไปหยิบเอากล้วยมาให้กิน
เด๋วก็ไปสอยเอาทุเรียนมาให้หม่ำ
เด๋วก็ไปโหนเอาลำใยมาป้อน
เอกอน เรยได้ถึงบางอ้อ ปลงอนิจจัง
กรรมของไอ้ทุย
ตอนแรกเอกอนหลงนึกว่า/หลงคิดว่าเอกอนเป็น เขา
แต่พอเห็นอย่างนี้ รู้แล้ว เราออกจะนิ่งเรียบร้อย
เขาออกจะลิงอย่างนั้น เราจะเป็นเขาได้ไง
เราเหมือนคนที่คอยดูแลเขาอยู่ น่ะ

:b39: :b39: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 ก.ย. 2012, 11:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 10:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
บางอย่าง เราชวนเขาเล่น
แต่บางอย่าง ถ้าเขารำคาญมุขเรา มุขเรามันเห่ย มุขเรามันทื่อ ได้โดนใจวัยโจ๋อย่างเขา
เขาก็แสดงมุขมาเล่นกับเรา 5555 ก็เขามันฉลาด แสนซน ...อยู่แล้วนี่

:b32: :b32: :b32:


คือ บางอย่างเราชวนเขาเล่น
คือ บางอย่างเมื่อเราน้อมใจไปดึงธรรมใดขึ้นมาพิจารณา
ขอให้สังเกตว่า กำลังมันจะไปตันอยู่ที่ สัญญาที่จะนำมาใช้ในการปรุงแต่งสังขาร

สภาวะเช่นนี้ เหมือนกับ เดินเข้าไปในตรอก แล้วไปเจอทางตัน
ซึ่งมันจะทำให้เราเห็น ขอบเขตของการปรุงแต่งจากสัญญา

แต่ถ้าเมื่อไร เจอเขาออกมาลากเราเข้าไปเล่น
การเคลื่อนไหวของเขา จะซน รวดเร็ว และ พริ้วมาก

ราวกับเขาเป็นเทพบุตรจุติลงมาเกิด เราเป็นแค่พี้เลี้ยงเด็ก

แต่ทิศทางของเจ้าเทพบุตร ก็อยู่ที่พี่เลี้ยงเด็ก
ว่า พี่เลี้ยงจะดูแลเขา สั่งสอนเขา อย่างไร ...
ถ้าสั่งสอนดี เขาก็นำกุศลมาให้
ถ้าสั่งสอนไม่ดี เขาก็นำอกุศลมาให้

:b1:

อันนี้เอกอนคิดแบบง่าย ๆ ถ่ายทอดออกมาแบบง่าย ๆ ภาษาพื้น ๆ บ้าน ๆ
เมื่อยามที่เอกอนนั่งมองดูเขา ในอริยาบทต่าง ๆ

:b12: :b16: :b16: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: สงสัยจะซนจริงๆด้วยคุณเอกอน ไม่โลดโผนหรอกนะคะ แค่ชอบเดินเล่นเยอะๆ :b9: :b9:


โดยตัวเองก็คิดว่า ใจมันก็แล่นไปกายเรา มันชอบตรงไหนมันหยุดตรงนั้น เราก็ค้นๆลงไป ถึงยังไม่ได้อะไรลึกซึ้งแต่ก็พิจารณาไว้บ่อยๆเนืองๆก็ดี แต่ท่าทางของฮานาโกะก็ซนมากเหมือนกันนะเนี่ยนะ เลยมีปัญหามาสอบถามขอคำแนะนำตลอดเลย ฟังคำแนะนำแล้วได้ธรรมะดี

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 11:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
:b9: สงสัยจะซนจริงๆด้วยคุณเอกอน ไม่โลดโผนหรอกนะคะ แค่ชอบเดินเล่นเยอะๆ :b9: :b9:


โดยตัวเองก็คิดว่า ใจมันก็แล่นไปกายเรา มันชอบตรงไหนมันหยุดตรงนั้น เราก็ค้นๆลงไป ถึงยังไม่ได้อะไรลึกซึ้งแต่ก็พิจารณาไว้บ่อยๆเนืองๆก็ดี แต่ท่าทางของฮานาโกะก็ซนมากเหมือนกันนะเนี่ยนะ เลยมีปัญหามาสอบถามขอคำแนะนำตลอดเลย ฟังคำแนะนำแล้วได้ธรรมะดี

:b4: รู้งั๊นล่ะ คุณพี้เลี้ยงฮานาโกะ ก็แค่ดูแลในเรื่องอาหารของเขา เท่านั้นล่ะ

เอกอนก็ทำให้เขาได้เพียงแค่ บริการอาหารดี ๆ ให้กับเขา

เจออาหารดี ๆ พาออกกำลังกายเรื่อย ๆ ให้เขาได้สูดอากาศดี ๆ
เขา น่ารักขาดใจเลย

เขาเองก็ติดเรา ไม่ใช่ไม่ติด เขาจะทำทุกอย่างให้เรารักเขา และไม่อยากจากเขาไป
เขาจะแสดงให้เห็นว่า เรากับเขาจะอยู่คู่กันไปตลอดกาลนาน ได้
แต่ เมื่อถึงจุดหนึ่ง แม้เราไม่อยากจาก แต่เราปฏิเสธ สิ่งที่เราต่างรู้ด้วยกันนั้น ไม่ได้

ว่า เบื้องต้นแล้ว เราต่างเป็นอิสระต่อกัน แต่มาอยู่ด้วยกันเพียงชั่วคราว

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เพราะโดยอุปนิสัย เอกอนออกจะเรียบร้อย สุขุม นิ่งดูอยู่

แหวะ .. :b28: :b32:
Hanako เขียน:
สงสัยจะซนจริงๆด้วยคุณเอกอน ไม่โลดโผนหรอกนะคะ แค่ชอบเดินเล่นเยอะๆ

.. ถ้าซนมาก ท่านให้เอาเชือกผูกโยงไว้กับหลักนะ ..

เรื่องจิตนี้ ท่านเปรียบไว้ว่า ..

จิต เปรียบเหมือน ลิง
เชือก เปรียบเหมือน สติ
หลัก เปรียบเหมือน คำบริกรรม หรือ ลมหายใจ เข้า-ออก

เมื่อผูกจิตไว้แล้ว ก็ให้รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว จนจิตนั้นสงบ ระงับจากนิวรณ์ .. :b1:

Hanako เขียน:
ไม่ทราบว่า ปกติการพิจารณากาย ควรหยิบอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมาพิจารณาหรือเปล่า
ถ้าใจมันพิจารณาไปเอง เราควรปล่อยหรือควรดึงให้มาพิจารณาแต่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งคะ

การพิจารณากาย ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำไว้ ให้พิจารณาว่า ส่วนไหนของกายที่ถูกกับจริตเรา เช่น
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือ กายาคตา อสุภะ ธาตุสี่ ฯลฯ เป็นต้น

เมื่อธรรมหมวดใดถูกจริตกับเรา การพิจารณาก็จะสะดวก สงบเย็นไม่ติดขัด เช่น เมื่อพิจารณา
เรื่อง อาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วรู้สึกสบายสงบง่าย ก็ให้ยกธรรมบทนั้นมาพิจารณาบ่อย ๆ ...
จนจิตสงบ เมื่อชำนาญแล้ว ค่อยพิจารณาธรรมในหมวดอื่นต่อไป ..

ถ้าจิตยกมาพิจารณาเอง ก็ปล่อยให้พิจารณาไป แค่ประคับประคอง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
แล้วให้ธรรมที่พิจารณานั้นจบลงที่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เสมอ ..

อย่างนี้แหละ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 14:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
เพราะโดยอุปนิสัย เอกอนออกจะเรียบร้อย สุขุม นิ่งดูอยู่

แหวะ .. :b28: :b32:

:b1:


:b9: :b32: แค่นี้ทำเป็นทนไม่ได้ :b32: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
เพราะโดยอุปนิสัย เอกอนออกจะเรียบร้อย สุขุม นิ่งดูอยู่

แหวะ .. :b28: :b32:

:b1:


:b9: :b32: แค่นี้ทำเป็นทนไม่ได้ :b32: :b9:

ถ้ากระโดกกระเดกเหมือนเดิม พอทนด้ายย
ถ้าสุขุม เรียบร้อย .. ข้าน้อยกั่วอ่ะ ..อิอิ

:b9: :b32: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 03:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นคนที่กินกาแฟ และเดินไปทำงาน คือเดินถือถ้วยกาแฟในมือ ตอนแรกนั้นส่วนตัวจะตั้งสติก่อน ถ้าเดินอยู่ก็รู้การก้าวเดินของเท้า ตรงนี้ได้สังเกตุตัวเองด้วย จึงรู้ว่า หากเรามีสติรู้อยู่ว่า เรากำลังกำหนดรู้ส่วนไหน จะปรากฏถึง ความรู้ตัวแผ่ไปทุกส่วน แม้กระทั่ง อาการลิ้นในปากยังรู้ว่า เราไม่ได้ดุนลิ้น เราไม่ได้กัดฟัน ปากเราผ่อนคลายลง ไม่บิดเบี้ยวไปเพราะสังขารขันธ์เกิดโดยมโนวิญญาณ

ช่วงเดินนั้นจะกำหนดรู้อวัยวะส่วนขาถึงเท้าในจังหวะที่สลับการเหยียบลง1จังหวะ แล้วย้ายไปกำหนดรู้ขาอีกข้างหนึ่ง สลับกันไป พอมีสติที่อยู่ตัวจะเพิ่มการกำหนดรู้ ที่เวทนาขันธ์ ที่ขาที่ก้าว(อาการหน่วงของขาเวลาเดิน) คือเป็นจังหวะต่อเนื่อง สักพักหนึ่ง ความรู้ตัวจะแผ่ไปทั่วตัว จะเริ่มเห็นการถือกาแฟที่ชัดขึ้น ก็ย้ายวิญญาณขันธ์มาที่มือ พอชัด ก็ต่อด้วยเวทนาขันธ์ที่มือ เริ่มรู้สึกถึงความร้อนที่ชัดเจนขึ้น เหล่านี้เรายังต้องมีสติให้มั่นคง กรณีอย่างนี้ส่วนตัวก็สำรวมตา ไม่ลอกแลกไปมา มองไปตรงหน้า ประมาณ 10เมตร (เดี๋ยวเดินชนคนเข้า) จากนั้นก็เริ่มไล่ไปตามนิ้ว (student ปฏิบัติอย่างนี้จริงๆ) ดูตำแหน่งของนิ้วว่า กำถ้วยกาแฟอย่างไร และอย่าลืมกำหนดเวทนาขันธ์ว่า ร้อนน้อย ร้อนมาก และอาการเมื่อยแขน ต้องกำหนดรู้

แต่ในกรณีรีบเร่ง ส่วนตัวจะไม่ใช้สัญญาขันธ์จินตนาการณ์ว่า ลึกลงไปกระดูกจะเป็นอย่างไร สีอะไร แบบนี้ ยังไม่เข้าไปดู แล้วท้ายสุดก็ย้อนมากำหนดรู้การหายใจเข้าออก จะรู้ถึงยุบพองอย่างชัดเจนขึ้น เพราะอาศัยสติที่มีต่อเนื่อง (อย่าให้สังขารขันธ์เข้ามาแทรก หรือ มโนวิญญาณอย่าให้เกิด เช่น ความภูมิใจที่ตัวเองปฏิบัติต่อเนื่อง หรือ รู้สึกดีใจที่ตัวเองกำลังปฏิบัติอยู่) ให้มีสติอยู่ตลอดเวลาในการกำหนดรู้ของเรา ตามเห็นไปเรื่อยๆ จนถึงที่ทำงาน เป็นแบบนั้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2012, 11:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2012, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 15:30
โพสต์: 36

งานอดิเรก: เล่นแมว
สิ่งที่ชื่นชอบ: นอน
ชื่อเล่น: มู่
อายุ: 24

 ข้อมูลส่วนตัว


:b27:
ไม่มีอะไรที่ตายตัว

.....................................................
ใช้ดาบฟาดน้ำน้ำยิ่งไหลโชก ยกแก้วกับโศกโศกยิ่งทุกข์หนัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2012, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
แต่เป็นการพิจารณาเจริญสติตามอิริยาบถต่างๆทั่วไปรวมถึงการเดิน แต่ไม่ใช่ขณะนั่งนะคะ(เพราะนั่งไม่ค่อยทน) แต่มันพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ช่วงก่อนนู้น นานแล้วมันจะพิจารณาอาหารเก่าชัดเจนมาก แล้วมันก็เคลื่อนที่ไปพิจารณาอื่นๆบ้าง ตอนนี้กระดูก

ไม่ทราบว่า ปกติการพิจารณากาย ควรหยิบอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมาพิจารณาหรือเปล่า ถ้าใจมันพิจารณาไปเอง เราควรปล่อยหรือควรดึงให้มาพิจารณาแต่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งคะ

มารบกวนอีกแย้ว :b27: :b27: :b27:
ขอบคุณค่ะ


สติปัฏฐาน กายานุปัสสนา
สติตามกำหนดที่กาย
กำหนดที่ อาการ 32 ใด อาการหนึ่ง แล้วได้สมาธิ แล้วจึงทำความศึกษาต่อ
นี่เป็นสมถะ นำวิปัสสนา

กำหนดที่ อาการ 32 ใด อาการหนึ่ง โดยความเป็นธาตุ ประกอบกัน แล้วได้สมาธิ แล้วจึงทำความศึกษาต่อ นี่เป็นวิปัสสนา นำ สมถะ

กำหนดที่ อาการ 32 ใดอาการหนึ่ง โดยความเป็นอนิจจสัญญา แล้วได้สมาธิ และทำความศึกษาไปด้วย นี่เป็น สมถะวิปัสสนา ไปพร้อมๆ กัน

Hanako ถนัดแบบไหน ก็ตามสบาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2012, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b8: ขอบคุณพี่เช่นนั้นค่ะ :b46:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 06:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต แนะนำหลักปฏิบัติจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้

สมาธิที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

แนวทาง วิปัสสนายานิก หรือ วิปัสสนาขณิกสมาธิ (วิปัสสนาล้วน)
การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201


ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔

เนื้อหาสาระที่พระพุทธองค์รับสั่งในหมวดพิจารณารูปอิริยาบถ นั้น มีว่า :
“ – ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ -- ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งยังมีอยู่ คือ ภิกษุ เดินอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ เดินอยู่ “
-- ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ -- ยืนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ ยืนอยู่ “
-- นิสินฺโน วา นิสินฺโนมฺหีติ ปชานาติ -- นั่งอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นั่งอยู่ “
-- สยาโน วา สยาโนมฺหีติ ปชานาติ -- นอนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นอนอยู่ “
-- ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ .
-- ก็หรือว่า กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด อาการใด ย่อมรู้ชัดซึ่งกายนั้น โดยอาการนั้น อาการนั้น
-- อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯเปฯ เอวมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุกาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. -- ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายกายภายในอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ก็หรือว่า สติย่อมเป็นอันปรากฏแก่เธอว่า “ กาย มีอยู่ “ เพียงเพื่อประโยชน์แก่ญาณ ความรู้ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพียงเพื่อความระลึกได้เฉพาะเท่านั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ย่อมไม่ยึดถือมั่นอะไร ๆ ในโลกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ “ ดังนี้


===========================


ดูแนวทางการปฏิบัติของคุณ Hanako แล้ว น่าจะเป็นการเพ่ง กายให้เกิดสมาธิขั้นฌานก่อน แล้วค่อยยกองค์ฌานมาเจริญวิปัสสนาอีกที


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร