วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 07:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b42: :b42: :b42: วิธีเพิกสมมุติบัญญัติ :b42: :b42: :b42:
:b48: พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) :b48:

นมตฤ รตนตตยสส
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอความผาสุกความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติทั้งหลาย


....ต่อไปนี้จะได้ปรารภธรรม ตามหลักธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อส่งเสริม สติ ปัญญา ของท่านผู้ปฏิบัติธรรม ...พึงตั้งใจ ด้วยสติ สัมปชัญญะ เจริญสติพร้อมกับการฟังธรรม เจริญสติ ต้องให้มีความตั้งใจ ถ้าไม่ตั้งใจที่จะเจริญ สติก็จะไม่เกิด....ตั้งใจว่าจะเป็นผู้เจริญสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่เลือกเวลา เลือกโอกาส หัดเป็นผู้ระลึกรู้อยู่ทุกระยะ ร่างกายจะอยู่ในอิริยาบถใด แม้ว่าไม่ได้นั่งขัดสมาธิ หรือไม่ได้นั่งอยู่ในท่าเรียบน้อย กำลังขยับตัว กำลังงอแขน-ขา อยู่ในท่าใดก็ตาม ก็หัดเป็นผู้ระลึกรู้สึกตัว ในท่า ในความรู้สึก ถ้ารู้ในท่าทางก็เรียกว่า ยังอยู่ใน"สมมุติ" การรู้สมมุติ แต่ก็เป็นสติ เป็นสติปัฏฐานอยุ่ ถ้ารู้ถึงความรู้สึก ก็เป็นการรู้ "ปรมัตถ์" เป็นไปเพื่อปัญญา ปรมัตถ์ ก็คือ สภาวะที่เป็นจริง ธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ เรียกว่า "ปรมัตถ์" หรือว่า ความจริงโดยแท้ สภาพที่เป็นจริงโดยแท้ เป็นปรมัตถ์ ถ้าแปลโดยหลักวิชาการ ท่านว่า..ธรรมชาติปรมัตถ์ คือธรรมชาติอันประเสริฐ คือไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใด และเป็นธรรมที่เป็นประธาน ในอัตถะบัญญัติและนามบัญญัติทั้งปวง ทั้งนี้แปลโดยวิชาการที่ท่านแปลไว้ แม้ว่าจะฟังไม่รู้เรื่อง...ธรรมชาติอันประเสริฐ ธรรมอันประเสริฐ ประเสริฐอย่างไร..?? คือไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใด อ้าว...? คำว่า "ไม่มีการผิดแปลกผัแปร หมายถึงมันเที่ยงอยู่อย่างนั้นหรือ..? ก็ไม่ใช่ (ต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 20 ส.ค. 2010, 17:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...รูป นาม ปรมัตถ์ ที่เป็น จิต เจตสิก รูป นี่ มีความเปลี่ยนแปลง เกิด ดับไม่เที่ยง อ้าว...? แล้วทำไมมแปลว่า ถ้ามันประเสริฐ คือ ความไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใด...คำว่า"ไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใดนั้น " หมายถึง โครงลักษณะ โครงลักษณะของมันอยู่ มันมีลักษณะอย่างไรมันก็คงลักษณะอยู่อย่างนั้น และรูปต่างๆ นามต่างๆ มีลักษณะประจำตัวของมันอย่างไร มันจะคงลักษณะของมันอย่างนั้น ไม่มีการผิดเพี้ยนเป็นอย่างอื่น แม้ว่าจะเกิดกี่ครั้งๆ แม้ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม ชาตินี้ ชาติไหนก็ตาม ปรมัตถธรรมนี้จะคงลักษณะของมันอยู่อย่างนั้น มันมีลักษฯอย่างไร ก็คงลักษณะของมันอย่างนั้น ไม่มีการผิดเพี้ยนเป็นอย่างอื่น ท่านจึงว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ "ปรมัตถ์" ยกตัวอย่างเช่น....รูปไฟหรือ เตโชธาตุ ธาตุไฟ จะมีลักษณะร้อน หรือ ร้อนน้อย ก็คือ เย็น เย็นนั้นก็คือ ร้อนน้อย ไฟ นั้นก็คือ ความร้อน ไฟไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดกับใครที่ไหน ก็จะต้องคงลักษณะของมันอยู่ คือ ความร้อน หรือ เย็น จะผิดเพี้ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นี่...ปรมัตถ์ มันจะเป็นสภาพอย่างนั้น ดิน หรือ ปฐวีธาตุ จะมีลักษณะแค่นแข็ง ถ้าแข็งน้อย ก็เรียกว่าอ่อน อ่อนก็คือยังแข็ง...แข็งน้อย ดิน หรือปฐวีธาตุ เกิดขึ้นกับใคร ที่ไหน เมื่อไร ก็จะต้องคงลักษณะอย่างนี้อยู่ ลักษณะความแค่นแข็ง จะผิดเพี้ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นี่...ปรมัตถ์ มันเป็นอย่างนี้... ท่านแปลว่า ธรรมอันประเสริฐ คือไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใด คือมันคงลักษณะของมันอยู่.. ไม่เหมือน สมมุติ ...สมมุตินี่มันผิดเพี้ยนไปตามเรื่อง..ตามราว ..แล้วแต่จะสมมุติกันไป แต่ปรมัตถ์ นี้คงที่ลักษณะของมัน... ลม หรือว่าวาโย ธาตุ มีลักษณะ ตึง เคร่งตึง ลมจะมีลักษณะเคร่งตึง เข้าไปอยู่ในที่ใด ที่นั้นจะรู้สึก ตึง อัดไปอยู่ในลูกฟุตบอล ลูกฟุตบอลก็ตึง สูดเข้าไปทรวงอก ในปอด หน้าอกก็ตึง พองตึง.....พอคลายลมออก ตึงน้อยลง ตึงน้อยลง ก็เรียกว่า หย่อน...หย่อนก็คือ ตึงน้อย..(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ฉะนั้นลม จะมีลักษณะเคร่งตึง จะเกิดกับใคร เมื่อไหร่ ที่ไหน ชาติไหน กับใครก็ตาม ลมก็จะแสดงลักษณะเคร่งตึง ไม่มีการผิดเพี้ยนเป็นอย่างอื่น นี่...ปรมัตถ์เป็นสิ่งที่คงสภาพ ลักษณะของมันอยู่ มันจึงคงมนต่อการพิสูจน์ พิสูจน์เมื่อไหร่ก็พิสูจน์ได้เหมือนกัน จะเป็นสมัยพระพุทธเจ้า..ก่อนพระพุทธเจ้า...องค์ปัจจุบัน หรือ สมัยปัจจุบันนี้ หรือ จะไปสมัยหน้าต่อไป ปรมัตถธรรมยังคงสภาพของมันอย่างนี้อยู่ และมันก็เป็นธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาน เหล่านี้ มันเป็นธรรมชาติ คำว่า ธรรมชาติก็คือ ปฏิเสธ ความเป็น สัตว์ บุคคล เป็นตัว เรา เขา พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ไม่ได้ไปสร้างอะไร ไม่ได้ไปสร้างธรรมชาติขึ้นมา ธรรมชาติเขามีเป็นอยู่อย่างนี้อยู่แล้ว เพียงพระพุทธเจ้าเข้าไปพิสูจน์ได้ ไปรู้ ไปเห็น ไปเข้าใจ สภาพของธรรมชาติตามความเป็นจริง...เมื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริงก็ละ ความเห็นผิด ยึดมั่น ถือมั่น ละความหลง ละความ โลภ โกรธ หลง ก็พ้นทุกข์ เมื่อพระองค์พ้นทุกข์แล้ว พระองค์ก็สั่งสอน นำมาสั่งสอน นำมาถ่ายทอด ผู้ฟังปฏิบัติตามแล้วก็ได้รับผลจริง พิสูจน์แล้วก็เป็นจริง อย่างนี้ ก็พากันพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้าไป เรียกว่าเป็น สาวก เป็นสงฆ์สาวก ตกทอดมาถึงพวกเรานี้ เราก็ต้องพยายามที่จะฟัง ศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้า แล้วก็ลงมือพิสูจน์ ปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมชาติ ให้เห็นความเป็นจริง ไม่ได้ไปทำอะไรขึ้นมา ไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมา เหมือนกับที่เราปฏิบัติ ธรรมชาติเขาเป็นยังไง เขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น เพียงแต่เข้าไปรู้ ไปดูให้เห็น ความเป็นจริงของธรรมชาตินี้....ธรรมชาติ เรียกอีกอย่างว่า ปรมัตถ์
ปรมัตถธรรม หรือ ธรรมชาติ ปรมัตถ์นั้นแปลว่า ธรรมอันประเสริฐ...ประเสริฐอย่างไร..?คือ ไม่มีการผิดแปลกผันแปรแต่อย่างใด ไม่มีผิดแปลกผันแปร หมายถึง คงลักษณะของมันอย่างนั้น ธาตุน้ำหรือ อาโปธาตุ มีลักษณะเอิบอาบ ไหล เกาะกลุ่ม มันก็คงลักษณะของมันอย่างนั้น ประสาทตา เป็นความใส ในการรับสีต่างๆ (ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ประสาทหู เป็นความใสในการรับเสียง...ประสาทจมูกคือความใสในการรับกลิ่น ประสาทลิ้นก็เป็นความใสในการรับรส ท่านใช้คำว่าประสาท ประสาทก็คือ มันมีความใสอยู่ ฉะนั้น มันก็คงลักษณะของมันอย่างนี้ ประสาทตาของใครก็รับได้แค่สี...ประสาทหูของใครก็รับได้แค่เสียง....ประสาทจมูกไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไร ที่ไหน ก็ยังต้องรับกลิ่นเท่านั้น ประสาทลิ้น ก็รับรสเท่านั้น นี่...มันคงลักษณะของมันอยู่เท่านี้ จึงเรียกว่าไม่มีการผิดแปลกผันแปร...เรียกว่า ปรมัตถธรรม..ปรมัตถธรรมมันเป็นสัจจะ เป็นความจริง อย่างนี้มันไม่เลื่อนลอย ไม่เหมือน บัญญัติ...บัญญัติโดยสัตถะบัญญัติ หรือนาม บัญญัติ คือการตั้งชื่อ...เรียกชื่อ....เรียกก็เรียกกันไปแล้วแต่ใครจะตั้งเรียก คนจีนเรียกไปอย่าง...คนไทยเรียกไปอย่าง ชาวเขาเรียกไปอย่าง ไม่เหมือนกัน ....สิ่งๆเดียวกันแหละ แต่ก็แล้วแต่จะเรียก...ถ้าเราไม่ไปรู้สมมุติเขา เราก็คุยกันไม่รู้เรื่อง
แต่เรื่องปรมัตถ์ นี้ ใครๆเข้าไปรู้ ไปพิสูจน์ ได้เหมือนกันหมด...ไม่ว่าจะเป็นคนไทย จีน ฝรั่ง พิสูจน์ได้เหมือนกันหมด เพราะมันเป็นสัจจะ เป็นความจริงที่คงทนต่อการพิสูจน์
แต่สมมุตินี้มันไม่แน่นอนอะไร เป็นของปลอม เป็นเรื่องแต่งตั้ง สมมุติแปลว่า แต่งตั้ง ตกลง ยินยอมขึ้นมา ชื่อ...ภาษาต่างๆ แล้วแต่จะตั้งกันขึ้นมา แม้แต่ความหมาย แม้แต่รูปร่าง สันฐาน มันก็ยังเป็นสมมุติ ที่จิตมันสมมุติขึ้นมา มันปรุง มันสร้าง มันประดิษฐ์ขึ้นมา เวลามองเห็นก็มองเห็นแค่สีต่างๆ เวลาฟังเสียงก็ได้ยินแค่เสียงต่างๆ แต่จิตมันสมมุติ..มันปรุง...มันสร้างประดิษฐ์ มันรวบรวม..ตีความหมาย สร้างภาพขึ้นมา เป็นมายา เวลาเห็นปุ๊บ...นี่..มันก็รวบรวมสีในจุดต่างๆ ออกมาเป็นสัณฐาน...แล้วก็บอกสัณฐานนั้น เรียกชื่อได้ตามสมมุติ ตีความหมายของสิ่งเหล่านั้นได้ ว่ามันหมายความว่าอย่างไร...เช่น เห็นภาพ นาฬิกา ...ที่จริงมันไม่ได้เห็น นาฬิกาหรอก ก็เห็นสีต่างๆ แล้วก็ประมวลออกมาเป็นรูปร่าง แล้วก็ตีความหมาย ตาม สัญญา ตามประสบการณ์ นั่นแหละมันเป็นสมมุติแหละ(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ปรมัตถ์ ก็คือ...แค่เห็น เห็นแค่สีต่างๆ ...นี่...ถ้าหากเราไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไม่รู้เรื่องเลย... จะไม่รู้ว่าที่เห็นอยู่น่ะ เห็นเป็นรูปร่าง...เห็นเป็นความหมายอะไรต่างๆ เป็นเรื่องสมมุติทั้งหมด....นี่...การปฏิบัตินี้เราจะต้องย้อนสู่รอยเดิม ของธรรมชาติ...แท้ๆ..ไม่ให้ไหลไปตามความปรุงแต่ง ของจิตที่จะสมมุติอะไร ต่อมิอะไรขึ้นมา ปรมัตถธรรม นอกจากจะแปลว่า ธรรมอันประเสริฐ คือ ไม่มีการผิดแปลกผันแปร แต่อย่างใดแล้ว ปรมัตถ์ ยังเป็นธรรมที่เป็นประธาน ของอัตถบัญญัติและนามบัญญัติ ...เป็นประธาน..คือ เป็นแก่น..เป็นแกน...แล้วก็สมมุตินี้มาสวมใส่ มาแต่ง..มาสวมใส่อีกที...เหมือนกับเสานี่...ตัวปรมัตถธรรมจริงๆ มันประกอบด้วย หิน ปูน ทราย น้ำ ผสมกัน เนี่ย...แล้วมันก็สมมุติว่าเป็นเสา..เป็นรูปร่าง..สันฐาน เป็นเสา...เสาก็ดี....ชื่อของมัน...ความหมายของมัน รูปร่างของมัน มันมาสวมใส่...แต่ตัวแก่นแท้ที่เป็นประธานอยู่ ก็คือ อิฐ หิน ปูน ทราย และ น้ำ เป็นตัวปรมัตถธรรม ร่างกายนี้ก็เหมือนกัน ตัวปรมัตถ์มันมีอยู่ คือ ดิน..ประกอบด้วย ดิน...ด้วยน้ำ ..ด้วยไฟ..ด้วยลม มีประสาทตา...ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย มีสี..มีกลิ่น,..มีรส มีอาหารอยู่...มีความเป็นหญิง เป็นชาย มีหทัยวัตถุ รูปหัวใจ..มีรูปชีวิต..มีรูปอาหาร เหล่านี้มันประกอบ...ปรมัตถธรรมเหล่านี้ พูดย่อๆ ว่า มันมี ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันอยู่ สมมุติ แห่งความเป็นแขน เป็นขา เป็นร่างกาย เป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย ชื่อนั้น..ชื่อนี้ จึงเกิดขึ้น เป็นสมมุติขึ้นมาแล้ว ตัวปรมัตถ์แท้ๆ นั้น มันเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาน ตา หู จมูก ลิ้น เหล่านี้ มันเป็น ปรมัตถ์ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ อะไร...ฉะน้น ปรมัตถ์ ท่านจึงบอกว่าเป็นธรรมที่เป็น ประธาน ของอัตถและนามบัญญัติทั้งปวง นามบัญญัติก็คือชื่อ เรียก...ว่า คน เรียกชื่อ นายดำ นายแดง..เรียกว่าหญิง..เรียกว่า ชาย เรียกว่า ขา เรียกว่า ศรีษะ แล้วแต่..(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น...ตัวปรมัตถ์เป็นประธาน ประธานของสมมุติ...ความหมายเกิดขึ้น...รูปร่างสันฐานเกิดขึ้น ปรมัตถ์ ..ปรมัตถ์ ต่อๆกันไปเป็นกลุ่มๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นกลุ่มๆ มันก็เกิดมีสันฐานขึ้นมา เหมือนกับเมล็ดทรายแต่ละเม็ดๆ ละเม็ดๆ ไปก่อๆ มันก็มีรูปร่างเป็นกองทราย เสานี้ก็เหมือนกัน มันมีส่วนย่อยๆ อีก อิฐ หิน ปูน ทราย เหล่านี้ เกาะๆ มันก็กลายเป็นรูปร่างสันฐาน...รูปร่าง-สันฐาน นี้ เป็นสมมุติ จะพูดละเอียดลงไปอีก...หินก้อนหนึ่งก็ยังประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ในนั้น ละเอียดย่อยลงไป ทรายเม็ดหนึ่งเล็กๆนั้น ก็ยังมี ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ในนั้น มี ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอาหาร มีกลิ่น มีรส มีสี กลิ่น รส อาหารอยู่ในนั้นนะ...ฉะนั้นรูปที่เล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี้ ก็ยังมีรูปหลายชนิด รวมๆ กันอยู่ ในปรมาณูหนึ่ง ฉะนั้นพอมันหลายๆ ขึ้นมารวมๆ ก็เป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วจึงเป็นสันฐาน สันฐาน มันเป็นสมมุติ ย่อยลงไปมันเป็นปรมัตถ์ ดิน น้ำ ลม ไฟ ต่างๆ ท่านจึงบอกว่า...ปรมัตถ์เป็นธรรมที่เป็นประธานของอัตถะนามบัญญัติทั้งปวง....นี่..เวลาปฏิบัตินี่ เราจะมาพิสูจน์ ปรมัตถธรรม พิสูจน์ความจริง เราก็ต้องเพิกสมมุติออกไป เพิกรูปร่างออกไป เพิกความหมายออกไป เพิกชื่อ ภาษาออกไป เพราะมันเป็นสมมุติ...เข้าไปสู่แก่นแท้ของความเป็นจริงตามธรรมชาติ ถึงจะได้สำเร็จประโยชน์..เหมือนเราจะกินมะพร้าว...น้ำมะพร้าวเนี่ย..เราก็ต้องปลอกเอาสิ่งที่มันไม่ใช่ออกไป...เปลือกออกไป ทุบกะลาออกไป ไม่ใช่จะกินมะพร้าวก็ฉีกเปลือกกิน...ยังงี้มันก็ไม่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง...ก็เหมือนกัน...ปฏิธรรมต้องการจะไปรู้แจ้ง ความเป็นจริง..ก็ต้องลอกสมมุติออกไป ในมะพร้าวยังมีเปลือก เห็นจริงๆ แต่ไอ้บัญญัตินี่...มันไม่มีจริง แต่มันถูกสร้างขึ้นมาให้รู้สึกว่า เป็นจริงเป็นจัง อย่างที่เรานั่ง และนึกเห็นเป็นรูปเป็นร่างตัวเอง เห็นเป็นท่านั่ง รูปของสันฐาน แขนขา หน้าตา จะเห็นเป็นเราๆ เป็นก้อน เป็นส่วนๆไป ที่เราเห็นดูมันเป็นจริง เป็นจัง เป็นตัวตนขึ้นมา แท้ที่จริงมันสร้างขึ้นมา มันประดิษฐ์ขึ้นมาจากจิต จิตมันนึกๆ มันจำ (ต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 14:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....มันนึกมันจำ...อย่างรวดเร็ว มันก็ประมวล แล้วก็ฉายออกมาเป็นรูปร่าง เหมือนอย่างเขาฉายภาพบนจอ...จอทีวี..จอคอมพิวเตอร์ ฯลฯ อะไรก็ตาม มันก็ฉายเอาสีฉาบขึ้นไป จากจุดๆ ๆ เล็กๆ ต่างๆ มารวมๆ มารวมต่อๆ ได้เป็นสันฐาน เป็นรูปคน เป็นตัวหนังสือ แล้วก็ไปตีความหมาย แปลความหมายออกไป ไอ้ตัวปรมัตถ์นั้นก็คือ สีต่างๆ จุดเล็กๆ ๆ ๆ นั้นหล่ะตัวปรมัตถ์ ค สัตว์ สิ่งของ เป็นเรื่องไปใส่เอาเอง ไปสร้างตีความหมาย ชีวิตร่างกาย ของสัตว์ ทั้งหลาย ก็เหมือนกัน จิตมันสร้าง มันตีความหมาย มันประมวลมาเป็นสมมุติ พอปรมวลมาเป็นรูปร่างมันก็เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ยึดถือ นี่แหละเรา นี่แหละของเรา ฉะนั้น จะทำลายความยึดมั่น ถือมั่น ความเห็นผิด ก็ต้องกะเทาะเพิกสมมุติออกไปทั้งหมด ให้มัน จด สภาวะปรมัตถ์ให้ได้ โดยเข้าใจว่า ...รูปร่างสันฐานนี่ มันเป็นสมมุติเพิกออกไป เพิกยังไง..? ก็คือ อย่าไปนึกสร้างขึ้นมา ถ้าเราไปนึกๆ ๆ มันก็ออกมาเป็นรูปร่าง ต้องไม่นึก ถ้านึกเมื่อไหร่ เดี๋ยวมันก็ประดิษฐ์ออกมาเป็นรูปร่าง ไว้แค้ระลึก...ระลึกคือสติ ระลึกแล้วก็ไม่นึกอะไร ระลึกสัมผัส ระลึกที่ความรู้สึก ไม่นึก ไม่สร้าง ไม่ประดิษฐ์อะไร มันก็จะไประลึกกับความรู้สึก ให้ความรู้สึกนั้น ก็ไม่เป็นรูปร่าง เป็นแต่รู้สึก เมื่อไม่มีรูปร่างมันก็ไม่เห็นเป็นตัวเป็นตน ท่านจึงบอกว่า....คณะสัญญา ความจำ เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวบัง อนัตตา ความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นอนัตตา แต่ไม่เห็น...สัตว์โลกทั้งหลายไม่เห็น อนัตตา กลับเห็นเป็น อัตตา เป็นตัวเป็นตน เพราะอะไร...เพราะคณะ สัญญา มันบังหรือว่า...คณะบัญญัติ...ความจำ... ความสร้างเป็นกลุ่ม เป็นก้อนไว้... ดูไปที่ตัวเอง มันเป็นกลุ่มเป็นก้อน มันก็ต้องเป็นตัวเป็นตน ฉะนั้น ต้องตีคณะสัญญา ให้มันแตก ตีคณะบัญญัติให้มันแตก....รื้อ ทำลายออก....ก็ไม่ได้ไปทำลายด้วยอะไรหรอก...เพียงไม่ไปนึก...ไม่ไปนึก ๆ ไปสร้างขึ้นมา...ไปสร้าง ไม่ไปจดไปจำมัน ไอ้ที่สร้างที่จด ที่จำ มันก็เกิดสมมุติขึ้นมา ให้ระลึกกันตรงๆ ไม่ต้องนึกคิดอะไร ระลึกไปที่กาย ก็ไประลึกกับความรู้สึก....(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ไปรู้เย็น ..รู้ร้อน...รู้อ่อน...รู้แข็....รู้หย่อน...รู้ตึง...รู้สึกเจ็บ...ปวด เมื่อย ชา คัน.. ร้อน..หนาว..สบาย...ไม่สบาย แต่ละจุดย่อยๆ รู้เย็น ก็รู้สึกแค่ตรงนั้น...ก็เห็นมันหมดไปตรงนั้น และไม่ต้องนึกอะไร แค่รู้ รู้สึก.. ไอ้ความรู้สึกเย็นน่ะ..ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่างอะไร...ไม่ได้เป็นแขนเป็นขา...ความตึงก็แค่รู้สึกตึง ไม่เป็นแขนเป็นขา ถ้าไม่นึก...ถ้าไปนึกมันก็จำเป็นรูปเป็นร่าง สมมุติเกิดขึ้นอีก... เอาแค่ระลึก ระลึกๆ ระลึกๆ ในจุดย่อยๆ ย่อยๆ ไป น่ะ...จนชำนิ..ชำนาญ ก็จะทำให้ระลึกแค่ความรู้สึก ไม่นึก ขยายออกเป็นรูปร่าง คณะบัญญัติก็ไม่เกิดขึ้น ความจำเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็ไม่เกิด... ไม่เป็นท่อน..เป็นผืน..เป็นแผ่น เป็นรูปทรง สันฐานของร่างกาย ก็จะเอาเป็นตัวเป็นตนได้อย่างไร ไม่มีขา มีแขน มีแต่ความรู้สึก แล้วมาดูลึกเข้าไป ไอ้ความรู้สึกเหล่านั้นก็เปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ เย็นแล้วดับ...ร้อนแล้วดับ...ตึงแล้วดับ...ไหวแล้วดับ...ปวด-เจ็บ..สบาย..ไม่สบาย มีแต่เปลี่ยนแปลงเกิด-ดับ เมื่อปรมัตถ์เหล่านี้ มันเกิด มันดับอยู่ มันก็ไม่รู้ว่าจะเอามาเป็นตัวตนได้อย่างไร สิ่งที่มันมีแล้วหายไปนี่ ไม่รู้จะคว้ามาเป็นตัวเป็นตนได้อย่างไร มันก็ทำลายความยึดถือเป็นตัวเป็นตนโดยธรรมชาติของมันเอง โดยที่มีปัญญาเข้าไปเห็นความจริง สติที่ระลึกรู้ตรงต่อปรมัตถ์ ปัญญาเกิดขึ้น...มันก็ละความเป็นตัวเป็นตน โดยธรรมชาติของมันเองอย่างนั้น ไม่ใช่เราไปนึกเอาเองว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไอ้นั่นมันเป็นการเห็นอนัตตา โดยการนึกเอา มันก็เป็นสมมุติอีกอย่างหนึ่ง สมมุติในปรมัตถ์ มันไม่ใช่เป็นการรู้อนัตตา รู้สภาพความเป็นจริง เช่นเรานึกว่า..ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ร่างกายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ความรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนแบบนี้ เป็นการรู้โดยการนึกเอา เราสร้างสมมุติอีกอย่าง แต่ใช้ชื่อว่า..ไม่ใช่ตัวตน แต่ที่จริงก็ยังหนีไม่พ้นความเป็นตัวตน...เหมือนคนบอกว่า เห็นกลางวันบอกว่าไม่ใช่เป็นกลางวัน เป็นความมืด พูดซ้ำๆไป หรือว่า...เห็นสีดำก็บอกว่านี่สีขาว..สีขาวๆ มันก็ยังคงสีดำนั่นแหละ (ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...มันก็เป็นเพียงแต่เราบอกไปเองว่าเป็นสีขาว...ฉันท์ใดก็ดี การที่ยังไม่ได้เห็นอนัตตาจริงๆ แต่เราบอกว่า...อนัตตา ๆ..ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน มันก็เท่ากับยังอยู่ในความเป็นตัวตนนั่นแหละ อยู่ในสมมุตินั่นแหละ เพราะฉะนั้น..ไม่ต้องนึก...ไม่ต้องนึกคิดอะไร..อะไร ระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่บอกว่าอะไรเป็นอะไร...เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ไหว กระเพื่อม สบาย ไม่สบาย เข้าไปรู้ ในความรู้สึก อย่านึกเป็นรูปร่าง ...นี่เรียกว่า เพิกสมมุติออกไป ซึ่งก็ต้องสัมพันธ์กับการระลึกรู้ทางใจ รู้ทางมโนทวาร รู้ใจตัวเอง ใจคิดรู้ ใจคิดระลึกรู้ๆ ใจตรึกนึกระลึกรู้ ๆ จำได้หมายรู้ ระลึก เข้าไประลึกรู้ความจำ ระลึกรู้ตามความตรึกนึก ระลึกรู้ความวิพากวิจารณ์ ระลึกรู้ความพอใจ ระลึกรู้ความไม่พอใจ รวมทั้ง ระลึกรู้ผู้ดู ระลึกดูผู้รู้ ที่กำลังดูนั่นแหละก็ระลึกรู้ตัวของมันเอง แล้วก็เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวตน แล้วมันก็หมดไป สิ้นไป รวมความว่า เวลาปฏิบัติเข้าไปสู่ปรมัตถ์ ดูเข้าไปรู้ในความรู้สึกทางกายทางใจ แล้วก็ไม่เห็นเป็นรูปร่าง แขนขา หน้าตา ไม่มีความหมายว่า นั่ง ว่ายืน ไม่มีความหมายว่า เป็นเรา ของเรา มันก็เห็นแต่ธรรมชาติ เห็นสภาวะ เรียกอะไรก็ไม่รู้ที่ปรากฏ มีปรากฏอยู่หมดไป ปรากฏหมดไป มันจะเรียกอะไรก็ไม่รู้...ถึงบอกไม่ได้ว่านี่คือรูป..นี่คือนาม..นั่นคือการเห็นความจริง นั่นล่ะ..คือ เห็นรูป เห็นนาม แต่เรียกไม่ถูกในขณะนั้น ถ้าเยกขึ้นมาเมื่อไร ก็เป็นการเอาสมมุติเข้าไปใส่ เห็นแต่ธรรมชาติ..เห็นแต่ธรรมชาติความเป็นจริงที่เกิด ที่ดับ...หมดไป สิ้นไปอยู่ในกาย ในจิต ทางตา ทางหู ทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ใจ เห็นสิ่งอะไรก็ไม่รู้มันเกิด แล้วก็ดับไปทันที เกแล้วก็หมดไปทันที ไอ้ตัวที่เข้าไปรู้เห็น ก็ถูกรู้บ้าง แล้วก็เห็นก็ไม่ใช่ตัวเรา ตัวตน ไอ้ตัวที่ทำหน้าที่ระลึก ตัวที่ทำหน้าที่ดู ตัวที่ทำหน้าที่เข้าไปรู้ ที่ภาษาธรรมะเขาเรียกว่าตัวสติ ตัว สัมปชัญญะ หรือ จิต ก็ไม่ใช่ตัวตน สติก็ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาก็ไม่ใช่ตัวตน จิตก็ไม่ใช่ตัวตน สักแต่ว่ารู้ แล้วก็ดับไป เห็นแล้วหมดไป รู้สึกแล้วก็ดับไป คิดแล้วก็หมดไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...สิ่งเหล่านี้ มันเกิดและหมดไปอย่างนี้...ดูไปตรงไหน ๆ เขาก็ไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นเราของเรา ตาก็ไม่ใช่เรา..หูก็ไม่ใช่เรา...จมูกก็ไม่ใช่เรา... ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และก็ไม่ใช่ไปมีเราอยู่ตรงไหน ...คือมันไม่มี เราก็ไม่มี เราก็ไม่ใช่...ของๆเรา ก็ไม่ใช่ กราก็ไม่มี ของๆเราก็ไม่มี ทั้งหมดชีวิตนี้ ทั้งหมดเนี่ย..ไม่เป็นเรา เป็นของเรา และก็ไม่ใช่มีเราออกไปตรงไหน ..ความรู้สึกเป็นเราของเรามันเป็นเรื่องสมมุติ เป็นเรื่องที่ยึดถือ...เป็นเรื่องที่ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา....ปฏิบัติธรรม ก็เพื่อที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ละความยึดมั่น ถือมั่น ความเห็นผิด ที่ว่าเป็นเราของเราออกไป ไม่ใช่ ปฏิบัติไป ๆ ปฏิบัติไป ก็รู้สึกแบบเรากำลังทำสมาธิ...เรากำลังมีสติ...เรากำลังมีความสงบ...เรากำลังเห็น แม้จะได้ความสงบ..แม้จะเกิดสติระลึกรู้อะไรต่างๆ แต่ถ้ายังใช้รู้สึกเป็นเราอยู่ มันก็ยังเป็นเหยื่อของอุปาทานอยู่ แหม...เรามีสติดีเหลือเกิน..เรามีสติดีเหลือเกิน นั่นแหละ..อุปาทานไปยึด ไปยึดสติเป็นเรา ไปยึดจิต เป็นเรา เพราะฉะนั้น ต้องระลึกรู้ทั้งหมด..สติก็ต้องถูกระลึกรู้ ขณะหนึ่งไปทำหน้าที่รู้ อารมณ์ขณะหนึ่ง สติก็กลายเป็นอารมณ์บ้าง อารมณ์ก็คือสิ่งที่ถูกรู้...สติเกิดขึ้นกับจิตไปทำหน้าที่รู้อารมณ์ เช่น ไปรู้ เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้หย่อน รู้ตึง รู้สี รู้รส รู้เห็น รู้ได้ยิน รู้รู้กลิ่น รู้รู้รส รู้ รู้สึกปวด เจ็บ นี่เรียกว่าสติ กำลังทำหน้าที่ไปเป็นผู้รู้ ผู้ดู แต่ในขณะเดียวกันก็เกิด การระลึกรู้ตัวสติ กลายเป็นว่า...สติอันแรกถูกรู้บ้าง สติอันใหม่ก็รู้สติ ฉะนั้น สติเป็นทั้งผู้รู้ เป็นทั้งผู้ถูกรู้ สติเกิดขึ้นกับจิต...ก็เรียกว่าทำงานร่วมกันไป สติกับจิตเกิดร่วมกัน สัมปชัญญะเกิดร่วมกัน รวมความว่าเป็นผู้รู้อยู่ ก็ต้องถูกรู้บ้าง จิต รู้ จิต บ้าง เวลาจิตไปรู้เย็นรู้ร้อน นั่นเป็นผู้รู้อยู่ เกิดสติมาดูจิต จิตก็ถูกรู้บ้าง และไอ้ตัวที่เข้าไปรู้จิต ก็เป็นจิตนั่นแหละ เป็นจิตอีกอันหนึ่ง ประกอบไปด้วยสติ..มันก็รู้กันไปอยู่อย่างนี้ ตีวนอยู่อย่างนี้...รู้อารมณ์อื่นบ้ง รู้ตัวของมันเองบ้าง รู้อย่างอื่นบ้าง รู้ตัวของมันเองบ้าง ก็จะลดละเพื่อจะทำลายความยึดถือ ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...เวลาที่เราปฏิบัติไป เราก็จะมีอย่างนี้ ไม่ได้มีอะไร มากมาย ที่เกินวิสัย ที่เราจะไปพิสูจน์ คำว่า..มันเกินวิสัย หมายถึง มันไปอยู่นอกตัวงี้...อย่างนี้มันเกินวิสัยที่จะไปตามดู ตามรู้.. แต่การปฏิบัติมันไม่ใช่อย่างนั้น รู้สิ่งในตัวเองนี้..มันจึงไม่เหลือวิสัยที่จะเข้าไปรู้..เข้าไปพิสูจน์ การเห็น การได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิด นึก มันอยู่ในตัวนี้...อยู่ที่ตัวเองนี่ ตามดู...ตามรู้ ตามพิสูจน์ มันจึงเป็นเรื่องที่มีสิทธิ์จะรู้ได้ เห็นได้ พิจารณาเห็นได้ เพราะเป็นสิ่งอยู่กับตัว..และก็เป็นสิ่ง มีอยู่จริง ไม่ใช่ขิงปลอม ของจริงๆ ธรรมชาติที่เป็นจริง มันพิสูจน์ได้ เข้าไปรู้เห็นได้..ท่านจึงว่า...ควรเรียกเข้ามาดู...ควรน้อมเข้ามาใส่ตน...ของจริงๆ นี่ควรเรียกเข้ามาดู ของปลอมมันก็ไม่น่าเรียกให้ดูหรอก ดูแล้วก็หลงไปตามสมมุติ...แต่ของจริงน่าดูแล้วมันไม่ใช่เรื่องโกหก อะไรที่ไม่ใช่เรื่องโกหก มันเป็นสัจธรรม มันก็น่าเรียกให้กันดู เพราะดูแล้วมันเกิดความสว่าง แจ่มแจ้ง..ลด ละ สละได้..ปล่อยวาง...ละกิเลส เป็นเหตุแห่งการดับทุกข์ มันจึงเป็นสิ่งที่ควรเรียกให้เข้ามาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เพราะฉะนั้นปฏิบัติให้เพิกสมมุติออก...แต่ก็นั่นแหละ..บางท่านก็ต้องดูสมมุติไปก่อน..ที่ดูไปก่อนไม่ใช่ ดูเรื่อยๆ ไปนะ.. คือดูในระยะเป็นฐาน...เป็นฐานเป็นบาท...เป็นที่เชื่อมต่อเข้าไปสู่ปรมัตถ์ เพราะบางคนนั้นจะทำเข้าไปสู่ปรมัตถ์ ดูปรมัตถ์เลย...ยังไม่ได้..ยังไม่เป็น...ยังไม่เข้าใจ.. ก็เอาสมมุติบัญญัติที่เป็นกรรมฐานนี่ มาเชื่อม มาต่อ กัน...ฉะนั้นในสติปัฏฐานท่านจึงแสดงไว้...เพื่อ เอื้ออำนวยต่อสติปัญญาของคนที่ยังอ่อนอยู่...ก็ดูเรื่องกายไปก่อน...ดูลมหายใจเข้า...ดูลมหายใจออก เข้ารู้ ออกรู้ไป แม้ว่าการไปรู้เข้า รู้ออก เป็นความหมาย ยาว สั้น..เป็นความหมาย แต่พระองค์ก็สอนไว้..เพราะดูอย่างนี้ก็ยังดี...ยังทำให้จิตอยู่กับเนื้อกับตัว ให้ถูกความสงบ ตัดสมมุติบัญญัติภายนอกออกไป แล้วจึงค่อยเชื่อมไปดูความรู้สึก ดูปรมัตถ์ได้ เพราะมันใกล้ชิดกันอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ตอนแรกมันจะดูบัญญัติ..ว่าเข้า ว่าออก....ยาว-สั้น บางคนก็ใส่ชื่อ..เรียกชื่อบริกรรมไป...นับไป...เรียกชื่อไป...พุทโธ ไป...สมมุติไปใส่ก็ทำไปก่อน.. แล้วก็เชื่อมเข้าไปสู่ปรมัตถ์..พอเข้าสู่ปรมัตถ์ ก็เพิกสมมุติออกไป เพิกความหมาย เพิกชื่อภาษา หรือว่า..ไม่ดูลมหายใจ มาดูอิริยาบถ...ยืน เดิน นั่ง นอนก็ได้ ดูท่าทางของกาย... ดูความหมายว่านั่ง...เห็นรูปร่างตัวเอง เห็นรูปร่าง ท่า ทางของกายว่า..นั่งอยู่แบบนี้...ตั้งกายไว้แบบนี้ เป็นบัญญัติ...แต่ก็เป็นกรรมฐาน สติไปตั้งกับสิ่งเหล่านี้...ก็เรียกว่าสติปัฏฐานเหมือนกัน เป็นไปให้เกิดความสงบ... ตัดสมมุติบัญญัติภายนอก..แล้วต่อไปก็ค่อยเชื่อมเข้าไปสู่ปรมัตถ์..แล้วก็เพิกบัญญัติออกไป ไม่ใช่เอามาใช้ให้ตลอด เอามาดูระยะแรกๆ ดูรูปร่าง ดูสันฐาน ดูความหมายนี่ เพื่อเอาเป็นที่เกาะของจิต... ให้มันอยู่กะเนื้อกะตัว ทำให้เกิดสมาธิบ้าง จากนั้นก็เพิกออกไปกะเทาะออกไป...ไม่นึกไม่สร้างขึ้นมา ไปรู้ความรู้สึก...ดังที่กล่าวมาแล้วน่ะ..เข้าไปสู่ปรมัตถ์จริงๆ เพื่อปัญญา เพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้ง...อย่างการปฏิบัติมันก็ไม่ใช่เรื่องอะไรมากมาย สอนธรรมะมันก็สอนกันอยู่แค่นี้ ถ้าสอนเอาประโยชน็ของการปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เรื่องมากมาย เราอย่าไปท้อใจว่า..เอ้อ.. เรา..ปัญญาไม่ดี...ธรรมะมากมายเรารับไม่ไหว..ฟังไม่รู้เรื่อง...กว่าเราจะรู้เรียนจบ เราคงไม่ได้.. ไม่ใช่อย่างนั้น...เรา อาศัย รวบรัด..เข้าไปสู่ภาคปฏิบัติ..เรียนรู้ ก็รู้เฉพาะการปฏิบัติให้เป็นเท่านั้น...ก็พอที่จะทำปัญญาของตัวเองให้เกิดขึ้นได้...โดยรู้ว่าเราจะกำหนดดูอย่างไร อะไรเป็นบัญญัติ-ปรมัตถ์ เราไม่เรียนแยกแยะอะไรโดยละเอียดก็ได้ ไม่รู้ชื่อของมันก็ได้ ให้รู้พอว่าจะปฏิบัติ เจริญสติ ดูอะไร สภาพ ปรมัตถ์ เป็นอย่างไร บัญญัติอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...แล้วก็ทำไป เหมือนเราจะกินยารักษาโรคนี่...เราก็คงไม่ต้องไปรู้ รายละเอียดของยา...ว่ามันทำมาจากอะไร...ไม่ต้องไปรู้ถึงขนาดนั้นก็ได้ เรารู้แค่ว่า เออ...ยานี้กินแบบไหน...วันละกี่ครั้ง...กินแล้วมันเป็นยังไง...รู้เฉพาะที่จะเอามากินให้เป็น...แล้วก็ลงมือกินยาเรื่อยๆ ไป มันก็สามารถจะหายจากโรคภัย ไข้เจ็บได้.. บางอาจจะไม่รู้ชื่อยาด้วยซ้ำ ว่ายาที่กินมันชื่ออะไร..แต่ได้กินไปมันก็หาย ได้รับประโยชน์..แต่เราอจจะบอกไม่ถูกว่า ยาชื่ออะไร...ทำมาจากอะไร...แต่ได้รับประโยชน์ไปแล้ว..การปฏิบัตินั้นก็เหมือนกัน เราไม่มีโอกาสที่จะไปศึกษา เล่าเรียนอย่างกว้างขวาง...เราก็เรียนรู้เฉพาะที่จะนำมาปฏิบัติ เหมือนกับการที่เราจะใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่อง คอมพิวเตอร์ เราก็อาจจะไม่ต้องไปเรียนรู้แบบวิศวกร รู้รายละเอียดอะไร เราเรียนวิธีการเปิด ปิด เปิดทำอย่างไร...เราก็สามารถจะใช้ประโยชน์จาก คอมพิวเตอร์นั้นได้ อันนี้ก็เหมือนกัน...เรียน ธรรมะ เราอาจจะไม่สามารถไปเรียน แยก แยะ รายละเอียดของทฤษฎี ของปริยัติ...แต่เราเรียนเจาะ เฉพาะว่า เอามาปฏิบัติให้เป็น...ให้รู้ว่า รูป นาม เป็นอย่างไร...ปรมัตถ์อย่างไร เจริญสติกำหนดอย่างไร... แล้วก็ลงมือฝึกหัด เรียนแบบทดสอบ ทดลอง เรียนปฏิบัติการจริง เรียกว่าเรียน เชิงการปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติ ทำเป็น มันอยู่ที่ว่าต้องลงมือทำ การปฏิบัตินั้น มันไม่ใช่ฟังแล้วก็จะสำเร็จ รู้จากตำหรับตำรา มันสำเร็จไม่ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ รู้ตำหรับตำรายามากมาย แต่ถ้าไม่ได้กิน...มันก็ไม่สามารถจะหายป่วย... เรารู้ในด้านวิชาการ การประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำมาจากอะไร มันทำงานอย่างไร แต่ถ้าเราไม่ลงมือปฏิบัติการเลย ไม่จับ..ไม่ต้อง..ไม่อะไร ก็เป็นไม่ได้...ไม่ได้รับประโยชน์จากคอมพิวเตอร์นั้น ...ช่างเครื่องยนต์ก็เหมือนกัน ...เรียนทฤษฎีแต่เวลาลงมือแก้จริงๆ แก้ไม่ถูก ไอ้คนที่ขลุกอยู่กับการถอดเครื่อง ประกอบเครื่อง มันทำเป็น...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...เพราะฉะนั้น มันอยู่ที่การลงมือ ปฏิบัติ แต่ถ้าเรารู้ทั้งทฤษฎีด้วย แล้วลงมือปฏิบัติ มันก็ดี ก็ดีกว่า...แต่ก็รู้จักสรุปเอามาใช้ให้เป็น เอามาใช้ให้ถูก เรียนธรรมะมากมายแต่หยิบมาใช้ไม่ถูก มันก็ สามารถจะทำผิด เห็นผิดไปได้เหมือนกัน.. เข้าใจผิดไปได้ เพราะฉะนั้น ยิ่งเข้ามาดูขั้นของการปฏิบัติ..มันมีโอกาสที่จะหลง ที่จะผิดเพี้ยน..บางทีผู้เรียนธรรมะในด้าน ปริยัติ เรียนดี แต่มาถึงส่วนของภาคปฏิบัติ..ก็เอามาใช้ผิดอีก...ตีความหมายของบัญญัติมาเป็นปรมัตถ์ก็ได้..ทั้งๆที่เรียนเรื่องปรมัตถธรรม แต่เวลาปฏิบัติ..ก็ไปคว้าเอาบัญญัติมาเป็นปรมัตถ์ มันสามารถจะสวมใส่เข้าใจไปอย่างนั้นได้...ฉะนั้นเราจะต้องฟัง แล้วก็เทียบเคียง..แล้วก็พิสูจน์ จากตัวเราเอง ฝึกหัด...อบรม...ปฏิบัติ เพื่อให้มันเข้าถึง...สัจธรรม ดัง คำสอนของพระพุทธศาสนา ความสำคัญอยู่ที่การลงมือปฏิบัติ ฟังมาแล้ว..ศึกษามาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติ ฝึกหัด..เราขับรถนี่...เราถึงจะเรียนรู้วิธีการขับรถ กฏ จราจร ถ้าไม่ลงมือจับ..ฝึกหัดขับ..มันก็เป็นไม่ได้หรอกแล้วกว่าจะเป็นขึ้นมา ก็ต้องฝึกอยู่แล้ว..ฝึกหัดอยู่แล้ว ใหม่ๆ ก็ขับไม่คร่อง ไม่ได้..ฝึกมากๆ จึงได้..การปฏิบัติก็เหมือนกัน เราจะเรียนรู้จากการฟังเฉยๆ ไม่ได้หรอก ต้องลงมือปฏิบัติ...แล้วลงมือปฏิบัติก็ไม่ใช่จะทำได้ทันที...ต้องซ้อม...ต้องฝึกหัด ขัดเกลากันอยู่ ฝึกจนชำนิ..ชำนาญ เพราะฉะนั้นเราก็อย่าไปเข้าใจผิดว่า..เออ..มัน ทำไมยังทำไม่ได้.. เรายังฝึกน้อย...ยังปฏิบัติน้อย...ยังเพียรน้อย การจะทำได้ มันต้องอยู่ที่การฝึกซ้อมมากๆ เพียรมาก...ปฏิบัติมาก เรายังเริ่มต้น มันช้า..นี่..ก็ต้องอาศัยเวลาในการฝึก ผู้ที่เขามีอินทรีย์...บารมี...แก่กล้า..เขาฝึก..เขาผ่านมาแล้ว...บางคนก็สะสมมาแล้วแต่อดีต..เขาก็ง่ายขึ้น...การที่เพิ่งมาเรียนเริ่มต้นในชาตินี้...มันก็ต้องฝึก..ทำได้ยาก เข้าใจได้ยาก แต่เราก็เริ่มต้นมาแล้ว มีโอกาสจะเข้าถึง อาศัยความเพียร ไม่ท้อถอย ท่านจึงกล่าวว่า"ความเพียรจะนำมาซึ่งความสำเร็จ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ฉะนั้น ขอให้พวกเราได้ตั้งใจฝึกหัด...อบรม..ประพฤติ..ปฏิบัติ...แล้วก็อย่าไปทำด้วยใจร้อน..รีบร้อน..ค่อยเป็น...ค่อยๆไป คือทำไม่หยุด...เราเก็บตัวปฏิบัตินี่..เจริญสติไม่หยุด...ทำต่อเนื่อง...แต่ไม่ใช่ใจร้อน..ไม่ใช่ไปบังคับกดข่ม... อยากจะให้ได้...อยากจะให้ได้..อยากจะสงบ...ยังงี้ก็ไม่ได้...ไม่ถูกต้อง...ทำอย่างใจเย็น ทำอย่างไม่ให้มันเร่าร้อน ไม่อยาก...ไม่พยายามอยาก..แต่เจริญสติ..ต่อเนื่องกันไปเรื่อย...ระลึกรู้เรื่อยไป.. ไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหน อย่างไร ขณะใด..ให้ระลึก รู้ตัวอยู่ตลอด รู้เข้าไปถึงความรู้สึก...ความรู้สึก ทางกาย ทางใจ ด้วยความเป็นปกติอยู่ แล้วก็ค่อยๆ แยบคายไปตามลำดับ...

...วันนี้ก็พอสมควรแก่เวลา...ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
ขอความสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ทุกท่าน เทอญ...


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร