วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: เมื่อเกิดผัสสะในสมาธิ รู้สึกอย่างไร จิตก็เฉยๆ ไม่ยินดียินร้ายอะไร ไม่กลัว แต่ส่วนใหญ่ ก็จะรู้กลัวบ้างตอนออกจากสมาธิใหม่ๆ ในครั้งแรกๆ แต่หลังๆมา เริ่มชิน ครั้งแรกๆกลัวจนไม่อยากนอน พอตกกลางคืนแทบไม่อยากนอน ไม่อยากรู้ไม่อยากเห็น ไม่อยากให้จิตรวม เพราะบางครั้งเมื่อเข้าสมาธิก็พบเห็นสิ่งที่อยู่คนละมิติโดยบังเอิญ แต่ไม่ได้ใส่ใจ ส่วนใหญ่ดูจิตและกายตนเองเป็นสำคัญ
สิ่งหนึ่งที่อยากถามคือ การละรูปภพ และอรูปภพ ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนใช่หรือไม่ คนที่ทำแต่วิปัสสนา ไม่ทำสมถะ เขาก็ไม่ต้องละใช่ไหม? ใครตอบได้ช่วยตอบที
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 17:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: :b44:
สิ่งหนึ่งที่อยากถามคือ การละรูปภพ และอรูปภพ ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนใช่หรือไม่ คนที่ทำแต่วิปัสสนา ไม่ทำสมถะ เขาก็ไม่ต้องละใช่ไหม? ใครตอบได้ช่วยตอบที

:b44: :b44:


วิปัสสนาแบบน้ำขุ่น ๆ น่ะเหร๋อ
เขาดำไปหาอะไรล่ะ

เมื่อการเดินทางยังไม่ถึงที่สุด ใครก็ไม่อาจให้คำตอบคำยืนยันอะไรได้หรอก

จับได้เป็ดตัวนึง พอโยนขึ้นบกกลับกลายเป็น เป็ดยาง ไปน่ะเหร๋อ

การวิปัสสนา คือต้องเห็นปลา จับปลา และก็ต้องได้ปลา
ไม่ใช่ดำลงไปในน้ำคลำจับสุ่มสี่สุ่มห้า

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสภาวะของคุณ คุณจะต้องเห็นแล้ว บัญญัติ กะ สภาวะ

โดยบัญญัติ โดยภาษา มันทำงานคู่ขนานกับสัญญา สังขาร
คุณสามารถโยนสิ่งต่าง ๆ ที่บัญญัติกล่าวถึง ทิ้งได้ โดยความคิด

แต่ความคิดนั้น เป็นผลมาจากโยงใยต่าง ๆ ที่ร้อยเรียงความเป็นตัวตนเข้าไว้ด้วยกัน
คนช่างคิด คนเจ้าปัญญา อาจจะพ้นไปโดยความคิดได้

:b1: แต่จ่ะพ้นไปจากโยงใยที่แท้จริงได้รึเปล่า ล่ะ

คุณมักไปเห็นหลาย ๆ อย่างได้ในสมาธิ

:b8: เอกอนขอให้คุณเป็นผู้ที่โชคดี
ได้มีโอกาสเห็นสิ่งที่จะเป็นกุญแจนำไปสู่ความปลดเปลื้อง
ปลดอาลัยใน... :b21: ด้วยเถอด

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: สงสัย ท่อนล่าสุดนี่ ไม่ค่อยเข้าใจ คุณเอกอน ต้องการบอกว่า ไม่ให้เอาสิ่งที่รู้ที่เห็นในสมาธิมาโยงใยกับสิ่งที่เรียนรู้มาจากตำราใช่ไหม? ท่อนที่เป็นพุทธวจน อ่านแล้วเข้าใจดี ส่วนการเห็นโน่นนั่นนี่ในสมาธิ มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของจิต เพราะการเห็นด้วยจิตมันต่างจากเห็นด้วยตาเนื้อ การเห็นของจิตมันไม่มีความมืด มันทะลุทะลวงมิติ นี่คือเหตุ

:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 12:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


โยงใย

จริง ๆ งงกับคำถามที่คุณถาม
แต่พออ่านคำถามเสร็จ
เราเห็น "เขาสิเนรุ" ปรากฎ

แล้วเราจะตอบยังไงล่ะนี่... :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: เอาแบบตรงๆ นะคะ ไม่อ้อม ไม่ต้องเปรียบเทียบ ประมาณนี้ได้ไหม เพราะดิฉันก็แค่ชาวบ้านท่ีไม่ได้เรียนรู้ ไม่เคยสนใจเกี่ยวกับธรรมมาก่อน เข้าใจอะไรยากสักหน่อย ถ้าเป็นเด็กนักเรียนก็คงอยู่ปลายแถว

:b44: การเห็นนั่นนี่ในสมาธิก็ไม่ยึดติดอะไร เพียงแต่อยากเล่าประสบการณ์ที่ตนเองประสบมาจากการปฏิบัติ เผื่อใครเข้ามาอ่านกระทู้นี้ แล้วเมื่อตนเองมีประสบการณ์ประมาณนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ไม่ใช่สิ่งวิเศษอะไรที่ควรยึดติด

:b44: สิ่งสำคัญที่สุดในการปฎิบัติ คือความโลภ โกรธ หลง มันค่อยๆ หมดไปหรือไม่ นั่นเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

นั่นคือตอบแบบตรง ๆ แล้วล่ะ
เช่นเดียวกับที่คุณเข้าไปในสมาธิและเห็นอะไรในนั้นคุณก็เอามาเล่าตรง ๆ นั่นล่ะ

ซึ่งพออ่านคำถามคุณจบ เกี่ยวกับที่คุณต้องการให้เราขยายความให้ความชัดเจนเกี่ยวกับ โยงใย
เราก็เห็นภาพ เขาสิเนรุ ปรากฎขึ้นในมโนภาพ หง่ะ
หวังว่าคุณคงเข้าใจนะ แบบเหมือนอยู่ ๆ ก็เหมือนแสงแฟล็ชแฟล็บเข้าตา
และปรากฎภาพ เขาสิเนรุ
เราก็บอกว่า เราเห็นภาพเขา สิเนรุ น่ะ

:b12:

จากกรรไกรตัดเล็บ ถึง เขาสิเนรุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกอน คงต้องขอโทษด้วย
ถ้าทำให้คุณสงสัย
เห็นคุณเข้ามาเล่าประสบการณ์แบบเรื่อย ๆ สบาย ๆ
เอกอนก็เลยเข้ามาร่วมแบ่งปันรับฟัง
แต่สงสัยกลับกลายจะมาทำให้คุณคิดมาก สงสัยไปซะนี่
งั๊นคงต้องขอโทษด้วย นะคะ

:b8: :b8: :b8:

งั๊นเอกอนควรรับฟังคุณไปเงียบ ๆ ดีกว่า

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 12:36
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. ราหุลสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการรู้การเห็นที่ไม่ให้มีอหังการมมังการและมานานุสัย
[๒๓๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
พระเจ้าข้า เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอ อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกาย
ที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกจึงจะไม่มี?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขาร
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ บุคคลพิจารณาเห็น
วิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อหังการ มมังการ
และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก จึงจะไม่มี.
จบ สูตรที่ ๙.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๐๒๙ - ๓๐๔๔. หน้าที่ ๑๓๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
… ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ การไม่มนสิการถึง
นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอัน
ไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือการมนสิการถึง
นิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)
ในเบื้องต้น ๑ ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.
ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือการไม่มนสิการถึงนิมิต
ทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มี
นิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
[๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มี
อะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน
และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?
สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถ
ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน? ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป
สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.
เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตน-
*ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี
ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้ นี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอัน
ไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มี
นิมิต.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็น
ไฉน? ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุ
ผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมี
อารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจาก
โมหะ. ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็น
ต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว
ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ
ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้น
นั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่
ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า
เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ
ว่างจากโมหะ.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียง
พยัญชนะเท่านั้น.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ มหาเวทัลลสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๒๒๐ - ๙๔๑๙. หน้าที่ ๓๗๙ - ๓๘๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

“....
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี….”

จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๔๒๐ - ๙๖๐๑. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... &pagebreak

จขกท. ละสักกายทิฏฐิทุกๆ ข้อให้ได้ก่อนแล้วสังโยชน์ข้ออื่นๆ ก็จะง่ายไปเอง การละสักกายทิฏฐิในเบื้องต้นที่ผู้ปฎิบัติธรรมละได้ก็คือรูป ส่วนการละสักกายทิฎฐิในส่วนของนามคือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นก็ค่อยๆเพียรปฎิบัติไปซึ่งเมื่อเราเพียรปฎิบัติสิ่งที่เราจะรู้ชัดก็คือทั้งรูปและนามทั้งหมดสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนก่อนถึงจะละได้ การที่ยังเห็นรูปในนิมิตว่าเป็นเราเรามีอยู่ในนั้นคงจะละสักกายทิฎิฐิยังไม่ได้ทั้งหมด ลองละนิมิตทั้งหมดก่อนซึ่งก็คงใช้เวลาไม่นานนักแค่สองสามครั้งก็น่าจะตัดได้ถ้าตั้งใจละนิมิตจริงๆ อย่างมากไม่น่าจะเกินครึ่งเดือนถ้าความเคยชินในการทำสมาธิที่มีนิมิตมีอยู่มาก วิธีละก็อย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ให้แล้ว
ขออนุโมทนาในความตั้งใจปฎิบัติธรรมด้วยขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2012, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: ขอบคุณ Joomla ละสักกายทิฏฐิข้อเดียวก็ยากแล้ว สำหรับคนที่ยังต้องทำงานอยู่ ทำได้เพียงแค่มันเบาบางลงไปนะพอได้ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 07:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b39: :b39: สวัสดีค่ะกัลยาณมิตรทุกท่าน วันนี้มีข้อข้องใจมาถาม
จากการฝึกสติของตัวดิฉันเอง คือตามรู้กายที่เคลื่อนไหว เวลาเดินก็ตั้งใจเดินอย่างมีสติ ก้าวเท้าไป วางเท้าลงอย่างมั่นคง ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำหน้าที่ในการเดิน เวลาใช้มือทำงานหยิบโน่น-ทำนี่ก็ระลึกรู้อยู่ตลอด มีสมาธิอยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน เวลาขับรถก็ระลึกรู้ว่าตนเองกำลังขับรถจะตั้งใจขับอย่างระมัดระวังที่สุด
เวลาว่างไม่ทำอะไร ก็มารู้อยู่กับลมหายใจ เวทนาทางกาย ดูเวทนาทางจิต
ช่วงก่อนนอน วันเสาร์-อาทิตย์ก็อ่านหนังสือธรรมมะบ้าง ฟังธรรมมะบ้าง แล้วก็ใคร่ครวญไปตามธรรม
สังเกตว่ามันมีสภาวะหนึ่งที่มันเกิดขึ้นกับตนเอง ยกตัวอย่าง เช่น
1.ขณะรู้อยู่กับลมเข้า-ออกอยู่ดีๆ สภาวะรู้มันก็ดับวูบไป ภายในเสี้ยววินาที มันก็กลับมาสู่สภาวะรู้เหมือนเดิม
2.ขับรถอยู่ดีๆอย่างมีสติไม่ง่วง สภาวะรู้มันก็ดับวูบไป ภายในเสี้ยววินาที มันก็กลับมาสู่สภาวะรู้เหมือนเดิม
3.ฟังธรรมมะอยู่คิดตามไป อย่างมีสติ สภาวะรู้มันก็ดับวูบไป ภายในเสี้ยววินาที มันก็กลับมาสู่สภาวะรู้เหมือนเดิม
ช่วงแรกๆๆ ที่เจอสภาวะแบบนี้ก็คิดว่าตัวเอง หลับในหรือเปล่า หรือว่าขาดสติไป ตามดูอยู่บ่อยๆๆอย่างมีสติจึงรู้ว่าสภาวะรู้นี่มันดับไป ภายในไม่ถึงเศษเสี้ยวของวินาทีมันก็เกิดขึ้นมาใหม่ ช่วงรอยต่อระหว่างการดับกับการเกิดมันสั้นมากๆ (มันเป็นช่วงเวลาของชีวิตที่หายไป ไปไหนไม่รู้ เหมือนไม่มีตัวเรานี่อยู่บนโลกใบนี้)
:b10: :b10: :b10:


แค่อาการจิตจะรวมเท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: ขอบคุณ Potikul ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ จิตรวมตอนกำลังขับรถนี่คงอันตรายน่าดู
ดิฉันก็เคยคิดว่าอาการอย่างนี้คือจิตกำลังจะรวม แล้วต้องพยายามเบรคเอาไว้ก่อน บางครั้งนั่งทำงานมาทั้งวันด้วยความมีสติ พอล้มตัวนอนหัวยังไม่ทันถึงหมอนจิตจะรวมมาพรึบเลย บางครั้งจะรวมเร็วมากจนตกใจ :b48:
:b44: แต่ไม่คิดว่าการเจริญวิปัสสนา จิตจะรวมง่ายเหมือนนั่งสมาธิ นอนสมาธิ :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b12: ขอบคุณ Potikul ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ จิตรวมตอนกำลังขับรถนี่คงอันตรายน่าดู
ดิฉันก็เคยคิดว่าอาการอย่างนี้คือจิตกำลังจะรวม แล้วต้องพยายามเบรคเอาไว้ก่อน บางครั้งนั่งทำงานมาทั้งวันด้วยความมีสติ พอล้มตัวนอนหัวยังไม่ทันถึงหมอนจิตจะรวมมาพรึบเลย บางครั้งจะรวมเร็วมากจนตกใจ :b48:
:b44: แต่ไม่คิดว่าการเจริญวิปัสสนา จิตจะรวมง่ายเหมือนนั่งสมาธิ นอนสมาธิ :b44:


ขออนุโมทนากับการปฏิบัติด้วยนะครับ

การจับสติทั้งวันนั้น ที่จริง เหนื่อยมาก จะต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมากด้วย

การเจริญสติแบบนี้เป็นข้อห้ามขณะขับรถครับ เพียงแต่ให้มีสติขณะขับเท่านั้น

ต้องบังคับไ่ม่ให้รวม

อย่างที่ทำนี้ยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาหรอกครับ เพียงแต่เป็นการเจริญสติ

เพราะการเจริญวิปัสสนานั้น กายกับจิตต้องแยกกัน ถึงจะเป็นวิปัสสนาแท้ ส่วนใหญ่ที่ทำกัน เป็นวิปัสสนึกเอามากกว่า ทึกทักเอาเองมากกว่า ว่าการเห็นอาการของจิต หรือ กิริยา ที่เราเคยเห็นครูบาอาจารย์ท่านเรียกกัน เป็นการทำวิปัสสนา อย่างกับการเห็นไตรลักษณะนั้น ต้องเห็นด้วยจิตที่มีกำลัง สติมาก และสัมปชัญญะมาก พอ ถึงจะเห็นการเกิดดับ หรือ เห็นไตรลักษณะนั้นเอง

อันนี้พูดตามประสบการณ์ที่ปฏิบัติมานะครับ ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ

ขอให้เจริญในธรรมนะครับ

อ้อ ผมใช้วิธีเจริญสติ ด้วยการดูลม เข้า ออกเหมือนกัน เพียงแต่ผมดู รู้อยู่เฉพาะเข้าออก เท่านั้น ยังปฏิบัติไม่ได้ไกลมากนะครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ปลีกวิเวก เขียน:
tongue สวัสดีค่ะคุณ จขกท

จิตผู้รู้ ก็เป็นเพียงสภาวะธรรมที่เกิดและดับอยู่ตลอดเวลาเช่นกันผู้ที่ฝึกฝนบ่อยจะรู้และเข้าใจไปเอง

ขอเจริญในธรรม :b8:

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:



:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเรียนรู้สเกลของเขาสิเนรุ ภพภูมิทั้งหมดกับจักรวาลวิทยาจะไม่งง ว่า กายภายในต่างๆ มันซ้อนกันได้อย่างไรภพภูมิมันซ้อนกันได้อย่างไร และจะเข้าใจ อะไรๆได้มากขึ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร