วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ปั ญ ญ า อ บ ร ม ส ม า ธิ
พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)
วัดป่าบ้านตาด จ. อุดรธานี


ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ
ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้
ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปรามขู่เข็ญ

คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา
แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา
จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ
จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า

เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว
ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบ
เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง
ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ

ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง

เช่น ต้นไม้บางประเภท ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง
ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน
เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย
แล้วนำไปได้ตามต้องการ ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก

แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว
ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆ อีกมาก
ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้
ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดูสิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน
แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป
ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด
จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก
เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น
บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น

ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้
กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย
ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา


แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก
และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้
จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น
ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้
ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล
ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา

เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว
จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้
และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้

ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา
ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ
ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น .


เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา
อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า
สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา


ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด
รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส
แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา
ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย


คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา
อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป
ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า
มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น
เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด
เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ

แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด
เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ
ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ
คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น
ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ
ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป


ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้
คือ ความสงบ และปัญญาอันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : ปัญญาอมรมสมาธิ โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน),
พิมพ์ที่บริษัทศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, หน้า ๑๒-๑๔)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร