วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิด
ในน้ำมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมา
เกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และ
คำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่
จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ประกอบ
ด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหล
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็น
พระตถาคตมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้
ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจ
เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียร
โดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
การแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=20&i=205

--------------------------------------------


ในพระไตรปิฎกเขียนไว้ว่า

อ้างคำพูด:
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


แตเหลิมมาแปลงสารว่า

เป็นเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติ

เป็นการตู่พุทธพจน์อย่างแรง

จาก

http://larndham.org/index.php?/topic/39632-%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89/page__st__120__s__e34212cdeb4cb20bee8612af991be90f

อ้างคำพูด:
ท่านทั้งหลายอ่านดีๆนะครับ

สัตว์ที่กระทำนิพพานเป็นอารมณ์นะครับ ไม่ใช่สัตว์ที่บรรลุนิพพาน

หมายความว่าอย่างไรครับ

หมายความว่า

ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานแล้วเกิดสมาธิหรือได้สมาธิมีน้อย ส่วนใหญ่จะไม่ได้สมาธิหรือไม่เกิดสมาธิ

ไม่ได้หมายความว่า

ผู้ที่ได้เอกัคคตาจิตแล้วบรรลุนิพพานน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เอกัคคตาจิต ตามที่ผู้อ้างพยายามตีความหมายไปในทำนองนั้น ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างสถานที่ หลายๆครั้ง


ในความเห็นผมก็คือ

ผู้ที่ได้สมาธิที่มีน้อยนั่นแหละคือผู้เข้าถึงนิพพาน

ฉนั้นจึงไม่ต้องสงสัยว่า

ผู้ที่สำเร็จอรหันต์หรือบรรลุนิพพานนั้นมีน้อยมาก




สรุปว่า

พระไตรปิฎกเขียนว่า ในสมัยพุทธกาลนั้นผู้ฝึกสมาธิหรือกรรมฐานแล้วเกิดสมาธิมีน้อย ผู้ที่ฝึกสมาธิแล้วไม่สำเร็จมีมากกว่า

แต่เหลิมเอามามั่วโมเมเลยว่าเป็นวิมุติ ทั้งๆที่ไม่มีตรงไหนในพระสูตรบทนี้เลยว่าเป็นวิมุติ

เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์

ตัวอย่างอย่างนี้แหละที่เป็นการทำให้ศาสนาพุทธเสื่อม

อย่างนี้เรียกสัทธรรมปฏิรูปตัวพ่อ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 11:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


ขอแสดงความเห็นในส่วนนี้ จะไม่ล้ำไปในส่วนปัญญาวิมุติ หรือเจโตวิมุติ

ในความเข้าใจของ เช่นนั้น เป็นอย่างนี้ว่า

สัตว์ทีกระทำนิพพานนิพพานเป็นอารมณ์ คือสัตว์ประเภทไหนบ้าง
มีกัลยาณปุถุชนผู้อยู่ในกามาวจรภพ มึจิตอยู่ในกามาวจรกุศลภูมิ
และอริยะบุคคลอีก 4 คู่ คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหัตบุคคล

อะไรเรียกว่า การกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
มรรคปฏิปทาอันมีอริยมรรคมีองค์ 8 คือการปฏิบัติเพื่อกระทำนิพพานเป็นอารมณ์
สมาธิอันมีนิพพานเป็นอารมณ์ ได้แก่ อนิมิตตสมาธิ อัปณิหิตสมาธิ และสุญญตสมาธิ

ทีนี้ก็ไล่กลับไปที่สัตว์ที่กระทำนิพพานเป็นอารมณ์
ยกเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ออก ซึ่งหายากในโลก
ก็จะเหลือ กัลยาณปุถุชน เทพเทวดา พรหม

ตัดเทพเทวดา พรหมออก เพราะบางท่านไม่เชื่อ และสัมผัสไม่ได้ออกไปก่อน

ก็เหลือกัลยาณปุถุชน
กัลยาณปุถุชน ผู้มีจิตเป็นกุศล บางท่านสมาทาน ศีล ไม่สมาทาน สมาธิ ภาวนา คือไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ และอาศัยความสุขเกิดจากอามิสทานเป็นต้น

กัลยาณปุถุชน บางท่านก็สมาทาน ศีล สมาธิ ภาวนา และอาศัยนิพพานเป็นอารมณ์ เพียงแต่ได้แต่คิดแต่ยังไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไร เช่น ตั้งใจ ละความโลภ ความโกรธ ความหลง การตั้งใจอย่างนั้นก็คืออาศัยนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว แต่ก็ได้เพียงลูบๆ คลำๆ

หากกัลยาณปุถุชนนั้น มีความเพียรศึกษาขี้นไปอีก โดยตั้งอัตตสัมมาปฏิธิ ว่าจะเพียรปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ให้ได้ ก็อาศัยความตั้งใจนี้ศึกษาในพระธรรมคำสอนให้ยิ่งขึ้นไป ซึ่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ล้วนแล้วแต่เพื่อ ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะ คือมีนิพพานเป็นอารมณ์ และเจริญในสมาธิใดสมาธิหนึ่งใน 3 ประการที่กล่าวไว้ กัลยาณปุถุชนก็ดำเนินไปสู่ โคตรภูบุคคล มีจิตอนุโลมไปตามอรหัตมรรค เพื่อก้าวสู่ความเป็นอริยะบุคคล

อย่างนี้ จะเห็นได้ว่า กัลยณปุถุชนผู้เป็น เพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นอุลาสก อุบาสิกา จะมีมากกว่า โคตรภูบุคคล อริยบุคคล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้ลองอ่านที่ผมก๊อปมาให้ครับ

ตรงที่ผมระบายสีแดง คุณเช่นนั้นมีความคิดเห็นอย่างไรครับ เอาแบบสัจจธรรมครับ




http://larndham.org/index.php?/topic/39632-%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89/page__st__120__gopid__722460&


samanya เขียน
คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน)น้อยกว่าปัญญาวิมุติ

ผมหาในพระไตรปิฎกไม่ปรากฎว่ามีแต่อย่างไร คงพบที่จุดเดียวที่คุณเฉลิมศักดิ์นำมาอ้าง



http://www.dhammajak...php?f=2&t=21062
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้




ซึ่งน่าจะเป็นการกล่าวอ้างของคุณเฉลิมศักดิ์ที่ไม่ถูกต้องครับ เป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์หรือเปล่าไม่แน่ใจครับ

คุณเฉลิมศักดิ์กรุณาตอบให้เข้าใจถึงเจตนาที่ตีความเช่นนั้นด้วยครับ



คุณ samanya ครับ จิตที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตตระจิต ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคล ขึ้นไปนะครับ
หรือ จะบอกว่า ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอย่างพวกเรา มี พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 15:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตตระจิต ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคล ขึ้นไปนะครับ
หรือ จะบอกว่า ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสอย่างพวกเรา มี พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้


ถ้าจับใจความกระทู้ไม่ผิด ข้อกังขา น่าจะเป็นประเด็นนี้ ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมรักษาศีลเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมให้ทาน
ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว
มีจิตเอนไปในพระนิพพาน
มีจิตน้อมไปในพระนิพพาน
เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น



จากพุทธพจน์ ข้างต้น พิจารณา เห็นกัลยาณปุถุชน หรือเปล่ากันครับ
ถ้าพิจารณาเห็น แล้วข้อกังขาก็เป็นอันตกไป

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31032
บุคคล จะก้าวออกจาก กามาวจรภูมิ ด้วยอนุโลม กล่าวคือเปลี่ยนสัญญา
หรืออีกนัยหนึ่งคือ การเปลี่ยนจิตที่พัวพันในกามสัญญาอันเป็นอารมณ์ที่จิตรู้ ไปสู่อารมณ์นิพพาน
เพราะด้วยอนุโลมญาณ บุคคลนั้นจึงก้าวไปสู่โคตรภูจิต ซึ่งเป็นจิตที่ก้าวลงสู่อริยะภูมิ หรือโลกุตตรภูมิ

มรรคภาวนา ก็คือจิตที่ทำวิปัสสนา หรือวิปัสสนาจิต; เพื่อจะก่อมรรคจิตให้สำเร็จจึงเริ่มด้วยขณะแห่งโคตรภู.


Quote Tipitaka:
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค
โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอนันตรปัจจัย
[๕๐๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอนันตรปัจจัย
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค



ลิงค์ข้างล่างแสดงต่อเรื่อง การหน่วงอารมณ์นิพพาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31193

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 21:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 21:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..คุณเช่นนั้น :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2010, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คือสัทธรรมปฏิรูปที่แฝงตัวในคราบผู้พิทักษ์พระพุทธธรรม

คืออ้างพระพุทธเจ้าเพื่อทำลายพระพทธเจ้า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อเท็จจริงของพระธรรมนั้น

เจโตวิมุติ อย่างเดียว

ปัญญาวิมุติ อย่างเดียว

ไม่สามารถทำให้สิ้นอาสวะได้

ต้องเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติถึงพร้อมกันจึงจะสิ้นอาสวะ

ดังในพระไตรปิฎกจะเขียนไว้ว่า

เจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้




สื่อหมายความว่า

ปัญญาที่เป็นอธิปัญญาแห่งการหลุดพ้นต้องสิ้นกิเลสด้วย

กิเลสจะสิ้นได้ด้วยสมาธิที่เป็นอธิสมาธิคือเอกัคตาเท่านั้นหมายถึงฌาณ


ขณิกสมาธิใช้เริ่มต้นการวิปัสสนาได้(เป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่)

อุปจารสมาธิในการใช้วิปัสสนาก่อเกิดปัญญา

อัปปนาสมาธิจึงเกิดญาณทัสสนะหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส

อัปปนาสมาธิ เจโตวิมุติ

ญาณทัสสนะ ปัญญาวิมุติ


การแยกเจโตวิมุติ ว่าอันหาอาสวะมิได้

หรือ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

จึงผิดโดยสิ้นเชิง

ที่ถูกคือ เจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้

ทั้งเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติต้องประกอบเข้าด้วยกันจึงเกิดปฏิกิริยาอันหาอาสวะมิได้


ต้องแปลวิมุติว่า ทางแห่งการหลุดพ้น

เจโตวิมุติ จึงยังไม่ใช่นิพพาน

ปัญญาวิมุติ ก็ยังมิใช้นิพพาน

ต้องเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ จึงจะเป็นนิพพาน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 10:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา และอาสวะ เป็นธรรมที่เป็นปัจจัยแก่กันและกันฉันใด
อริยสัจจ์และนิพพาน ก็เป็นธรรมที่เป็นปัจจัยแก่กันและกันฉันนั้น

อวิชชาและอาสวะ เป็นมูลกรรมอันก่อให้เกิด ภพชาติชรามรณะ เป็นธรรมเพื่อวัฏฏะ.
อริยสัจจ์และนิพพาน เป็นปฏิปักษ์ธรรมต่อ วัฏฏะ เพื่อความดับชาติชรามรณะ คือธรรมเพื่อวิวัฏฏะ.

อวิชชาและอาสวะ จะกล่าวว่า อวิชชาเกิดก่อนหรืออาสวะเกิดก่อนก็หามิได้ แท้จริงแล้วเพราะเบื้องต้นและเบื้องปลายอันยาวนานไม่อาจกำหนดได้, แต่อริยสัจจ์และนิพพานกำหนดเบื้องต้นแห่งมูลกรรมและตัดวัฏฏะได้.

การหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงเป็นการหน่วงเอาอริยสัจจ์เป็นอารมณ์ เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง.

อริยสัจจ์และนิพพาน จึงเป็นอายตนะภายนอก ที่ส่องให้เห็นอัตตาตัวตนอันยึดมั่นถือมั่น และเป็นเครื่องทำลายอาสวะอันเนื่องด้วยอัตตานี้นั่นเทียว.

ทำไมอริยสัจจ์และนิพพาน จึงเป็นอายตนะภายนอก.
เพราะด้วยอริยสัจจ์ จะเจริญก็ด้วยมรรคปฏิปทา อันเทียบเคียงได้กับนิพพาน อันเป็นวิราคะธรรม.
เพราะด้วยอริยสัจจ์ เป็นพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงนำมาเปิดเผยแสดง.
เพราะด้วยอริยสัจจ์ เป็นสัจจ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงใช้ในการทำลายอวิชชาและอาสวะทั้งหลาย.
เพราะด้วยอริยสัจจ์ จึงทำนิพพานให้แจ้งได้
เพราะปุถุชนไม่ได้เกิดด้วยอริยสัจจ์ หรือนิพพานเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เกิดด้วยอวิชชาและอาสวะเป็นเหตุเป็นปัจจัย.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร