วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 20:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น เราเคลื่อนไหวตัว เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน เดินเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆแบบนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ บางอิริยาบถเราอยู่นิ่งๆ เช่น นั่งพักเฉยๆ เราก็รู้ลมหายใจเข้า - ออก พอเราลุกขึ้นเดิน เราก็รู้ว่าเราเดิน พอทำงาน ยกแขน ยกมือ ก้มตัว ยืนสลับขารู้ว่าจะสลับขา (ทุกวันต้องยืนนานๆค่ะ เมื่อยบ่อยก็ต้องทิ้งน้ำหนักสลับขา) เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ :b8: :b16: :b27:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 16:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เช่น เราเคลื่อนไหวตัว เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน เดินเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆแบบนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ บางอิริยาบถเราอยู่นิ่งๆ เช่น นั่งพักเฉยๆ เราก็รู้ลมหายใจเข้า - ออก พอเราลุกขึ้นเดิน เราก็รู้ว่าเราเดิน พอทำงาน ยกแขน ยกมือ ก้มตัว ยืนสลับขารู้ว่าจะสลับขา (ทุกวันต้องยืนนานๆค่ะ เมื่อยบ่อยก็ต้องทิ้งน้ำหนักสลับขา) เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ :b8: :b16: :b27:


ความจริงคำตอบ ก็อยู่ในคำถามแล้ว :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เช่น เราเคลื่อนไหวตัว เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน เดินเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆแบบนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ บางอิริยาบถเราอยู่นิ่งๆ เช่น นั่งพักเฉยๆ เราก็รู้ลมหายใจเข้า - ออก พอเราลุกขึ้นเดิน เราก็รู้ว่าเราเดิน พอทำงาน ยกแขน ยกมือ ก้มตัว ยืนสลับขารู้ว่าจะสลับขา (ทุกวันต้องยืนนานๆค่ะ เมื่อยบ่อยก็ต้องทิ้งน้ำหนักสลับขา) เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ :b8: :b16: :b27:


ก่อนที่ข้าพเจ้าจะสอนวิธีการหรือให้คำแนะนำต่อคุณและท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาอ่าน ได้ศึกษา ได้เล่าเรียน คุณผู้เขียนถาม จะต้องทำความเข้าใจในภาษาไทยและบริบทของภาษาที่ข้าพเจ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจ และต้องทำความเข้าใจเอาไว้ว่า คำสอน คำอธิบายของข้าพเจ้าไม่ใช่เป้นการขัดศรัทธาคือความเชื่อของคุณและท่านทั้งหลาย แต่ข้าพเจ้าจะสอนจะอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่สับสนปนเป หรือบิดเบือนหลักการทางพระไตรปิฎก ความว่า...

อันธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ย่อมรู้สึกในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวตัวเช่นไร จะเปลี่ยนอิริยาบถอย่างใด นั่นเป็นเพราะร่างกายของมนุษย์มีระบบการทำงานของร่างกายทำให้เกิดมีสติสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวและระลึกได้ โดยอัตโนมัติ คือ ตามธรรมชาตินั่นเอง

มาถึงสิ่งที่คุณถาม คุณต้องรู้จุดประสงค์ของการกระทำของคุณว่า สิ่งที่คุณปฏิบัตินั้น เป็นการปฏิบัติสมาธิ หรือเป็นการปฏิบัติ สติปัฏฐาน อันนี้ต้องแยกกันนะขอรับ ไม่ฝึกปฏิบัติผสมปนเปกัน
[b]ถ้าคุณ ปฏิบัติเพื่อฝึกสมาธิ ก็ไม่จำเป็นที่คุณจะต้อง กำหนดรู้อย่างที่คุณเล่ามา เพราะพฤติกรรมการกระทำของคุณนั้น เป็นการใส่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับระบบประสาทหรือระบบการทำงานของร่างกาย

ถ้าหากคุณกำหนดเพียงลมหายใจเข้าออก คุณก็ย่อมมีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวและระลึกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร จะเคลื่อนไหวโยกย้ายร่างกายอย่างไร อันเป็นไปโดยอัตโนมัติ คือเป็นธรรมชาติของตัวคุณอยู่แล้ว[/b]ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปข้างต้น มีความหมายว่า คุณไม่จำเป็นต้องไประลึกนึกถึงหรือรู้ตามอิริยาบถที่คุณกำลังกระทำอยู่ เพราะระบบประสาทของคุณจะรู้ได้เอง เพราะคุณกำลังมีสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก

ในอีกรูปแบบหนึ่ง ถ้าหากจะปฏิบัติ สติปัฏฐานสี่ ก็ต้องเป็นในเรื่องของ กาย เวทนา จิต ธรรม (ในที่นี้จะไม่อธิบาย) ไม่ใช่เรืองของการปฏิบัติสมาธิหรือการฝึกสมาธิ และไม่ใช่วิธีการที่คุณเล่ามา คือ จะเดินก็ต้องรู้ ย่างเท้าก็ต้องรุ้ เปลี่ยนอิริยาบถ ก็ต้องรู้ ฯลฯ นั่นมันเป็นการคิด เป็นการแยกสมาธิ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติสมาธิ เพราะการปฏิบัติสมาธิ คือ การทำให้ใจสงบ ทำให้ใจแน่วแน่ หรือ ความตั้งมั่นในใจ นั่นคือ ไม่คิด ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ยิน แต่ไม่คิด ได้เห็น แต่ไม่คิด เพียงแค่รู้ว่า เสียงนั้น เป็นเสียงอะไร นั่นคือการคิด อย่างนี้เป็นต้น และต้องทำความเข้าใจเอาไว้คำอธิบายข้างต้น เป็นเรื่องของช่วงเวลาขณะปฏิบัติสมาธิ และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อธิบายได้สอนไปข้างต้นนั้น มิได้บังคับให้เชื่อ แต่ให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เช่น เราเคลื่อนไหวตัว เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน เดินเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆแบบนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ บางอิริยาบถเราอยู่นิ่งๆ เช่น นั่งพักเฉยๆ เราก็รู้ลมหายใจเข้า - ออก พอเราลุกขึ้นเดิน เราก็รู้ว่าเราเดิน พอทำงาน ยกแขน ยกมือ ก้มตัว ยืนสลับขารู้ว่าจะสลับขา (ทุกวันต้องยืนนานๆค่ะ เมื่อยบ่อยก็ต้องทิ้งน้ำหนักสลับขา) เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ :b8: :b16: :b27:


ส่วนตัวคิดว่าถูกครับ หากเรามีสติพร้อม รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ คือนอกจากเรากำลังจะปฏิบัติธรรมะ จิตสังขารเราเป็นอุเบกขาในตัว คือ จิตเรามีความคิดแต่ในเรื่องปฏิบัติในตอนนั้น รู้ก้าว รู้เหยียด รู้ลม แต่มีแค่ความสงสัย ความสงสัยของเราจะนำไปสู่คำตอบ ไม่ช้าก็เร็ว ส่วนตัวคิดว่าเป็นการปฏิบัติที่มีปัญญานำ ครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 00:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสติ อันประกอบไปด้วย สติปัฏฐาน 4 ประการ

อันได้แก่ มีสติรู้ กาย เวทนา จิต และธรรม

นอกจากรู้กายของตนแล้ว ยังต้องรู้เวทนา รู้จิต และรู้ธรรมของตน

จึงจะเป็นสัมมาสติโดยสมบูรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เช่น เราเคลื่อนไหวตัว เปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน เดินเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ไปเรื่อยๆ ใจเราก็เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆแบบนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ บางอิริยาบถเราอยู่นิ่งๆ เช่น นั่งพักเฉยๆ เราก็รู้ลมหายใจเข้า - ออก พอเราลุกขึ้นเดิน เราก็รู้ว่าเราเดิน พอทำงาน ยกแขน ยกมือ ก้มตัว ยืนสลับขารู้ว่าจะสลับขา (ทุกวันต้องยืนนานๆค่ะ เมื่อยบ่อยก็ต้องทิ้งน้ำหนักสลับขา) เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ :b8: :b16: :b27:

การกำหนด "ลมหายใจ" ทำได้ทุกอริยบทแหละ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
แต่หากถ้า "สติ" ยังไม่ละเอียดพอ การกำหนดรู้ "ลมหายใจ" ในขณะ
ที่เคลื่อนไหวอริยบท จะรู้สึกว่ายากลำบาก

การกำหนดรู้ในอริยบท เมื่อมีการเคลื่อนไหว หรือกำหนด "ลมหายใจ" ขณะ
ที่อยู่นิ่ง ๆ สลับไปมาอย่างนี้ คือ "การฝึกสติโดยแยบคาย" ไม่ใช่ "สะเปะสะปะ"
อย่างที่เข้าใจนะ :b4:

เมื่อใดที่ "สติ" ละเอียดขึ้น "การกำหนดรู้ลมหายใจพร้อมกับอริยบทการเคลื่อนไหว
ก็จะรู้ไปพร้อม ๆ กัน" ไม่ติดขัดอีก .. :b1:

สู้ สู้ .. rolleyes rolleyes

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ แสดงว่า ให้เพียรตามนี้ไปเรื่อยๆนะคะ :b27:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ .. ทำจนชำนาญแล้ว สติก็จะสลับไปมาโดยอัตโนมัตเอง
เมื่อ สติละเอียดขึ้น ลมหายใจก็รู้ การเปลี่ยนอริยบทก็รู้ไปพร้อมกัน ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจะได้อะไรจากการเจริญสติลักษณะนี้บ้างหรอคะ พยายามฝึกสมาธิท่านั่ง นั่งไม่ค่อยทนค่ะ นั่งได้แป๊บๆ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เราจะได้อะไรจากการเจริญสติลักษณะนี้บ้างหรอคะ พยายามฝึกสมาธิท่านั่ง นั่งไม่ค่อยทนค่ะ นั่งได้แป๊บๆ
ได้ความสงบของจิต อันเป็นฐานของปัญญา

นั่งนานหรือไม่นาน ไม่เป็นปัญหาหรอกครับ
ขอให้เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ท่านก็เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียรแล้ว ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2012, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ มีกำลังใจเลย

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 15:30
โพสต์: 36

งานอดิเรก: เล่นแมว
สิ่งที่ชื่นชอบ: นอน
ชื่อเล่น: มู่
อายุ: 24

 ข้อมูลส่วนตัว


Hanako เขียน:
เราจะได้อะไรจากการเจริญสติลักษณะนี้บ้างหรอคะ พยายามฝึกสมาธิท่านั่ง นั่งไม่ค่อยทนค่ะ นั่งได้แป๊บๆ

อยากบอกว่าแมวน่ารักมาก555

.....................................................
ใช้ดาบฟาดน้ำน้ำยิ่งไหลโชก ยกแก้วกับโศกโศกยิ่งทุกข์หนัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 05:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


[color=#0000BF](นั่ง) สมาธิ ที่เป็นบาทของ วิปัสสนาภาวนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
----------------------------------------------------------

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201

เนื้อหาสาระที่พระพุทธองค์รับสั่งในหมวดพิจารณารูปอิริยาบถ นั้น มีว่า :
“ – ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ -- ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งยังมีอยู่ คือ ภิกษุ เดินอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ เดินอยู่ “
-- ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ -- ยืนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ ยืนอยู่ “
-- นิสินฺโน วา นิสินฺโนมฺหีติ ปชานาติ -- นั่งอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นั่งอยู่ “
-- สยาโน วา สยาโนมฺหีติ ปชานาติ -- นอนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นอนอยู่ “
-- ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ .
-- ก็หรือว่า กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด อาการใด ย่อมรู้ชัดซึ่งกายนั้น โดยอาการนั้น อาการนั้น
-- อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯเปฯ เอวมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุกาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. -- ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายกายภายในอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ก็หรือว่า สติย่อมเป็นอันปรากฏแก่เธอว่า “ กาย มีอยู่ “ เพียงเพื่อประโยชน์แก่ญาณ ความรู้ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพียงเพื่อความระลึกได้เฉพาะเท่านั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ย่อมไม่ยึดถือมั่นอะไร ๆ ในโลกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ “ ดังนี้

จบเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพิจารณารูปอิริยาบถเพียงเท่านี้

เนื้อความตามพระบาลีที่ยกมานี้ มีคำอธิบายอย่างย่อ ๆ ดังต่อไปนี้
คำว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ แปลว่า " เดินอยู่ ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่าเดินอยู่ " ดังนี้ ก่อนอื่น พึงทราบว่า คำว่า " ปชานติ " ที่แปลไปก่อนว่า " รู้ชัด " ในที่นี้ มีความหมายพิเศษเฉพาะเรื่องอยู่ จำต้องอธิบาย หากไม่อธิบายศัพท์นี้ก่อน ก็ย่อมมองไม่เห็นว่า การสอนให้พิจารณาอิริยาบถนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างไร เพราะใคร ๆ ในเวลาที่เดิน ก็ย่อมรู้ชัด คือรู้แน่แก่ใจว่าตนเดินอยู่ ในเวลาที่ยืน ในเวลาที่นั่ง หรือในเวลาที่นอน ก็ย่อมรู้ชัดว่า ยืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ คนวิกลจริตเสียสติเท่านั้น ที่ในเวลาเดิน ก็ไม่รู้ว่าเดินอยู่ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน มีสุนัขเป็นต้น มันทรงกายอยู่ในอิริยาบถคือท่าทางนั้น ๆ ความรู้อย่างนี้ มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายตามปกติ ไม่ใช่ความรู้ที่ต้องอบรมทำให้เกิดขึ้น แต่ความรู้ของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานหมวดนี้ เป็รความรู้ที่ต้องอบรมทำให้เกิดขึ้น เป็นไปเพื่อถอนความเข้าไปถือเอาว่าเป็นสัตว์ ที่เรียกว่า สัตตูปลัทธิ เป็นไปเพื่อทำกิเลสให้สิ้นไป เป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวงในที่สุด เพราะฉะนั้น จึงกล่าวคำว่า " ปชานาติ " นี้ มีความหมายพิเศษ จำต้องมีคำอธิบาย

คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

ประการแรก โก คจฺฉติ -- ใครเดิน, มีอรรถาธิบายว่า อาการเดิน ท่าทางที่เดิน เป็นเพียงอาการของรูปธรรมเท่านั้น รูปนั่นแหละเดิน หามีสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ในอาการเดินนั้นไม่ การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ เป็นไปเพื่อการถอนทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลผู้เดิน
ประการที่ ๒ กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร มีอรรถาธิบายว่า การเดิน คือ อาการที่เดิน ท่าทางที่เดิน ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของหญิง ไม่ใช่ของชาย ตลอดจนไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของพระกรรมฐาน เพราะว่าอย่าว่าแต่สัตว์ บุคคล หญิง ชายเลย แม้แต่ผู้ปฏิบัติหรือพระโยคีหรือพระกรรมฐานตามที่ใช้เป็นชื่อของผู้ปฏิบัตินั้น ก็หามีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ไม่ เป็นเพียงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจความ หรือใช้สื่อความหมายในเวลาที่พูดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินนี้จะเป็นของใครที่ไหนได้ ก็เป็นของรูปนั่นแหละ เพราะเป็นอาการของรูป ประการที่ ๒ นี้ หากมองเพียงผิวเผินแล้ว จะไม่เห็นความแตกต่างกับประการแรก เพราะว่าความรู้ว่า รูปเดิน ไม่ใช่คนสัตว์เดิน กับความรู้ว่าการเดินเป็นของรูป น่าจะเป็นความรู้อันเดียวกัน แต่ทว่าความจริงยังมีข้อที่แตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความรู้ในประการแรกนั้น เป็นเพียงปฏิเสธความมีอยู่แห่งสัตว์บุคคลผู้เดิน อันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่มีอยู่จริง ที่สร้างความเข้าใจผิดว่ามีผู้เดินในเวลานั้น ก็คือรูปเดินเท่านั้น ความรู้อย่างนี้กล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่ถ่ายถอนทิฏฐิคือความเห็นผิดตรง ๆ ส่วนความรู้ในประการที่ ๒ เป็นการปฏิเสธแม้ความเป็นบุคคลพิเศษ คือ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน อันพิเศษกว่าคนธรรมดา ก็ความรู้สึกว่า ตนเป็นคนพิเศษกว่าคนอื่น คือเป็นผู้ปฏิบัติเป็นต้นนี้ เป็นความเห็นผิด ที่ท่านเรียกว่า มานวินิพันธาทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิเกี่ยวกับมานะ กล่าวคือ นอกจากจะเห็นผิดด้วยทิฏฐิว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลดังกล่าวแล้ว ยังสำคัญว่าสัตว์บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นพระโยคี เป็นพระกรรมฐาน ด้วยมานะความถือตัว ความนับถือตัว เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วย และเมื่อสำคัญว่ามีผู้ปฏิบัติ มีผู้กรรมฐานอันเป็นบุคคลพิเศษอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมยังความประพฤติเป็นไปของตน ให้เป็นของพิเศษ อันเป็นของเฉพาะตน ซึ่งเป็นคนพิเศษเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้คนตามปกติอื่น ๆ นั่นก็คือ แต่งท่าทางการเดินของตนให้แปลกไปจากท่าทางการเดินของผู้ไม่ปฏิบัติ กล่าวคือ ค่อยๆ ยก ค่อยๆ ย่าง ค่อยๆ ก้าว จะยกเท้าก้าวอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อทำอิริยาบถให้ผิดปกติไปอย่างนี้ ก็ย่อมเล็งเห็นอิริยาบถที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษนี้ ว่าเป็นสาระ เป็นของดี เป็นของมีประโยชน์ อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงในรูปอิริยาบถว่า รูปเดินเป็นต้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเห็นว่า ไม่เป็นสาระนั่นเอง ย่อมมีได้ยาก เหตุเพราะเข้าไปตั้งความเป็นสาระไว้เสียก่อนแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติโดยประการที่ป้องกันมานะด้วย คือต้องมีการสำเหนียกอยู่เสมอว่า การเดินเป็นของรูปเท่านั้น ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของพระโยคี ไม่ใช่ของผู้กรรมฐาน นี้เป็นข้อที่แปลกไปจากประการแรก แห่งประการที่ ๒[/color]
---------------------
แนะแนวการปฏิบัติวิปัสสนา โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... x-page.htm

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

---------------

Hanako เขียน:
เราจะได้อะไรจากการเจริญสติลักษณะนี้บ้างหรอคะ พยายามฝึกสมาธิท่านั่ง นั่งไม่ค่อยทนค่ะ นั่งได้แป๊บๆ
---------------

ผมว่า การมีสติกับอิริยาบถต่าง ๆ เป็นการดี แต่จะให้ดีถูกต้องตามหลักวิปัสสนา คือ ต้องรู้ชัดด้วย ตามหลัก "ปชานาติ" ด้านบน ต้องรู้ด้วยว่า เป็น รูปอิริยาบถอะไร นามอะไร ความเป็นตันตน เป็นเรา เป็นสุข สวยงาม ต้องลดน้อยลง


การปฏิบัติแบบนี้ เรียกว่า วิปัสสนายานิกะ หรือ วิปัสสนาล้วน อาศัยขณิกะสมาธิ กับ รูปอิริยาบถต่าง ๆ และ นามธรรม(จิต) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเมื่อครั้งพุทธกาล ผู้บรรลุธรรมในลักษณะนี้ จะมีมากกว่า ผู้ได้สมาธิขั้นฌานมาก่อน

21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=2106


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 06:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote]การปฏิบัติแบบนี้ คือ เรารู้ตัวเรา รู้ในกาย หรือเราสะเปะสะปะกันแน่คะ สับสนว่า ถ้าใจเราเป็นไปแบบนี้ คือ รู้ไปตามอิริยาบถต่างๆเรื่อยๆ กับการที่เราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวเช่น เราเลือกดูลมหายใจก็ดูไปอย่างเดียว จะอิริยาบถไหนก็ดูแต่ลม แบบไหนที่ถูกต้องในการปฏิบัติคะ [/quote]

--------------------------

อันไหนชัดก็ดู รูปนาม นั้น ครับ

ดูลมหายใจ ก็พิจารณาดู กองลม เป็น อาการของ รูป (ไม่ใช่เราหายใจ)

เมื่อ จิตมีอาการเบื่อหน่าย ฟุงซ่าน ก็กำหนด นามเบื่อ นามฟุ้ง แล้วกลับมา ดูอิริยาบถต่อ เมื่ออยู่ในอิริยาบถใดนาน ๆ ก็มีทุกขเวทนา เข้ามาบีบคั้น ก็กำหนด นามทุกข์ก่อนเปลี่ยน อิริยาบถ และไม่พอใจ(ตัณหา) ใน อิริยาบถ ใหม่

ศึกษา หลักปฏิบัติวิปัสสนา ๑๕ ข้อได้ที่
http://abhidhamonline.org/15Principle.htm

ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm

เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm

บันไดสู่สติปัฏฐาน, ก้าวแรกของวิปัสสนา โดยหลวงพ่อเสือ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2012, 06:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ในกายตน ต้องรู้ทั่วตัวตลอดเวลาไหมคะ
------------------------------------------------------

การมี สติมา สัมปชาโณ อาตาปี ตลอดเวลา ในการปฏิบัติ ถือว่า ดีมาก ๆ ส่วนมากจะมี ความฟุ้งซ่าน ความเบื่อหน่าย เข้ามาแทรกอยู่เรื่อยเลย

ในการปฏิบัติวิปัสสนา จึงต้องไปฝึกหัดเริ่มต้น ในสถานที่ สัปปายะ มีกิจอย่างเดียว คือ กำหนดทุกข์ ที่เกิดขึ้น และมีสติกับการแก้ทุกข์ เช่น ที่บอกว่า ยืนนานแล้วปวดขาแล้วเปลี่ยนท่ายืน หากการปฏิบัติวิปัสสนาจริง ๆ ต้องโยนิโส ให้มากกว่านั้น ครับ

-------------------------------------------------------------
http://larndham.org/index.php?/topic/19 ... age__st__2

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป

- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์

๓. ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือสภาวธรรม ไม่มีบุคคล ตัวตน คน สัตว์ ชาย หญิง มีแต่ความจริงคือรูปธรรม และนามธรรม แม้แต่การปฏิบัติก็มีเพียงตัวกรรมฐาน (ผู้ถูกเพ่ง) ได้แก่ “สติปัฎฐาน ๔” กับ ผู้เจริญกรรมฐาน (ผู้เพ่ง) ที่เรียกว่า “โยคาวจร” ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ

๑) สติมา คือมีสติตั้งมั่นอยู่ที่ฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยเท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น

๒) สัมปชาโณ คือมีสัมปชัญญะ รู้ตัวเสมอว่ากำลังกำหนดอะไร ดูอะไร สิ่งที่กำหนดอยู่นั้นเป็นรูปอะไร นามอะไร

๓) อาตาปี คือต้องมีความเพียรประคองจิต ๔ ประการ คือ

เพียรละ บาปเก่าๆ ไม่ให้เกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงการถ่ายถอนทิฏฐานุสัย (ทิฏฐิ) อันเป็นบาปเก่าๆ ที่หลงเข้าใจผิดว่าชีวิตเป็น ฉัน เรา เขา ให้เอาออกไปให้ได้ ด้วยการกำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นรูป เป็นนาม

เพียรระวัง ไม่ให้ความชั่วใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยการระวังป้องกันกิเลสใหม่ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการเพียรสำรวมอินทรีย์ คือขณะเห็น ขณะได้ยิน เป็นต้น จะต้องกำหนดได้ถูกต้องว่าเป็นรูปอะไร นามอะไร

เพียรสร้าง วิปัสสนากุศลให้เกิดขึ้น ด้วยการศึกษาทำความเข้าใจ และเพียรฝึกหัดกำหนดรูปนามให้เกิดขึ้นได้เท่าทันในอารมณ์ปัจจุบัน

เพียรรักษา วิปัสสนากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพอกพูนให้มีมากขึ้น ด้วยการหมั่นระลึกรูปนามที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบันอยู่เนืองๆ

เพราะ อารมณ์ปัจจุบัน เป็นปัจจัยแก่ การทำลาย อภิชฌา โทมนัส

และ อารมณ์ปัจจุบัน จะเป็นปัจจัยทำให้เกิด วิปัสสนาปัญญา
สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นการทำลาย “ตัณหา” คือ อภิชฌา - โทมนัส และ “ทิฏฐิ”คือความเป็นฉัน เรา เขา ซึ่งทั้งตัณหา และทิฏฐิ นี้คือองค์ธรรมของอุปาทาน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด ภพ ได้แก่ กรรมภพ และอุปัตติภพ หากผู้ใดปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ได้ถูกต้อง ผู้นั้นย่อมทำลายได้ทั้ง ตัณหา อุปาทาน ภพ ซึ่งเป็นปัจจุบันเหตุ ที่จะทำให้เกิดอนาคตผล คือ ชีวิตในชาติหน้า นับได้ว่า บุคคลผู้นั้นกำลังสร้างอำนาจของการกระทำเพื่อยุติการเกิดของชีวิตได้ การกระทำนั้นก็คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร