วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2012, 14:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 21:18
โพสต์: 18


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งเริ่มฝึกนั่งสมาธิ ใจฟุ้งซ่านมากทำไม่ค่อยได้ ตอนนี้คิดว่าเริ่มให้พยายามรู้สึกการเคลื่อนไหวของลมหายใจ แล้วรู้สึกสงบก็พอ แล้วฝึกมีสติกับการกระทำทุกเรื่องในชืวิตประจำวัน ทำไม่ค่อยได้เลยคะ เวลานั่งสมาธิแรกๆจะหายใจแรงๆผ่านไปสักหน่อยจะฟุ้งซ่าน แล้วจะง่วงนอนมาก จนต้องเข้านอน มีคำแนะนำให้มือใหม่บ้างไหมคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2012, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพิ่งเริ่มฝึกนั่งสมาธิ ใจฟุ้งซ่านมากทำไม่ค่อยได้


ถ้าจิตสงบราบเรียบมีสมาธิใช้งานได้ดีแล้ว เราก็ไม่ต้องฝึกมันแล้ว ถูกไหมครับ :b1:

แต่นี่มันพยศฟุ้งซ่านคิดเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหนทั่วไปหมด เข้าบ้านนี้ออกบ้านโน่น...เราเห็นโทษนั่น จึงต้องฝึกจิตให้มีสมาธิ คือฝึกให้มันอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน เช่น การเคลื่อนไหว (อิริยาบถ) น้อยใหญ่ เช่น ยืน เดิน นั่ง กิน ดื่ม ทำ ฯลฯ :b31: ฝึกให้มันเกาะจับอยู่กับอารมณ์ดังกล่าวนั่นทุกขณะไปไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม...เบื้องต้นแนะนำอย่างนี้ก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 12:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 21:18
โพสต์: 18


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


[ภิกษุผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์กรรมฐานย่อมไม่เจริญ]

จริงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าเป็นของได้ด้วยยาก, การบรรพชาและการอุปสมบทเป็นของได้ด้วยยากยิ่งกว่านั้น. แต่พระวินัยธรควรพูดอย่างนี้ว่า เธอจงปัดกวาดโอกาสที่เงียบสงัด แล้วนั่งพักกลางวัน ชำระศีลให้บริสุทธิ์ จงมนสิการอาการ ๓๒ ดูก่อน.
ถ้าศีลของภิกษุนั้นไม่ด่างพร้อยไซร้ กรรมฐานย่อมสืบต่อ, สังขารทั้งหลาย ก็เป็นของปรากฏชัดขึ้น, จิตก็เป็นเอกัคคตา ดุจได้บรรลุอุปจาระและอัปปนาสมาธิ ฉะนั้น, ถึงวันจะล่วงเลยไปแล้วก็ตาม เธอก็ไม่ทราบ. ในเวลาวันล่วงเลยไป เธอมาสู่ที่อุปัฏฐากแล้ว ควรพูดอย่างนี้ว่า ความเป็นไปแห่งจิตของเธอเป็นเช่นไร? ก็เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดกะเธอว่า ขึ้นชื่อว่าบรรพชา มีความบริสุทธิ์แห่งจิตเป็นประโยชน์, เธออย่าประมาท บำเพ็ญสมณธรรมเถิด.
ส่วนภิกษุใดมีศีลขาด กรรมฐานของภิกษุนั้นย่อมไม่สืบต่อ, จิตย่อมปั่นป่วน คือถูกไฟคือความเดือดร้อนแผดเผาอยู่ ดุจถูกทิ่มแทงด้วยปฏัก ฉะนั้น, ภิกษุนั้นย่อมลุกขึ้นในขณะนั้นทีเดียว เหมือนนั่งอยู่บนก้อนหินที่ร้อน ฉะนั้น.
เธอมาแล้วถามว่า ความเป็นไปแห่งจิตของท่านเป็นอย่างไร?
เมื่อเธอบอกความเป็นไปแห่งจิตแล้ว ควรพูดว่า
ขึ้นชื่อว่าความลับของผู้กระทำกรรมชั่ว ย่อมไม่มีในโลก๑-
แท้จริง บุคคลผู้กระทำความชั่ว ย่อมรู้ด้วยตนเอง ก่อนคนอื่นทั้งหมด, ต่อจากนั้น อารักขเทพดาทั้งหลาย สมณพราหมณ์และเทพเจ้าเหล่าอื่น ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ย่อมรู้ (ความชั่ว) ของเธอ, บัดนี้ เธอนั่นแลจงแสวงหาความสวัสดีแก่เธอเองเถิด.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01&i=23

[กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]
กุลบุตรควรชำระศีล ๔ อย่างให้หมดจดก่อน.
ในศีลนั้นมีวิธีชำระให้หมดจด ๓ อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว ๑ ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย ๑.
จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือวัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔.
จริงอยู่ กุลบุตรใดพึงกล่าวว่า เรารักษาศีลอยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้นจักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์ ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่บำเพ็ญธรรม คืออภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
เรื่องนี้ควรให้พิสดาร.
เพราะเหตุฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.

เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความกังวล) อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่างที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น คือ
อาวาส ๑ ตระกูล ๑ ลาภ (คือปัจจัยสี่) ๑ คณะ
(คือหมู่) ๑ การงาน (คือการก่อสร้าง) เป็นที่
คำรบห้า ๑ อัทธานะ (คือเดินทางไกล) ๑
ญาติ ๑ อาพาธ ๑ คัณฐะ (คือการเรียนปริยัติ) ๑
อิทธิฤทธิ์ ๑.
กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนี้แล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=176&p=2




การปฏิบัติต้องปฏิบัติตามลำดับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)

[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 571&Z=1734


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 15:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ตาโย๊ะ เขียน:
เพิ่งเริ่มฝึกนั่งสมาธิ ใจฟุ้งซ่านมากทำไม่ค่อยได้ ตอนนี้คิดว่าเริ่มให้พยายามรู้สึกการเคลื่อนไหวของลมหายใจ แล้วรู้สึกสงบก็พอ แล้วฝึกมีสติกับการกระทำทุกเรื่องในชืวิตประจำวัน ทำไม่ค่อยได้เลยคะ เวลานั่งสมาธิแรกๆจะหายใจแรงๆผ่านไปสักหน่อยจะฟุ้งซ่าน แล้วจะง่วงนอนมาก จนต้องเข้านอน มีคำแนะนำให้มือใหม่บ้างไหมคะ

สัญญาความจำได้กับสิ่งที่รู้สัมผัสมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คิดนั่นคิดนี่ อยู่เฉยๆก็คิดเอง ปรุงแต่งเอง เวลานอกนี้ คือ เวลานอกจากที่ทำสมาธินี้พยายามฝึกไม่ให้อายตนะทั้งหลายยินดียินร้ายกับสิ่งที่สัมผัสรู้เห็นมา ทำอย่างไรล่ะ สำรวมระวังเหมือนพระท่านปฏิบัติ ท่านแนะนำสั่งสอนมา พระที่ท่านปฏิบัติดีนะ ด้วยวิธีอย่างนี้ ทำอยู่เนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่นานวันย่อมจะอยู่ปรากฏให้ชื่นชม...ทำการทำงานเยอะๆ มันเผลอนะสติน่ะ ไหนจะงาน ไหนจะคนรอบข้าง โอย นั่นน่ะ ควรระวังให้มากๆ ระวังน้อยๆ มันก็เป็นๆหายๆ.. นั่นแหละสติจึงสำคัญ ถ้าสติอยู่กับใจ สติก็ควบคุมเรื่องอื่นได้ ศีล สมาธิ ปัญญา แยกแยะเป็นหน้าที่ แต่ละชาตๆได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2012, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2012, 21:18
โพสต์: 18


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องรักษาศีล และรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ ไม่พยายามคิดปรุงแต่งสิ่งที่กระทบ ส่วนศัพท์ทางศาสนาส่วนใหญ่ยังแปลไม่ได้แต่ได้แนวทางในการทำสมาธิคะ
ขอบคุณนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2012, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ากินข้าวเย็นมากจนเกินไป จริงๆที่ง่วงเพราะจิตฟุ้งซ่านและกังวลมากๆ เลยทำให้ง่วงไว ควรจะสวดมนต์
เช่น บทพาหุง กับอิติปิโส ก่อนแล้วค่อยทำสมาธิ แล้วนั่งสักห้านาทีพอ ถ้าดีแล้วค่อยปรับเป็น10 นาที
จิตคนเราเหมือนกับจับไก่มาไว้ในเล้า จะบังคับมากก้ไม่ได้ จะไม่บังคับเลยก้ไม่ดี แต่ต้องค่อยดูแลจนกว่า
จะมีสติ พอเข้าที่ก้ควบคุมได้ :b41: 55


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร