วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 05:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 23:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: :b8: :b8: ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกๆท่านนะคะ

ปัจจุบันดิฉันได้ศึกษาแนวการปฏิบัติของพระอาจารย์ด้านกรรมฐานทั้งหลาย เช่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธ และท่านอื่นๆ และก็ได้ฝึกการเจริญวิปัสสนาจากพระอาจารย์สอนวิปัสสนาในยุคปัจจุบัน เช่น พระอาจารย์มานพ อุปสโม พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ และท่านอื่นๆ
รวมทั้งฟังเทปเกี่ยวกับการดูจิตของพระอาจารย์ปราโมทย์ เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้
เหมาะสม กับเวลา


..สาธุ..อาจารย์เยอะดีนะครับ.. :b12: :b12:

อ้างคำพูด:
ส่วนสามีก็หย่ากันเพราะเขาเป็นคนเจ้าชู้มาก แต่ปัจจุบันกลับไม่รู้สึกเหงาเลย กลับมีความสุขเพิ่มมาก
:b44: :b23: :b23:


สาธุ.. :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:15
โพสต์: 34

แนวปฏิบัติ: สมาถะ วิปัสสนาญาน ลมหายใจมิมีสิ้นสุด มิมีประมาณ
งานอดิเรก: ธรรมะเกิดที่ใจ ไปให้ถึงธรรม จึ่งมีธรรมประจำใจ บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ ทุกแนว "รอยเท้าสัตว์ย่อมรวมลงในเท้าช้าง"ฉันใด ก็ฉันนั้น
ชื่อเล่น: out
อายุ: 47
ที่อยู่: จังหวัดแพร่

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุกับคุณกษมมาดา นะคะ

การพบกับความสุขจากความสงบหาใดเหมือน :b12:

ทุกสรรพชีวิตย่อมมีกรรมเป็นของของตัวของของตนเอง ไม่มีใครล่วงพ้นบ่วงกรรมไปได้

ดังนั้นตนจึ่งเป็นที่พึ่งแห่งตนเสมอ

การเจริญจิตภาวนาจึ่งเป็นหนทางเพียงทางเดียวที่ทำให้สรรพชีวิต พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏะสงสาร พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้เป็นพระสัทธรรม :b48:

การเดินทางนั้นเปรียบเหมือนเดินขึ้นเขาสูง... ย่อมมีหนทางมากหลาย ...ล้วนแล้วแต่จริตในตัวตนของเราเอง..
แต่ละริมทางเดิน...มีสิ่งต่างๆมากมาย ..หากหลงเพลิดเพลิน ..จุดหมายปลายทางย่อมอยู่ไกล

หากล้วนแล้วแต่วิจิตพิศดาร ...ในนิมิตมาร..ชวนหลงไหล..ได้ปลื้ม..

หาก..ด้วยความศรัทธา..พรากเพียร ..ปลายทางคงอีกมิไกล.

เขาที่ว่าสูง..เมื่อมองลงมา.เห็นทางขึ้นชัดเจน ...ทางหลงก็ชัดเจนเช่นกัน

ธรรมะ ก็คือธรรมชาติ นั้นเอง มีเกิด มีดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้
สิ่งที่เห็น เห็นจริง แต่มิเป็นจริงดังที่เห็น แม้แต่ร่างกาย แม้แต่จิตใจของเราเอง

หากรู้เท่าทัน ความจริง สุขก็เท่านั้น ทุกข์ก็เท่านั้น ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เท่านั้น
ความยินดีก็เท่านั้น ความยินร้ายก็เท่านั้น เห็นอย่างแจ่มแจ้ง ทุกสภาวะเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป

"ความไม่มีอะไรต่างหาก คือ ความจริง เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ของร่างกายและจิตใจ ล้วนปรุงแต่ง แต้ม อยู่แต่ใจของเราเอง"

ใส บริสุทธิ ประพัสสร เบาสงบ และเบิกบานอยู่เช่นนั้น ปราศจากอาสวะใดๆ ค่ะ

:b41: :b41: :b41: tongue :b41: :b41: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย tongpon เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 22:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ขอบคุณค่ะ คุณ tongpon ที่ให้กำลังใจและคำแนะนำ :b8: :b8:

เส้นทางสายนี้คงอีกยาวไกล อาจจะต้องแวะพักข้างทางโดยใช้สมถะบ้างเพื่อเติมพลัง แต่ก็เข้าใจค่ะเพราะทุกวันนี้ดิฉันชอบนอนทำสมาธิ เกิดนิมิตมากมายสารพัดรูปแบบ บ้างครั้งก็เหมือนเหาะเหินเดินอากาศได้ ถอดกายทิพย์ ขึ้นสวรรค์ ล่วงรู้อนาคตเหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่ติดมาตั้งแต่
เข้าฌานก็คือเสียงทิพย์ที่คอยกระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติธรรม ช่วงไหนขี้เกียจนานๆ ติดต่อกันหลายวันก็โดนดุด้วย เหมือนมีบางสิ่ง ใครสักคนสองคน ที่เฝ้าคอยดูแลเราอยู่ เขาเฝ้าคอยดูความคืบหน้าของเรา เขาคือกัลยาณมิตรที่มองไม่เห็น
นิมิตในบางครั้งก็ไม่ใช่นิมิตมารทั้งหมด บางครั้งก็เพื่อความถ่ายถอนจากอุปทาน เช่น การเห็น
ตนเองตาย การเห็นร่างกายตนเองเป็นเหมือนต้นไม้ที่ถูกเผาจนเป็นถ่านแต่ยังใส่เสื้อผ้าไปทำงานกับคนอื่นๆ ได้ตามปกติ
ส่วนวิปัสสนา ดิฉันคิดว่าตนเองปฏิบัติได้ดีพอสมควร เพราะเวลาผัสสะเกิด ตัวผู้รู้ผู้ดูเขาจะทำงานอย่างอัตโนมัติทีเดียว (อาจเป็นเพราะมีพื้นฐานทางสมถะ) ทำให้รู้สึกว่ากิเลส ตัณหา อุปทาน
ลดน้อยลงเรื่อยๆๆ
ถึงแม้ว่าเส้นทางนี้อีกยาวไกล ก็จะพยายามไปให้ถึงค่ะ คงไม่หลงเพลินในนิมิตมาร

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa011.jpg
Resize of aa011.jpg [ 82.28 KiB | เปิดดู 4187 ครั้ง ]
tongue
อนุโมทนากับคุณ กษมมาตา ที่ถึงวันนี้คงได้ขอ้สรุปเป็นแบบวิธีปฏิบัติเฉพาะตนเองแล้ว ว่า สมถะกับวิปัสสนา เป็นเหตุ ปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกัน เรามีเหตุปัจจัย อุปนิสัยมามากทางสมถะ ก็ดีแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อคือการเติมเต็มทางด้านวิปัสสนาภาวนา ให้ได้สัดส่วน น้ำหนักพอดี ถ่วงดุลย์กับสมถะภาวนาที่เรามีอยู่มากแล้ว

สมถะ กับ วิปัสสนา ไปได้เสมอกัน สมดุลย์กันดี มรรค ผล นิพพาน ในปัจจุบนชาตินี้ย่อมไม่เป็นสิ่งที่ยาก

ขอให้ปิดประตูอบายได้ทันในปัจจุบันชาตินี้นะครับ

onion s001
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ขอขอบคุณ....ท่านอนันตาธรรม ที่ให้กำลังใจ

ยอมรับค่ะว่าค่อนข้างมากไปทางสมถะ เพราะก่อนหน้าที่จะไปเรียนรู้วิปัสสนานั้น ตัวดิฉันเองนึกภาพการเจริญวิปัสสนาไม่ออก (ดิฉันก็ทำตามที่ตนเองคิดนึกเอา ) คิดว่าการทำสมาธิจิตสงบ หมั่นทับหญ้าบ่อยๆ หญ้าจะตายเอง แต่ก็ดีค่ะ ดีตรงที่จิตสงบเร็วทำสมาธิง่าย แต่จิตของคนฝึกสมถะมันโลดโผนยิ่งนัก บางครั้งตัวเองยังรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ของจิต ว่าธรรมชาติเขาเป็นอย่างนี้เอง ประสบการณ์ที่ได้พบเจอมีมากกว่าที่เล่ามา ดิฉันจึงไม่แปลกใจเลย ที่บางคนได้ฌาน จิตสงบมากๆเกิดแสงสว่าง เป็นดวง อะไรทำนอง เวลาออกจากฌานแล้วจิตก็ยังสงบๆๆๆๆๆๆ จนคิดว่าตนเอง นิพพาน

แต่สำหรับดิฉันแล้ว คิดเสมอว่า นิพพาน คงไปไม่ถึงง่ายขนาดนั้น แล้วก็พิจารณาว่าตนเองยังมีกิเลส ตัณหา อุปทาน อยู่มาก

ดิฉันคงต้องเจริญวิปัสสนาให้มากๆๆๆ ให้สมดุลกับสมถะอย่างที่ท่านแนะนำ ความโลดโผนของจิตน่าจะลดน้อยลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับคุณแม่ของคุณกษมะ (ผิดถูกอย่างไร ขออภัยครับ) ที่ผ่านโค้งเข้าทางตรงแล้วครับ :b8: :b41: :b46:

(แต่ทางตรงนั้น หนทางยังอีกยาวไกล อย่าละความเพียรนะครับ :b16: :b4: )

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))


กราบนมัสการท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ในการให้ความหมายของคำว่า วิปัสสนา ได้ตรงตามสภาวธรรมเป็นอย่างยิ่งครับ :b8:

Key word ที่ผมเห็นว่า สำคัญมากในการเจริญวิปัสสนาคือ คำว่า เห็นตรงต่อความเป็นจริง + เห็นไตรลักษณ์ + เห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (ไม่ใช่ตามที่ใจอยากให้เป็น ซึ่งโดยมากจะฝืนกระแสแห่งสามัญลักษณะของธรรมชาติ) :b45: :b48:

โดยที่การ “เห็นแจ้งรู้ชัด” นั้น ผู้ที่ทำสมถะได้จนถึงฌาน จะได้เปรียบมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฌาน เหมือนกระต่ายที่วิ่งได้เร็วกว่าเต่า โดยเฉพาะในรูปฌาน ๔ (นับตามพระสูตร) ที่มีจิตตั้งมั่น สติสมบูรณ์เต็มที่ ด้วยกำลังของสติและเอกัคคตาเจตสิก (จิตผู้รู้ ซึ่งจะคงสภาวะผู้รู้อยู่ระยะหนึ่งแม้ขณะออกจากฌาน) เป็นผู้รู้ และรู้ชัด คือ เอาจิตไปรู้อะไร ก็รู้ได้โดยชัด “ในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น” ก็จะ “เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม” และเกิด “ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้” ตรงตามที่ท่านเจ้าคุณฯให้ความหมายมา :b8: :b1:

ดังนั้น สมถภาวนาในขั้นสมาธิที่แนบแน่น (อัปปนาสมาธิ) จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเจริญวิปัสนาภาวนา แต่ก็มีหลุมพรางของผู้ที่ได้ฌานไว้ให้ตกมากถึง ๗ ใน ๑๐ ข้อของวิปัสนูปกิเลส โดยเฉพาะการติดนิมิต ติดสุข (ปีติ ปัสสัทธิ สุข อุเบกขา) ทำให้ถึงแม้จะวิ่งเร็วเหมือนกระต่าย แต่ก็ชอบนอนพักข้างทางเหมือนในนิทานอีสปเลยครับ :b30: :b30: :b53: :b45: :b46:

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌาน คือเจริญสมถะไม่ได้ถึงขั้นอัปปนา ก็ใช้แค่ขั้น สมาธิชั่วขณะ (ขนิกะ) หรือสมาธิขั้นใกล้แนบแน่น (อุปจาระ) เป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนาได้เช่นกัน เพียงแต่ว่า การเห็นแจ้งรู้ชัด จะไม่ชัดเท่ากับผู้ที่ได้ฌาน (ฌานลาภี) จึงต้องเพียรพยายามในการใช้ความถี่ในการเห็นมากกว่า สะสมแต้มที่ละเล็กละน้อย เหมือนกับเต่าที่ค่อยๆคลานค่อยๆคืบ หมั่นคืบหมั่นคลานไปเรื่อยๆ ซักวันหนึ่งก็จะบรรลุธรรมได้เช่นกัน (และอาจจะแซงหน้าเหล่ากระต่ายที่มัวแต่ติดสุข นอนสบายอยู่ข้างทางอีกด้วยนะครับ) :b4:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 14 ก.ย. 2010, 23:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa016.jpg
Resize of aa016.jpg [ 98.92 KiB | เปิดดู 4144 ครั้ง ]
tongue
นิ่งอยู่ เป็นสมถะภาวนา

นิ่งรู้ เป็นวิปัสสนาภาวนา

ประเด็นสำคัญของวิปัสสนาภาวนา คือ รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง จนถอนความเห็นผิด ว่า กาย ใจ นี้เป็นตัวเรา ถอนความยึดถือในกาย ถอนความยึดถือในจิต

ความเป็นจริงของสภาวธรรมคือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไร้สาระแก่นสาร บังคับบัญชาไม่ได้

ที่ตั้งดู ตั้งรู้ ตั้งสังเกต พิจารณา ของ สติและปัญญา คือปัจจุบันอารมณ์

ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

:b27: :b8: :b8: :b16: :b16: :b12: :b12: :b12: :b12: :b1:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ขอขอบคุณท่านวิสุทธิปาละ และท่านอนัตตาธรรม (คราวที่แล้วพิมพ์ชื่อผิดไปขออภัยค่ะ) อีกครั้งค่ะ สำหรับคำแนะนำ

:b44: อีกไม่กี่วันก็เป็นช่วงปิดภาคเรียน ประมาณสัก 10 วัน ก็ทำให้ดิฉันได้มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น รู้สึกดีมากๆค่ะ หลายครั้งที่อยากไปปฏิบัติธรรมอย่างเต็มรูปแบบกับพระอาจารย์ที่ตนเองสนใจแต่ไม่มีโอกาส บริเวณแถบนี้คนส่วนใหญ่ไปปฏิบัติธรรมกันวันโกน วันพระ
ไม่สอดคล้องกับชีวิตการทำงานข้าราชการเลย น่าจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์-อาทิตย์บ้าง อาจมีคนสนใจปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้บ้านจึงเป็นที่สัปปายะสำหรับดิฉันที่สุด เพราะที่ไหนมีกายมีใจที่นั่นก็ปฏิบัติธรรมได้ ดิฉันคิดเช่นนี้ แต่ไม่ดีตรงที่ไม่มีผู้รู้คอยชี้แนะ เลยต้องอาศัยข้อมูลจากเว็บต่างๆ และหนังสือบ้าง

ต้องขอขอบคุณเว็บนี้มากค่ะ เพราะดิฉันเข้ามาอ่านบ่อยที่สุด

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa028.jpg
Resize of aa028.jpg [ 68.86 KiB | เปิดดู 4091 ครั้ง ]
tongue
ทุกวันนี้บ้านจึงเป็นที่สัปปายะสำหรับดิฉันที่สุด เพราะที่ไหนมีกายมีใจที่นั่นก็ปฏิบัติธรรมได้ ดิฉันคิดเช่นนี้ แต่ไม่ดีตรงที่ไม่มีผู้รู้คอยชี้แนะ เลยต้องอาศัยข้อมูลจากเว็บต่างๆ และหนังสือบ้าง

ต้องขอขอบคุณเว็บนี้มากค่ะ เพราะดิฉันเข้ามาอ่านบ่อยที่สุด



อนุโมทนายิ่งที่เข้าถึงการภาวนาโดยไม่เลือกที่ ไม่เลือกกาลเวลา

ธรรมมะ การปฏิบัติธรรม การบรรลุธรรม เป็น อกาลิโก จริงๆ ไม่นานเนิ่นช้าเกินรอ คุณกษมาตา ก็จะได้สัมผัสความจรืงเหล่านี้ ถ้ายังเพียรอยู่ไม่ถอย


วันนี้ผมขออนุญาตยกตัวอย่างวิธีปฏิบัติสมถะแบบเอื้อไปสู่วิปัสสนามาให้พิจารณาดู เผื่อจะได้แนวคิดพัฒนาวิธีพัฒนาการปฏิบัติเฉพาะตนได้บ้างนะครับ

อนัตตา เป็นสุดยอดแห่งธรรมและคำบริกรรม ใครพิจารณาเห็นจริงจนใจยอมรับ ความสุข มรรค ผล นิพพาน จักเกิดตามมาทันที

วิธีภาวนา อนัตตา มี 4 ขั้นตอน

1.บริกรรม อนัตตา ตามลมหายใจเข้าออก จนชำนาญและขึ้นใจ (ขั้นชำระนิวรณ์ 5 )

2. บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ เช่นเสียง เป็นปัจจุบัน จิตรู้ที่เสียงแล้วบริกรรม อนัตตา ตามทันที อารมณ์ใหม่เกิดขึ้นเช่น เจ็บ จิตรู้ที่เจ็บ บริกรรม อนัตตา ตามทันที คิด นึก จิตรู้ที่ คิด นึก บริกรรม อนัตตา ตามทันที (ขั้นฝึกสติให้ทันปัจจุบันอารมณ์)

3.บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์แล้ว สังเกต พิจารณาอารมณ์ปัจจุบันนั้นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายของการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา หรือความบังคับไม่ได้ของอารมณ์นั้นๆ จนใจยอมรับความจริง
(ขั้น พิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของอารมณ์)

4. ทิ้งคำบริกรรม นั่งเฉยๆ ตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ให้เห็น เข้าใจ ยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ สะสมความเข้าใจและยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์ไว้ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส

เมื่อใจยอมรับอนัตตาจนถึงที่อันสมควรแล้ว ความสุข มรรคญาณ ผลญาณ จักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลด้วยตัวของเขาเองโดยอัตโนมัติ

แม่แบบสำคัญที่จะช่วยให้เราเห็น เข้่าใจ จนจิตยอมรับ อนัตตา คือ ลมหายใจ เข้า - ออก ของเราทุกคน

ถ้า สงสัยวิธีการปฏิบัติ ให้กลับมาลองฝึกหัด สังเกต พิจารณาลมหายใจของตนเองให้ดี เราจะได้พบ รู้จัก เข้าใจ และยอมรับ ความเป็น อนัตตา ได้จากแบบฝึกหัดตัวอย่าง หรือตันแบบอันสำคัญนี้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับ อารมณ์ ความรู้สึก สัมผัส ความนึกคิดต่างๆ ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน

การ ฝึกหัดภาวนาอนัตตาทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ให้ฝึกหัดไปทีละขั้นตอน จนชำนาญ แล้วจักเกิดผลดีแก่ชีวิต จิตใจ เข้าถึงธรรมได้โดยง่ายและลัดสั้น ขอให้พากันเกิดดวงตาเห็นธรรมเห็นอนัตตา เข้าถึงธรรม เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน กัน ทันปิดประตูอบายได้ในชาตินี้ ทุกท่านทุกคนเทอญ

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างนี้ไม่เรียกว่าได้ฌาน เรียกว่าเข้าถึงฌาน ได้เป็นครั้งคราว คนที่ได้ฌานต้องมีวสี และไม่
จำเป็นต้องนั่นกันเป็นชั่วโมงหรอกถึงจะเข้าฌาณได้ ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะอย่างของคุณน่ะ
อย่างนี้เขาไม่เรียกว่าได้ฌาณหรอก

ธรรมะย่อมรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ได้ฌาน คนได้ฌานต้องมีวสีและไม่จำเป็นต้องนั่งกันเป็นชั่วโมงหรอก
กรณีของคุณไม่ต้องห่วงอย่างนี้ เรียกว่าเข้าถึงฌาน ได้เป็นครั้งคราว

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: ขอบคุณท่านอนัตตาธรรมที่แนะนำวิธีปฏิบัติให้ แต่ดิฉันเคยใช้คำบริกรรมอื่น เช่นยุบหนอ-พองหนอ แต่เผลอสติเมื่อไร กลับมา พุท-โธ ทุกครั้งเลยค่ะ ไม่สำเร็จสักที ตั้งแต่เริ่มฝึกมาก็บริกรรมแบบนี้มาตลอด จริตถนัดพุท-โธ แท้จริงแล้วคำบริกรรมเป็นเพียงเครื่องผูกจิตให้มีสมาธิเร็วขึ้นไม่ใช่หรือคะ เวลาจิตเข้าสู่ฌานสุดท้ายคำบริกรรมก็หายไปอยู่ดี แม้แต่ความคิดก็ไม่มี สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายอะไรเลย แต่ออกจากสมาธิแล้วจำได้หมดทุกอย่าง

:b8: :b8: ขอบคุณท่าน ปลีกวิเวก ด้วยค่ะ ดิฉันไม่ถนัดในการใช้ภาษา ไม่คิดว่าการใช้ภาษาทางธรรมนั้นมันต้องคิดรอบคอบลึกซึ้งขนาดนั้น เหมือนกับการทำวิปัสสนานะค่ะ บางคนบอกว่า ต้องรู้"ปัจจุบันขณะ" คำพูดคำเดียวกัน แต่เจตนาการสื่อสารอาจแตกต่างกันก็มี

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อย่างนี้เขาเรียกว่าเข้าถึงฌาน เป็นครั้งคราว ไม่เรียกว่า "ได้ฌาน" คนได้ฌานต้องมีวสี
และไม่ต้องนั่งกันเป็นชั่วๆ โมง ถึงจะเข้าฌานได้ กรณีนี้ไม่ต้องกังวลค่ะ

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:15
โพสต์: 34

แนวปฏิบัติ: สมาถะ วิปัสสนาญาน ลมหายใจมิมีสิ้นสุด มิมีประมาณ
งานอดิเรก: ธรรมะเกิดที่ใจ ไปให้ถึงธรรม จึ่งมีธรรมประจำใจ บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ ทุกแนว "รอยเท้าสัตว์ย่อมรวมลงในเท้าช้าง"ฉันใด ก็ฉันนั้น
ชื่อเล่น: out
อายุ: 47
ที่อยู่: จังหวัดแพร่

 ข้อมูลส่วนตัว


..สาธุค่ะ.."พี่รู้หนึ่ง น้องรู้สอง ประครองกัน..แบ่งปันสิ่งดีๆแก่กัน"

..ธรรมดาปุถุชนคนธรรมดา
ถือศีลห้าพาใจให้เข้าถึง
ธรรมถึงใจใจถึงธรรนำรำพึง
...เป็นที่พึ่งขัดเกลาเจ้ากายกรรม

หากเพียรฝึกภาวนาพาสติ
เป็นสมาธิ เกลาใจ มิถลำ
รู้เห็นดูอยู่ในมโนกรรม
ปัญญานำธรรมถึงใจไร้กังวน..

ว่างกายใจเป็นได้อย่างไรว่าง
ธรรมนำทางว่างปลงคงมรรคผล
อัตโน.ปัญญา พาผ่านพ้น
มิอับจนหนทางว่างกายใจ..

สิ่งที่ว่าง ว่างจาก ทางกิเลส เป็นสาเหตุสามอย่างทางแก้ไข
คือละเอียด กลาง หยาบ ในจิตใจ ว่างลงได้มิไกลถึงปลายทาง...

นิมิตคือจิตออกหลอกจิตหลง กายใจปลงลงว่างวางใจเห็น
ที่สำคัญปัญญาพาร่มเย็น สงบเห็นเย็นอยู่คู่ใจกาย

เจริญในธรรมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเอาฌาณ..ไม่เอาฌาณ..ก็แล้วแต่..
แต่..ที่ต้องเอาแน่ ๆ ..คือบุญ
พรุ่งนี้..ไปทำบุญกันนะครับผม.. :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร